หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

The Daily Dose

The Daily Dose

 

 


The Daily Dose 14 สิงหาคม 2555

รับจำนำข้าวไม่ผิดกฎ WTO...กลับเเย่ยิ่งกว่า

นโยบายรับจำนำข้าวนั้นไม่ผิดกฎ  WTO นั้นห้ามไม่ให้รัฐเข้าไปสนับสนุนผู้ส่งออก เพื่อให้ผู้ส่งออกมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิม และสามารถปรับสินค้าถูกลงได้ในการขายเพื่อเพิ่มยอดขายให้สูงกว่าเดิม  ในทางกลับกันแย่ยิ่งกว่าที่รัฐบาลนั้นรับซื้อข้าวจากเกษตรกร ตัดตอนผู้ส่งออกไม่ให้มีส่วนร่วมในการส่งออก....
 
(คลิกฟัง)
 

The Daily Dose 13สค55

เวิ้งนาครเขษม...จากบริพัตรสู่สิริวัฒนภักดี

สำนักงานบริพัตร ผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ดินในเวิ้งนาครเขษม ย่านค้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน 91 ตารางวา โดยมีเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ คือ ราชสกุลบริพัตร ไม่ต่อสัญญาจากผู้เช่าจำนวน 440 ราย ซึ่งกำลังสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2555 และอยู่ในขั้นตอนประมูลที่ดินแปลงดังกล่าว มูลค่าหลายพันล้านบาท เพื่อให้ธุรกิจเอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ 

(คลิกฟัง)

Wake up Thailand 14 สิงหาคม 2555

Wake up Thailand  14 สิงหาคม 2555 



 
นำเสนอประเด็น
  
- จับตาเลือกตั้งประธานวุฒิสภาในวันนี้                                                                           
- คณะนิติราษฎร์เสนอแก้ พ.ร.บ.เยียวยาแพะในคดีอาญา                                 
- ทักษิณเจอพธม.ไล่เข้างานเสื้อแดงไม่ได้                                                             
- 'ธิดา' เสนอโมเดลการศึกษา                                                                     
- ดีเดย์ 1 ก.ย. จ่าย 30 บาทรักษาโรค ได้สิทธิ์ยกเว้นใน 21 กลุ่ม                        
- มือปืนดักยิงใกล้ ม. เท็กซัส
 
(คลิกฟัง)

ศาลสหรัฐฯ ยืนยัน ไทยติดหนี้ ‘ค่าโง่ทางด่วน’

ศาลสหรัฐฯ ยืนยัน ไทยติดหนี้ ‘ค่าโง่ทางด่วน’




วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
http://www.facebook.com/verapat


คนไทยคงจำ ‘คดีค่าโง่ทางด่วน’ (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ที่ ประเทศไทยถูกบริษัทต่างชาติ ‘วาลเทอร์ เบา’ (Walter Bau) ฟ้องรัฐบาลไทยว่า ให้เขามาทำทางด่วน แต่ทำเขาเสียหายขาดทุน สุดท้ายไทยแพ้คดี ถูกสั่งให้จ่ายค่าโง่ประมาณ 1,200 ล้านบาท 

คดีค่าโง่ ‘ภาคนี้’ น่าสนใจเพราะต่างจากคดีค่าโง่ ‘ภาคอื่น’ ซึ่งมักจบลงที่ ‘ศาลไทย’ แบบ ‘เงียบๆ งงๆ’ เพราะศาลไทยเคยบอกว่า เจ้าหน้าที่ไทยและบริษัทเอกชนร่วมกันโกง สัญญาเป็นโมฆะ แม้เอกชนอาจเสียหาย แต่รัฐบาลไทยก็ไม่ต้องจ่าย

แต่คดีค่าโง่ ‘ภาคดอนเมืองโทลล์เวย์’ นี้ พิเศษตรงที่มี ‘สนธิสัญญา’ ที่ดึงคดีไปถึง ‘อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ’ ซึ่งเป็นเหมือนกรรมการตัดสินคดีแทนศาล

‘คณะอนุญาโตตุลาการ’ อาจไม่ค่อยเกรงใจรัฐบาลไทย และคงไม่บอกว่าอะไรๆ ก็โมฆะไปหมด สุดท้าย ไทยแพ้คดี ถูก ‘คณะอนุญาโตตุลาการ’ ชี้ขาดให้จ่ายค่าเสียหายให้ ‘วาลเทอร์ เบา’ ประมาณ 1,200 ล้านบาทบวกดอกเบี้ย

