แรงเงาของประชาชนไทย
ผมเป็นคนชอบงานเขียนของนันทนา วีระชน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนันทนาได้รับอิทธิพลจากสตรีนิยมหลัง ๑๔ ตุลามาไม่น้อย ในนวนิยายของนันทนาหลายเรื่องจะเน้นบทบาทความเด่นของตัวละครสตรี ที่มีความกล้าต่อสู้และท้าทายสังคม โดยเฉพาะการตอบโต้กับผู้ชายชั่วที่เอาเปรียบผู้หญิง และในบรรดางานเขียนหลายเรื่องของเธอ แรงเงาถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง
เรื่องย่อของแรงเงา เล่าถึงมุตตา ซึ่งเป็นข้าราชการหญิงที่เรียบร้อยและอ่อนต่อโลก จึงตกเป็นภรรยาลับของเจนภพ ซึ่งเป็นชายเจ้าชู้และผู้บังคับบัญชาในที่ทำงาน ต่อมา มุตตาได้ถูกภรรยาของเจนภพชื่อ นพนภา ตามมาตบตีต่อหน้าคนจำนวนมาก และถูกซ้ำเติมโดยเพื่อนข้าราชการ ทำให้เธอต้องอับอายจนต้องหนีกลับบ้านต่างจังหวัด และพบว่าตนเองท้อง ในที่สุด ก็ฆ่าตัวตายหนีปัญหา แต่มุนินทร์พี่สาวฝาแฝด ที่เป็นคนเข้มแข็งไม่ยอมใคร ไม่สามารถจะยอมรับเรื่องความตายของน้องสาวได้ จึงปลอมตัวเป็นมุตตากลับมาแก้แค้น และในที่สุด ก็สามารถที่จะเอาชนะ ทำให้นพนภาและเจนภพได้รับกรรมตามที่ตนเองก่อไว้ และครอบครัวของนพนภาก็ประประสบความแตกแยก ส่วนมุนินทร์ก็ได้แต่งงานกับวีกิจ หลานของเจนภพ ที่เข้าช่วยเหลือมุตตาตลอดมา
หลังจากเรื่องแรงเงาเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ.2529 ได้มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง และขณะนี้ ละครเรื่องนี้ก็ยังออกอากาศอยู่ทางช่อง 3 กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงมาก แม้ว่า ผู้สร้างละครครั้งนี้ จะเน้นฉากตบกันระหว่างผู้หญิงมากไปหน่อย แต่ถ้าดูจากเนื้อหาต้องถือว่า เป็นเรื่องที่ให้บทเรียนแก่สังคมพอสมควร
แต่ที่น่าสนใจคือโครงเรื่องของเรื่องแรงเงา เข้ากันได้กับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย เพราะก่อนหน้านี้ ประชาชนไทยก็ไม่ต่างอะไรกับมุตตา คือไม่เคยมีปากเสียง ยอมจำนนต่อชนชั้นปกครอง และปล่อยชะตากรรมของประเทศไว้ในมือชนชั้นนำจำนวนน้อย ไม่ว่าจะใช้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาธิปไตยเต็มใบ เผด็จการทหาร ประชาธิปไตยครึ่งใบ ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อก็ไม่เคยบ่น จะรัฐประหารหรือเอาใครมาเป็นรัฐบาลก็ยอมรับโดยดุษณีภาพ แต่ในระยะ 7 ปีที่ผ่านมานี้ ขบวนการประชาชนไทยกลายร่างเป็นมุนินทร์ ลุกขึ้นตอบโต้กับชนชั้นนำอำมาตย์อย่างไม่หวาดหวั่น ไม่ยอมให้ชนชั้นปกครองกำหนดชะตากรรมของประเทศเช่นเดิมอีก จึงสร้างความยากลำบากอย่างมากแก่ชนชั้นนำอำมาตยาธิปไตย
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43459
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น