ทางเลือกของเราที่จะข้ามพ้นความบ้าบอของระบบกลไกตลาด
หากผลผลิตออกมามีมากจนขายทำกำไรไม่ได้
เทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมจะส่งผลให้มีการปลดคนงานและมี
ความทุกข์ แทนที่มันจะช่วยให้ลดเวลาที่ต้องทำงานหนักลง
หรือแทนที่มันจะช่วยเพิ่มมาตรฐานของชีวิตให้กับทุกคน
แปลโดย ครรชิต พัฒนโภคะ
ที่มา http://socialistworker.org/2012/08/30/our-alternative-to-market-madness
เศรษฐกิจโลกทุกวันนี้ ยังคงได้รับผลกระทบหลายอย่างจากวิกฤตล่าสุด ซึ่งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่สมัยวิกฤต ในช่วงทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมา มันสร้างความเสียหายต่อเนื่องกระทบไปทั่วโลก การจ้างงานหายไป การเอาเปรียบแรงงานเข้มข้นมากขึ้น สำหรับคนที่ยังมีงานทำอยู่ สวัสดิการสังคม สาธารณูปโภคถูกจำกัดลดลง หรือไม่ก็ถูกแปรรูปการให้บริการไปเป็น บริษัทเอกชน
ขณะเดียวกัน ธนาคารและบริษัทต่างๆ กำลังเพลินกับตัวเลขสถิติผลประกอบการเป็นเงินสด ๒ ล้านล้านดอลล่าร์ ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ผลการลงทุนมีกำไร และบ่อยๆ ครั้งที่ได้กำไรสูงทำลายสถิติ ส่วนเรื่องอัตราการเสียภาษีของบริษัท และผู้ประกอบการระดับเศรษฐีก็ทำสถิติเช่นเดียวกัน แต่เป็นอัตราต่ำตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหา และนี่เกิดขึ้นในสมัยของรัฐบาลพรรคเดโมแครต ที่สัญญาว่าจะทำให้พวกคนรวยเสียภาษีที่เป็นธรรม
ขอต้อนรับสู่ระบบทุนนิยมในศตวรรษที่ ๒๑ ในโลกที่กลับตาลปัด ที่ความยากจนกระจายออกสู่คนหมู่มาก และความร่ำรวยอย่างเหลือเชื่อกลับกระจุกตัวในคนกลุ่มน้อย มาอยู่เคียงข้างกัน แต่มันไม่เหมือนกันกับในสมัยก่อน ในสังคมไพร่กับศักดินาที่การทำงานต่างๆ ยังไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้ เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย มีไม่เพียงพอสำหรับทุกๆ คนในสังคม วิกฤตของทุกวันนี้ เป็นผลมาจากความอุดมสมบูรณ์ที่มีมากจนล้นของสินค้าที่ผลิตออกมา ไม่ใช่ว่าจะขาดแคลน
ขอยกตัวอย่างในสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ว่างๆ ที่สามารถจะนำไปทำการค้า การอุตสาหกรรม หรือโรงงานได้ ประมาณหลายร้อยล้านตารางฟุต นับจนถึงเดือนกรกฎาคม การนำที่ดินมาทำประโยชน์ทางอุตสาหกรรม อยู่ที่ ๗๙.๓ เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่ามาตรฐานที่บันทึกไว้ แต่ก็ยังดีกว่าจุดต่ำที่ ๖๖.๘ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๕๒ ที่เริ่มเกิดวิกฤตการเงิน
ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นของจีน การผลิตสินค้าออกมามากเกินไปนั้นกลับสร้างปัญหามากขึ้น อย่างที่ นสพ.นิวยอร์คไทม์ รายงานไว้ว่า....
