“รัฐ” ไม่ได้เป็นเจ้าของ “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” แต่เป็นแค่ “นอมินี” ของ “กษัตริย์” เท่านั้น
(1)
Royalist ท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ
“สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ในเฟซบุ๊คของเขา โดยได้เปรียบเทียบ
“สนง.ทรัพย์สินฯ” ไว้อย่างน่าสนใจมาก เพียงแต่ว่า Royalist
ท่านนี้ได้ละเลยข้อเท็จจริงที่สำคัญบางอย่างไป
ทำให้ข้อสรุปที่ได้จึงกลายเป็นกลับหัวกลับหางกับความเป็นจริง
ผมจึงจะยกการเปรียบเทียบดังกล่าวมาเล่าพร้อมกับจะพยายามชี้ให้เห็นข้อเท็จ
จริงที่ Royalist ท่านนั้นมองข้ามไปให้ผู้อ่านได้เห็น
ซึ่งผมคิดว่าด้วยวีธีนี้น่าจะช่วยให้หลายๆคนสามารถทำความเข้าใจสถานะความ
เป็นเจ้าของของ สนง.ทรัพย์สินฯได้ง่ายขึ้น
Royalist ท่านนั้นได้เปรียบเทียบไว้ว่า
“(สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) เหมือนบริษัทมหาชน
ที่ในหลวงทรงเป็น "ประธานกิตติมศักดิ์", รมว.คลัง เป็น "ประธานบอร์ด",
ผู้อำนวยการ สนง.ทรัพย์สินฯ เป็น CEO” (โปรดดู
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=280522802081962&set=a.117227755078135.19760.100003727339052&type=1)
อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้ว
การเปรียบเทียบนี้ได้ละเลยข้อเท็จจริงที่สำคัญบางอย่างไป กล่าวคือ
ไม่มีประธานกิตติมศักดิ์บริษัทมหาชนที่ไหนมีอำนาจแต่งตั้งบอร์ดบริหารของ
บริษัทเกือบทั้งหมด (โดยทั่วไป อำนาจการตั้งบอร์ดเป็นของ “ผู้ถือหุ้น”
ซึ่งก็คือคนที่เป็นเจ้าของบริษัทนั่นเอง)
และไม่มีประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทไหนที่สามารถใช้สอยเงินกำไรของบริษัท
แต่เพียงผู้เดียว
(โดยทั่วไปกำไรของบริษัทนอกจากจะหักไว้เพื่อการลงทุนเพิ่มหรืออื่นๆแล้วก็
ปันผลให้ “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งก็คือคนที่เป็นเจ้าของบริษัท)
(2)
สนง.ทรัพย์สินฯมีคณะกรรมการซึ่งมีอำนาจดูแลกิจการทั้งหมดของ สนง. โดยมี
รมว.กระทรวงการคลังเป็นประธานโดยตำแหน่ง และมีกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4
คนซึ่งแต่งตั้งโดยกษัตริย์ โดย 1
ในกรรมการที่กษัตริย์แต่งตั้งนั้นทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการด้วย (ดู
พรบ.ระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2491
ม.4 ตรี) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกรรมการที่กษัตริย์แต่งตั้งมีทั้งหมดถึง 6
คน (ดู http://www.crownproperty.or.th/about_us_02.php)
จะเห็นได้ว่าอำนาจในการแต่งตั้ง “บอร์ด” ส่วนใหญ่ของ สนง.
(หรือของบริษัทถ้าเอาตามที่ Royalist ท่านนั้นได้เปรียบเทียบไว้) ส่วนใหญ่
(ขั้นต่ำ 80% ของบอร์ดทั้งหมด หรือ 86% ตามตัวเลขจริงในปัจจุบัน)
ซึ่งรวมถึงคนที่ทำหน้าที่เสมือนเป็น CEO (ตามที่ Royalist
ท่านนั้นได้เปรียบเทียบไว้) นั้นอยู่ที่กษัตริย์
ทั้งที่โดยปกติอำนาจนี้ต้องเป็นอำนาจของผู้ถือหุ้น
(ซึ่งก็คือเจ้าของบริษัท) เท่านั้น
นั่นหมายความว่าในทางปฏิบัติ “กษัตริย์” เป็น “เจ้าของตัวจริง” ของ
สนง.ทรัพย์สินฯ ไม่ใช่ “รัฐ” อย่างที่ Royalist หลายๆคนพยายามยืนยัน
เพราะมีอำนาจตั้งบอร์ดแบบเดียวกับผู้ถือหุ้น/เจ้าของบริษัทโดยทั่วไป
(ส่วนเรื่อง “รมว.คลัง เป็นประธานโดยตำแหน่ง” ผมจะกลับมาพูดทีหลัง)
ไม่เพียงเท่านั้น กษัตริย์ยังเป็นผู้เดียวที่สามารถใช้สอยกำไรของ
สนง.ทรัพย์สินฯ และเป็นการใช้สอยได้ตามอัธยาศัยไม่ว่ากรณีใดๆ
พูดง่ายๆคือเอาไปใช้ยังไงก็ได้ (ดู
พรบ.ระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2491
ม.6 วรรค 2) จะมียกเว้นก็แต่ในกรณีที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(มาตรา/วรรคเดียวกัน) ซึ่งก็คือผู้ที่เป็นตัวแทนของกษัตริย์อยู่ดี