หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

"มาร์ค"แจงสลายแดง ดูแค่นโยบาย การปฏิบัติเป็นของ"สุเทพ-ผบ.ทบ." ตร.คาดสรุปสำนวนทัน 17ธ.ค.

 

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปปัตย์(ปชป.) และอดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน คดีสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า ให้ปากคำกรณีสั่งให้กระชับพื้นที่การชุมนุมเมื่อปี 2553 บริเวณแยกคอกวัว โดยภาพรวมตนอธิบายบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน และเดือนพฤษภาคม 2553 ที่เจ้าหน้าที่ขอคืนพื้นที่การจราจร ทั้งนี้มีหน้าที่ดูภาพรวมนโยบายในการปฏิบัติงานของ ศอฉ.

ส่วนการปฏิบัติเป็นหน้าที่ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. และผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ทั้งนี้ ได้ยื่นหลักฐานประกอบคำชี้แจงให้กับทางพนักงานสอบสวนไปแล้ว ซึ่งเป็นภาพของชายชุดดำที่ปรากฏตัวบริเวณที่เกิดเหตุตรงแยกคอกวัว

นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ฝากไปถึงฝ่ายรัฐบาล อย่าออกมาแทรกแซงและชี้นำการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้เกิดความปรองดองในสังคม ส่วนตัวมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา เพราะขบวนการดังกล่าวมีความสำคัญมากในการเดินหน้าของประเทศ


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323432944&grpid=00&catid=&subcatid=
อย่าเล่นมุขเดิมๆ


"หากคิดจะหยุดอำนาจทักษิณและเครือข่าย ก็ต้องหันมาสู้กันตามกรอบกติกา
ใช้ข้อมูลหลักฐานที่ถูกต้อง อธิบายถึงด้านไม่ชอบมาพากลอย่างตรงไปตรงมา ใช้เวลาให้ประชาชนได้ศึกษาและได้บทสรุป

โดยไม่ใช่ข้อมูลจับแพะชนแกะในสังคมออนไลน์

หรือจับผิดจุกจิกไร้สาระ

ต้องล้มกันตามหนทางประชาธิปไตย ไม่ใช่พึ่งอำนาจพิเศษและกลวิธีหน้ามืดตามัว"

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323431191&grpid=&catid=02&subcatid=0207
"ยิ่งลักษณ์"ลั่นหลักการทำงาน ไม่คิดก้าวก่ายกองทัพ ย้ำกองทัพจุดยืนเดียวกับรัฐบาล ป้องสถาบันฯ
 



ที่กระทรวงกลาโหม ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 9 ธันวาคมว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางมาตรวจเยี่ยมกระทรวงกลาโหมเป็นครั้งแรกหลังจากรับตำแหน่งนายก รัฐมนตรี โดยมี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยผู้นำ 3 เหล่าทัพให้การต้อนรับ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ตรวจแถวกองทหารเกียรติยศผสม 3 เหล่าทัพพร้อมขึ้นแท่นเคารพ น.ส.ยิ่งลักษณ์แถลงว่า การฟังบรรยายภารกิจเหล่าทัพและการตรวจเยี่ยมกระทรวงกลาโหมครั้งนี้ รัฐบาลตระหนักว่ากองทัพและรัฐบาลต้องทำงานร่วมกัน และมีเป้าหมายเดียวกันคือ จะทำอย่างไรให้มีการรักษาความมั่นคงในชาติรวมถึงการรักษาเอกราชของประเทศ ที่สำคัญต้องร่วมมือกันในการปกป้องสถาบันอันเป็นที่รักและเคารพของคนไทยทั้ง ประเทศ

เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีให้ความมั่นใจได้หรือไม่ว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะไม่แทรกแซงกอง ทัพ และจะมีนโยบายอย่างไรในการดูแลกองทัพ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จริงๆ แล้วกองทัพก็มีหน้าที่ทำตามนโยบายของรัฐบาล แต่การดำเนินงานนั้นด้วยหลักการบริหารงานของดิฉันเอง ไม่คิดจะก้าวก่าย รัฐบาลมีหน้าที่ในการมอบนโยบายทางกองทัพก็ต้องรับนโยบายนั้นไปดำเนินการ ก็เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบที่จะทำงานร่วมกัน