“หลัง ๓ ทศวรรษของการเติบโตอย่างไม่ลืมหูลืมตา จีนกำลังพบกับปัญหาที่ไม่คุ้นเคย เกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังเปิดประเทศ การเพิ่มจำนวนอย่างมากของสินค้าที่ขายไม่ออกจนไม่มีที่เก็บ ปริมาณที่มากเกินไปของผลผลิตทุกอย่าง ตั้งแต่ พวกโลหะ และของใช้ในบ้าน ไปจนถึงรถยนต์ และอพาร์ทเม้นท์ ทำให้ความพยายามของจีนที่จะฟื้นตัวให้ได้จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังหดตัวลง นั้น ต้องมีอันชะงักไปอีก มันยังส่งผลให้เกิดสงครามราคาในตลาดโลก และชักนำให้ผู้ผลิตทั้งหลาย พากันเพิ่มความพยายามขึ้นอีกเท่าตัว ในการส่งออกสินค้าที่ล้นตลาดและขายไม่ได้ในประเทศ”
นวัตกรรมใหม่ๆ ทางเทคโนโลยี่ ซึ่งได้สร้างผลผลิตขึ้นอย่างมหาศาล อย่างไม่น่าเชื่อในระบบทุนนิยม สายการประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ การใช้หุ่นยนตร์ สามารถจะช่วยให้มนุษย์พ้นไปจากความยากจน ความหิว และความต้องการต่างๆ ได้อย่างถาวร
แต่ในสังคมนายทุน ปัญหาว่าจะผลิตอะไรและเท่าไหร่ไม่ได้ตัดสินกันบนพื้นฐานว่า ผู้คนทั้งหลายต้องการอะไรบ้าง เพื่อการเอาชีวิตให้อยู่รอด มันตัดสินกันที่ว่าอะไรจะทำกำไรได้ให้กับเจ้าของสำนักงาน โรงงาน และกับสถานที่ทำการก่อสร้าง
หากผลผลิตออกมามีมากจนขายทำกำไรไม่ได้ เทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมจะส่งผลให้มีการปลดคนงานและมี ความทุกข์ แทนที่มันจะช่วยให้ลดเวลาที่ต้องทำงานหนักลง หรือแทนที่มันจะช่วยเพิ่มมาตรฐานของชีวิตให้กับทุกคน
เวลาเดียวกันกับการเกิดขึ้นของผลผลิตต่างๆ หลากหลาย ที่ทยอยออกมากันอย่างล้นหลามเพื่อขายทำกำไร มันก็เกิดขึ้นพร้อมๆ กันไปกับการที่คนจำนวนหลายร้อยล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงความต้องการแม้ขั้นพื้นฐาน ความจริงก็คือในระบบทุนนิยมมันสามารถสร้างผลผลิตได้มากกว่าสังคมของ บรรพบุรุษเราเมื่อสหัสวรรษก่อนหลายพันเท่าตัว แต่ว่าประมาณ ๑๓ เปอร์เซ็นต์ ของประชากรโลกหรือ ๙๒๕ ล้านคน มีไม่พอกินในแต่ละวัน เรื่องนี้เป็นข้อกล่าวหาที่มีพลังมากที่สุดที่ว่าสำหรับนายทุนนั้นผลกำไร ต้องมาก่อนอื่น ไม่ใช่ความต้องการของมวลชน
สังคมนิยม จะมุ่งไปที่ความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคม ให้เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนอื่น และจำกัดแรงจูงใจที่ต้องการหาผลกำไรของเอกชน ดังนั้นสังคมส่วนรวมทั้งมวลจะลดปัญหาหลากหลายอย่างที่เป็นอยู่ลงได้
แทนที่จะแข่งขันกันในตลาดเสรีซึ่งจะมีคนแพ้และคนชนะ ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมจะมีการวางแผนไว้ให้แน่ใจได้ว่า จะมีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย มากเพียงพอสำหรับทุกๆ คน
ก่อนที่จะไปคิดผลิตสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือยอื่นๆ ซึ่งปกติจะมีแต่คนกลุ่มน้อยเท่านั้น ที่เข้าถึง
