หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand


Wake Up Thailand ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ตอน 2 
ทุบตึกศาลฯ ลบรอยคณะราษฎร 2


ทุบตึกศาลฯ ลบรอยคณะราษฎร 1

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ตอน 1
ทุบตึกศาลฯ ลบรอยคณะราษฎร 1 
http://www.dailymotion.com/video/xw303b_ 

The Daily Dose

The Daily Dose



The Daily Dose ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2555
ธนาคารโลกเลื่อนอันดับรายได้ไทย
2555http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=maljzduLEOs 

The Daily Dose ประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2555
เงินเดือนนักการเมืองสูงไม่น้อย
http://www.dailymotion.com/video/xw2e09

Divas Cafe

Divas Cafe

 
สมเกียรติ VS เกษียร กับจุดยืนขององค์กรอิสระ 
 
Divas Cafe ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2555
สมเกียรติ VS เกษียร กับจุดยืนขององค์กรอิสระ
http://www.dailymotion.com/video/xw3924 

 
กรรมการสิทธิฯ สิทธิเพื่อใคร?

Divas Cafe ประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2555
กรรมการสิทธิฯ สิทธิเพื่อใคร?
http://www.dailymotion.com/video/xw263u 

ทหารไทย กาฝากของสังคม

ทหารไทย กาฝากของสังคม 





ผบ.สส.นำผบ.เหล่ามาแถลงข่าวว่า ที่ไล่ยิงประชาชนเพราะรัฐบาลอภิสิทธิ์สั่ยืนยันว่า กองทัพไม่ใช่กองโจร จะไม่มีวันไปกระทืบประชาชน จะไม่มีวันให้ใครมารังแกผู้หญิงต่อหน้าต่อตา จะไม่มีวันไล่ยิงประชาชน และจะไม่มีวันทรมานพระ จับพระไปมัดไพร่หลัง เพราะทหารเป็นชาวพุทธ ทหารไทยไม่ใช่กองโจรครับ!!!

(ที่มา)
http://www.thairath.co.th/content/pol/314672 

ทหารไทย กาฝากของสังคม

 



ทหารไทย ใช้ปืนไล่ยิง ประชาชน !!!
http://www.youtube.com/watch?v=PszZaxzAGL0 
 
ทหารไทย กาฝากของสังคม
http://www.youtube.com/watch?v=9pfHNfNjkRU 

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ 

  
ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเชื่อว่าจุดศูนย์กลางอำนาจ อำมาตย์อยู่ที่กษัตริย์และราชวงศ์ ในความเป็นจริงอำนาจแท้ที่อยู่เบื้องหลังกษัตริย์คือกองทัพ กองทัพไทยแทรกแซงการเมืองและสังคมมาตั้งแต่การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เพราะคณะราษฎร์พึ่งพาอาศัยอำนาจทหารในการทำการปฏิวัติ แทนที่จะเน้นการสร้างพรรคมวลชน

อย่างไรก็ตามเราควรเข้าใจว่าอำนาจทหารเป็นอำนาจจำกัด

ในหลายยุคหลายสมัยอำนาจกองทัพถูกจำกัดและลดลงเพราะการ ลุกฮือและการเคลื่อนไหวของประชาชนในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม กรณี ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ และพฤษภา ๒๕๓๕ เป็นตัวอย่างที่ดี ดังนั้นเราควรเข้าใจว่ากองทัพเป็นกลุ่มอำนาจหนึ่งในชนชั้นปกครอง กลุ่มอื่นๆ ประกอบไปด้วย นายทุนใหญ่ นักการเมือง และข้าราชการชั้นสูง แต่สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับกองทัพ ถ้าเทียบกับกลุ่มอื่นๆในชนชั้นปกครองหรืออำมาตย์คือ กองทัพจะผูกขาดการใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธ ซึ่งความรุนแรงนี้ใช้ในรัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาล และใช้เพื่อฆ่าประชาชนมือเปล่า ล่าสุดก็ที่ราชประสงค์ในปี ๒๕๕๓ นี้เอง

