หน้าเว็บ

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อัพเดทสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองในสหภาพยุโรป (1)

อัพเดทสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองในสหภาพยุโรป (1)

 

มาร์คซ์ อธิบายว่าระบบการแข่งขันในระบบทุนนิยมจะนำไปสู่การลงทุนและผลิตล้นเกินและ ก่อให้เกิดแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไรซึ่งเป็นสาเหตุของวิกฤติ นายทุนเลือกแนวทางที่จะรักษาอัตรากำไรไว้ โดยการส่งเสริมให้บริษัทใหญ่กินบริษัทที่อ่อนแอกว่าแล้วตัดระดับการผลิตและ การจ้างงาน และอีกหนทางหนึ่งคือการตัดค่าแรงอย่างโหด

โดย นุ่มนวล  ยัพราช

เบื้องหลังวิกฤติเศรษฐกิจ

วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยุโรปปัจจุบันเป็นผลพวงโดยตรงจากวิกฤตทางการ เงินโลกในปี 2007 ที่มีจุดกำเนิดมาจากวิกฤติบ้านและอสังหาริมทรัพย์ (subprime mortgages) ในสหรัฐอเมริกา ที่มีการปั่นหุ้น สร้างฟองสบู่ และ ค้ากำไรทางการเงินของพวกกลุ่มทุนธนาคาร สำหรับตัวอย่างคล้ายๆ กันที่พอนึกภาพได้ง่ายๆ ในไทยก็คือ วิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี พ.ศ.2540

สหภาพยุโรป (European Union = EU) เป็นการวมตัวกันขึ้นมาของกลุ่มประเทศในยุโรปเพื่อเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทั้ง ทางการค้า และทางการเมืองในเวทีระดับโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเพิ่มอำนาจการแข่งกับมหาอำนาจอื่นๆ เช่น สหรัฐ จีน รัสเซีย หรือ ต่อมากลุ่มประเทศ BRIC (Brazil, Russia, India and china) ที่เป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก อย่างไรก็ตามกลุ่มประเทศ บริค (BRIC) ตลาดส่งออกโดยส่วนใหญ่จะอยู่ สหรัฐอเมริกาและสหาภาพยุโรปเป็นหลัก


ฉะนั้นวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็วจะมีผลกระทบต่อประเทศเหล่านี้ ซึ่งตอนนี้อัตราเศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัวลงจากตัวเลขสองหลักเหลือแค่หลักเดียว และมีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อยๆ จุดเด่นของประเทศบริคคือต้นทุนการผลิตต่ำและมีการกดค่าแรงอย่างโหดเหี้ยม ซึ่งทำให้ตลาดภายในมีปัญหาเพราะคนไม่มีกำลังซื้อ หรือคนที่มีกำลังซื้อก็จะเป็นคนส่วนน้อย


วกกลับเข้ามาที่วิกฤติของสหภาพยุโรป


จุดเด่นที่สุดของสหภาพยุโรปคือ เป็นการสร้างสหภาพบนพื้นฐานผลประโยชน์นายทุนเป็นหลัก มีการเคลื่อนไหวของทุนอย่างเสรี ลดพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิกสำหรับการค้าขายและธุรกิจ เพื่อสร้างตลาดเดียว  และใช้สกุลเงินเดียวกัน เพื่อความสะดวกสำหรับกลุ่มทุนต่างๆ มากไปกว่านั้น สหภาพยุโรปต้องการสถาปนาสกุลเงินยูโร(€) ขึ้นมาเป็นสกุลเงินระหว่างประเทศเหมือนดอลล่าสหรัฐ สหภาพยุโรปได้ใช้แนวทางเสรีนิยมอย่างสุดขั้ว เพราะในธรรมนูญของสหภาพเขียนไว้เพื่อให้ผลประโยชน์กับกลุ่มทุนทางการเงินและ กลุ่มทุนขนาดใหญ่โดยเฉพาะ 
 

(อ่านต่อ)http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/1.html

SOTUS การสืบทอดระบบขูดรีด

SOTUS การสืบทอดระบบขูดรีด

 

โดย กองบรรณาธิการ เลี้ยวซ้าย
จากบทความใน นสพ.เลี้ยวซ้าย ๒๕๔๗

 