หนี้รัฐบาลไทย กระเทือนถึง ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ?
พอรัฐบาลไทยไม่ยอมจ่าย กลุ่มเจ้าหนี้ของ ‘วาลเทอร์ เบา’ ซึ่งล้มละลาย (ซึ่งไม่แน่อาจมีบริษัทหรือธนาคารชื่อดังที่ตั้งในกรุงเทพรวมอยู่ด้วย) ก็พยายามตามยึดทรัพย์สินแทนหนี้ ลามปามไปจนขอให้ศาลเยอรมนีสั่งอายัด ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ซึ่งบินไปจอดที่เยอรมนีเมื่อปีที่แล้ว


ศาลเยอรมนีกล้าสั่งอายัด เพราะมองว่า ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ซึ่งไม่ได้ใช้ในภารกิจราชการอาจถือเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทยที่ยึดได้ ในขณะที่กฎหมายไทยอาจมีแนวคิดเรื่อง ‘ทรัพย์สินส่วนพระองค์’ ‘ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์’ และ ทรัพย์สินประเภทอื่นของรัฐบาล ที่ต่างกันไป


เหตุการณ์นี้น่าสนใจมากทั้งในแง่การเมืองและกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีพระราชปณิธานพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ระงับข้อพิพาท (อ่านแถลงการณ์ได้ที่ http://astv.mobi/AgWO7Xa )

น่าคิดว่า ‘รัฐบาลหน้าไหน’ จะกล้ารับพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์มาแก้ปัญหาที่รัฐบาลเป็นผู้ก่อ ?

ตอนนั้น รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ จึงได้นำหลักประกัน (letter of guarantee) มูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท ไปวางไว้ต่อศาลที่เยอรมนี เพื่อถอนการอายัดเครื่องบินพระที่นั่ง แล้วสู้คดีต่อ (ซึ่งก็มีคำถามทางกฎหมายว่า การทำแบบนี้ทำให้รูปคดีเปลี่ยนไปหรือไม่ เพราะตามปกติบุคคลฝ่ายที่สามซึ่งสุจริต ย่อมควรอ้างสิทธิของตนด้วยตนเอง)

ถอนเครื่องบินได้แล้วไม่พอ รัฐบาลไทยก็ฟ้องกลับไปฝ่ายเจ้าหนี้ตัวดี ที่บังอาจไปขอศาลยึดเครื่องบินพระที่นั่ง 

ถอน ‘เครื่องบิน’ ที่ ‘เยอรมนี’ เสร็จ จะถูกยึดที่ ‘สหรัฐฯ’ ต่ออีก ?
คดียังไม่จบ เพราะรัฐบาลไทยยังไม่ยอมจ่ายหนี้ง่ายๆ เพราะหากจ่ายไปก็มีเรื่องร้อนย้อนกลับมาหาคนผิด ในกรมโน้น กระทรวงนี้ รัฐบาลนั้น ว่าค่าโง่นี้ ท่านได้แต่ใดมา ต่างจากค่าโง่อื่น ที่ ‘ศาลฎีกาไทย’ บอกว่าเป็นโมฆะอย่างไร ?

ประชาชนก็ได้แต่สงสัยว่า แล้วใครจะรับผิดชอบ ตอนนี้ดอกเบี้ยค่าเสียหายก็เพิ่มพูนไปเรื่อยๆ

ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 ศาลอุทธรณ์ในสหรัฐฯ (US 2nd Cir.) ได้ตัดสินยืนยันว่า คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ให้ประเทศไทยแพ้คดี 'ค่าโง่ทางด่วนดอนเมือง' นั้น กฎหมายสหรัฐฯ ให้การรับรองได้ (อ่านได้ที่ http://bit.ly/FoolFee )

พูดให้เข้าใจโดยง่าย ก็คือ กรณี ‘เครื่องบินพระที่นั่ง’ ที่ ‘เยอรมนี’ นั้นจบไปแล้วเฉพาะในส่วนตัวเครื่องบิน แต่หนี้ยังไม่หายไปไหน ดังนั้น หากรัฐบาลไทยไม่ยอมจ่ายหนี้ ทรัพย์สินของรัฐบาลไทยในนิวยอร์ก (บางอย่าง) ก็อาจถูกศาลสหรัฐฯสั่งยึดได้ เพื่อไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ 

จึงน่าคิดต่อว่า หาก ‘เครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์’ ไปจอดที่นิวยอร์ก และไม่ได้ใช้ในภารกิจราชการ ศาลสหรัฐฯ จะถือว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทยที่ยึดได้หรือไม่ ?