วัตถุประสงค์หลักของการมีกองทัพสำหรับชนชั้นปกครองไทยคือ เป็นเครื่องมือในการควบคุมและปราบปรามประชาชนภายในประเทศ วัตถุประสงค์รองคือเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่ำรวยให้พวกนายพล กองทัพไทยขาดประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิงในการทำสงครามระหว่างประเทศ สงครามกับประเทศเพื่อนบ้านใน ASEAN ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นทหารไทยจะเป็น “รั้วพุ” ที่ป้องกันประเทศไม่ได้ ในอดีตกองทัพไทยต้องยอมแพ้ต่อญี่ปุ่น และมหาอำนาจอื่นๆ มาตลอด กองทัพไทยต่างจากกองทัพของเวียดนาม ลาว หรือของอินโดนีเซีย ที่เคยได้รับชัยชนะในการปลดแอกประเทศ ดังนั้นกองทัพไทยมีรถถังไว้เพื่อข่มขู่ประชาชนไทยและเพื่อทำรัฐประหารเท่า นั้น

ในอดีตมีสองกรณีที่กองทัพไทยทำสงคราม แต่เป็นสงครามภายใน คือสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และสงครามปัจจุบันที่ยังไม่สิ้นสุดในสามจังหวัดภาคใต้ ในทั้งสองกรณีนี้กองทัพไม่สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ เพราะการลุกขึ้นสู้ของประชาชน เกิดจากการกดขี่และการที่ไม่มีความยุติธรรมในสังคม และทุกครั้งพฤติกรรมป่าเถื่อนของทหารไทย ยิ่งทำให้การกบฏเข้มแข็งมากขึ้น บทเรียนสำคัญจากสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์คือ ต้องใช้การเมืองแก้ปัญหา ไม่ใช่การทหาร ในกรณีสามจังหวัดภาคใต้ก็เช่นกัน

กองทัพไทยอาจมีอำนาจก็จริง แต่อำนาจนั้นถูกจำกัดจากเงื่อนไขสามประการ (1) อำนาจของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (2) อำนาจของกลุ่มอื่นๆ ในชนชั้นปกครองที่มีอำนาจเงินและอำนาจการเมือง และ (3) การที่กองทัพแบ่งเป็นพรรคเป็นพวกที่แข่งขันกันเสมอ นอกจากนี้การที่กองทัพต้องอ้างความชอบธรรมจาก “ลัทธิกษัตริย์” ก็เป็นจุดอ่อนด้วย เพราะแสดงให้เห็นว่าไม่มีความชอบธรรมของตนเองเลย

แม้แต่ในยุคเผด็จการ สฤษดิ์ ถนอม ประภาส ทหารไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เพราะต้องอาศัยการร่วมมือของ ผู้เชี่ยวชาญ และนายทุน และต้องฟังเสียงของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม อย่าลืมว่าในยุคแรกๆ แม้แต่ สฤษดิ์ ยังต้องพึ่งพาขบวนการนักศึกษาและคนของพรรคคอมมิวนิสต์ในหนังสือพิมพ์ของเขา เพื่อทำรัฐประหารจนสำเร็จ ในกรณีรัฐประหาร ๑๙ กันยา ทหารคงทำรัฐประหารไม่ได้ถ้าพันธมิตรฯ นักวิชาการ และเอ็นจีโอ ไม่โบกมือเรียกทหารให้เข้ามาแทรกแซงการเมือง ตอนนั้นขบวนการคนเสื้อแดงยังไม่เกิด แต่พอเกิดขึ้น ทหารต้องใช้กลไกอื่นๆ เช่นศาล ในการล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน หรือใช้วิธีการไม่ทำตามคำสั่งรัฐบาลในการปกป้องสนามบินจากม็อบพันธมิตรฯ

