หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผู้ประท้วงชาวอิหร่านหันซ้ายหันขวา เจอแต่ศัตรูกับปัญหา

ผู้ประท้วงชาวอิหร่านหันซ้ายหันขวา เจอแต่ศัตรูกับปัญหา

 

 

การออกมาประท้วงของชาวอิหร่าน เมื่อตอนต้นเดือนตุลานี้ เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจน ถึงความไม่พอใจของชาวอิหร่าน แม้เวลาจะผ่านมา ๓ ปีแล้ว นับจากการลุกขึ้นประท้วงของประชาชนหลายแสนคน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปประชาธิปไตย

แปลโดย  ครรชิต พัฒนโภคะ 
ที่มา http://socialistworker.co.uk/art.php?id=29736


ปัญหาวิกฤตเงินเฟ้อในอิหร่าน เติมเชื้อไฟให้กับการประท้วง
 
นีมา สุลต่านซาเดซ (NimaSoltanzadeh) กล่าวโทษทั้งทางรัฐบาลอิหร่าน และการแทรกแซงจากชาติตะวันตก ประชาชนหลายพัน ถูกตำรวจปราบจลาจล เข้าสลายการชุมนุม เมื่อวันพุธต้นเดือนตุลาที่ผ่านมา หลังจากที่พวกเขาตะโกนคำขวัญในการประท้วง คัดค้านรัฐบาล รอบๆ ตลาดเก่าในกรุงเตหะราน

การประท้วงครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจาก การที่ร้านค้าต่างๆ ได้พากันปิดตัวลง จากผลกระทบมูลค่าสกุลเงินของอิหร่าน เพราะภายในเวลาเพียงสองวัน ค่าของเงินรีลได้ตกลงถึงหนึ่งในสี่ ขณะที่เมื่อปี 2009 อัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง เงินอิหร่านรีล กับหนึ่งดอลล่าร์ เท่ากับ 9,000 แต่เมื่อปลายเดือนกันยา ค่าเงินรีลอ่อนค่าลงอีกถึง 35,000 ต่อดอลล่าร์


จากเหตุนี้ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถีบตัวสูงขึ้น ประชาชนคนธรรมดาในอิหร่านที่ตามปกติก็หางานทำไม่ค่อยมีหรือได้ค่าแรงต่ำอยู่ แล้ว ยังต้องมาพบกับปัญหาเศรษฐกิจซ้ำเติมอีก เช่น ราคาเนื้อไก่ขยับเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งเท่าตัว ในช่วงครี่งปีแรกของปีนี้


ขณะที่นโยบายของรัฐบาลอิหร่านสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง การแทรกแซงโดยรัฐบาลชาติตะวันตก เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ประชาชนธรรมดาๆ ต้องตกอยู่ในสภาพเหมือนถูกบีบ ระหว่างสองปัญหาใหญ่ นั่นคือชาติตะวันตกปิดกั้นการส่งออกน้ำมัน ซึ่งมีผลทำให้กองทุนดอลล่าร์สำรองของรัฐลดลง ส่งผลให้การนำเข้าอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นลดลงตามไปด้วย


การออกมาประท้วงของชาวอิหร่าน เมื่อตอนต้นเดือนตุลานี้ เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจน ถึงความไม่พอใจของชาวอิหร่าน แม้เวลาจะผ่านมา ๓ ปีแล้ว นับจากการลุกขึ้นประท้วงของประชาชนหลายแสนคน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปประชาธิปไตย ขณะที่การเคลื่อนไหวถูกปราบปราม ยับยั้ง แต่ความโกรธของประชาชนก็ยังคงดำรงอยู่ การประท้วงประปรายยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจำนวนครั้งในการประท้วงนัดหยุดงานก็ขยับเพิ่มสูงขึ้น


อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงทางเศรษฐกิจของชาติตะวันตก และความเสี่ยงต่อภัยสงคราม กำลังทำร้ายความเป็นอยู่ของชาวอิหร่าน และสร้างอุปสรรคให้กับการลุกขึ้นประท้วงครั้งใหญ่ เพื่อเรียกร้อง ประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคม  เรื่องนี้ไม่ใช่เหตุบังเอิญ ดูได้จากการที่นักการเมือง อเมริกา ยุโรปและอิสราเอล พยายามเบี่ยงเบนประเด็นข้อเท็จจริงในการประท้วงที่เตหะราน ให้กลายเป็นแผนอาณานิคมของพวกเขา


รัฐมนตรีฝ่ายขวาจัดของอิสราเอล อวิดอร์ ไลเบอมาน (Avigdor Lieberman) เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน เขาบอกว่า
“การลุกขึ้นมาของคนอิหร่าน” เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ “อาหรับสปริง” นั่นเอง ผู้เชี่ยวชาญอเมริกัน ก็อ้างว่าการแทรกแซงของชาติตะวันตกนั้น ในที่สุดได้ปลุกกระแสการเรียกร้องเสรีภาพให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง

