หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

การเมืองมวลชนกับการปรองดอง

การเมืองมวลชนกับการปรองดอง


โดย อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
 
หลายปีมาแล้ว ผมเสนอการวิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยว่า ระบบการเมือง(ความสัมพันธ์ทางอำนาจ)ไม่สามารถปรับตัวเอง ให้รองรับการขยายตัวของคนกลุ่มใหม่ซึ่งผมเรียกว่าคนชั้นกลางระดับล่างได้ คนเหล่านี้มีจำนวนมหึมาและจำเป็นต้องมีพื้นที่ต่อรองทางการเมืองในระบบ เพราะชีวิตของเขา โลกทรรศน์ของเขา และผลประโยชน์ของเขาเปลี่ยนไปแล้ว

ตราบเท่าที่ชนชั้นนำในระบบการเมืองไม่ยอมปรับตัว ความขัดแย้งอย่างรุนแรงก็จะดำเนินต่อไป และในหลายปีที่ผ่านมา ผมยังมองไม่เห็นสัญญาณว่าชนชั้นนำสำนึกถึงความจำเป็นในแง่นี้ หรือพร้อมจะหาหนทางต่อรองกับคนกลุ่มใหม่ เพื่อปรับระบบการเมือง

แต่ในช่วงประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่าโอกาสดังกล่าวเริ่มปรากฏให้ทุกฝ่ายมองเห็นได้ชัดขึ้น และความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปรับระบบการเมือง จนทุกฝ่ายพอยอมรับได้ และหันมาต่อสู้กันในระบบ (ซึ่งไม่ได้หมายความแต่ที่รัฐสภาอย่างเดียว) โดยไม่เกิดความรุนแรง เริ่มจะมีลู่ทางมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะปราศจากอุปสรรคอีกหลายอย่างที่จะทำให้เส้นทางสู่ความเป็น ระเบียบนั้น อาจมีลักษณะกระโดกกระเดกบ้าง แต่ผมคิดว่าดีกว่าที่ผ่านมา

ฉะนั้น ผมจึงขอพูดถึงนิมิตหมายดีๆ ที่ปรากฏให้เห็นในช่วงนี้

ผมทายไม่ถูกหรอกว่าจะเกิดรัฐประหารขึ้นอีกหรือไม่ แต่รัฐประหารกลายเป็นเครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างเดิมเสียแล้ว อย่างน้อยการรัฐประหารครั้งล่าสุดก็ชี้ให้ชนชั้นนำเดิมเห็นประจักษ์แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ แม้บางคนในหมู่ชนชั้นนำเดิม ซึ่งยังอาจมองไม่เห็น (เช่นผู้อยู่เบื้องหลังของการเคลื่อนไหวกลุ่มพิทักษ์สยาม) ก็ไม่อาจใช้การรัฐประหารได้ เพราะกองทัพไม่ยอมเคลื่อนเข้ามาเป็นเครื่องมือของฝ่ายใด อย่างน้อยก็ในระยะเวลาอันสั้นข้างหน้า

ปราศจากเครื่องมือในการยับยั้งหรือชะลอการปรับระบบการเมือง ชนชั้นนำเดิมต้องหันมาใช้เครื่องมืออื่น ซึ่งดูเป็นการเคารพต่อ"ระเบียบสังคม"ทางการเมืองมากกว่า เครื่องมือสำคัญคือที่ได้ออกแบบฝังเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 ได้แก่องค์กรอิสระซึ่งไม่ได้อิสระจริง กระบวนการทางตุลาการนานาชนิดซึ่งไม่มีใครสามารถตรวจสอบยับยั้งได้ นอกจากกลุ่มชนชั้นนำเดิม รวมทั้งวุฒิสภาซึ่งมาจากการสรรหาอีกครึ่งหนึ่งด้วย

นี่คือเหตุผลที่ต้องขัดขวางการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทุกวิถีทางที่จะเป็นไปได้ แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องให้"คำแนะนำ"ที่ไม่เกี่ยวกับคดี

แต่สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ว่า  ความขัดแย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนี้ แม้มีมวลชนเข้ามาร่วมด้วย แต่ไม่นำไปสู่วิกฤตทางการเมืองครั้งใหญ่ ต่างฝ่ายต่างใช้สื่อของตนเองในการโต้เถียงกัน ด้วยเหตุผลบ้าง ด้วยอารมณ์บ้าง แม้กระนั้นก็ไม่ประทุกลายเป็นการยกพวกตีกัน หรือจลาจลกลางเมือง

(อ่านต่อ)

The Daily Dose ประจำวันที่ 21 มกราคม 2556

The Daily Dose ประจำวันที่ 21 มกราคม 2556


คะเเนนเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.ในอดีต 

Obama ไม่ยอมผู้ก่อการร้าย...ไม่เจรจาเพดานหนี้ 
http://www.dailymotion.com/video/xwx9dm_obama-yy