การแบ่งเป็นพรรคเป็นพวกของ ทหารในกองทัพ เป็นการแย่งชิงผลประโยชน์กัน ไม่ค่อยเกี่ยวอะไรกับความคิดทางการเมือง ก๊กต่างๆ ของทหารมักจะเชื่อมกับทหารเกษียณ นายทุน และนักการเมือง กรณีล่าสุดคือกลุ่มทหาร “บูรพาพยัคฆ์” จากราบ ที่สอง ปราจีนบุรี ซึ่งขึ้นมามีอำนาจชั่วคราว การที่เป็นทหารรักษาพระองค์ของราชินีไม่สำคัญ ทุกส่วนของกองทัพมักอ้างการเชื่อมโยงกับวังอยู่แล้ว สำคัญว่าพร้อมจะเข่นฆ่าประชาชนเพื่อปกป้องเผด็จการมากกว่า กรณีทหารแตงโมที่ถล่มผู้บัญชาการทหารบูรพาพยัคฆ์ที่ราชดำเนิน เป็นการสู้กันระหว่างสองพวก ทหารแตงโมดังกล่าวไม่ได้ขึ้นกับขบวนการเสื้อแดง และในอดีตไม่เคยมีจิตใจประชาธิปไตย 

วัฒนธรรมของกองทัพไทยคือวัฒนธรรมในการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยน ตำแหน่ง ตำแหน่งที่มีอำนาจมากที่สุดคือ ผบทบ. ซึ่งต้องผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทั้งนี้เพื่อให้นายพลต่างๆ มีโอกาสเข้าถึงรางอาหารในคอกเลี้ยงหมู ทหารคนใดคนหนึ่งไม่สามารถผูกขาดการกินและการเข้าถึงอำนาจและความร่ำรวยได้

ความร่ำรวย “ผิดปกติ” เกินรายได้ธรรมดาของพวกนายพล มาจากกิจกรรมของกองทัพในสื่อและรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้มีรายได้มหาศาลจากการคอร์รับชั่น รับเงินใต้โต๊ะเวลาซื้ออาวุธ การค้ายาเสพติด การค้าไม้เถื่อน และการลักลอกขนสินค้าข้ามพรมแดน ทั้งหมดนี้เป็นแรงจูงใจให้ทหารรักษาอิทธิพลทางการเมือง เพื่อปกป้องกิจกรรมต่างๆ ของทหาร ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับการป้องกันประเทศ

แต่การใช้ความรุนแรงอย่างเดียวสร้างอำนาจในการปกครองไม่ได้ ต้องมีการครองใจประชาชนควบคู่กันไป ลัทธิที่ครองใจประชาชนไทยในยุคสมัยใหม่มากที่สุดคือ “ประชาธิปไตยและความเป็นธรรม” แต่ทหารอ้างความชอบธรรมจากแนวคิดนี้ไม่ได้ เพราะทหารทำลายประชาธิปไตยและความเป็นธรรมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทหารจึงต้องใช้ “ลัทธิกษัตริย์” โดยอ้างว่าทหารรับใช้กษัตริย์ แถมยังมีกฎหมายหมิ่นเดชานุภาพฯไว้ข่มขู่คนที่คัดค้านทหารอีกด้วย ในความเป็นจริงทหารไม่ได้รับใช้ใครนอกจากตนเอง แต่กษัตริย์ภูมิพลพร้อมจะร่วมมือกับทหารเสมอ เพราะได้ผลประโยชน์มหาศาลตรงนั้น การเข้าเฝ้ากษัตริย์ของพวกนายพลหลังการทำรัฐประหาร เป็นเพียงละครที่สร้างภาพเท็จว่ากษัตริย์สั่งทหาร

ชาติ ศาสนา กษัตริย์ คือลัทธิของอำมาตย์ชนชั้นปกครอง แต่ตั้งแต่ยุค สฤษดิ์ ทหารพยายามลดบทบาททางการเมืองของศาสนาพุทธ ดัง นั้นทหารใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือไม่ค่อยได้ ส่วนเรื่อง “ชาติ” เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับ “กษัตริย์” ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ เพราะ “ความเป็นชาติ” มีลักษณะส่วนรวมมากกว่าไปเน้นตัวบุคคลของกษัตริย์ ผู้ที่เน้นลัทธิชาตินิยมในอดีต มักเป็นพวกที่ไม่เอากษัตริย์ด้วย เช่น คณะราษฎร์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นี่คือสาเหตุที่ลัทธิกษัตริย์เป็นลัทธิที่เหมาะกับทหารมากที่สุดหลังการขึ้น มาของจอมพลสฤษดิ์จนถึงทุกวันนี้

