หน้าเว็บ

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วาทะจุดประกาย

วาทะจุดประกาย




ทำไมผมมิอาจร่วมฉลอง 5 ธันวา?

ตราบใดที่ยังมีนักโทษทางความคิดภายใต้ ม.112 ผมคงมิอาจร่วมฉลองวันที่ 5 ธันวาได้
5 ธันวา คือวันที่ผมนึกถึงผู้ถูกจองจำเพียงเพราะพวกเขาแสดงความเห็นต่างเรื่องเจ้าอย่างสันติ
และถึงแม้ 5 ธันวา เป็นวันหยุด แต่นักโทษทางความคิดก็มิได้หยุดพักจากการต้องถูกจองจำ!
แด่นักโทษทางความคิด! จนกว่าเมืองไทยจะมีเสรีภาพอย่างแท้จริง -เสรีภาพจงเจริญ!

ประวิตร โรจนพฤกษ์
ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ “เดอะ เนชั่น

เมื่อกษัตริย์ภูมิพลตายตาย

เมื่อกษัตริย์ภูมิพลตายตาย
 
 
 

คน ไทยจำนวนมาก ไม่ว่าจะแดงหรือเหลือง กำลังรอวันตายของ นายภูมิพล ด้วยอารมณ์ที่แตกต่างกันไป เพราะ นายภูมิพล มีความสำคัญในสังคมไทย ทั้งในแง่บวกและลบ แล้วแต่จุดยืนของพลเมือง เมื่อ นายภูมิพล ใกล้ตาย บางคนอาจคิดว่าต้องมีการแย่งชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นมาเป็นกษัตริย์คนต่อไป มันจะเกิดจริงหรือ? ทหารของพระเทพฯจะรบกับทหารของเจ้าฟ้าชาย? หรือทหารของราชินี? ทหารของเปรมจะแต่งตั้งเปรมเป็นกษัตริย์แทนหรือ? ไม่น่าจะใช่ สิ่งที่จะเกิดและกำลังเกิดอยู่แล้วคือพวกอำมาตย์มันแย่งกันเพื่อบริหารบ้าน เมือง แย่งกันเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ และที่สำคัญแย่งกันเพื่อใช้สิทธิ์ในการอ้างสถาบันกษัตริย์เพื่อสร้างความชอบ ธรรมกับตนเอง เขาจะแย่งกันเพื่อควบคุม เจ้าฟ้าชาย ให้เป็นเครื่องมือของเขา แต่นายวชิราลงกรณ์ไม่ใช่นายภูมิพล

ก่อน ที่นายภูมิพลจะตาย คณะแพทย์ที่ดูแลเขาอยู่ เกรงกลัวกับการรับผิดชอบต่อชีวิตนายภูมิพลตามลำพัง นี่อาจเป็นสาเหตุที่นายภูมิพลถูกบังคับให้พักอยู่ที่โรงพยาบาลอย่างถาวร แทนที่จะอยู่สบายๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์ไม่กี่คนในวังที่หัวหิน อีกสาเหตุที่ถูกบังคับให้อยู่ที่โรงพยาบาลคือ อำมาตย์กลัวเขาตาย เพราะยังไม่สามารถเตรียมการรองรับสถานการณ์ใหม่ได้ นอกจากนี้การพักที่โรงพยาบาลช่วยสร้างภาพให้พลเมืองไทยสงสารนายภูมิพล แต่ในเมื่อเขาไม่สงสารประชาชนภาพนี้ไม่ค่อยมีค่าเท่าไร

เมื่อ นายภูมิพล ตาย ผู้เขียนเดาว่าจะมีการสร้างพิธีงานศพมโหฬาร ใหญ่โต สิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาล และจะใช้เวลาอย่างน้อยสองเท่าเวลาที่เขาใช้กับ “พระพี่นาง” อาจถึงห้าปีก็ยังได้ อาจมีงานต่อทุกปีให้ครบสิบปีก็ได้ งานศพนี้จะมีวัตถุประสงค์เดียว (ไม่ใช่เพราะว่า “ไพร่” ทั้งหลายต้องใช้เวลาทำใจท่ามกลางความเศร้าหรอก) แต่เพื่อเสริมสร้างลัทธิกษัตริย์ ที่จะนำมาข่มขู่กดขี่เราต่อไป