ข้อโต้แย้งของนักทุนนิยมมักจะยืนยันเสมอว่า การวางแผนอย่างที่นักสังคมนิยมพูดถึงนั้น มันจะไม่ได้ผล พวกเขาเสนอว่าการวางแผนสำหรับสังคมมนุษย์ ที่มีขนาดทั้งใหญ่ ทั้งซับซ้อน จะไม่สามารถทำให้มันมีประสิทธิภาพอย่างที่ต้องการได้เลย
ในการวิจารณ์ที่ว่านั้น พวกเขาพอใจที่จะลืมความสูญเปล่า และความไร้ประสิทธิภาพต่างๆ ที่ระบบทุนนิยมสร้างเอาไว้ ความสูญเปล่าในการโฆษณาสินค้าและบริการ ในการทำประกันสุขภาพแทนระบบรัฐสวัสดิการ ในงบประมาณของกองทัพ ในการออกแบบสินค้าให้มีเวลาต้องเสื่อมสภาพ เพื่อว่ามันจะต้องเปลี่ยนใหม่ มันมีความสูญเปล่าในการผลิตเพื่อการตลาดที่ไม่วางแผน ซึ่งบังคับให้นายทุนแต่ละคนต้องผลิตสินค้าออกมาให้ได้เร็วที่สุด ด้วยต้นทุนที่ต่ำเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะคุมส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ให้ได้ และแม้ว่าในการนี้จะมีผลทำให้คุณภาพชีวิตของคนงานต้องตกต่ำลงกว่ามาตรฐานก็ ตาม
ความจริงที่ว่า มันไม่มีอะไรจะรับประกันว่าของที่ผลิตมาวันนี้จะขายได้กำไรในวันพรุ่งนี้แน่ นอน มันบังคับให้นายทุนต้องหาทางตัดลดต้นทุนทุกๆ วิธีการ ไม่เช่นนั้นมันก็มีความเสี่ยงว่าธุรกิจอาจต้องจบลง
พวกคนที่คัดค้านสังคมนิยม ชื่นชมระบบตลาดเสรีว่ายอดเยี่ยมและเป็นกลไกที่จะสอดคล้องกับอุปสงค์และอุป ทาน ซึ่งจะส่งสัญญาณของราคามาให้กับนายทุนว่าจะต้องผลิตอะไร
แต่ว่ามันมีวิธีอื่นๆ ที่ดีกว่า ที่จะรู้ได้ว่าตลาดต้องการอะไรที่ไม่ใช่เรื่องราคาในตลาด ความจริงสัญญาณแรกที่แสดงว่าความต้องการของตลาดเปลี่ยนไปคือ การเปลี่ยนแปลงของจำนวนสินค้าที่ขายออกไปได้ในราคาที่คงที่
และนี่เป็นเหตุให้บริษัทนายทุนอย่างเช่น โตโยต้า อเมซอน และวอลมาร์ท ลงทุนจำนวนมากเพื่อสร้างระบบควบคุมปริมาณสินค้าคงเหลือ ทั้งนี้ก็เพื่อจะรู้ถึงภาวะความต้องการของตลาดให้ได้ละเอียดถูกต้องและเร็ว กว่าการมองดู “สัญญาณราคา” เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังถูกบังคับให้ต้องวางแผนการลงทุนเอาไว้ ล่วงหน้าหลายปี เพื่อให้เหมาะกับห่วงโซ่การผลิตในปริมาณมากๆ ซึ่งบางครั้งครอบคลุมทั้งโลก
เมื่อพิจารณาถึงการที่บริษัทขนาดยักษ์แต่ละบริษัทเหล่านี้ ได้ทำให้เศรษฐกิจทั้งหมดขยายใหญ่ และเพิ่มความซับซ้อน มันเป็นเหตุผลแสดงถึงการมีการประสานวางแผนกันเป็นวงกว้าง
ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่ว่าเศรษฐกิจมันซับซ้อนเกินที่ จะวางแผนได้ แต่มาจากการที่นายทุนแต่ละคนต่างก็เตรียมแผนไว้เท่าที่ทำได้ ในการจะออกไปเอาชนะแผนการตลาดของนายทุนคนอื่นในตลาดเสรี ตามกลไกของมัน
โดยวิธีการเช่นนี้ การขาดแคลนรถยนต์ เหล็ก หรือเที่ยวบินเดินทาง กลายเป็นสิ่งตรงกันข้ามคือผลิตออกมามากเกินไป เมื่อบริษัทคู่แข่งทั้งหลายต่างใช้เวลาหลายปีในการวางแผนการผลิตเพื่อเอาชนะ ฝ่ายตรงข้าม แต่กลับพบกับภาวะการผลิตล้นเกิน
พูดอีกนัยหนึ่ง ระบบทุนนิยมเป็นอุปสรรคในการทำงานตามเหตุตามผลโดยตัวของมันเอง
แล้วการวางแผนทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องจะไม่เป็นปัญหาให้กับความเป็นประชาธิปไตยหรือ?