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai3.info/journal/2012/08/42027 

จำนำ-จำนน คอลัมน์ เดินหน้าชน

จำนำ-จำนน คอลัมน์ เดินหน้าชน

โดย สราวุฒิ สิงห์เอี่ยม


กระแสวิพากษ์วิจารณ์โครงการรับจำนำข้าว เปลือกยังกระหน่ำรัฐบาลต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่สื่อมวลชน ภาคเอกชน และนักวิชาการไทยเท่านั้น สื่อมวลชนต่างชาติและองค์กรระหว่างประเทศ ต่างก็ออกมาร่วมวงรุมสับโครงการนี้ว่ามีปัญหามากมาย

ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตกันอย่างกว้างขวาง สูญเสียงบประมาณมโหฬาร และอุตสาหกรรมข้าวไทยเสียหายมหาศาล

นายกฯปู-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกตัวว่าโครงการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ดี แต่ที่มีปัญหาเป็นเรื่องการปฏิบัติ

ถ้าเป็นการรับจำนำที่ยึดตามหลักการจริงๆ คือราคารับจำนำใกล้เคียงราคาตลาด และจำกัดปริมาณรับจำนำ ก็พอจะนับว่าเป็นโครงการที่ดีได้

แต่การกำหนดราคารับจำนำสูงถึงตันละ 1.5 หมื่นบาท และรับจำนำไม่จำกัดปริมาณ คงไม่อาจถือเป็นโครงการที่ดีได้แน่

แค่ ใช้ชื่อโครงการว่า "รับจำนำ" ก็ผิดแล้ว การตั้งราคารับจำนำไว้สูงมากขนาดนี้ ควรเป็นโครงการ "รับซื้อข้าวเปลือก" มากกว่า เพราะไม่มีชาวนาคนไหนไปไถ่ถอนแน่

ที่รัฐบาลอ้างว่าการกำหนดราคารับ จำนำไว้สูงเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชาวนานั้น ถามว่ามีชาวนาตัวจริงเสียงจริงได้ผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากน้อยแค่ไหน

ส่วน ใหญ่จะตกอยู่กับชาวนาเทียม พ่อค้าและโรงสีมากกว่า จากการสวมสิทธิชาวนาด้วยการนำข้าวของตัวเองหรือข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมา จำนำแทน โดยออกใบประทวนปลอม

รวมทั้งยังมีการกดราคาด้วยการโกงตาชั่งน้ำหนักและความชื้นข้าวด้วย

ที่สำคัญกว่านั้นคือนโยบายเรื่องข้าว ต้องดูแลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ให้น้ำหนักกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป

จริง อยู่ว่าชาวนาควรต้องได้รับการดูแลมากกว่า แต่รัฐบาลไม่อาจละเลยกลุ่มอื่นๆ มิเช่นนั้นจะทำให้กลไกการค้าข้าวพัง และจะเสียหายกันทั่วหน้า

แรกๆ ชาวนา (บางส่วน) อาจจะยิ้มได้จากราคาจำนำ (ขาย) ที่สูง แต่ต่อไปจะยิ้มไม่ออก

เมื่อผู้ส่งออกข้าวไม่สามารถส่งออกข้าวได้ ผลจะย้อนกลับไปสู่ชาวนา

ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ส่งออกได้แค่ 3.45 ล้านตัน ลดลงเกือบครึ่งจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นสัญญาณเตือนแล้ว

ตอนนี้ชาวนาอาจยังไม่รู้สึกเพราะรัฐบาลแบกรับสต๊อกข้าวเอาไว้กว่า 10 ล้านตัน แต่รัฐบาลไม่อาจจะแบกรับได้ตลอดไป

เมื่อรัฐบาลระบายข้าวออก จะทำให้ราคาตลาดโลกอ่อนตัวลงแน่

นอกจากนี้การรับจำนำข้าวที่เปิดกว้าง ทำให้ชาวนาไม่สนใจเรื่องคุณภาพข้าว แห่กันปลูกข้าวคุณภาพต่ำ ที่ให้ผลผลิตเร็วเพื่อรีบไปจำนำ

ต่อไปจะทำให้ไทยสูญเสียตลาดข้าวคุณภาพดี ขณะที่ข้าวคุณภาพต่ำก็จะขายไม่ออก เพราะราคาสูงกว่าคู่แข่ง

สุดท้ายผลเสียจะย้อนกลับมาที่ชาวนาเอง

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344828028&grpid=&catid=02&subcatid=0200