เมื่อ นายภูมิพล ตาย ทหารจะยังมีอำนาจอยู่ ปืนและรถถังไม่ได้หายไปไหน และเมื่อทหารชั้นผู้ใหญ่ตกใจที่นายภูมิพลตาย ก็ไม่ใช่เพราะ “ไม่รู้จะรับคำสั่งจากใคร” แต่ปัญหาของเขาคือ “ไม่รู้จะหากินสร้างความชอบธรรมจากใครต่ออย่างไร” มันต่างกันมาก เราเดาได้ว่าเมื่อ นายภูมิพล ตาย ภาพ นายภูมิพล จะเต็มบ้านเต็มเมือง และใครที่คิดต่างจากทหารหรืออำมาตย์ หรือใครที่อยากได้ประชาธิปไตยแท้ ก็จะถูกโจมตีว่าต้องการ “ล้มภูมิพล” ทั้งๆ ที่ นายภูมิพล ตายไปแล้ว มันไม่สมเหตุสมผล แต่ลัทธิกษัตริย์ของอำมาตย์มันไม่เคยสมเหตุสมผลอยู่แล้ว

นอก จากนี้ ในขณะที่มีงานศพยาวนานพร้อมการคลั่งและเชิดชูคนที่ตายไปแล้ว ก็จะมีการเข็นลูกชายออกมารับหน้าที่เป็นกษัตริย์ใหม่ อาจให้นางสิริกิติ์มีบทบาทด้วย แต่ปัญหาของอำมาตย์คือไม่มีใครเชื่อว่าลูกชายเป็นคนดีหรือมีความสามารถ ไม่เหมือนพ่อ ไม่มีใครรักเลย และประชาชนจำนวนมากเกลียดชังนางสิริกิติ์ถึงขนาดเผารูปตามหมู่บ้าน แม้แต่คนเสื้อเหลืองเองก็ไม่เคารพสองคนนี้เท่าไร แต่การจัดงานศพพ่อยาวๆ การ “ไม่ลืมภูมิพล” จะกลายเป็นเครื่องมือเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากลูกชายและภรรยาของนายภูมิพล

ถ้า ลูกชายนายภูมิพลไม่ได้รับความเคารพในสังคม ทำไมไม่นำลูกสาวขึ้นมาเป็นกษัตริย์แทน? ถ้านายภูมิพลมีอำนาจจริง ทำไมเขาไม่ประกาศว่าลูกสาวจะเป็นกษัตริย์คนต่อไปก่อนตาย? คำตอบคือ นายภูมิพลไม่กล้า และที่สำคัญกว่านั้นคือการนำลูกสาวขึ้นมาเป็นประมุข จะส่งสัญญาณอันตรายว่า ระบบกษัตริย์ไม่ได้อิงจารีตประเพณีอันเก่าแก่จริง ถ้าให้ผู้หญิงเป็นกษัตริย์ได้แทนผู้ชายที่ยังมีชีวิต มันจะทำลายนิยายของความเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ ยิ่งกว่านั้นจะส่งสัญญาณว่าในระบบกษัตริย์ ถ้ากษัตริย์หรือเจ้าฟ้าชายไม่ดีหรือไม่เหมาะสม ก็เปลี่ยนคนได้อีกด้วย ถ้าเปลี่ยนคนได้ก็ยกเลิกไปเลยได้เหมือนกัน อย่าลืมว่ากษัตริย์มีบทบาทหลักในการเป็นลัทธิความคิดอนุรักษ์นิยมที่ใช้ครอบ งำเรา มันไม่ใช่อำนาจดิบ ดังนั้นผลในทางความคิด ในการเป็นลัทธิที่อ้างประเพณีที่ฝืนไม่ได้ เป็นเรื่องใหญ่