เดือนมิถุนายน เดือนนรกที่ให้รุ่นพี่เลวใช้กดขี่นักศึกษาใหม่เวียนมาบรรจบอีกแล้ว ตลอดเดือนนี้หากไปเดินดูตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จะพบว่าช่วงเขากำลังต้อนรับน้องใหม่ แต่ไม่ใช่การร้องรำทำเพลงสนุกสนานแบบที่เราเห็นในทีวีตอนเอ็นท์ติดใหม่ๆ อีกแล้ว เดือนนี้เป็นเดือนนรกสำหรับนักศึกษาปี 1 เพราะพวกเขาจะถูกรุ่นพี่กดขี่เยี่ยงทาส ราวกับรุ่นพี่ได้รับอำนาจจากฮิตเลอร์ให้มาลงโทษเชลย มันคือมิถุนาทมิฬในเดือนมิถุนาทมิฬ

จะมีการเปิดห้องเชียร์ ให้นักศึกษาปี 1 เข้าไปนั่งในห้องเรียนแคบๆ ให้รุ่นพี่ใช้อำนาจภายใต้ระบบโซตัส (SOTUS) ทำการ ว้าก หรือการตะคอกข่มขู่ เสียดสีดูถูกต่างๆ นานาราวกับน้องไม่ใช่คน มีการบังคับให้น้อง บูมหรือตะโกนดังๆ ในเพลงที่ร้องแทบไม่เป็นสำเนียง ...ที่เริ่มต้นเป็นเสียงหวีดร้องของผู้หญิง ตามมาด้วยการเลียนเสียงระเบิดของผู้ชาย ตามด้วยภาษาคนป่าอีกสองวรรค แล้วก็ภาษาต่างด้าวยุโรป แปลออกมาจากน้ำเสียงที่โอหังว่า “ข้าคือใคร ข้าจะบอกให้ก็ได้ (แล้วก็ลงชื่อสถาบัน)” ลงท้ายด้วยเสียงหวีดร้องและเสียงเลียนแบบระเบิด และปรบมือให้ตัวเอง ที่เก่งกล้าตะโกนอะไรบ้าๆทำนองนี้ออกมาได้ และดัง!?
 


(อ่านต่อ) 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2011/06/sotus.html

แก้ปมขัดแย้งพรบ ปรองดอง Divas Cafe 06มิย55

แก้ปมขัดแย้งพรบ ปรองดอง Divas Cafe 06มิย55

 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=D56hf4GPHnE

Wake Up Thailand 06มิย55

Wake Up Thailand 06มิย55

 

 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=ZyFzZanMpFM

The Daily Dose 06มิย55

The Daily Dose 06มิย55

 

(คลิกฟัง)

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=AcICyF2Z_5E

ประท้วงผูกผ้าดำที่ป้ายศาลรัฐธรรมนูญ

ประท้วงผูกผ้าดำที่ป้ายศาลรัฐธรรมนูญ

 


ภาพที่โพสต์
ภาพที่โพสต์

คณะทำงานเครือข่ายประชาธิปไตยนำผ้าดำไปผูกที่ป้ายศาลรัฐธรรมนูญ เป็นสัญลักษณ์แสดงความไม่เห็นด้วยที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งสภาให้ระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ในมาตรา 291  ณ หน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมื่อ 6 มิถุนายน 2555



(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1338962056&grpid=&catid=03&subcatid=0305

“ปล่อยนักโทษการเมือง” คือความรับผิดชอบทางศีลธรรมของรัฐบาลเพื่อไทย

“ปล่อยนักโทษการเมือง” คือความรับผิดชอบทางศีลธรรมของรัฐบาลเพื่อไทย

 

โดยนักปรัชญาชายขอบ


เมื่อยึดหลักนิติรัฐ นิติธรรมตามระบอบประชาธิปไตย เราจำเป็นต้องยอมรับข้อเสนอ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร” ของนิติราษฎร์ ซึ่งมีผลให้การดำเนินการของ คตส.เป็นโมฆะ และคดีต่างๆ ของคุณทักษิณต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติ

การปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวโดยอ้างว่าทักษิณได้ประโยชน์ หรือเป็นข้อเสนอล้างผิดให้ทักษิณ (ที่จริงไม่ได้ล้างเพียงแต่ยืนยันสิทธิในการพิสูจน์ตนเองภายใต้หลักความเสมอ ภาคทางกฎหมาย) ย่อมเท่ากับปฏิเสธหลักนิติรัฐ นิติธรรม เพราะเป็นการยอมรับสภาพความเป็นนิติรัฐ นิติธรรม ของระบบอำนาจที่ได้มาจากการทำรัฐประหารล้มระบอบประชาธิปไตย


