หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

ทำไมประเทศไทย ทั้งประเทศ ควรเป็นสาธารณรัฐ

ทำไมประเทศไทย ทั้งประเทศ ควรเป็นสาธารณรัฐ


 
โดย อ.ใจ อึ๊งภากรณ์

ใน รายละเอียดรูปธรรมของชีวิตประจำวันปัจจุบันของคนไทยส่วนใหญ่ สถาบันกษัตริย์ไม่เคยมีความสำคัญเลย เช่นเรื่องการประกอบอาชีพ เลี้ยงดูครอบครัว การเรียนหนังสือ หรือการผ่อนคลายพักผ่อน สถาบันกษัตริย์ไม่ได้ช่วยอะไรเราเลย และยิ่งกว่านั้น ไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย โดยเฉพาะในเรื่องการเลี้ยงลูก การมีครอบครัว หรือการเคารพสตรี ฯลฯ

สถาบัน กษัตริย์เพียงแต่เป็นเครื่องมือทางความคิด และเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้เรามองว่าความเหลื่อมล้ำ หรือความ “สูงต่ำ” เป็นเรื่อง “ธรรมชาติ” และที่สำคัญคือ สถาบันกษัตริย์ถูกใช้อย่างต่อเนื่องโดยทหารเผด็จการ เพื่อให้ความชอบธรรมกับการฝ่าฝืนหลักพื้นฐานของประชาธิปไตย

กษัตริย์ ภูมิพลผู้เป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งของไทย คัดค้านสวัสดิการเพื่อประชาชน ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่เห็นด้วยกับการกระจายรายได้ สนับสนุนความรุนแรงในเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และชมคนที่ทำรัฐประหาร ๑๙ กันยาและคนที่ทำลายประชาธิปไตย  

ถ้า นายภูมิพลเป็นคนก้าวหน้าหรือเป็นคนดีที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เขาจะไม่ปล่อยให้มีการหยุดวิ่งรถตามถนนหนทาง เพื่อให้ตัวเขาและญาติๆ เดินทางด้วยความสะดวกในขณะที่รถพยาบาลฉุกเฉินไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวก แบบนี้เลย เขาจะไม่ปล่อยให้มีการหมอบคลานต่อตัวเองเหมือนกับว่าประชาชนเป็นสัตว์หรือ ฝุ่นใต้ตีน และเขาจะออกมาแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้องประชาธิปไตยและการคัดค้าน กฎหมายเผด็จการต่างๆ รวมถึงกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ด้วย สรุปแล้วนายภูมิพลเป็นคนที่ไม่มีความกล้าหาญพอที่จะทำอะไรยากๆ ไม่กล้าวิจารณ์ความไม่ถูกต้องในสังคมทั้งๆ ที่เป็นประมุข

“ความสงบหรือความมั่นคง” ที่มีคนอ้างว่านายภูมิพลช่วยสร้างในสังคมไทย คือความมั่นคงของการปกครองของอำมาตย์ ซึ่งเป็นความมั่นคงของชนชั้นที่ปกครองสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมาก ไม่ใช่ความมั่นคงอยู่เย็นเป็นสุขของพลเมืองส่วนใหญ่แต่อย่างใด

สรุปแล้วการมีระบบกษัตริย์ในปัจจุบัน เปลืองเงิน สร้างความเหลื่อมล้ำ และเปิดประตูให้มีเผด็จการ ถ้ายกเลิกไปเลยจะเป็นประโยชน์

สรุปแล้วการมีระบบกษัตริย์ในปัจจุบัน เปลืองเงิน สร้างความเหลื่อมล้ำ และเปิดประตูให้มีเผด็จการ ถ้ายกเลิกไปเลยจะเป็นประโยชน์

ถ้าประเทศไทยไม่มีกษัตริย์ สังคมจะดีขึ้นเพราะ

1. เราจะประหยัดงบประมาณมหาศาลที่จะนำมาพัฒนาชีวิตประชาชนทุกคน เพราะเรายกเลิกสถาบันที่ราคาแพงแต่ไม่มีประโยชน์สำหรับประชาชน

