วิเคราะห์ TPP (1): ไทยกลาง ‘เขาควาย’ 2 ขั้วอำนาจ ‘จีน-สหรัฐ’
เสวนาวิชาการ ‘วิเคราะห์ TPP ประเทศไทยต้องเตรียมตัวอย่างไร’
ผอ.อาเซียนศึกษา มธ.ชี้ สหรัฐฯ ถูกสั่นคลอนจากทางเศรษฐกิจจาก ‘จีน-อาเซียน’
TPP คือการรุกทางยุทธศาสตร์ครั้งใหม่สู่การครองผู้นำเศรษฐกิจ
ผอ.ศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ เตือนไทยเตรียมแสดงท่าที
หวั่นปมปัญหาทะเลจีนใต้ปะทุได้ทุกขณะ
นับจากการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อคัดค้านความตกลงการค้าเสรี (FTA)
ไทย-สหรัฐ ช่วงปี 2549 ซึ่งในที่สุดการเจรจาดังกล่าวก็เข้าสู่ภาวะชะงักงัน
กรณีนายกรัฐมนตรีไทยและประธานาธิบดีสหรัฐสหรัฐฯ
จะแถลงข่าวร่วมในการประกาศการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทาง
เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)
และการรื้อฟื้นการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุน
ระหว่างไทยกับสหรัฐ (TIFA JC) ในวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย.นี้
นำมาสู่ความเคลื่อนไหวล่าสุดของเครือข่ายภาคประชาชนที่ติดตามการเจรจาการค้า
ระหว่างประเทศ ด้วยว่านี่คือการรื้อฟื้น ‘FTA ไทย-สหรัฐ’
ครั้งใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
รวมทั้งจะส่งผลกระทบที่รุนแรงยิ่งกว่าเดิมด้วย
เพื่อทำความเข้าใจต่อรายละเอียดของข้อห่วงใยต่างๆ วันนี้ (17 พ.ย.55)
แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ ‘วิเคราะห์ TPP
ประเทศไทยต้องเตรียมตัวอย่างไร’ ณ ศศนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สหรัฐฯ ในวันที่อำนาจถูกสั่นคลอนจากการเติบโตของ ‘จีน-อาเซียน’
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนายการศูนย์อาเซียนศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ประเด็น TPP
ในสังคมไทยไม่ตื่นตัวนักรวมทั้งในส่วนของนักวิชาการเองด้วย
แต่โดยส่วนตัวเล็งเห็นว่าตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่
และถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของสหรัฐสหรัฐฯ ในด้านเศรษฐกิจ
หลังจากที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของสหรัฐฯถดถอย GDP ซึ่งเคยอยู่ที่
50 เปอร์เซ็นต์ของ GDP โลก เมื่อปี 1950 ขณะนี้ได้ลดลงมาเหลือไม่ถึง 20
เปอร์เซ็นต์ โดยที่ญี่ปุ่นและจีนได้ผงาดขึ้นเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในเอเชีย
และมีการทำนายว่าในอนาคตจีนจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกแทนที่สหรัฐฯ
นอกจากนั้นสหรัฐฯ
ยังต้องการครองความเป็นผู้นำทางการทหารในภูมิภาคเอเชีย
โดยการดำเนินนโยบายล่าสุดคือการปิดล้อมจีนซึ่งไม่ยอมสยบให้และกำลังจะมา
ท้าทายสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นการสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีน
(อ่านต่อ)