เห็นด้วยกับ “กาหลิบ” แดงสยาม
ทั้งๆ ที่เคยเสียใจ
[มีเพิ่มเติมจากบทความเดิม....]
ใจ อึ๊งภากรณ์
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร? เรื่อง รัฐบาลเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง โดย กาหลิบ
ซึ่งเขียนหลังการเลือกตั้ง 3 ก.ค. เป็นบทความที่ดีมากและตรงจุด โดยเฉพาะเวลาเขาเขียนว่า "คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกมาให้สัมภาษณ์ “ปราม” แกนนำนปช. ว่าอย่าเคลื่อนไหวกดดันคณะกรรมการการเลือกตั้งในเรื่องรับรอง ส.ส. และขอให้หยุดการกระทำที่ผ่านมาเสีย ซึ่งดูเหมือนว่าจะได้ผล เพราะไม่ได้ยินเสียงอะไรอีกเลยจาก นปช. จนถึงวันนี้เรื่อง เล็กๆ นี้มีความหมายที่ลึกซึ้ง เพราะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลประชาธิปไตยกับมวลชนเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ โดยเฉพาะกับเมืองไทยขณะนี้ถือว่ามีความหมายลึกซึ้งมาก ...... บทเรียนที่สำคัญคือ รัฐบาลประชาธิปไตยในระบอบเผด็จการที่ห้อมล้อมตัวอยู่นั้นจำเป็นต้องอาศัยแรงสนับสนุนโดยตรงจากมวลชนอย่างยิ่ง “ปรองดอง” มิได้มีหมายความว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องลงไปนอนหงายอยู่กับพื้น และแสดงกิริยาหมอบราบคาบแก้วให้เป็นที่ประจักษ์"
ใช่ เลยครับ... คนเสื้อแดงต้องไม่หยุดนิ่ง ต้องเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลใหม่ตั้งแต่ยังไม่ก่อตั้ง เพราะฝ่ายตรงข้าม พวกอำมาตย์มือเปื้อนเลือดกำลังกดดันไม่ให้รัฐบาลทำอะไรเลย และนักการเมืองพรรคเพื่อไทยหลายคนเราไว้ใจไม่ได้
ก่อนหน้านี้ บทความ “ขอโทษที่ไม่ยินดี” โดย กาหลิบ ซึ่งเป็นงานเขียนของ จักรภพ เพ็ญแข เคยทำให้ผมต้องเสียใจ ต้องเสียใจมากๆ
เพราะมันแสดงว่า กาหลิบ เข้าร่วมวง “นักปฏิวัติฟันน้ำนม” ด้วยการเขียนว่า:
“(การปล่อยตัวแกนนำ 7 คน และจับสุรชัยในวันเดียวกัน) ย่อมเกิดจากข้อตกลงระหว่างผู้มีอำนาจในเมืองไทยกับตัวแทนของฝ่าย นปช.แดงทั้งแผ่นดิน......คำถามคือข้อตกลงนั้นจะทำให้มวลชนของเราได้ ประชาธิปไตยหรือไม่ ถ้า นปช.ฯ ยอมรับเงื่อนไขของระบอบศักดินา-อำมาตยาธิปไตยจนถึงขั้นจำกัดบทบาทตัวเองใน ทางการเมือง และยอมให้คนที่ลุกขึ้นสู้ด้วยความห้าวหาญอย่าง นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และพี่น้องร่วมคุกที่ไม่มีชื่อเสียงเท่าแกนนำทั้ง ๗ อีกเกือบสองร้อยคน ช่วยติดคุกแทนตน”
ใน ประการแรกผมจะไม่ใช้เวลาในบทความนี้อธิบายว่าทำไมไทยไม่ได้ปกครองโดยระบอบ “ศักดินา” ซึ่งถูกล้มไปตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ และทำไมนายภูมิพลเป็นแค่สัญญลักษณ์แห่งความป่าเถื่อนที่คอยประทับตราให้ทหาร ผู้มีอำนาจในประเทศไทย เพราะผมอธิบายไปแล้วในหลายบทความ ซึ่งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยยังไม่สามารถนำเหตุผลและข้อมูลมาเถียงได้ แค่ยืนยันความเชื่อของเขาเท่านั้น