2. ทหารจะไม่สามารถนำสถาบันกษัตริย์มาเป็นหน้ากากบังหน้าเพื่อทำลายประชาธิปไตย

3. เราจะเริ่มสร้างมาตรฐานในระบบประชาธิปไตย และในระบบยุติธรรมได้ เพราะเราสามารถสร้างวัฒนาธรรมการเป็นพลเมืองที่ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีการหมอบคลานให้ใคร

4. เราจะมีเสรีภาพในการใช้ปัญญา แสดงออก และร่วมกันคิดเพื่อสร้างสังคมใหม่

5. ประชาชนจะไม่ยากลำบากเมื่อรถติดอันเนื่องมาจากขบวนเสด็จ

6. เราสามารถนำวังต่างๆ มาเป็นสถานที่ที่ใช้ประโยชน์สำหรับคนจน เช่นเป็นบ้านพักคนชราเป็นต้น

ถึง แม้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเชื่อว่าจุดศูนย์กลางอำนาจอำมาตย์อยู่ที่ กษัตริย์และราชวงศ์ ในความเป็นจริงอำนาจแท้ที่อยู่เบื้องหลังกษัตริย์คือกองทัพ กองทัพไทยแทรกแซงการเมืองและสังคมมาตั้งแต่การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เพราะคณะราษฎร์พึ่งพาอาศัยอำนาจทหารในการทำการปฏิวัติครั้งนั้นมากเกินไป แทนที่จะเน้นการสร้างพรรคมวลชนเพื่อล้มระบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

กอง ทัพมีบทบาทสำคัญในองค์มนตรี สื่อมวลชน และรัฐวิสาหกิจ แต่สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับกองทัพ ถ้าเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในหมู่ชนชั้นปกครองหรืออำมาตย์คือ กองทัพจะผูกขาดการใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธสงคราม ซึ่งความรุนแรงนี้ใช้ในรัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาลที่เป็นคู่แข่งของกลุ่มทหาร และใช้เพื่อฆ่าประชาชนมือเปล่า

วัตถุ ประสงค์หลักของการมีกองทัพสำหรับชนชั้นปกครองไทยคือ เป็นเครื่องมือในการควบคุมและปราบปรามประชาชนภายในประเทศ วัตถุประสงค์รองคือเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่ำรวยให้พวกนายพล ดังนั้นอย่าเชื่อเลยว่ากองทัพเป็น “รั้ว ของชาติ” มันไม่ใช่ มันเป็นกองโจรมาเฟียที่คอยปล้นประชาชนไทยเอง และกองทัพไทยขาดประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิงในการทำสงครามระหว่างประเทศ สงครามกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศ ASEAN ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นทหารไทยจะเป็น “รั้วพุ” ที่ป้องกันประเทศไม่ได้เลย ในอดีตกองทัพไทยต้องยอมแพ้ต่อญี่ปุ่น และมหาอำนาจอื่นๆ มาตลอด

แต่ การใช้ความรุนแรงอย่างเดียว ไม่สามารถสร้างอำนาจในการปกครองได้ ต้องมีการครองใจประชาชนควบคู่กันไป ลัทธิที่ครองใจประชาชนไทยในยุคสมัยใหม่มากที่สุดคือ “ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม” แต่ทหารอ้างความชอบธรรมจากแนวคิดนี้ไม่ได้ เพราะทหารทำลายประชาธิปไตยและความเป็นธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทหารจึงต้องใช้ “ลัทธิกษัตริย์” โดยอ้างว่าทหารรับใช้กษัตริย์ ในความเป็นจริงทหารไม่ได้รับใช้ใครนอกจากตนเอง แต่กษัตริย์ภูมิพลพร้อมจะร่วมมือกับทหารเสมอ เพราะได้ผลประโยชน์มหาศาลตรงนั้น

สักวันหนึ่งในอนาคต ประเทศไทยจะเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย

(ที่มา)
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-41-04/549-2014-03-07-18-11-15.html            