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand 


กำไรเยอะเเต่ไม่มีโบนัส
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 21 มกราคม 2556  ตอนที่ 2
กำไรเยอะเเต่ไม่มีโบนัส 
http://www.dailymotion.com/video/xwwveb_yyyyyyyyyyy 
 

ไม่ต้องการผู้ว่าฯที่ขายฝัน

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 21 มกราคม 2556  ตอนที่ 1    
ไม่ต้องการผู้ว่าฯที่ขายฝัน 

Divas Cafe ประจำวันที่ 21 มกราคม 2556

Divas Cafe ประจำวันที่ 21 มกราคม 2556 

โซเชียลเน็ตเวิร์ก ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย

โซเชียลเน็ตเวิร์ก ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย
http://www.dailymotion.com/video/xwwxov_yyyy 

'บีบีซี' เผย จนท.ไทย 'ส่ง-ขายต่อ' ชาว 'โรฮิงญา' ให้ขบวนการค้ามนุษย์

'บีบีซี' เผย จนท.ไทย 'ส่ง-ขายต่อ' ชาว 'โรฮิงญา' ให้ขบวนการค้ามนุษย์

 


 
ผลการสืบสวนโดยสำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษพบว่า เจ้าหน้าที่ไทยได้เคยขายชาวโรฮิงญาให้แก่ขบวนการค้ามนุษย์  

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาชาวมุสลิมโรฮิงญาจำนวนมากได้ เดินทางอพยพข้ามทะเลอันดามันมายังประเทศไทยอันเนื่องมาจากเหตุความรุนแรงที่ รัฐยะไข่ของพม่า

บีบีซีเผยว่า เรือของผู้อพยพถูกสกัดโดยตำรวจและกองทัพเรือไทย โดยมีข้อตกลงเพื่อขายกลุ่มผู้อพยพให้แก่ขบวนการค้ามนุษย์ ที่จะนำพวกเขาเดินทางต่อไปยังมาเลเซีย ขณะที่รัฐบาลไทยให้คำมั่นที่จะสืบสวนเรื่องดังกล่าวต่อไป

อาห์เหม็ด หนึ่งในผู้อพยพเปิดเผยว่า เขาได้เดินทางออกจากรัฐยะไข่ โดยทิ้งภรรยาและลูกๆทั้ง 8 ไว้เบื้องหลัง หลังจากเรือประมงของเขาถูกทำลายในเหตุปะทะระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญาและชาวพุทธในยะไข่ และเขาเองจำเป็นต้องหาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว เขาเดินทางพร้อมกับคนอื่นอีกราว 60 คน ในเรือไม้โกโรโกโสนานถึง 13 วันเพื่อข้ามทะเลอันดามัน มายังชายฝั่งทะเลของไทย

เมื่อ เขาและพวกถูกเจ้าหน้าของไทยจับกุมตัวไม่ไกลจากฝั่งมากนักเขาคิดว่า ประสบการณ์ที่แสนสาหัสกำลังจะผ่านพ้นไปแต่ที่จริงแล้วมันเพิ่งเป็นจุดเริ่ม ต้น ในคืนนั้นเอง ชาวโรฮิงญาทั้งหมด ถูกนำตัวขึ้นฝั่งไปยังจ.ระนอง โดยใช้รถตำรวจ 2 ชม.หลังจากนั้น พวกเขาถูกจับแยกกัน และถูกนำตัวขึ้นรถ 6 คันที่มีขนาดเล็กกว่า และต้องซ่อนตัวอยู่ภายใต้ตาข่าย อาห์เหม็ดกล่าวว่า ทั้งหมดถูกบังคับให้นอนเรียงกันเหมือนปลากระป๋อง

ในขณะนั้นเขายังไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นแต่การซื้อขายมนุษย์ได้เกิดขึ้นแล้วและชาวโรฮิงญาทั้ง 61 คน กำลังถูกนำตัวมุ่งลงใต้ไปยังมาเลเซีย โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มค้ามนุษย์

เมื่อพวกเขาออกจากรถ ที่อ.สุไหง-โกลก ในจ.นราธิวาส ก็ได้พบว่าตนเองได้กลายเป็นนักโทษไปแล้ว อาห์เหม็ดกล่าวว่า เมื่อจะขับถ่าย พวกเขาต้องขุดดิน ทุกคนกิน นอน และขับถ่ายในสถานที่เดียวกัน ทั่วบริเวณเต็มไปด้วยกลิ่นไม่พึงประสงค์ บางครั้งถูกใช้เหล็กทุบตีหรือฟาดด้วยโซ่ตรวน
 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358770912&grpid=&catid=06&subcatid=0600