หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงาน: นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ไม่มีอะไรต้องเปลี่ยนแปลง

รายงาน: นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ไม่มีอะไรต้องเปลี่ยนแปลง

 

โดย ประชา  ธรรมดา
รายงาน


คณะกรรมการค่าจ้างกลางหรือบอร์ดค่าจ้าง ได้เคยสำรวจ แรงงานในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑลรายรอบพบว่า   ผู้ใช้แรงงานมีรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายตามอัตภาพ วันละ 6.8-11 บาท และไม่พอต่อรายจ่ายตามคุณภาพชีวิต วันละ 24-25 บาท ขณะที่โดยภาพรวมรายภาคนั้นแรงงานที่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางมีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายสูงที่สุด คือมีรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายตามอัตภาพ วันละ 32.67 บาท และไม่พอต่อรายจ่ายตามคุณภาพชีวิต วันละ 48.81 บาท


การสำรวจผู้ใช้แรงงานทั่
วประเทศกว่า 23,194 คน ช่วง 1 เม.ย. - 31 พ.ค. 2554 เฉลี่ยค่าใช้จ่ายรายเดือนของแต่ละ คนนั้น ค่าอาหารอยู่ที่ 2,015 บาท, ค่าที่พัก 1,400 บาท, ค่าพาหนะ 649 บาท, ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 819 บาท ซึ่งว่ากันเฉพาะค่าใช้จ่ายหลักเหล่านี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด-สันทนาการ รวมแล้วก็เดือนละ 4,883 บาท

รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ ผอ.ศูนย์พัฒนาแรงงานและการจั
ดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่า..  การสำรวจอัตราค่าครองชีพกับค่าใช้จ ่ายของแรงงานในแต่ละครั้ง ผลออกมาก็ ’ไม่เคยพอกิน" ยิ่งถ้ามีหนี้สิน กู้เงินนอกระบบมาใช้ ยิ่งมีปัญหา แรงงานต้องทำโอที-ทำงานล่วงเวลา

"ต้อง ทำโอทีอย่างน้อยวันละ 2-4 ชั่วโมง เพื่อให้ได้เงินเพิ่ม การไม่พอกินทำให้เกิดปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัวตามมา คือไม่มีเวลากลับบ้านไปหาพ่อ-
แม่ ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว ลูกเมีย หรือไม่มีเวลาไปเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะ ศักยภาพ เพื่อให้ได้ขึ้นค่าแรง ก็เลยต้องทำงานแบบย่ำอยู่กับที่ ไม่ได้ไปไหนไกล"

ดังนั้น กรณี ’ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท" ที่กำลังเป็นประเด็น ถึงขึ้นได้จริง ๆ "ก็ยังคง ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตอยู่
ดี ซึ่งแต่ละวันลูกจ้างต้องจ่ายค่ารถไปทำงาน บางคนไป-กลับวันละหลายต่อ ไหนจะค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าสังคมต่าง ๆ บางคนมีลูกมีเมียต้องดูแล ยังไงก็ไม่มีทางพอแน่นอน"

ชีวิตที่เป็นจริงของผู้ใช้
แรงงานมักต้องทำงานมากกว่าวันละแปดชั่วโมง ต้องทำโอที ต้องทำฮอลลิเดย์ ไม่มีวันหยุด ไม่มีเวลาพักผ่อน จึงไม่ได้นั่งสมาธิ จึงไม่ได้สนทนาธรรมกันที่โรงแรมหรู แต่ต้องดิ้นรนเพื่อให้มีเงินพอที่ตนเองและครอบครัวมีชีวิตอยู่รอด

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43460

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น