ที่สำคัญการปฏิเสธเช่นนั้นยังเป็นการสร้าง “มายาคติ” ว่า “ทักษิณคือศูนย์กลางของปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดอง” ทั้งที่ปัญหาที่แท้จริงคือการรัฐประหารทำลายหลักการแห่งนิติรัฐ นิติธรรมตามระบอบประชาธิปไตย


ทว่าตลกร้ายของสังคมไทยคือ ทำไมมวลชนของคนชั้นกลางในเมืองรับไม่ได้อย่างเด็ดขาดกับการขายหุ้นในตลาด หลักทรัพย์ไม่เสียภาษี แต่ยอมรับได้กับรัฐประหารและกระบวนการเอาผิดนักการเมืองและพรรคการเมืองโดย ระบบอำนาจของรัฐประหาร


การรับไม่ได้เด็ดขาดกับความผิดน้อย กว่า (การทำผิดกฎหมาย) กับการยอมรับได้และให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันแก่ความผิดที่มากกว่า (ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มระบอบประชาธิปไตย) ในกรณีตัวอย่างนี้ เป็นเรื่องไม่อาจเข้าใจได้ หรืออธิบายไม่ได้ด้วยตรรกะที่อ้างอิงหลักจริยธรรมทางการเมือง หลักการ อุดมการณ์ประชาธิปไตย หรือหลักนิติรัฐ นิติธรรม


ฉะนั้น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือการสร้างความปรองดองจะไม่มีทางเป็นไปได้ ถ้าไม่กลับไปหาหลักการ หรือยึด “หลักการ”เป็นตัวตั้ง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/40867

"เกษียร เตชะพีระ" ย้อนประธานศาลรธน. เล่นกับความกำกวมของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

"เกษียร เตชะพีระ" ย้อนประธานศาลรธน. เล่นกับความกำกวมของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

 






จากกรณีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ถึงการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ จะชัดเจนว่าการยื่นคำร้อง เป็นเรื่องของผู้ทราบ ไม่ใช่เรื่องของอัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียวนั้น

นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าวผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า

วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงการตีความมาตรา 68 ของรธน. 2550 ว่า: "ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษจะชัดเจน"

เอ้ามาดูกัน

มาตรา 68 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีความว่า:

"ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อ เท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดัง กล่าว..."

คำแปลภาษาอังกฤษฉบับทางการของรัฐสภาเองคือ

"In the case where a person or a political party has committed the act under paragraph one, the person knowing of such act shall have the right to request the Prosecutor General to investigate its facts and submit a motion to the Constitutional Court for ordering cessation of such act..."

อันนี้สงสัยท่านวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์จะเล่นเกมไวยากรณ์... ให้ผมเดานะ คือแกเล่นมุขว่า ตกลง "submit a motion to the Constitutional Court for ordering cessation of such act..." เนี่ย มันขยายส่วนไหน? 

ขยาย 1) "the person knowing of such act shall have the right to request the Prosecutor General to investigate its facts and (the right to) submit a motion..." หรือว่า

ขยาย 2) to request the Prosecutor General to investigate its facts and (request the Prosecutor General to) submit a motion...." 

สรุปคือ วสันต์ใช้ความกำกวมของไวยากรณ์อังกฤษว่าวลีหลังนี้อะไรเป็นประธานของกริยา submit ระหว่าง "the person" หรือ "the Prosecutor General" มาอ้างตีความแบบ 1) "the person" ขณะที่ในความเห็นผม ควรตีความไวยากรณ์ตรงนี้แบบ 2) "the Prosecutor General"


(ที่มา)

วรเจตน์ - คำนูณ ถกผ่าน "ตอบโจทย์" เรื่องคำสั่งศาล รธน.

วรเจตน์ - คำนูณ ถกผ่าน "ตอบโจทย์" เรื่องคำสั่งศาล รธน.