เมื่อหกปีที่แล้ว เมื่อมหาอำนาจตะวันตกประกาศว่าการแทรกแซงอิหร่านนั้น จะพุ่งเป้าไปที่รัฐบาลเท่านั้น และจะไม่ให้มีผลกระทบกับประชาชน  แต่ตอนนี้พวกเขายอมรับว่า รัฐบาลตะวันตกกำลังหาประโยชน์จากความทุกข์ยากของประชาชนคนธรรมดา เพื่อผลประโยชน์ที่จะมีมาจากการเปลี่ยนแปลงระบอบ และในความเป็นจริงการแทรกแซงใดๆ ก็ตามของตะวันตก มันก็มักจะทำให้การควบคุมประชาชนจากพวกชนชั้นปกครองอิหร่านยิ่งมากขึ้นด้วย



ภายหลังการประท้วง อยาโตเลาะห์ โคไมนี่ (Ayatollah Khamenei) ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ประกาศว่า “อิหร่านจะไม่ยกเลิกโครงการ นิวเคลียร์”

 การเลือกตั้งประธานาธิบดีกำลังใกล้เข้ามา โดยมีกำหนดในเดือนกรกฎาคมปีหน้านี้ พวกชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ พยายามจะหาวิธีขโมย ประเด็นการประท้วงจากความไม่พอใจของประชาชนให้เกิดเป็นผลประโยชน์ต่อพวกเขา นักการเมืองอนุรักษ์นิยมเศรษฐีพันล้านอย่าง ฮะบีบนเลาะห์ อัคราวลาดี (Habibollah Asgarowladi) ออกมาพูดปกป้องความจำเป็นต้องปิดร้านค้าของพวกพ่อค้าในตลาดเมื่อต้นเดือน ตุลาเช่นกัน การเกาะเกี่ยวกันของพ่อค้าตลาดเหล่านั้นกับชนชั้นปกครอง และแนวการเมืองที่สนับสนุนกลไกตลาดของพวกเขา มันหมายความว่าพ่อค้าในตลาดไม่อาจจะมาเป็นพันธมิตรกับคนงานกรรมกรได้


นักกิจกรรมเคลื่อนไหวด้านแรงงานเอง ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งองค์กรขึ้นอย่างเปิดเผยในอิหร่าน แต่เมื่อเดือนมิถุนายน พวกเขาได้ยื่นข้อเรียกร้องคัดค้านการขึ้นค่าครองชีพ ขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำไม่พอใช้จ่าย ต่อรัฐมนตรีที่รับผิดชอบสวัสดิการแรงงานและกิจการสังคม ซึ่งมีคนร่วมลงชื่อถึงหนึ่งหมื่นคน และยังได้รายชื่อเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหมื่นในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
 

การประท้วงแบบนี้มีโอกาสที่เติบโตเป็นการเคลื่อนไหวของมวลชนขนาดใหญ่ที่มี ฐานมาจากคนระดับล่างได้ การออกมาประท้วงในละแวกตลาดเก่าครั้งนี้ อาจจะมีคนใส่ใจในข่าวเพียงไม่กี่พันคนจากประชากร ๑๒ ล้านของเตหะราน แต่พวกคนงานหลายล้านต่างก็รับรู้ และร่วมแบ่งปันความไม่พอใจในเรื่องนี้ด้วย
 

การเคลื่อนไหวประท้วงที่จะเข้าถึงจิตใจของชนชั้นผู้ใช้แรงงานในอิหร่าน ได้ดี จำเป็นต้องพุ่งเป้าไปที่ รัฐบาลชาติตะวันตก พร้อมๆ กับชนชั้นปกครองของอิหร่านเองด้วย

(ที่มา)  
http://turnleftthai.blogspot.dk/

26-11-55 ที่นี่ความจริง

26-11-55 ที่นี่ความจริง

  
ที่นี่ความจริง อ หวาน อ ตุ้ม 11มิย55


26-11-55 ที่นี่ความจริง part 1
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=yWAClGhE4SA

26-11-55 ที่นี่ความจริง part 2
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=LR0ePMqmjP0

26-11-55 ที่นี่ความจริง part 3
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=g5ufWknuE3U

26-11-55 ที่นี่ความจริง part 4
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=LvUTTlQLCfA  

Divas Cafe ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555


แช่แล้ว...ไม่แข็ง 

แช่แล้ว...ไม่แข็ง

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/VoiceTV#video=xvdofl

Wake up Thailand ประจำวันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2555

Wake up Thailand ประจำวันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2555      
 


น้ำแข็งละลายแล้ว ระวังลื่น !!!