เมื่อ นายภูมิพล ตาย คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งที่ยังเกรงใจ นายภูมิพล ในฐานะคนแก่ จะไม่เกรงใจหรือรักลูกชายเลย ความปลื้มในระบบกษัตริย์จะลดลงอีกในสายตาคนส่วนใหญ่ แต่เมื่อ นายภูมิพล ตาย คนเสื้อแดงที่ไม่เอาเจ้า เพราะอยากได้ประชาธิปไตยแท้ จะไม่ประสบผลสำเร็จง่ายๆ หรือโดยอัตโนมัติ เพราะฝ่ายอำมาตย์จะไม่เลิกง่ายๆ อำนาจทหารจะยังมี และการรณรงค์ให้คลั่งเจ้าจะเพิ่มขึ้น ในมุมกลับ เมื่อ นายภูมิพล ตาย อำมาตย์จะปั่นป่วน และมันเป็นโอกาสที่เราจะสู้ทางความคิดอย่างหนัก เพราะแหล่งความชอบธรรมของเขาจะอ่อนลง ดังนั้นเราจะต้องถามคนทั่วประเทศว่า ทำไมต้องมีระบบนี้ต่อภายใต้ลูกชายหรือแม่?

พลเมือง ที่รักประชาธิปไตยไม่สามารถรอวันตายของ นายภูมิพล ได้ เพราะมันจะมีทั้งภัยและโอกาสตามมา เราหลีกเลี่ยงการวางแผน การจัดตั้งคน และการผนึกกำลังมวลชนไม่ได้ ประชาธิปไตยจะไม่หล่นจากต้นไม้ เหมือนมะม่วงสุก เราต้องไปเด็ดมันลงมากิน และเราจะต้องสอยอำมาตย์ทั้งหมดลงมาด้วย เพื่อไม่ให้ทำลายประชาธิปไตยอีก

ที่มาบทความ "บทบาทแท้ของนายภูมิพล"
(อ่านต่อ)
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-39-03/51-2011-01-20-12-22-08.html           

ชี้ 'ปฏิวัติประชาชน' ในไทย ร้องหา 'ระบอบพ่อขุน' "นี่เป็นวิธีคิดที่อันตรายที่สุด"

ชี้ 'ปฏิวัติประชาชน' ในไทย ร้องหา 'ระบอบพ่อขุน' "นี่เป็นวิธีคิดที่อันตรายที่สุด"

 


ชี้ 'ปฏิวัติประชาชน' ในไทย ร้องหา 'ระบอบพ่อขุน'


สำนักข่าวเอ็นบีซี ชี้ 'ปฏิวัติประชาชน' ในประเทศไทยเป็นการร้องหา 'ระบอบพ่อขุน' มุ่งริบเอาสิทธิลงคะแนนไปจากผู้คนส่วนข้างมาก

ผู้สื่อข่าว Ian Williams แห่งสำนักข่าว NBC ในสหรัฐ ได้เขียนบทวิเคราะห์ เรื่อง "Thailand's 'people's revolt' is not quite as billed" (การ 'ปฏิวัติประชาชน' ของประเทศไทย ไม่ได้เป็นอย่างที่เรียกกัน)
 
รายงานซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของเอ็นบีซีเมื่อวันอังคารชิ้นนี้ ระบุว่า คนที่ไปเยือนกรุงเทพจะได้เห็นความทันสมัยทุกอย่าง แต่การเมืองยังคงอยู่ในยุคกลาง ตัวละครสำคัญมักเดินบทบาทอยู่หลังฉาก

วิลเลียมส์ บอกว่า สิ่งที่เรากำลังได้เห็นในกรุงเทพในเวลานี้ ไม่ใช่ "การปฏิวัติประชาชน" อย่างที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้อธิบายในช่วงเวลาหลายวันของการก่อความไม่สงบที่ผ่านมา แรงสนับสนุนเขามาจากชนชั้นนำเก่ารอยัลลิสต์ กับชนชั้นกลางกรุงเทพ ในความเป็นจริง รัฐบาลยังคงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางนอกเมืองหลวงของประเทศออกไป และอาจชนะการเลือกตั้งครั้งใหม่อีก
  