แด่ ดา ตอปิโด พี่จ๋า ยิง ฮ. และผู้หญิงที่โลกลืมอีกมากมาย เนื่องในวันสตรีสากล

แด่ ดา ตอปิโด พี่จ๋า ยิง ฮ. และผู้หญิงที่โลกลืมอีกมากมาย เนื่องในวันสตรีสากล




มอบแด่ ดา ตอปิโด พี่จ๋า ยิง ฮ. และผู้หญิงที่โลกลืมอีกมากมาย เนื่องในวันสตรีสากล ค่ะ

รถไฟสายกาลเวลา
ผ่านทางช้างเผือกมายาวไกล
เธอยังคงเป็นดอกไม้
กลีบบางอ่อนไหวในเงาแสง
หรือเป็นเพียงนางก้นครัว
ก้มหัวยอมตัวอุทิศแรง
นวลหน้าฉาบไว้ด้วยเนียนแป้ง
แต้มแต่งโลกไว้ในมือชาย


นานแล้วเธอตั้งคำถาม
ใดคือนิยามความเทียมเท่า
โลกนี้แบกไว้ด้วยสองเรา
หญิงชายเทียมเท่ากันแค่ไหน
หรือหมดยุคจะนิยาม
ไต่ถามถึงความหมายใด
เมื่อเราเป็นคนหรือไม่
เป็นทาสเป็นไพร่ยังไม่รู้

รถไฟสายพระจันทร์เสี้ยว
วนเลี้ยวกลับมาเป็นวงกลม
อนุสาวรีย์ลอยลม
ยินเสียงปร่าขมของนักต่อสู้
เส้นเอ็นอันปูดโปน
มิอาจอ่อนโยนต่อศัตรู
เมื่อหัวใจเธอหมายรู้
ดำรงคงอยู่เพื่อสิ่งใด

จะเป็นนางก้นครัว
หรือหญิงคนชั่วได้ทั้งนั้น
หากแต่ไม่มีวัน
ถอดวางความฝันให้ใครได้
กำหนดชะตาตน
กำหมัดเข้าชนเคียงบ่าชาย
โซ่ตรวนไม่อาจไว้วางใจ
ล่ามตรึงเธอไว้...หนักและนาน

เกินกว่าจะเป็นดอกไม้
กลีบบางอ่อนไหวใดใดแล้ว
เกินกว่าจะเป็นนางแก้ว
ดวงตาวามแววทอแสงอ่อนหวาน
บาดแผลในหัวใจ
ร้าวรวดปวดในลึกทรมาน
ดวงตาโศกเศร้าคู่นั้น
แหลกลาญเกินกว่าจะอธิบาย

ฝ่ามือของเธอคู่นั้น
แข็งกร้านเกินกว่าจะปลุกปลอบ
คำถามใดไร้คำตอบ
ยากเกินจะมอบความรักให้
สองตีนอันหยาบหนา
ทายท้าเกินกว่าความเป็นตาย
ตรวนเหล็กร้อยกี่เส้นสาย
จักพังทลายย่อยยับลง


จาก บทกวี "นักโทษหญิงแดง"

เพียงคำ ประดับความ 

สิทธิสตรี

สิทธิสตรี




 
ผู้รักความเป็นธรรมทุกคนต้องยอมรับว่าในสังคมนี้ สตรีด้อยโอกาสกว่าชาย ตัวอย่างเช่น ค่าจ้างโดยเฉลี่ยของหญิงมักต่ำกว่าชาย หญิงมักมีบทบาทเป็นผู้นำของสังคมน้อยกว่าชาย และสังคมมักจะมีค่านิยมที่ให้โอกาสกับชายมากกว่าหญิงในเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศเป็นต้น สาเหตุมาจากอะไรและเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร? 