ผม เสียใจที่ตอนนี้มีคนที่พูดแต่เรื่อง “การปฏิวัติ” และด่าด่าด่า...เจ้า...เช้าจดเย็น โดยไม่ยอมโจมตีทหารมือเปื้อนเลือด และไม่ยอมเสนอแนวทางการต่อสู้ที่เป็นรูปธรรม เพราะพวกนี้ดีแต่พูดเอามัน พูดยกย่องตนเองว่าเป็นนักปฏิวัติบริสุทธิ์ และในขณะเดียวกันหันมาทำลายการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง หันมาด่าแกนนำ นปช. และพูดอย่างต่อเนื่องว่าการเคลื่อนไหวของมวลชนไม่สามารถล้มอำมาตย์ได้ ทั้งๆ ที่เราเห็นตัวอย่างชัดเจนในตะวันออกกลาง ซึ่ง แปลว่าเราจะต้องแค่ “ปฏิวัติ” ในอินเตอร์เน็ดโดยนั่งอยู่บ้านและไม่ทำอะไร ผมต้องขอเรียกคนเหล่านี้ว่า “นักปฏิวัติฟันน้ำนม” เพราะดูเหมือนแค่ “เล่นการปฏิวัติ” จริงๆ
คุณ สุรชัยไม่ควรอยู่ในคุกเนื่องด้วยคำพูดของเขา อันนี้ทุกคนควรยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข เราควรรณรงค์ให้ยกเลิกกฏหมายหมิ่นกษัตริย์ อันนี้ผู้รักประชาธิปไตยควรยอมรับด้วยและผมกับคนอื่นจำนวนมากก็รณรงค์เรื่อง นี้มานาน ที่สำคัญคือควรมีการปล่อยตัวคุณดาร์ตอร์บิโด และคุณ Red Eagle และ คนอื่นที่เป็นนักโทษการเมือง ควรยกเลิกคดีคุณจีรนุช อันนี้แน่นอน แต่ถามว่าเราจะยกเลิกกฏหมายหมิ่นกษัตริย์อย่างถาวรโดยไม่ใช้มวลชนล้มอำมาตย์ และตัดอำนาจทหารได้ไหม? เพราะทหารเป็นตัวหลักในการใช้กฏหมายหมิ่นฯ หรือเรายกเลิกกฏหมายหมิ่นกษัตริย์ได้โดยการต่อสู้เชิงสัญญลักษณ์ของคนคน เดียวในคุกได้? หรือเราทำได้ผ่านการอ้อนวอนให้กษัตริย์ทำให้ โดยตั้งความหวังว่ากษัตริย์ไทยจะเหมือนภูฐาน ซึ่งแม้แต่ในประเทศนั้นก็ไม่มีประชาธิปไตย?
ผม ไม่เชื่อในคัมภีร์อะไร แต่ผมปลื้มนักปฏิวัติอย่าง เลนิน หรือ โรซา ลัคแซมเบอร์ค ที่เคยมีส่วนในการนำมวลชนเป็นล้านไปสู่การปฏิวัติจริง เขาพูดเสมอว่านักปฏิวัติต้องทำแนวร่วมกับนักปฏิรูป ต้องสนใจการต่อสู้เล็กๆ น้อยๆ ประจำวัน ต้องร่วมรบในเวทีรัฐสภาถ้าจำเป็น ต้องพิสูจน์ต่อหน้ามวลชนท่ามกลางการจับมือร่วมกันสู้ ว่าแนวทางปฏิวัติเป็นไปได้และดีกว่าแนวปฏิรูป ไม่ใช่แอบไปสู้ในอินเตอร์เน็ทหรือในเขตป่าเขา หรือรวมศูนย์การต่อสู้ในเชิงสัญญลักษณ์กับคนคนเดียว
คุณ สุรชัยไม่ใช่คนขี้ขลาด เขายอมติดคุก ถ้าเป็นผมผมจะหลีกเลี่ยงการติดคุกเพื่อต่อสู้เต็มๆ ข้างนอก แต่นั้นเป็นการตัดสินใจเรื่องยุทธวิธี และบางยุทธวิธีจะนำไปสู่ความพ่ายแพ้ โดยเฉพาะในกรณีที่หันหลังให้มวลชนและไม่รู้จักทำแนวร่วมกับนักปฏิรูป แต่ขอถามหน่อยเถิด..... อำมาตย์จะมองว่าคุณสุรชัยที่มีมวลชนแค่สองสามพัน สำคัญเท่ากับแกนนำ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน 7 คนที่มีมวลชนเป็นล้านจริงหรือ? หัดตาสว่างกันหน่อย !!
