หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องผ่านสภาตาม ม. 190 หรือไม่

ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องผ่านสภาตาม ม. 190 หรือไม่

 

ชื่อ บทความเดิม
การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศตามข้อ 12(3) ต้องผ่านสภาตามมาตรา 190 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่



ข้อความเบื้องต้น
ประเด็นเรื่องการทำคำแถลงยอมรับ เขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไม่ใช่ประเด็นเรื่องการให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม) ตามข้อที่ 12 (3) นั้นกำลังเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่นางฟาทู เบนซูดา (Fatou Bensouda) อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ มาเยือนประเทศไทยและเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น เชื่อแน่ว่าจะต้องเกิดคำถามตามมาว่า การทำคำแถลงหรือคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศดังกล่าวเป็น หนังสือสัญญาตามมาตรา 190 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 หรือไม่อันจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน  สำหรับประเด็นดังกล่าวผู้เขียนมีความเห็นทางกฎหมายดังต่อไปนี้


1. มาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญนั้นเป็นมาตราที่เกี่ยวกับการทำหนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญา ซึ่งตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ 1969 เป็น “ความตกลงระหว่างประเทศ” (international agreement) ส่วนการทำ “คำประกาศ” (Declaration) ยอมรับเขตอำนาจศาลของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ตามข้อที่ 12(3) นั้นเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ (unilateral act) แม้ในข้อที่ 12 (3) จะมิได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการกระทำฝ่ายเดียวก็ตาม แต่โดยลักษณะของคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลนี้ย่อมเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของ รัฐอยู่ในตัวแล้ว คำตอบยืนยันว่าคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นการกระทำฝ่ายเดียวปรากฎอยู่ ในคดี Fisheries case ระหว่างประเทศ Spain กับประเทศ Canada ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกตามมาตรา 36 วรรค 2 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นการกระทำฝ่ายเดียว โดยศาลย้ำอย่างชัดเจนว่า “a declaration of acceptance of the compulsory jurisdiction of the Court, whether there are specified limits set to that acceptance or not, is a unilateral act of State sovereignty.” [1] และศาลโลกกล่าวอีกว่า “since a declaration under Article 36, paragraph 2, of the Statute, is a unilaterally drafted instrument, [2]
ฉะนั้น ถ้าหากการทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (International Court of Justice: I.C.J) เป็นการกระทำฝ่ายเดียว การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจ “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” (International Criminal Court: I.C.C) ก็ต้องมีลักษณะเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐเหมือนกันเพราะต่างก็เป็นศาล ระหว่างประเทศเหมือนกันและทั้งสองศาลก็ยอมรับการทำ “คำประกาศ” ว่าเป็นวิธีการยอมรับเขตอำนาจศาล เหมือนกันด้วย [3] ผู้ เขียนยังมองไม่เห็นเหตุผลทางกฎหมายที่จะมาอธิบายว่าคำประกาศยอมรับเขตอำนาจ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกเป็น “การกระทำฝ่ายเดียว” แต่พอคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศกลายเป็น “สนธิสัญญา”

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43468

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น