ข้อโต้แย้งในเรื่องนี้ มักโยงไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัย สหภาพโซเวียต และยุโรปตะวันออก ภายใต้อิทธิพลระบบสตาลิน ซึ่งการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเป็นแบบ “ตามคำบัญชาจากบนสู่ล่าง" ในระบอบอำนาจเผด็จการ ที่จะกำหนดเป้าหมายผลผลิต และการบังคับแรงงาน
การขึ้นมาของระบอบสตาลินในรัสเซีย ในปลายทศวรรษที่ 1920 เป็นผลมาจากความล้มเหลวของการปฏิวัติสังคมนิยม ที่ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นในระดับสากล ไม่ใช่เป็นผลต่อเนื่องมาจากการวางแผนเศรษฐกิจแต่อย่างใด
การปฏิวัติในรัสเซียแต่เพียงลำพัง มันหมายความว่าสหภาพโซเวียตที่มีสภาพเศรษฐกิจที่ยังล้าหลัง จำต้องกดขี่ชนชั้นแรงงานอย่างหนักภายใต้สตาลิน เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมทั้งหลาย รวมทั้งกองทัพ เพื่อจะแข่งขันกับระบบทุนนิยมตะวันตก
อีกนัยหนึ่ง สหภาพโซเวียต ไม่ได้ทำในสิ่งที่ Frederick Engels(เฟรดริด แองเกลส์) ได้เคยบอกไว้ว่าต้องทำเพื่อความเป็นสังคมนิยม....
“การปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้ได้ยกระดับพลังการผลิตของแรงงานมนุษย์ขึ้นมาใน ระดับสูง จนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่เราจะสามารถผลิตในระดับการบริโภคที่ อุดมสมบูรณ์ เพียงพอ และมีสำรอง สำหรับสมาชิกทุกคนในสังคม ถ้ามีการแบ่งงานกันทำด้วยเหตุผล ยิ่งกว่านั้นเราจะสามารถลดชั่วโมงการทำงานจนทุกคนมีเวลาส่วนตัวเพียงพอที่ แต่ละคนจะสามารถสร้างผลงานทาง วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งล้วนแต่เป็นวัฒนธรรมที่น่าส่งเสริมและถนอมไว้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่ในยุคอดีตเป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองมักผูกขาดไว้ในมือของชนชั้นตนเองเท่า นั้น
นี่คือประเด็นชี้ขาด: เมื่อพลังการผลิตพัฒนาถึงจุดนี้ ข้อแก้ตัวต่างๆ นาๆ เพื่อให้คงชนชั้นปกครองไว้ จะสูญหายไป เพราะในอดีตพวกที่อ้างว่า “ต้อง” มีชนชั้นปกครองมักจะพูดว่าต้องมีกลุ่มคนที่ไม่ต้องทำงาน เพื่อจะได้ใช้ปัญญา แต่บัดนี้ชนชั้นปกครองและระบบทุนนิยมกลายเป็นอุปสรรคหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม
แต่แน่นอน การมีความฝันว่าควรจะมีสังคมนิยม ไม่ได้นำไปสู่การสร้างระบบนั้นโดยอัตโนมัติ เพราะชนชั้นปกครองคงไม่ยอมจำนนง่ายๆ เราจะต้องเคลื่อนไหวต่อสู้ยกใหญ่ ผ่านการสร้างองค์กรทางการเมืองของชาวสังคมนิยมในปัจจุบัน"
Karl Marx(คาร์ล มาร์กซ์) เคยพูดไว้ว่า...
"การปฏิวัติสังคมนิยมที่สำเร็จ และการเพิ่มพลังการผลิตมหาศาล จำต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของมวลชนจำนวนมากท่ามกลางการปฏิวัติ พูดง่ายๆ การปฏิวัติเป็นสิ่งจำเป็นเพราะชนชั้นปกครองจะไม่ถูกโค่นล้มด้วยวิธีอื่น และการปฏิวัติเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ชนชั้นที่จะล้มชนชั้นปกครองเก่า ได้กวาดล้างขยะความคิดเก่าออกจากหัวและเริ่มมีวุฒิภาวะที่จะสร้างสังคมใหม่"
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/11/blog-post_1.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น