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=A68sXGbjQN0

The Daily Dose ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555

The Daily  Dose ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555


ผู้ตรวจการเเผ่นดินล้มประมูล กสทช.ไม่ได้ 

ผู้ตรวจการเเผ่นดินล้มประมูล กสทช.ไม่ได้ 

(คลิกฟัง) 
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=-nZH-zsFi0A

‘สันติอโศก’ ณ ตำแหน่งศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ บนเส้นทางศาสนากับ ปชต.

‘สันติอโศก’ ณ ตำแหน่งศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ บนเส้นทางศาสนากับ ปชต.




"สันติอโศกควรยุติการอ้างสันติวิธีเพื่อสนับสนุนการใช้สถาบัน กษัตริย์มาต่อสู้ทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อยุติความเสียหายอันอาจเกิดแก่สถาบันมากไปกว่านี้ และเพื่อปลดล็อกความรุนแรงอันอาจเกิดขึ้นในอนาคต ไม่เช่นนั้นสันติวิธีแบบสันติอโศกจะก่อ “บาปอย่างมหัน” ต่อประชาธิปไตย และสังคมไทยไม่น้อยไปกว่า หรืออาจยิ่งกว่าที่กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกฺขุ และกลุ่มนวพลเคยทำมา"
 
โดย อ.สุรพศ ทวีศักดิ์

โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับการที่สันติอโศกประกาศตัวเป็นอิสระจากการปกครองของมหาเถรสมาคม เพราะ (1) ระบบสมณศักดิ์ของมหาเถรสมาคมเป็นระบบฐานันดรศักดิ์ที่ขัดต่อหลักการพื้นฐาน ของความเป็น “สังฆะ” ของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมที่ยึดหลักความเสมอภาค ไม่มีชนชั้น ไม่มีฐานันดรศักดิ์ (2) โครงสร้างอำนาจมหาเถรสมาคมที่ขึ้นต่อระบบอาวุโสทางสมณศักดิ์ดังกล่าว เป็นโครงสร้างเผด็จการ (3) สังฆะภายใต้อำนาจมหาเถรสมาคมมีบทบาทค้ำจุนสถานะอำนาจบารมีของระบบอำนาจจารีต โดยการอ้างศีลธรรมทางพุทธศาสนาไปสนับสนุนคุณวิเศษของชนชั้นปกครอง ขาดสำนึกที่จะปกป้องราษฎรที่ถูกกดขี่ วัฒนธรรมสังฆะภายใต้ระบบเช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรม ประชาธิปไตยโดยพื้นฐาน

ฉะนั้น การที่สันติอโศกประกาศตัวเป็นอิสระจากการปกครองของมหาเถรสมาคม จึงมีความหมายสำคัญว่า เป็นไปได้ที่จะมีสังฆะที่เป็นอิสระจากรัฐ ปกครองกันเองตามหลักธรรมวินัย ไม่รับสมณศักดิ์หรือตำแหน่งการปกครองตั้งแต่เจ้าอาวาส อุปัชฌาย์ ฯลฯ ที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย แต่ชุมชนแห่งสังฆะนั้นจัดระบบการปกครองกันเองตามหลักการ/วิธีการที่ระบุไว้ ในธรรมวินัย ไม่รับงบประมาณจากรัฐ เป็นองค์กรสังฆะในรูปเอกชนที่จัดการเรื่องการปกครอง การศึกษา ปฏิบัติธรรม การตรวจสอบกันเองทางธรรมวินัย และอื่นๆ อย่างเป็นตัวของตัวเอง นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นข้อดีของชุมชนสันติอโศก นี่คือ”โมเดล” ของ “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” ซึ่งผมคิดว่าพุทธศาสนาในอนาคตน่าจะมีกลุ่มต่างๆ ที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองในแบบต่างๆ มากขึ้น

โดยความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง หรือแนวทางของชาวพุทธกลุ่มต่างๆ นั้น จะเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับชาวบ้านเขายอมรับหรือไม่ เพราะคนทั่วไปไม่ได้โง่ เราต้องเชื่อว่า ผู้คนมีเหตุผลที่จะตัดสินถูก ผิด ด้วยตนเอง ตราบใดที่ชาวพุทธกลุ่มต่างๆ ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการละเมิดสิทธิพลเมือง พวกเขาย่อมมีอิสระที่จะเลือกแนวทางศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ศาสนาของตนได้เต็มที่ ใครสอนถูก สอนผิด เป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรวิพากษ์วิจารณ์กันไป ไม่ใช้อำนาจรัฐเข้ามาจัดการ

ผมคิดว่าชุมชุนสันติอโศกคือชุมชนตัวอย่างของชุมชนพุทธที่เป็น อิสระจากรัฐ ที่ยืนอยู่ได้ด้วยขาของตนเอง และนี่จะเป็นแบบอย่างให้เกิดชุมชนพุทธอื่นๆ ต่อไป แม้ชุมชนนั้นๆ อาจมีแนวทางเฉพาะของตนเองที่แตกต่างกันออกไป