ลักษณะการสั่งการและสายอำนาจในกองทัพ มีผลในการสร้างวัฒนธรรมเลวทรามไปทั่วองค์กร คนดีๆ ที่เข้าไปเป็นนายทหารหนุ่มต้านพลังของวัฒนธรรมนี้ไม่ได้ แต่เราไม่โทษเขา เราจะโทษพวกนายพลระดับสูง

ถ้าเราจะมีประชาธิปไตยแท้ เราต้องตัดบทบาททหารออกจากสังคมและเศรษฐกิจ ต้องตัดงบประมาณทหาร ต้องปลดนายพลเผด็จการออกให้หมด ต้องนำนายพลฆาตกรมาลงโทษ และต้องยกเลิกหรือไม่ก็เปลี่ยนโครงสร้างกองทัพอย่างถอนรากถอนโคน นอกจากนี้เราต้องยกเลิกสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้มีระบบสาธารณรัฐ แต่อย่าไปหวังว่าผู้ใหญ่ที่ไหนเขาจะทำให้เรา และอย่าไปหวังว่าพรรคเพื่อไทยจะ ทำให้ ส่วนใหญ่พวกนี้เคยชินกับการร่วมมือกับกองทัพมานาน พลังหลักในการสร้างประชาธิปไตยต้องมาจากขบวนการเสื้อแดง และเสื้อแดงต้องเรียนบทเรียนจากราชประสงค์ เราต้องขยายอิทธิพลของขบวนการประชาธิปไตยไปสู่ขบวนการสหภาพแรงงาน ขบวนการนักศึกษา และเข้าไปสู่ทหารเกณฑ์ระดับล่างที่เป็นพี่น้องลูกหลานแท้ของประชาชน

 ทหารไทยคือกาฝากของสังคม ในหมู่ชาวไร่ชาวนามันมีวิธีเดียวที่จะจัดการกับกาฝาก นั้นคือการตัดมันออกไปให้แห้งตาย
 
(ที่มา)             
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-41-04/86-2011-02-21-18-02-58.html

TCIJ สัมภาษณ์ ‘นิธิ เอียวศรีวงศ์’: แก้รัฐธรรมนูญ…เราจะอยู่กันอย่างไร?

TCIJ สัมภาษณ์ ‘นิธิ เอียวศรีวงศ์’: แก้รัฐธรรมนูญ…เราจะอยู่กันอย่างไร?

 
นิธิ เอียวศรีวงศ์ 

 
‘นิธิ เอียวศรีวงศ์’ ชี้ต้องแก้รัฐธรรมนูญ ระบุความขัดแย้งในสังคมไทย เพราะยังหากติกาการอยู่ร่วมกันไม่พบ ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2550 ให้อำนาจชนชั้นนำมากเกินไป กีดกันชนชั้นกลางระดับล่างซึ่งเป็นคนกลุ่มใหม่ ต้องเพิ่มอำนาจตรวจสอบแก่สังคม ทำให้อำนาจประชาชนมีความหมาย ถ้าทักษิณพ้นผิดก็เลี่ยงไม่ได้ เชื่อระยะยาวความขัดแย้งจะทุเลา ถ้าได้กติกาที่ทุกฝ่ายรับได้
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44311

ศาลสั่งเป็นคดีที่ 4 "ด.ช.อีซา" เหยื่อกระสุน พ.ค. 53 ชีวิตจากทหาร

ศาลสั่งเป็นคดีที่ 4 "ด.ช.อีซา" เหยื่อกระสุน พ.ค. 53 ชีวิตจากทหาร

 

 