ล่าสุด.....ต้นมีนาคม....
บทความต้นเดือนมีนาคมของ "กาหลิบ" แสดงจุดยืนดีขึ้นมาก เพราะมีการเสนอจุดยืนแบบ "แนวร่วม" ที่ชัดเจนขึ้นคือ
"กาหลิบ" เขียนไว้ว่า......ต่อจากนี้ไปคือข้อเสนอให้พิจารณาร่วมกัน.....
๑. เลิกผูกขาดการต่อสู้ว่า จะต้องนำโดยคนกลุ่มเดียวหรืออยู่ภายใต้คนๆ เดียว แต่ควรส่งเสริมความหลากหลายของมวลชนประชาธิปไตย นั่นหมายความว่า ต้องเลิกใช้วาทกรรมแดงแท้แดงเทียม เลิกวิธีการคว่ำบาตรหรือประกาศขับไล่ใครหรือกลุ่มใดออกจากขบวนการ หาวิธีประสานงานระหว่างกลุ่มต่างๆ ตามเวลาอันเหมาะควร เพื่อรวมพลังกัน
๒. ยุติทัศนะที่ว่า ทุกคน “ตาสว่าง” กันหมดแล้ว หรือทุกคนเขา “รู้” แล้ว ว่าสู้อยู่กับใคร เพียงแต่เขาไม่พูดออกมาเพราะพูดไม่ได้หรือนั่งอำพรางอยู่ การอวดอ้างอย่างนี้ไม่มีประโยชน์ ถึงจะเป็นความจริงแต่ก็ไม่เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ จำเป็นต้องปล่อยให้บางคนวิเคราะห์เชิงชี้นำอย่างโจ่งแจ้งและชัดเจน เพื่อให้เป็นธงสำหรับอนาคต (อันใกล้) อย่างน้อยเป็นวิธีการทางจิตวิทยาที่อาจนำไปสู่การยุติลัทธิปิดปากตัวเองของ คนไทยจำนวนหนึ่งซึ่งนั่งเงียบเฉยอยู่ ทั้งที่รู้เต็มอกว่าปัญหาบ้านเมืองอยู่ที่ใครและอะไร ใครที่กล้าและพร้อม ก็ส่งเสริมให้เขาเดินนำไปก่อน ใครที่กำลังรวบรวมความกล้าและความพร้อมก็ให้ตามมาในภายหลัง อย่างนี้จะเกิดระยะที่ชัดเจนขึ้นในการต่อสู้แบบกระบวนการ
๓. พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย หรืออ้างตัวว่าเป็นเช่นนั้น เช่น พรรคเพื่อไทย เป็นต้น ต้องเสนอนโยบายต่อประชาชนในประเทศในเชิงปฏิวัติด้วย การปฏิวัติที่ว่านี้ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในมิติลึก นโยบายประชานิยมของรัฐบาลไทยรักไทย-พลังประชาชนทั้ง ๔ รัฐบาล ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการปฏิวัติประเทศ แต่การสานต่อต้องไปให้ไกลและลงให้ลึกกว่านั้น ตัวอย่างของแนวคิดและนโยบายที่ควรนำมาพิจารณาอย่างจริงจัง รวมถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญอย่างสมบูรณ์แบบ การสร้างรัฐสวัสดิการ การปฏิวัติระบบภาษีอากร เป็นต้นด้วย ถ้าทำเช่นนี้ได้ อำนาจรัฐที่หวังกันว่าจะได้รับจากกระบวนการเลือกตั้งก็จะสอดประสานกันได้กับ แนวทางปฏิวัติ แต่หากไม่ทำเช่นนี้ การแยกกลุ่มพลังที่มีแนวคิดปฏิวัติก็เป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะเราไม่อาจยอมให้ขบวนปฏิวัติประชาธิปไตยต้องล้มเหลวลงเพราะการก้าวเดิน ที่ผิดพลาดทางการเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า
๔. สร้างยุทธศาสตร์ “ส่งไม้” ระหว่างแนวทางปฏิรูปกับแนวทางปฏิวัติ ที่มีผลอย่างเป็นรูปธรรม
๕. ในการรวมพลังมวลชนระหว่างการปรับตัว ขอให้ทำอย่างที่แดงสยามทำมาตลอดต่อไป นั่นคือเรียกร้องให้มวลชนเข้าร่วมกิจกรรมของฝ่ายประชาธิปไตยทุกๆ กลุ่มอย่างต่อเนื่อง ไม่ปฏิเสธที่จะร่วมกับกลุ่มใดเพื่อรักษาอำนาจต่อรองในภาพรวมสำหรับขบวน ประชาธิปไตยไว้ โดยเก็บความในใจและอุดมการณ์อันก้าวหน้าไว้แสดงในโอกาสในอันเหมาะสม......