(อ่านต่อ)
http://prachatai.com/journal/2012/11/43884

ศาลสั่งแล้วคดีที่2 ! สลายชุมนุมแดง 'ชาญณรงค์ พลศรีลา' เสียชีวิตจากทหาร

ศาลสั่งแล้วคดีที่2 ! สลายชุมนุมแดง 'ชาญณรงค์ พลศรีลา' เสียชีวิตจากทหาร

 






26 พ.ย.55 เมื่อเวลา 11.00 น.ที่ศาลอาญา รัชดา ศาลได้อ่านคําสั่งไต่สวนกว่า 1 ชม.ระบุว่า การตายของนายชาญณรงค์ พลศรีลา คนขับรถแท็กซี่เสื้อแดงที่ถูกยิงและเสียชีวิตบริเวณหน้าปั้มเชลล์ ถนนราชปรารภ ช่วงบ่ายวัน ที่ 15 พ.ค.53 จากการกระชับวงล้อมของเจ้าหน้าที่ทหาร เป็นการเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารขณะควบคุมสถานการณ์ การชุมนุม ตามคําสั่ง ศอฉ. ที่บริเวณถนนราชปรารภ ด้วยกระสุนปืนเล็กกลขนาด. 223 แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นทหารคนใดหรือสังกัดใดที่ทำให้นายชาญณรงค์เสีย ชีวิต ทั้งนี้ การไต่สวนการตายครั้งนี้นับเป็นลำดับที่ 2 ต่อจากคดีนายพัน คํากอง ซึ่งศาลมีคําสั่งในทำนองเดียวกันไปเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา
 
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43874

9 โมงเช้าวันนี้ ศาลนัดฟังคำสั่งคดี "ชาญณรงค์" เหยื่อกระสุน พ.ค.53
http://prachatai.com/journal/2012/11/43870

ได้เวลาลิเกออกโรง

ได้เวลาลิเกออกโรง

 

 
เมื่อเวลา 14.57 น. วันที่ 26 พ.ย. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

ชีวิตฉันมีแต่หมานำ
http://www.youtube.com/watch?v=MZbFtxbds7U 

ในหลวง เสด็จฯ เยี่ยมโรงโคนมสวนจิตรลดา-ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353933070&grpid=02&catid=01&subcatid=0100 

สงคราม ยืดเยื้อ ไม่จบ เพียง ′เสธ.อ้าย′ ยังมี เสธ.อื่นรออยู่

สงคราม ยืดเยื้อ ไม่จบ เพียง ′เสธ.อ้าย′ ยังมี เสธ.อื่นรออยู่



 
การยอมสลายแต่โดยดีของม็อบ อพส.คล้ายกับเป็นชัยชนะของรัฐบาล เป็นชัยชนะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง-มิใช่

 
เพราะการชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเสมอเป็นเพียงยุทธการ 1 ในแผนการทั้งหมดอันมีการจัดวางเอาไว้แล้ว

หลังควันแก๊สน้ำตาจางรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ต้องเดินเข้าสภา

จาก วันที่ 25 ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน ไม่เพียงแต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก หากแม้กระทั่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ต้องถูกจับขึ้นเขียงในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ

นี่ มิได้เป็นเรื่องในระบบรัฐสภาเท่านั้น หากแต่ที่สำคัญยังต้องเข้าสู่ระบบการถอดถอนผ่านคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

และหากเข้าข่ายก็จะต้องเดินขึ้นสู่ตะแลงแกงแห่งศาลรัฐธรรมนูญในที่สุด

ขณะ ที่ในความเป็นจริง ม็อบ อพส.ที่ประกาศสลายตัวก็เสมอเป็นเพียง พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่อำลาจากไป คนอื่นๆ ยังอยู่ครบหน้า

และยังพร้อมจัด "ม็อบ" แช่แข็ง ปิดประเทศ ต่อไป

มี ความจำเป็นไม่เพียงแต่แกนนำฝ่ายต้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เท่านั้นที่จะต้องนำกรณีม็อบแช่แข็งมาศึกษา สังเคราะห์ อย่างเข้มงวด จริงจัง

หากแม้กระทั่ง พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ก็ต้องขบคิด พิจารณา

มองจากมุมของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประหนึ่งว่าจำนวนที่คาดหมายเอาไว้อย่างน้อย 1 แสน อย่างมาก 1 ล้าน ไม่ปรากฏเป็นจริง

 
แทนที่จะโทษตัวเอง กลับโทษรัฐบาล

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง จุดเริ่มต้นของม็อบ อพส.มิได้เริ่มต้นจากสภาพความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ในทางเศรษฐกิจ ในทางการเมือง