ตัวนายสุเทพเองก็ไม่ใช่นักรณรงค์การเมืองใสสะอาด เขาเป็นนักเจรจาข้อตกลงลับ เคยถูกตรวจสอบในหลายกรณี แต่มักปฏิเสธว่า ตนไม่ได้ทำอะไรผิด เกือบเป็นที่แน่นอนว่า เขาเป็นเพียงคนออกหน้าในการประท้วงรอบนี้

รายงานระบุว่า เหตุประท้วงในกรุงเทพเป็นเพียงภาคต่อของความขัดแย้งที่ดำเนินมาตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้รับเสียงสนับสนุนในชนบท ทำให้ชนะการเลือกตั้งตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ฝ่ายที่ต่อต้านได้โค่นทักษิณในการรัฐประหารเมื่อปี 2549 และโค่นรัฐบาลที่เป็นพันธมิตรของทักษิณโดยใช้ศาล ด้วยข้อหาทำกับข้าวออกทีวี

การต่อต้านระลอกล่าสุดนี้ เกิดจากการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งจะเปิดทางให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้าน วุฒิสภาได้คว่ำร่างนั้นไปแล้ว และพรรคการเมืองในสภาได้ถอนร่างออกไปหลังจากถูกประท้วง กระแสต่อต้านได้บานปลายกลายเป็นการขับไล่รัฐบาล

บทวิเคราะห์บอกว่า ในรอบใหม่นี้ กองทัพไม่ต้องการเข้าแทรกแซงโดยเปิดเผย แต่กองทัพยังมีบทบาทสำคัญอยู่หลังฉาก ข้อเรียกร้องที่คลุมเครือของแกนนำการประท้วง ที่จะให้แต่งตั้งคณะกรรมการของ "คนดี" เข้าบริหารประเทศ ดูคล้ายกับสิ่งที่กองทัพเคยพยายามทำมาแล้วเมื่อปี 2549 แต่ปรากฏผลลัพธ์น่าผิดหวัง

ชนชั้นนำเก่าของไทยโหยหาวันคืนแบบเดิมๆ ที่ชาวไร่ชาวนาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงว่านอนสอนง่าย มีความสุขตามอัตภาพ ภายใต้ระบอบพ่อขุน พวกเขามองว่า ปัญหาจะแก้ได้ด้วยการริบเอาสิทธิเลือกตั้งของพวกคนโง่ไปเสีย เพราะคนพวกนี้ยังคงโหวตเลือกอย่างผิดๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า

วิลเลียมส์ สรุปความเห็นของเขาว่า "นี่เป็นวิธีคิดที่อันตรายที่สุด".

(ที่มา)
http://news.voicetv.co.th/thailand/90160.html

พลานุภาพการเปรียบกษัตริย์เป็น “พ่อ” ของประชาชน

พลานุภาพการเปรียบกษัตริย์เป็น “พ่อ” ของประชาชน

 
ไม่รักนะ..ระวังติดคุกครับ : วงไฟเย็น

โดย ประวิตร โรจนพฤกษ์


“วันนี้ลูกทุกคนอยากบอกพ่อว่า ‘ลูกรักและขอเดินตามรอยพ่อตลอดไป’ ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน” นิตยสารแพรว ฉบับที่ 775 ประจำวันที่ 25 พ.ย. 2554 หน้า 202

“ถ้าเกลียดพ่อ ไม่รักพ่อแล้ว จงออกไปจากที่นี่ซะ เพราะที่นี่คือบ้านของพ่อ” พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, นักแสดง, 16 พฤษภาคม 2553 ในงานประกาศผลและมอบรางวัลนาฏราช ณ หอประชุมกองทัพเรือ 

“พระมหากษัตริย์เป็นพ่อใหญ่แม่ใหญ่ มหาพรหมของเรา เราก็รัก เราก็ทนุถนอม” หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน จาก นิตยสารน่านฟ้า (The Tiger Temple Magazine) ฉบับที่ 32 เดือนธันวาคม 2552 หน้า 9   

“It gradually became apparent that this was a religion. To North Koreans, Kim Il-sung was more than just a leader. He showered his people with fatherly love.” 