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323419508&grpid=00&catid=&subcatid=

การเอาใจทหารเอาใจอำมาตย์ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีแต่เสียหาย
(อ่าน)
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-41-04/289-2011-11-10-09-56-11.html

ข้อเสนอเพื่อสร้างจุดยืนร่วมของ “แดงก้าวหน้า"
(อ่าน)
http://turnleftthai.blogspot.com/2011/12/blog-post.html 
อักโกธะ – อากง (สังคมแห่งความหวาดกลัว)

 

โดย นักปรัชญาชายขอบ

ข้อเสียอย่างยิ่งของบ้านเรา คือ การ “ไม่สามารถ” ยก “ประเด็นปัญหาระดับพื้นฐาน” ของความเป็นประชาธิปไตยมาถกเถียงกันด้วยเหตุผลอย่างถึงที่สุดได้ เช่น แม้แต่เกิด “กรณีอากง” ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนใจกันทั้งประเทศแล้ว ปัญหาเรื่องยกเลิก-ไม่ยกเลิก ปรับปรุง-ไม่ปรับปรุง ม.112 ก็ไม่สามารถนำมาถกเถียงกันอย่างตรงไปตรงมาจนสามารถนำไปสู่การมีฉันทามติทาง สังคมร่วมกันได้ แต่ต่างคนต่างพูดกันไป ผมจะลองนำตัวอย่างที่ต่างคนต่างพูดกันมาลองไล่เรียงเหตุผล (ตามการตีความของผม) ดู และผมก็เห็นว่า สองทัศนะข้างล่างนี้บ่งบอกมุมมองตรงข้ามเกี่ยวกับ ม.112 ได้ค่อนข้างชัดเจน

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38261
สหประชาชาติแถลงข่าวกรุงเจนีวา จี้ทางการไทยแก้ไขกม. หมิ่นฯ 


ราวินา แชมดาซานิ รักษาการโฆษกของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็น (OHCHR) แถลงข่าว ณ กรุงเจนีวา เรียกร้องทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ชี้ บทลงโทษที่ร้ายแรงเป็น "สิ่งที่ไม่จำเป็น" และ "เกินกว่าเหตุ" ระบุส่งผลสะเทือนด้านเสรีภาพในการแสดงออกอย่างร้ายแรง

วันนี้ (9 ธ.ค. 54) ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ราวินา แชมดาซานิ (Ravina Shamdasani) รักษาการโฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights - OHCHR) ได้แถลงข่าวเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เนื่องจากมองว่ากฎหมายดังกล่าวส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเสรีภาพในการแสดงออก ของประชาชน

Ravina Shamdasani OHCHR
Ravina Shamdasani รักษาการโฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
(ที่มา: เว็บไซต์สหประชาชาติ)

การแถลงดังกล่าวมีเนื้อหาว่า สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรหลักทางการด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เป็นกังวลต่อการพิจารณาคดีและการลงโทษที่ร้ายแรงด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย และผลกระทบของกฎหมายดังกล่าวซึ่งสร้างความหวาดกลัวที่มีต่อเสรีภาพในการ แสดงออกภายในประเทศ 

แชมดาซานิ ระบุว่า บทลงโทษที่ร้ายแรงที่เป็นอยู่ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและเกินกว่าเหตุ (neither neccessary nor proportionate) อีกทั้งเป็นการละเมิดหลักกฎหมายสากลที่ประเทศไทยมีพันธะผูกพันในทางระหว่าง ประเทศด้วย

"เราขอเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในขณะเดียวกันก็ควรมีการกำหนดแนวทางการดำเนินการให้แก่ตำรวจและอัยการ เพื่อยุติการจับกุมและดำเนินคดีบุคคลด้วยกฎหมายดังกล่าวที่มีความคลุมเครือ และนอกจากบทลงโทษที่ศาลตัดสินอย่างเกินกว่าเหตุแล้ว เรายังกังวลต่อการคุมขังผู้ต้องหาซึ่งมีระยะเวลานานต่อเนื่องในช่วงก่อนการ ไต่สวนคดีด้วย"  ตัวแทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ กล่าว

