อนุสาวรีย์ปราบกบฏ
โดย อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
เผยแพร่ครั้งแรก หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 381 ประจำวันเสาร์ ที่ 13 ตุลาคม 2555
การฟื้นตื่นของอนุสาวรีย์ปราบกบฏ
อนุสาวรีย์แห่งการต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยครั้งแรก
และมีลักษณะเดียวกับการต่อสู้ของคนเสื้อแดงที่ปกป้องประชาธิปไตย
ที่วงเวียนหลักสี่
จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา
มีอนุสาวรีย์แห่งหนึ่งตั้งอยู่ เป็นอนุสาวรีย์รูปพานรัฐธรรมนูญ ปัจจุบัน
อนุสาวรีย์แห่งนี้ เรียกกันว่า อนุสาวรีย์หลักสี่
ซึ่งปราศจากความหมายอันชัดเจน
แต่อนุสาวรีย์แห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า อนุสาวรีย์ปราบกบฏ
สร้างขึ้นในโอกาสที่รัฐบาลคณะราษฎรสามารถเอาชนะ และปราบปรามกบฏบวรเดช
ซึ่งเป็นกบฏฝ่ายนิยมเจ้าที่คุกคามประชาธิปไตยของสยาม
อนุสาวรีย์นี้เป็นที่บรรจุอัฐิของทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดัง
กล่าวไว้ภายในรวม 17 นาย และรูปแบบของอนุสาวรีย์นี้
ยังกลายเป็นต้นแบบของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถนนราชดำเนินด้วย
อนุสาวรีย์นี้ยังมีชื่อเรียกอื่น เช่น อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
อนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ และอนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น
กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2476
นับเป็นการกบฏครั้งแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ.2475โดยเริ่มจากกลุ่มนายทหารและข้าราชการฝ่ายนิยมเจ้าที่ต่อต้านคณะ
ราษฎร ได้ไปตั้งกองบัญชาการที่นครราชสีมา แล้วเรียนตนเองว่า
“คณะกู้บ้านกู้เมือง” โดยมี นายพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า
แล้วตั้งให้ พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม(ดิ่น ท่าราบ)เป็นแม่ทัพ
ยกกำลังเข้ามาในพระนคร