หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เสวนาโต๊ะกลม: นิรโทษกรรมต้องไม่ให้อาชญากรรัฐลอยนวล

เสวนาโต๊ะกลม: นิรโทษกรรมต้องไม่ให้อาชญากรรัฐลอยนวล




เสวนา "นิรโทษกรรมต้องไม่ให้อาชญากรรัฐลอยนวล"
เสนอโดย พจนา วลัย
วันพุธที่ 24 กรกฎาคม
เริ่ม 18.30 น.
ที่ ม.นิคม ดินแดง
จัดโดย กลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสต์
สอบถาม 0816134792

ข้อจำกัดของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน

ข้อจำกัดของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน

 

โดย อ.พวงทอง ภวัครพันธุ์

ในขณะนี้ ฝ่ายประชาชนที่พยายามผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองกำลังเจอปัญหา ว่าจะสนับสนุนร่างกฏหมายฉบับไหนดี ระหว่างร่างฯ ของ สส.วรชัย เหมะ และร่างฯ ฉบับประชาชน ที่เสนอโดยญาติผู้เสียชีวิตเมษา-พฤษภา 2553 ดิฉันเชื่อว่าจุดมุ่งหมายหลักของทั้งสองฉบับนี้ คือช่วยเหลือนักโทษเสื้อแดงที่ยังติดคุกมานานกว่า 3 ปี ให้ได้อิสรภาพโดยเร็ว โดยฉบับประชาชนระมัดระวังไม่ต้องการให้นายทหารระดับบังคับบัญชาและระดับล่าง ที่ใช้กำลังตามอำเภอใจลอยนวลไปง่าย ๆ

อย่างไรก็ดี บทความนี้จะจำกัดการพิจารณาว่าร่างนิรโทษกรรมฉบับประชาชนนี้ จะสามารถบรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือนักโทษการเมืองได้มากน้อยแค่ไหน   
ใครจะได้รับนิรโทษกรรมบ้าง

ประเด็นสำคัญของร่างฯฉบับประชาชนมี 2 ประเด็น คือ
หนึ่ง ตัวหลักการของร่างที่ระบุว่า “ให้มีกฎหมายว่าด้วยนิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง” นับแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

(อ่านต่อ)

พ.ร.บ.นิรโทษฉบับญาติวีรชน บนความขัดแย้งสับสน

พ.ร.บ.นิรโทษฉบับญาติวีรชน บนความขัดแย้งสับสน


ใบตองแห้ง Baitonghaeng 
ใบตองแห้ง Baitonghaeng

 
พลันที่ญาติวีรชนพฤษภา 53 อันมีแม่น้องเกด กับพ่อน้องเฌอ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ออกมาเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติวีรชน ก็เกิดความขัดแย้งตอบโต้กับวรชัย เหมะ อ.ธิดา และหมอเหวง โตจิราการ ทั้งในเฟซบุคและในหน้าสื่อ ซึ่งได้โอกาส “เสี้ยม” อย่างสนุกสนาน กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ ยังออกมา “สนับสนุน” ร่างของญาติวีรชน (แต่ไม่สนับสนุนจริงเพราะละเลยสาระสำคัญ)
 
การตอบโต้กันด้วยท่าทีที่รุนแรง และมีกองเชียร์ทั้งสองฝ่ายนี้ ไม่เป็นผลดีเลยต่อการผลักดันให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมืองโดยเร็ว
 
กรณีนี้มีหลายประเด็นที่ควรแยกแยะทำความเข้าใจ

1.ความไม่ไว้ใจนักการเมือง
 
การนิรโทษกรรมมวลชนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมคุมขัง จำเป็นต้องอาศัยจังหวะทางการเมือง ไม่ใช่มีอำนาจแล้วทำได้ทันที ฉะนั้นการที่บอกว่ารัฐบาลต้องทำเรื่องอื่นก่อน หรือต้องคำนึงถึงเสถียรภาพรัฐบาลด้วย แรกๆ ก็มีเหตุผล
 
แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี รอแล้วรอเล่า มีจังหวะที่น่าจะทำหลายครั้งแต่ไม่ทำ มวลชนก็รู้สึกว่ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทยไม่ให้ความสำคัญ หนำซ้ำยังมีความพยายามจะสอดแทรก พ.ร.บ.ปรองดอง นิรโทษเหมาเข่ง ทั้งทักษิณและผู้รับผิดชอบการปราบปรามประชาชนเมื่อปี 53 อยู่เสมอ
 
เมื่อปี 55 พรรคเพื่อไทยประกาศผลักดันแก้ไขมาตรา 291 แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก่อนนิรโทษกรรม ซึ่งไม่ว่ากัน แต่แล้วก็ถูกคว่ำทั้งกระดาน เพราะดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเข้ามาแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย (และยังคาอยู่ในสภาจนบัดนี้)
 
หลังจากนั้นจึงเกิดกระแสผลักดันให้นิรโทษกรรมมวลชนก่อน จนเกิดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัย เหมะ ผ่านมติพรรค ให้เข้าสภาเป็นวาระแรก หลังเปิดสภาเดือนสิงหาคม
 
(อ่านต่อ) 
http://www.voicetv.co.th/blog/1570.html