คำแปล: “มันชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่านี่คือศาสนา สำหรับชาวเกาหลีเหนือ คิม อิล ซุง เป็นมากกว่าผู้นำ เขามอบความรักดั่งบิดาให้แก่ประชาชนของเขา” จากหนังสือ Under the Loving Care of the Fatherly Leader โดย Bradley K. Martin, 2006 หน้า 1


หากมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ต้องกลายเป็นอาชญากรรมแล้ว การเปรียบกษัตริย์เป็นพ่อของประชาชนย่อมทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่า การวิพากษ์กษัตริย์เป็นสิ่งเลวร้าย และผิดจารีตความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก 


ประชาชนผู้เชื่อว่า กษัตริย์คือพ่อหลวงของพวกเขา มองความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชน ผ่านแว่นตาของความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก เกิดความผูกพันพึ่งพิงทางความคิดและจิตใจ และเสริมสร้างความรู้สึกในหมู่ประชาชน (ลูกๆ) ว่าการคิดเท่าทัน วิจารณ์ หรือไม่รักกษัตริย์ (พ่อ) นั้นเป็นสิ่งที่ผิดธรรมชาติ เป็นการกระทำที่เลว อกตัญญู เช่นนี้แล้ว มาตรา 112 จึงกลายเป็นกฎหมายที่คุ้มครอง “พ่อ-แม่” ไปโดยปริยาย

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand

 


Wake Up Thailand ประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2556 ตอนที่ 2
วาทกรรม คนดี ศรีสังคม 
http://www.dailymotion.com/video/x17yvlg_วาทกรรมคนด-ศร-ส-งคม_ 
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2556 ตอนที่ 1
หลัง 5 ธันวานับถอยหลังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 
http://www.dailymotion.com/video/x17yvj8_หล-ง-5-ธ-นวาน-บถอยหล-งร-ฐบาลย-งล-กษณ 

Divas Cafe

Divas Cafe


 
 
Divas Cafe ประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2556
สันติวิธีมีอยู่จริง?
http://www.dailymotion.com/video/x17yxkl_ส-นต-ว-ธ-ม-อย-จร-ง 

ทุจริตวิถีเพื่อขจัด “ระบอบทักษิณ”

ทุจริตวิถีเพื่อขจัด “ระบอบทักษิณ”

โดย นักปรัชญาชายขอบ
 

สิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” ดูเหมือนจะมีความหมาย ลื่นไหลไปจากนิยามของต้นตำหรับที่มาของคำนี้(อ.เกษียร เตชะพีระ) จนแทบจะจับต้นชนปลายไม่ถูก จนวันนี้ คำว่าระบอบทักษิณก็ยังไม่อาจสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้ เพราะมีบางฝ่ายพยายามสร้างความหมายของมันขึ้นมาใช้ในการต่อสู้ทางการเมือง เพื่อปลุกเร้าให้ผู้คนเชื่อ และ “อิน” กับความหมายนั้น อันเป็นความหมายที่ต้องขจัดให้มันหมดไปจากสังคมไทย แต่อีกฝ่ายก็พยายามปฏิเสธว่าระบอบทักษิณในความหมายนั้นไม่มีอยู่จริง

ล่าสุด บนเวที กปปส.ได้นิยามว่า ระบอบทักษิณก็คือ “ตระกูลชินวัตร” การล้างระบอบทักษิณก็คือการขจัดตระกูลชินวัตรออกไปจากการเมือง แม้ ว่านี่ดูจะเป็นวาทกรรมปลุกเร้าในม็อบ แต่มันอาจเป็นความหมายที่ชัดเจน ตรงไปตรงมาที่สุดของคำว่า “ระบอบทักษิณ” ที่พวกเขาต้องการกำจัดจริงๆ ก็เป็นได้กระมัง