ในการอธิบายปัญหาของสตรีและทางออกในการแก้ปัญหาดังกล่าว เราจะพบว่ามีสองสำนักความคิดหลักคือ
1. สำนักความคิด สตรีนิยม หรือแฟมินิสต์ (Feminist)
2. สำนักความคิดแบบ ลัทธิมาร์คซ์ หรือมาร์คซิสต์ 

สำนักความคิดสตรีนิยมจะเสนอว่าปัญหาของหญิงมาจากชาย ผู้ชายทุกคนรวมหัวกันกดขี่หญิง ชายทุกคนไม่ว่าจะกรรมาชีพหรือนายทุนได้ประโยชน์จากการกดขี่หญิง ดังนั้นชายเป็นผู้กำหนดกฎกติกาทั้งหลายในสังคมที่เอาเปรียบผู้หญิง ชายบังคับให้หญิงอ่อนน้อมต่อตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานบ้าน การตัดสินใจ หรือการมีความสัมพันธ์ทางเพศ  ทฤษฎีนี้มีชื่อว่า ทฤษฎีพ่อเป็นใหญ่ฉะนั้นทางออกของแนวนี้คือผู้หญิงทุกชนชั้นจะต้องสร้างแนวร่วมต่อต้านผู้ชาย พวกนี้จึงเสนอว่าควรมี ส.. หรือ ส.. หญิงเพิ่มขึ้น

สิ่งที่ฝ่ายสตรีนิยมเสนอ ถ้าดูแบบผิวเผินอาจมีความจริง แต่เมื่อเราพิจารณาลึกกว่านั้นจะมีข้อบกพร่อง เช่น แนวคิดนี้ไม่สามารถอธิบายว่าการกดขี่ทางเพศเริ่มเมื่อไรในประวัติศาสตร์มนุษย์ และไม่สามารถอธิบายได้ว่าชายที่เป็นกรรมาชีพจะได้อะไรจากการที่เมียของเขากินค่าแรงต่ำ เป็นต้น

นักคิดแนวมาร์คซิสต์เช่น เองเกิลส์ อธิบายว่าการกดขี่ทางเพศไม่มีในสมัยบรรพกาล แต่เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสังคมชนชั้นเพราะมีชายกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย ใช้อาวุธที่เคยใช้ล่าสัตว์เพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ในสังคม กดขี่หญิงและชายอื่นๆ และตั้งตัวเองเป็นผู้ขูดรีดผลผลิตส่วนเกินของสังคมโดยตนเองไม่ต้องทำงาน ชายกลุ่มนี้ต้องการควบคุมหญิงที่เป็นเมียตนเอง เพื่อเป็นแหล่งผลิตลูกหลานในการสืบทอดมรดกทรัพย์สิน

ในสังคมทุนนิยมปัจจุบัน ชนชั้นนายทุนเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการที่สังคมมองว่า หญิงเสมือนเท้าหลังที่มีหน้าที่หลักคือการเลี้ยงดูลูกและทำงานบ้าน เพราะหญิงจะได้เป็นผู้ผลิตแรงงานรุ่นต่อไปเพื่อป้อนเข้าโรงงาน โดยที่นายทุนไม่ต้องลงทุนอะไรเลย นี่คือเงื่อนไขที่ผลิตซ้ำแนวคิด “ครอบครัวจารีต”

แต่ในขณะเดียวกันระบบทุนนิยมมีความขัดแย้งในตัวมันเอง เพราะนายทุนปัจจุบันต้องการขยายกิจการและจ้างงานเพิ่มตลอดเวลา จึงมีการดึงแรงงานหญิงเข้ามาทำงานนอกบ้านมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้หญิงเริ่มมีความอิสระและเรียกร้องสิทธิมากขึ้น นอกจากนี้ในสังคมไทยและที่อื่น ค่าจ้างของชายหนึ่งคน ถูกนายทุนกดไว้เพื่อเพิ่มกำไร  จึงย่อมไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ ผู้หญิงจำนวนมากก็ออกไปทำงาน แต่รัฐและนายจ้างพยายามปฏิเสธการรับผิดชอบในการจัดสถานที่เลี้ยงเด็กฟรี โดยใช้แนวคิด “หญิงเป็นเท้าหลัง” และ ครอบครัวจารีตเพื่อแก้ตัว