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38262
ยืนหน้าศาล 112 นาทีเพื่อ"อากง"และและเหยื่อกฎหมายหมิ่น

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม สวมหน้ากาก ส่องไฟฉาย ร่วมยืนไว้อาลัย 112 นาทีต่อกระบวนการยุติธรรม หน้าศาลอาญา ย้ำว่า “เราคืออากง” 


 
ยืนหน้าศาล112นาทีเพื่อ"อากง"และและเหยื่อกฎหมายหมิ่น 

วันนี้ (9 ธ.ค.54)  เวลา 13.00น. ที่บริเวณบาทวิถีหน้าศาลอาญา รัชดา ได้มีกลุ่มคนแต่งชุดดำจำนวนกว่า 112 คน นำโดยเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)และประชาชน ได้ชุมนุม พร้อมทั้งยืนไว้อาลัยต่อกระบวนการยุติธรรม ภายใต้ชื่อกิจกรรม “เราคืออากง” โดยมีจุดเริ่มต้นจากกรณีคดีของนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) วัย 61ปี โดนพิพากษาจำคุก 20 ปี จากการที่ศาลเชื่อว่าได้เป็นผู้ส่ง ข้อความทางโทรศัพท์ที่มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ‘คดีอากง SMS’ โดยการรณรงค์ยังมีเนื้อหารวมถึงผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือคดี ความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 112
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38263
รายงาน: เปิดคำฟ้อง-บรรยากาศวันพิพากษา ‘โจ กอร์ดอน’ 

                            

กรณีการตัดสินจำคุก 2 ปี 6 เดือนของโจ กอร์ดอน เป็นที่กล่าวขานอีกครั้งหลังกระแส “อากง”  เกินขึ้นไม่นาน โดยวานนี้ (8 ธ.ค.) มีผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศมาเฝ้าทำข่าวและถ่ายรูปโจระหว่างเดินลง จากรถควบคุมผู้ต้องขังไปยังห้องขังรวมใต้ถุนศาลอาญา โดยโจ ในชุดนักโทษและใส่ตรวนที่ขาได้กล่าวทักทายกองทัพผู้สื่อข่าวสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า “Thank you for coming”

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38260
เครือข่าย น.ศ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น จี้ อธิการฯ หยุด ‘ม.นอกระบบ’

เครือข่ายนักศึกษายื่นหนังสือถึงอธิการบดี ม.ขอนแก่น จี้ยุติการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จนกว่าจะเปิดเผยข้อมูล และมีกระบวนการการมีส่วนร่วม รวมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างทั่วถึง
 
 
 
วันนี้ (9 ธ.ค.54) เวลา 14.00 น. เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนำระบบ ประมาณ 50 คน เคลื่อนขบวนไปยังตึกอธิการเพื่อยื่นหนังสือต่ออธิการบดีมหาวิทยาขอนแก่น ให้อธิการบดีฯ ลงลายมือชื่อรับทราบข้อเรียกร้องของเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำ มหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเข้าร่วมยื่น หนังสือในครั้งนี้ด้วย
 
เครือข่ายนักศึกษาฯ ได้ออกแถลงการณ์ ระบุถึงการออกเคลื่อนไหวในครั้งนี้ว่า สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 22 พ.ย.54 ได้มีความพยายามแปรรูปมหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ออกไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ออกนอกระบบ) โดยความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
 
ทางเครือข่ายนักศึกษาฯ ซึ่งได้ติดตามและเฝ้าระวังการแปรรูปมหาวิทยาลัยตลอดมาเล็งเห็นว่า การนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบนั้น จะส่งผลกระทบต่อนักศึกษาอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านการตัดโอกาสทางการศึกษาของลูกหลานคนยากคนจนในเรื่องค่าเล่าเรียน ที่สูงขึ้น ด้านคุณภาพการศึกษาที่ด้อยลง และด้าน

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38259