 

 

อ วรเจตน์ VS คำนูณ ที่นี่ตอบโจทย์ 05มิย55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=xKU16PVJu3 

 

"วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ชี้กรณีศาลสั่งสภาระงับการพิจารณาแก้ รธน. หลังมีผู้ยื่นศาลโดยตรงโดยไม่ผ่านอัยการ ไม่ใช่เรื่องศาลตีความกว้าง แต่เป็น "ตีความผิด" ยันรัฐสภามี "อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ" ส่วนคำนูณหวั่นถ้าสภาผ่านวาระ 3 การยกร่าง รธน. จะหลุดไปสู่ สสร. แล้วไม่กลับสภาอีก ถ้าศาล รธน. ไม่มีอำนาจปัดเป่า จะกลายเป็นการยกอำนาจให้พรรคการเมือง โดยไม่สามารถมีองค์กรอะไรมาถ่วงดุลได้

เมื่อวานนี้ (5 มิ.ย. 55) รายการ "ตอบโจทย์" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ดำเนินรายการโดยภิญโญ ไตรสุริยะธรรมา มีการเชิญ ผศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ และนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. ระบบสรรหา ร่วมอภิปรายกรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้รัฐสภาระงับการพิจารณาการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ โดยอ้างมาตรา 68 ตามรัฐธรรมนูญ 2550 (คลิกที่นี่เพื่อชมคลิปการอภิปรายระหว่างวรเจตน์ กับคำนูณ)

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/40874

ธิดา แถลงมตินปช.แดงทั้งแผ่นดิน ชุมนุมค้างคืนหน้ารัฐสภา 7-8 มิ.ย 55

ธิดา แถลงมตินปช.แดงทั้งแผ่นดิน ชุมนุมค้างคืนหน้ารัฐสภา 7-8 มิ.ย 55


ประชุมแกนนำ นปช. 5/6/55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=njVmiWKpPOM

   

อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดการชุมนุมวันที่ 7-8 มิ.ย. นี้ที่หน้ารัฐสภา โดยเป็นการชุมนุมแบบค้างคืน

ขณะ ที่ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. จะเริ่มตั้งโต๊ะล่ารายชื่อถอดถอนตุลาการเสียงข้างมาก 7 คน รวมทั้งจัดเวทีปราศรัยถึงบทบาทของตุลาการที่เข้าไปแทรกแซงอำนาจฝ่าย นิติบัญญัติ โดยเชื่อว่าตลอดทั้งวันจะมีคนเสื้อแดงที่ทยอยเดินทางมาร่วมลงชื่ออย่าง เนืองแน่น นอกจากนี้ยังมีการแจกจ่ายแบบฟอร์มของ นปช. กว่า 1 หมื่นชุดเพื่อให้นำออกไปกระจายแจกจ่ายทั่วประเทศ ตั้งเป้าไว้ว่าจะให้ได้ 1 ล้านรายชื่อใช้เวลาประมาณ 1 เดือน

 

อ.ธิดา กล่าวต่อว่า มีเหตุผลเพียงพอที่จะดำเนินการเพราะตุลาการชุดนี้ทำตัวเกินบทบาทหน้าที่ เสมือนอยู่เหนืออำนาจตามรัฐธรรมนูญ หาก นปช. ไม่ดำเนินการ ต่อไปอาจจะเกิดความวุ่นวาย ซึ่งจะกลายเป็นว่า อำนาจตุลาการนั้นอยู่เหนือทุกอย่างในประเทศแม้จะเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม เพื่อเป็นการป้องกันการรัฐประหารโดยอำนาจของฝ่ายตุลาการ 

 

นอก จากนี้ในวันอาทิตย์ที่ 24 มิ.ย. นี้ นปช. จะจัดให้มีการชุมนุมใหญ่ขึ้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อเป็นการรำลึกวัน ครบรอบ 80 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย โดยคณะราษฏร เมื่อปี พ.ศ. 2475

 

รายงานข่าวแจ้งว่า การ ตัดสินใจชุมนุมแบบค้างคืนที่หน้ารัฐสภาในวันที่ 7-8 มิ.ย. ของกลุ่มเสื้อแดงนั้น เนื่องจากต้องการป้องกันไม่ให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนำมวลชน มาปิดล้อมรัฐสภา หาก ในวันดังกล่าว นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้องการให้มีการลงมติวาระ 3 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งพิจารณาร่าง พรบ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ...


(ที่มา)
http://uddred.blogsp...012/06/7-8.html