นักมาร์คซิสต์เชื่อว่ากรรมาชีพหญิงไม่ควรจับมือกับรัฐมนตรีชนชั้นนายทุนที่เป็นท่านผู้หญิงและไม่ควรเลือก ส.. หรือ ส.. หญิงจากพวกนายทุน เพราะการกดขี่ทางเพศมาจากสังคมชนชั้น  ในระยะสั้นกรรมาชีพหญิงและชายต้องต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี เช่นสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย โดยเฉพาะสิทธิทำแท้ง เพราะการกดขี่หญิงสร้างความแตกแยกในขบวนการแรงงาน และไม่เป็นประโยชน์อะไรเลยกับกรรมาชีพชาย แต่ในระยะยาวเราต้องต่อสู้ร่วมกันเพื่อล้มระบบกดขี่ชนชั้นของทุนนิยมและสร้างระบบสังคมนิยมแทน การกดขี่ทางเพศทุกรูปแบบจะได้หมดสิ้นไปสักที

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2014/03/blog-post_5.html 

ความนัย การเมือง เบื้องหลัง ยุบรวม เวที ชัยชนะ จริงหรือ

ความนัย การเมือง เบื้องหลัง ยุบรวม เวที ชัยชนะ จริงหรือ


 


ตกลง อะไรคือเหตุ ปัจจัย อย่างแท้จริงทำให้ กปปส.ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพรรคประชาธิปัตย์ต้องยุบรวมเวที

จากที่เคยอยู่อโศก สีลม ราชประสงค์ ปทุมวัน ให้เหลือเพียงเวทีเดียว

คือ เวทีสวนลุมพินี ทั้งยังมิได้เป็นเวทีสวนลุมพินีอันอยู่บริเวณลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 ติดกับโรงพยาบาลจุฬลงกรณ์

หากเป็น "ภายใน" ของ "สวนลุมพินี"
มองจากมุมของ กปปส. มองจากมุมของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ มองจากมุมของพรรคประชาธิปัตย์

นี่คือ "ชัยชนะ" นี่คือ "ความสำเร็จ"
"การปิด กทม.แสดงให้คนทั่วโลกรับรู้แล้วว่ารัฐบาลไม่มีความชอบธรรมในทางกฎหมายและทางการเมือง"

"ไม่ใช่เป็นการถอยทัพแต่เป็นการตั้งหลักฐานทัพแห่งใหม่"

บทสรุปของ กปปส. บทสรุปของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ บทสรุปของพรรคประชาธิปัตย์ การยุบรวมเวทีจากพหูพจน์เหลือเพียงเอกพจน์เป็นชัยชนะ เป็นความสำเร็จ

เป็นเช่นนั้นจริงละหรือ


ถามว่าชัยชนะที่ว่านั้นเป็นชัยชนะอย่างไร เป็นชัยชนะในทาง "รูปธรรม" หรือเสมอเป็นเพียงชัยชนะในทาง "นามธรรม"

นามธรรม ก็คือ คิดเอาเอง

รูปธรรม ก็คือ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มิได้ดำรงอยู่ในทางเป็นจริง นายกรัฐมนตรีมิได้เป็น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
หากแต่เป็น "คนอื่น"

"กลางตรงไหน?"

"กลางตรงไหน?"




"นายก คนกลาง ไม่เอา (เข็ดแล้ว ครับ)"

มาตรการ เดิม รัฐธรรมนูญ มาตรา 7 จากคน หน้าเดิม 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1394182974&grpid=&catid=02&subcatid=0207 

"ดร.พวงทอง" วิเคราะห์เส้นทางของ "กำนันสุเทพ" หลังโดนหมายจับคดีที่ 3 จากศาลอาญา

"ดร.พวงทอง" วิเคราะห์เส้นทางของ "กำนันสุเทพ" หลังโดนหมายจับคดีที่ 3 จากศาลอาญา 

 
 


รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์   อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิชาการของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ให้สัมภาษณ์ "มติชนออนไลน์" ถึงกรณีที่ ศาลอาญาออกหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ผู้ต้องหาคดีร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กระทำผิดฐานร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าพร้อมออกคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในการขอคืนพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี 2553 จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

อาจารย์พวงทอง  แสดงทัศนะในฐานะนักวิชาการ และ ศปช. โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ในช่วงปี 2553 ของการชุมนุมคนเสื้อแดง และจากสถานการณ์ในปัจจุบันว่า หากมองในส่วนของคดีความ ปี 2553 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานายสุเทพ ไม่ปฎิบัติตามกฎหมายและมีความพยายามปฏิบัติตัวเหนือกฎหมาย โดยอ้างว่ารัฐบาล ไม่เคารพกฎหมายและยกตัวอย่างการปฏิเสธคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญมาอ้างโดยตลอด  ขณะที่นายสุเทพเอง ก็ไม่ไปรายงานตัวต่อศาลจนยืดเยื้อมาสู่การชุมนุมของกลุ่ม กปปส.
 
