หนังสือ The Devil's Discus หรือ "กงจักรปีศาจ" โดย เรน ครูเกอร์ (Rayne Kruger) ได้รับการตีพิมพ์ในภาษาอังกฤษเพียงครั้งเดียวในปี 2507 (1964)
นับตั้งแต่วันแรกที่ครองราชสมบัติซึ่งเป็นค่ำวันเดียวกับที่เกิดกรณีสวรรคต หรือปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8ในตอนเช้าวันเดียวกัน ทั้งๆพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุชี้ชัดไปที่พระอนุชาว่าเป็นผู้ปลงพระชนม์ อย่างไม่มีทางเป็นอย่างอื่น จะมีก็แต่เพียงข้อโต้แย้งว่าเป็นอุบัติเหตุหรือกระทำโดยเจตนาเท่านั้น แม้จะได้มีการพยายามทำลายหลักฐานตั้งแต่แรก คำให้การที่ขัดแย้งกัน การสร้างพยานเท็จ มุ่งกำจัดนายปรีดีซึ่งเป็นศัตรูคนสำคัญที่เป็นหัวขบวนการปฏิวัติของคณะ ราษฎร 2475 มีการข่มขู่คุกคามบังคับในยุคเผด็จการจอมพลป.และพล.ต.อ.เผ่า ที่ลงท้ายด้วยการกลับคำพิพากษา เพื่อหาทางประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ที่เป็นพยานปากสำคัญรวมทั้งการเชื่อมโยง ไปให้ถึงบุคคลที่ตนเชื่อว่าอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับพวกฟื้นฟูระบอบเจ้า
หลัง กรณีสวรรคตและพระอนุชาได้รับการรับรองจากสภาฯให้ขึ้นครองราชย์ขึ้นเป็น กษัตริย์รัฐบาลปรีดีต้องการให้ประทับในประเทศไทย แต่ทางราชสำนักยืนยันว่ากษัตริย์จะเสด็จกลับยุโรปเพื่อศึกษาต่างประเทศใน เดือนสิงหาคม 2489 รัฐบาลหลวงธำรงของนายปรีดีก็คาดว่า จะเสด็จกลับมาประกอบพระราชพิธีพระราชเพลิงศพพระเชษฐาในไม่กี่เดือนข้างหน้า มีการเริ่มลงมือเตรียมจัดสร้างพระเมรุ เพื่อประกอบพิธีในเดือนมีนาคมปีต่อมา 2490 แต่ราชสำนัก ก็ยังไม่ยืนยันว่าจะเสด็จกลับมาประกอบพิธีไม่ ในเดือนธันวาคม 2489 คณะผู้สำเร็จราชการมีหนังสือขอให้รัฐบาลเลื่อนงานพระ ราชทานเพลิงพระบรมศพออกไป
โดยมีเหตุผลข้อหนึ่งว่าการสอบสวนกรณีสวรรคตยังไม่เสร็จสิ้น จะเป็นอุปสรรคต่อการพระราชทานเพลิงศพ ดังมีข้อความว่า อนึ่ง การกำหนดงานพระราชทาน เพลิงพระบรมศพนั้น ถ้าจะกำหนดแล้ว ก็น่าจะกำหนดให้เหมาะกับโอกาสที่จะเสด็จพระราชดำเนินเพื่อถวายพระเพลิงด้วย แต่โดยที่การสอบสวนกรณีสวรรคตยังเป็นอันควรให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนอยู่ ต่อไปอีก และยังหวังไม่ได้ว่า การสอบสวนต่อไปดังว่านั้นจะสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่อใดแน่ การที่จะกำหนดให้เสด็จเข้ามาเพื่อถวายพระเพลิงในเดือนมีนาคมหน้า ถ้าการ สอบสวนเช่นว่านั้นยังไม่สำเร็จเด็ดขาดลงไป การขลุกขลักย่อมจะมีขึ้นเกี่ยวกับการจัด ที่ประทับและการจัดผู้คนราชบริพารประจำในที่ประทับเหล่านี้อยู่มาก
หลังกรณีสวรรคตมีแนวโน้มว่ากษัตริย์ภูมิพลคงหนีไม่รอดคดีปลงพระชนม์ สถาน ทูตและกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันได้รับข่าวเรื่องนายควง และพี่น้องปราโมชเตรียมวางแผนจะสถาปนาพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นเป็น กษัตริย์ เพราะสถานะของกษัตริย์ภูมิพลในช่วงปีแรกๆ มีความไม่แน่นอน หรือไม่มั่นคงสูงในส่วนที่เชื่อมโยงกับกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 โดยเฉพาะใน สายตาของวงการทูตและรัฐบาลตะวันตก