ผมขอสนับสนุนข้อ ๓, ๔, ๕
เพราะเป็นการเสนอแนวสู้ที่สมานฉันท์กับแนวปฏิรูปของ นปช.และมวลชน นปช. แต่ไปไกลกว่านั้น และครองใจประชาชนได้ดีกว่าในที่สุด
แต่ ผมคิดว่าน่าจะเพิ่มประเด็นเรื่องการปฏิรูปกองทัพและระบบศาลยุติธรรมอย่างถอน รากถอนโคนด้วย พร้อมกันนั้นต้องหาทางลงโทษคนที่สั่งฆ่าประชาชนเพื่อสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษย ชนแบบใหม่
อย่าง ไรก็ตาม ข้อ ๑ และ ๒ ถึงแม้ว่าเป็นความจริงและปฏิเสธไม่ได้ แต่เราจะเสียเวลาในการเรียกร้องเพราะแกนนำ นปช. อาจไม่ฟัง ประเด็นสำคัญคือนักปฏิวัติไม่ควรคิดทำแนวร่วมเพื่อเปลี่ยนใจแกนนำสายปฏิรูป แต่ควรเน้นการต่อสู้ร่วมกับมวลชน นปช. มากกว่า และถ้าเราสามารถเสนออะไรที่โดนใจมวลชน เราก็จะสามารถขึ้นมานำได้เอง โดยไม่ต้องวิงวอนอะไรจากแกนนำเดิม
สิ่งที่ "แดงสังคมนิยม" เคยเสนอในการเคลื่อนไหวมวลชนคือ
1. ต้องปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดงทุกคนและยกเลิกคดี
2. ยกเลิกกฏหมายหมิ่นและกฏหมายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ปิดปากประชาชนไทย
3. ต้องนำนักการเมืองและนายพลที่มีส่วนในการสั่งฆ่าประชาชนมาลงโทษ
4. ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยชุมชนคนเสื้อแดงต้องมีส่วนสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการ
5. ต้องมีการปฏิรูปกองทัพ และระบบศาล แบบถอนรากถอนโคน
6. ต้องสร้างสันติภาพในภาคใต้และที่ชายแดนเขมรด้วยมาตรการทางการเมืองที่แทนวิธีทหาร
7. ประเทศไทยต้องเริ่มสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าและครบวงจร ผ่านการเก็บภาษีจากคนรวย
8. สหภาพ แรงงาน และกลุ่มชุมชน ต้องมีสิทธิเสรีภาพในการต่อรองตามมาตรฐานสากล การนัดหยุดงานจะต้องไม่ถูกปราบปรามโดยรัฐหรือนายจ้าง ต้องมีการเพิ่มค่าจ้างระดับต่ำให้ถึง 400 บาทต่อวัน และแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านต้องมีสิทธิร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกับคนงานไทย
และเราต้องถามพรรคเพื่อไทยว่าเมื่อพรรคนี้จะสู้ภายใต้นโยบายแบบนี้ที่ครองใจประชาชน
บทความปลายเดือนมีนาคมก็มีข้อดีด้วย เพราะเขียนถึงแดงในยุโรป
เตือนให้รู้จักสามัคคี เตือนว่ากลุ่มเสื้อแดงไม่ควรบังคับให้คนเลือกข้างระหว่างฝ่ายต่างๆ ในขบวนการเสื้อแดง โดยพูดถึงแดงเทียมแดงแท้
ตรงนี้เห็นด้วยอย่างยิ่ง