หากมองในมุมของ เหตุการณ์เมื่อปี 2553 นายสุเทพ ก็จะได้รับประกันตัวออกมาอย่างแน่นอนเหมือนกับกรณีของนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ที่ได้รับการประกันตัวออกไป แต่หากมองในมุมของสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ศาลอาญาออกหมายจับนายสุเทพ ซึ่งถือเป็นฉบับที่ 3 แล้ว เชื่อว่าครั้งนี้ นายสุเทพ จะกลัวและไม่ไปรายงานตัวอย่างแน่นอน หรือจนกว่าจะชนะทางการเมืองและพรรคประชาธิปัตย์กลับมาเป็นรัฐบาล เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายต่างๆ เนื่องจากว่าขณะนี้มีคดีจากการชุมนุมกลุ่ม กปปส. รวมด้วย และมีโทษรุนแรงคงจะทำตัวเหนือกฎหมายเหมือนทุกครั้ง รวมถึงรัฐบาลก็จะไม่สามารถจับตัวนายสุเทพได้

และนี่ยิ่งจะเป็นการตอกย้ำความเจ็บปวดให้กับผู้สูญเสียจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมปี 2553 ทำให้อาจารย์พวงทองเชื่อว่า ผู้สูญเสียทุกคน ต้องการให้นายสุเทพ ได้รับโทษนั่นคือ  จำคุก
 
เมื่อถามว่าการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง กับ กลุ่ม กปปส. มีความแตกต่างกันอย่างไร อาจารย์พวงทองกล่าวว่า สมัยปี 2553 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ใช้กำลังทหารกับผู้ชุมนุมมากถึง 60,000 นาย มีการเบิกกระสุน 1 แสนกว่านัด กระสุนสไนเปอร์กว่า 2,000 นัด โดยทั้งหมดนี้สามารถดูได้จากรายงานของ ศปช.ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความพยายามในการปราบปรามกระบวนการคนเสื้อแดง ขณะที่การชุมนุมของกลุ่ม กปปส. รัฐบาลมีความพยายามในการเจรจาหลายต่อหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล ซ้ำยังมีการใช้ความรุนแรง มีบุคคลแอบแฝงในการใช้อาวุธกระทำต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจนเกิดการสูญเสีย ไม่ว่าจะที่สนามกีฬาไทยญี่ปุ่น ที่ถนนราชดำริ  บริเวณสะพานผ่านฟ้า หรือแยกหลักสี่

นอกจากนี้อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ยังกล่าวอีกด้วยว่าไม่เคยเชื่อคำพูดของนายสุเทพ ว่าจะไม่กลับมา รับตำแหน่งทางการเมือง เพราะนายสุเทพ เป็นคนมีอำนาจหากไม่เล่นการเมืองเบื้องหน้าก็ชักใยอยู่เบื้องหลัง เพราะพรรคประชาธิปัตย์เกรงใจนายสุเทพ โดยจะเห็นได้ว่า ผู้นำของพรรคประชาธิปัตย์เองยังต้องไปแวะเวียนไปเวทีของ กปปส. อยู่เรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่านายสุเทพยังมีอำนาจและคนในพรรคประชาธิปัตย์ยังมีความเกรงใจนายสุเทพอยู่มาก


ส่วนการชุมนุมของกลุ่มกปปส.มองว่ามีการลดระดับการชุมนุมลงมามากเพราะอาจไปต่อไม่ไหว เงินทุนไม่เพียงพอ ผู้สนับสนุนถอนตัว หรือไม่ว่าจะเป็นผลกระทบภาคธุรกิจที่ไม่สามารถแบกรับได้ โดยกลุ่มมวลชนก็มีจำนวนลดลง มีความรุนแรงเกิดขึ้นต่อเนื่อง ทำให้การชุมนุมอ่อนแอลง ทำให้ตอนนี้ความหวังของกลุ่ม กปปส. ขณะนี้มุ่งไปที่องค์กรอิสระ และเชื่อว่าความขัดแย้งในการเมืองไทยก็ยังจะไม่หมดไป