โดยศาลมีคำสั่งว่าผู้ตายคือ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ ตายระหว่างถูกนำส่งโรงพยาบาลพญาไท 1 แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 พ.ค.53 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง เหตุและพฤติการณ์ที่ตายคือถูกลูกกระสุนปืนซึ่งยิงจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ ทหารที่กำลังปฏิบัติหน้าที่

นับเป็นคดีที่ 4 ต่อจากคดีนายพัน คํากอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์เดียวกันกับคดีนี้ คดีนายชาญณรงค์ พลศรีลาและคดีนายชาติชาย ชาเหลาที่ศาลมีคําสั่งในลักษณะ ดังกล่าว

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44309

สหภาพแรงงานใน จ.ลำพูน เสนอมาตรการป้องกันนโยบายค่าจ้าง 300 บาทถูกบิดเบือน

สหภาพแรงงานใน จ.ลำพูน เสนอมาตรการป้องกันนโยบายค่าจ้าง 300 บาทถูกบิดเบือน

 

 


ประธานสหภาพแรงงาน 2 แห่งที่ จ.ลำพูน เสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการตรวจสอบนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท มีมาตรการป้องกันไม่ให้นายจ้างนำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง หรือลดสวัสดิการเดิม และให้รัฐบาลมีนโยบายปรับค่าจ้างตามส่วนต่างให้กับคนงานที่มีอายุการทำงานมา นานด้วย


เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. นายวิสิษฐ์ ยาสมุทร ประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ และนายชัชวาล  แก้วหน่อ ประธานสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "สนับสนุนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทและข้อเสนอเพื่อไม่ให้ถูกบิดเบือนและมีประสิทธิภาพ" โดยยื่นต่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผ่านอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

โดยตอนหนึ่งระบุว่า "การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทครั้งนี้ ทางผู้ใช้แรงงานพร้อมสนับสนุนในการมีส่วนร่วมเพื่อให้นโยบายมีผลในทาง ปฏิบัติ มีความเป็นธรรม ไม่ถูกบิดเบือน และมีประสิทธิภาพ จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้" โดยมีข้อเสนอ 5 ข้อได้แก่

1. ขอให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามตรวจสอบนโยบายเพื่อให้มีผลทาง ปฏิบัติ ไม่ถูกบิดเบือนจากกลุ่มทุน  และมีประสิทธิภาพ  โดยคณะกรรมการประกอบด้วย  ตัวแทนรัฐบาล  หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง  นักวิชาการ  สื่อมวลชน  สหภาพแรงงาน ตัวแทนผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วม ทั้งระดับชาติและในแต่ละเขตพื้นที่แต่ละจังหวัด

2.ขอให้รัฐบาลยืนยันทำตามนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยต้องไม่นำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง และต้องมีมาตรการที่เข้มงวดกับบริษัทไม่ให้นำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง หรือตัดลด สวัสดิการเดิมของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายแรงงานมาตราที่ 5

3.ขอให้รัฐบาลเพิ่มนโยบาย ปรับค่าจ้างตามส่วนต่างให้กับคนงานเก่าที่มีอายุการทำงานมานานทุกคนที่มีค่า จ้างมากกว่า 300 บาทอยู่แล้ว   เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับคนงานส่วนนี้ด้วย

4.ขอให้รัฐบาลช่วยคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาเกินความจำเป็น และจะทำให้ผู้ใช้แรงงานไม่ได้ประโยชน์จากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำอย่างแท้จริง ตามเจตนารมย์ของรัฐบาล

5.รัฐบาลควรมีการปรับค่าจ้างขึ้นอีก ไม่ใช่ปรับครั้งนี้แล้ว ก็หยุดไปอีกหลายปี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานมากขึ้น  เนื่องเพราะแท้จริงแล้วค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทก็ยังไม่พอค่าครองชีพของผู้ใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงงานต้องทำงานงานมากกว่า 8 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีชีวิตอยู่รอดและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนเช่น กลุ่มคนอื่นๆ ในสังคมไทย

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44273