เพราะหากระบอบทักษิณ หมายถึงระบอบทุจริตคอร์รัปชันเชิงนโยบาย เผด็จการรัฐสภา แทรกแซงสื่อ องค์กรอิสระ สมบูรณาญาสิทธิทุน สร้างความแตกแยก ฯลฯ ก็ไม่น่าจะมีเฉพาะรัฐบาลยุคทักษิณเท่านั้นแน่ๆ ที่ทำเช่นนั้น ระบอบอำมาตยาธิปไตยน่าจะมีความเป็นสมบูรณาญาสิทธิทุนมากกว่าหรือไม่ เป็นมายาวนานกว่าหรือไม่ เรื่องคอร์รัปชันเชิงนโยบาย ความเป็นเผด็จการ การแทรกแซงสื่อ องค์กรอิสระ สร้างความแตกแยกฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่ระบอบอำมาตย์ทำมาก่อนแล้วทั้งนั้นมิใช่หรือ และทำมากขึ้นในกระบวนการขจัดระบอบทักษิณใช่หรือไม่ ฉะนั้น ถ้าหากรังเกียจระบอบทักษิณในความหมายดังกล่าวนี้จริง ทำไมจึงไปโหนระบอบอำมาตย์ กองทัพ เพื่อขจัดระบอบทักษิณด้วยเล่า

สำหรับชนชั้นกลางการศึกษาดี ที่สายตาสั้นมองว่า ก่อนยุคทักษิณบ้านเมืองอยู่กันอย่างสุขสงบมาตลอด แสดงว่าความมีการศึกษาไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจและยอมรับความจริงว่า ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา สังคมการเมืองไทยเผชิญความขัดแย้งมาโดยตลอด ระหว่างฝ่ายที่ต้องการประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคแท้จริง กับฝ่ายกษัตริย์นิยมที่ต้องการฟื้นฟูพระราชอำนาจ จึงทำให้สังคมเราดำเนินมาภายใต้ปรากฏการณ์ความขัดแย้งในรูปของกบฏปฏิวัติรัฐ ประหาร 17 ครั้ง เฉลี่ยทุก 4 ปี 7 เดือน

ฉะนั้น ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์กษัตริย์นิยมกับประชาธิปไตยจึงมีมาอย่างยาวนาน แม้ความขัดแย้งที่ต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปีนี้ ก็ชัดเจนว่าฝ่ายที่ต้องการขจัดระบอบทักษิณก็อ้างอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ในการต่อสู้ ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนทักษิณก็อ้างอุดมการณ์ประชาธิปไตย ปฏิเสธอำมาตยาธิปไตย หรืออำนาจนอกระบบ

แน่นอนว่า ทั้งสองฝ่ายอาจมีความหลากหลายและซับซ้อนในตัวเอง แต่เนื้อหาเชิงอุดมการณ์ในการต่อสู้ตามที่ปรากฏเป็นจริงในวาทกรรมของทั้งสอง ฝ่าย คือเนื้อหาการต่อสู้ระหว่างอุดมการณ์กษัตริย์นิยมกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยใน ระดับที่แน่นอนหนึ่งอย่างแน่นอน

แม้ว่าตัวละครและวิธีการ วัฒนธรรมในการต่อสู้ของแต่ละฝ่ายอาจมีทั้งลักษณะที่สอดคล้องและขัดแย้งกับ อุดมการณ์ที่พวกตนเรียกร้องอยู่ก็ตาม แต่นั่นเป็นปรากฏการณ์ปกติธรรมดาของสถานการณ์ปะทะขัดแย้งทางความคิดทางการ เมืองของผู้คนจำนวนมาก ทว่าในที่สุดแล้วเมื่อร่อนตะแกรงหาความคิดหรืออุดมการณ์หลักของความขัดแย้ง ก็คืออุดมการณ์กษัตริย์นิยมและอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั่นเอง