(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1394030065&grpid=00&catid=02&subcatid=0200 

คุยกับ "สาวตรี สุขศรี" อาจารย์สอนกฎหมายอาญา ถามชัดๆ ป้าย "แบ่งแยกประเทศ" ผิดหรือไม่ผิด ?

คุยกับ "สาวตรี สุขศรี" อาจารย์สอนกฎหมายอาญา ถามชัดๆ ป้าย "แบ่งแยกประเทศ" ผิดหรือไม่ผิด ? 



อาจารย์สาวตรี สุขศรี 
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
 

ลุกลามจนกลายเป็นกระแสที่จบไม่ลงจริงๆ สำหรับกระแสแบ่งแยกประเทศในขณะนี้ โดยเฉพาะในวันนี้ที่ป้ายของกลุ่มโกตี๋ โผล่เข้ามาอีกป้าย หลังจากที่มีกรณี สปป.ล้านนา ถูก กองทัพบก โดยการสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  ผบ.ทบ.ดำเนินการฟ้องร้อง ด้วยข้อหารุนแรงไปเรียบร้อย

มติชนออนไลน์ จับเข่าคุยกับ อาจารย์สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอาญา ขอความเห็นเรื่องดังกล่าว ฟันธงกันชัดๆ

เมื่อถามประเด็นทางกฏหมายเรื่องนี้ไป ว่าทหารจะฟ้องด้วย มาตรา 113 และ 114 ประมวลกฏหมายอาญา อาจารย์สาวตรี แบ่งการอธิบายเป็นทีละประเด็น

โดยในส่วนมาตรา 113 นั้น อาจารย์ฟันธงว่าไม่ผิด เพราะ มาตรา 113 ว่าด้วยเรื่อง การใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขู่ว่าจะประทุษร้ายโดยใช้กำลัง อาทิเช่น ขู่ว่าจะใช้ระเบิด ใช้ปืนสู้ เพื่อแบ่งแยกราชอาณาจักร โดยจากกรณีข่าวที่เกิดขึ้น จึงตอบได้ทันทีเลยว่าไม่ผิดแน่นอน ฟันธง!

ส่วนในมาตรา 114 อันนี้น่าคิด เพราะว่าเป็นเรื่องที่ว่าด้วยเรื่อง ผู้ใดสะสมอาวุธ หรือกำลังพล หรือตระเตรียมการอื่นใดเพื่อเป็นกบฏ หรือมีการยุยงราษฏรให้เป็นกบฏ ซึ่งมีโทษจำคุกเท่ากับกฏหมายอาญามาตรา 112 คือ 3 - 15 ปี

ซึ่งในข้อนี้ อาจารย์สาวตรีเห็นว่า กฏหมายเปิดให้ตีความได้กว้าง เพราะการยุยงก็อาจเข้าข่ายเป็นกบฏได้ ดังนั้น ศาลอาจเห็นว่า ป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อแสดงออกทางการเมืองดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการยุยงราษฏรให้เป็นกบฏก็เป็นได้

อาจารย์สาวตรีอธิบายเพิ่มเติมเชื่อว่าดุลพินิจของศาสสามารถตีความไปถึงได้ โดยต้องมีการพิจารณาดูข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ซึ่งการที่จะฟ้องร้องกันในเรื่องนี้นั้น จะต้องมีพยานหลักฐาน มีการสืบค้นรวบรวมข้อมูลที่หนักเเน่น เพราะเป็นข้อหาร้ายแรง

ทั้งนี้โดยในส่วนข้อกล่าวหาการเป็นกบฏนั้น จะต้องมีการสะสมกองกำลังอาวุธ มีการฝึกซ้อมมีแบบแผนชัดเจน จึงจะเข้าข่ายสมเหตุสมผล