มีรายงานว่ารัฐบาลนายควง กำลังเตรียมตัวที่จะประกาศว่าในหลวงภูมิพล จะทรงสละราชสมบัติ และว่าพระองค์เจ้าจุมภฏ จะขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ได้ทำให้เกิดเป็นปัจจัยใหม่ขึ้นมาในสถานการณ์ซึ่งอาจ สร้างความปั่นป่วนอย่างถึงราก การแบ่งขั้วการเมืองในขณะนั้น ทำให้ดูเหมือนนายควงและพี่น้องปราโมชหวังว่า พวกเขาจะสามารถรักษาอำนาจตัวเองไว้ได้หากพระองค์เจ้าจุมภฏขึ้นครอง ราชย์ เพราะพระองค์เจ้าจุมภฏเป็นบุคคลผู้มีวุฒิภาวะ ( ประสูติ 2447 มีพระชนม์52 ปี ขณะที่กษัตริย์ภูมิพลมีพระชนม์เพียง 19 ปี ) จึงมีประสบการณ์ทางการเมืองและมีผู้สนับสนุนจำนวนมาก และทรงได้รับการผลักดันจากพระชายาผู้มีความหลักแหลมทะเยอทะยาน คือ มรว.พันทิพย์ ธิดาคนแรกของพระองค์เจ้าไตรทศพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย อดีตเสนาบดีต่างประเทศของสยามผู้ชาญฉลาดที่สุดคนหนึ่ง ซึ่งมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับเกมการเมืองทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ แต่ได้เกิดปั่นป่วนทางการเมืองเพิ่มขึ้นจากบทบาทคอร์รัปชั่นของหลวงกา จสงครามผู้ให้การสนับสนุนนายควง และเป็นผู้ควบคุมกำลังทหารบางส่วนสำคัญไว้ด้วย การคอร์รัปชั่นที่เกินหน้าของหลวงกาจสร้างความไม่พอใจให้กับจอมพล ป. ทั้งจอมพล ป.กับปรีดีต่างก็คัดค้านการรื้อฟื้นอำนาจของสถาบันกษัตริย์พอๆกัน
พวกเขาเห็นว่ากษัตริย์ภูมิพลอายุยังน้อย แค่19 ปี ไม่น่ามีปัญหาและยังไม่มีบริวารและอิทธิพลมากนัก ต่างจากการที่จะให้พระองค์เจ้าจุมภฏขึ้นเป็นกษัตริย์ จอมพล ป.และพล.ต.อ.เผ่าจึงต้องสกัดนายควงและไม่ให้พระองค์จุมภฏขึ้นเป็นกษัตริย์ โดยการช่วยปิดคดีสวรรคตให้กษัตริย์ภูมิพลหลุดพ้นจากคดีให้จงได้ไม่ว่าจะด้วย วิธีการใดๆหลังรัฐประหารโดยพลโทผินปี 2490 ในปีถัดมา 2491 รัฐบาลจอมพล ป. ได้เตรียมงานพระราชเพลิงพระบรมศพใหม่ เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2492 และเตรียมจัดพิธีบรมราชาภิเษกในช่วงเวลาใกล้เคียง กัน โดยทูลเชิญให้เสด็จกลับมาประท้บในประเทศไทยเป็นการถาวร แต่กษัตริย์ภูมิพลมีจดหมายถึงจอมพล ป. นายกรัฐมนตรี ว่าจะยังไม่เสด็จกลับประเทศไทยเป็นการถาวรจนกว่าการพิจารณาคดีสวรรคตจะเสร็จ สิ้น
จากผู้ต้องสงสัย กลายมาเป็นพยานโจทก์
แม้ว่าพระอนุชาจะเป็นผู้ต้องสงสัยมากที่สุดในทุกกรณี แต่เนื่องจากนายปรีดีได้เสนอให้แต่งตั้งขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงเท่ากับช่วยให้ผู้ต้องหาได้รับอภิสิทธิ์พ้นจากข้อกล่าวหาไปโดยปริยาย เพราะรัฐธรรมนูญไทยบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ไทยเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะ กล่าวหาหรือฟ้องร้องมิได้ กษัตริย์ภูมิพลจึงได้รับสิทธิพิเศษ ได้ย้ายสถานะจากการเป็นจำเลยหรือผู้ต้องหา มาเป็นพยานโจทก์ ที่ต้องมามีบทบาทปรักปรำใส่ความเพื่อหาผู้บริสุทธิ์มารับโทษ เพื่อปิดคดีให้ตนพ้นมลทินไปโดยสิ้นเชิง แต่หลังเกิดเหตุทั้งกษัตริย์ภูมิพลและพระราชชนนีก็ต้องไปประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์ไม่ยอมเสด็จกลับมาเพื่อหลบหน้าจนกว่าคดีสวรรคตจะได้ข้อยุติหา คนรับบาปแทนได้เสียก่อน