ถ้าไม่สร้างพรรคฝ่ายซ้ายในไทย การเมืองจะวนเวียนอยู่ในอ่างน้ำเน่าต่อไป
โดย ใจอึ๊งภากรณ์
ทุก
วันนี้การจัดตั้งของทหาร การจัดตั้งของพรรคเพื่อไทย บวกกับการคุมมวลชนของ
นปช.ให้คล้อยตามการปรองดองของเพื่อไทย
ทำลายการต่อสู้ของเสื้อแดงที่ต้องการมากกว่านั้น
สาเหตุหลักคือเราไม่มีพรรคฝ่ายซ้ายของเราเองที่จะชาวงชิงมวลชนจาก นปช.
และเพื่อไทย เพราะคนก้าวหน้าในสังคมไทย
ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดงหรือนักสหภาพแรงงาน
ไม่สนใจและไม่เข้าใจความสำคัญของการสร้างพรรค
ในยุคหลังป่าแตก สมัยรัฐบาลแปรม
อดีตนักต่อสู้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จะผิดหวังกับ พคท.
และหันหลังให้การสร้างพรรค ส่วนหนึ่งกลายเป็น เอ็นจีโอ
แล้วการเมืองก็ลื่นไหลไปสู่การจับมือกับพันธมิตรฟาสซิสต์เพราะไม่ให้ความ
สำคัญกับการวิเคราะห์การเมืองและการต่อสู้กับอำนาจรัฐ
แต่
หลายปีผ่านไปแล้ว ข้ออ้างเรื่อง พคท.
เพื่อปฏิเสธการสร้างพรรคและเน้นเครือข่ายหลวมๆ ตอนนี้ฟังไม่ขึ้น
มันกลายเป็นเรื่องของ “ความเคยชินในการทำงาน” หรือ
“การหวงความเป็นใหญ่หรือความอิสระของตนเองในกลุ่มเล็กๆ” มากกว่าอะไรอื่น
และในขณะที่นักเคลื่อนไหวพูดในนามธรรมว่า “ควรสร้างพรรค”
แต่ไม่เคยทำอะไรเพื่อให้เกิดขึ้น
ผลคือการหักหลังขบวนการเสื้อแดงโดยเพื่อไทย ทักษิณ และ นปช.
และในเมื่อขบวนการเสื้อแดงเคยเป็นขบวนการมวลชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติ
ศาสตร์ไทย เราต้องสรุปว่าเป็นการเสียโอกาสมหาศาล
และเป็นการละเลยภาระกิจโดยคนก้าวหน้า
ทำไมต้องสร้างพรรคในรูปแบบที่เลนินเคยสร้าง?
พรรค
สังคมนิยมในรูปแบบของ เลนิน คือพรรคที่อาศัยการจัดตั้งกรรมาชีพ
ซึ่งเป็นชนชั้นที่มีอำนาจซ่อนเร้นทางเศรษฐกิจ บวกกับคนหนุ่มสาว
และปัญญาชนก้าวหน้า
หลายคนเข้าใจผิดว่าแนวคิดแบบ เลนิน เป็นสิ่งเดียวกันกับแนวคิดแบบ
สตาลิน-เหมา ที่ พคท. เคยใช้ แต่ในความเป็นจริงแนวคิดแบบ เลนิน
จะเน้นสิทธิเสรีภาพ การเปิดกว้าง
และการพัฒนากรรมาชีพและคนอื่นให้นำตนเองจากล่างสู่บนในระดับสากลเป็นหลัก
ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดมาร์คซิสต์เดิม ในขณะที่แนว สตาลิน
เน้นเผด็จการจากบนลงล่างและการยอมจำนนต่อความสามัคคีระหว่างชนชั้นเพื่อ
พัฒนาความเป็นชาติ ตัวอย่างที่ดีที่สุดของแนวสตาลินในไทยในยุคปัจจุบัน
คือการนำของอ.ธิดาและแกนนำอื่นๆ ของนปช.
สำหรับนักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน
รูปแบบการสร้างพรรคมันมาจากลักษณะการต่อสู้ทางชนชั้นของกรรมาชีพในโลกจริง
ปัญหาหลักคือการต่อสู้ของกรรมาชีพจะมีลักษณะต่างระดับและหลากหลายเสมอ
เช่นจะมีบางกลุ่มที่ออกมาสู้อย่างดุเดือดเพื่อล้มระบบ
ในขณะที่กลุ่มอื่นออกมาสู้แค่เพื่อเรื่องปากท้องเท่านั้น
หรือบางกลุ่มอาจไม่สู้เลย และในมิติเวลาที่ต่างกัน
กลุ่มที่กล้าสู้หรือก้าวหน้าที่สุดในยุคหนึ่งอาจจะเป็นกลุ่มที่ล้าหลังในยุค
ต่อไป ดังนั้นปัญหาของชาวมาร์คซิสต์คือ
จะทำอย่างไรเพื่อให้มีการรักษาประสบการณ์ความรู้ในการต่อสู้ของกรรมาชีพส่วน
ที่ก้าวหน้าที่สุดเพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไป
เองเกิลส์ เคยยกตัวอย่างทหารในสนามรบว่า
ภายใต้การกดดันของการต่อสู้ทหารบางหน่วยจะค้นพบวิธีการต่อสู้ที่ก้าวหน้าที่
สุด
และบทบาทสำคัญของผู้บังคับบัญชาที่ดีคือการนำบทเรียนที่ก้าวหน้าอันนั้นไป
เผยแพร่กับกองทหารทั้งกองทัพ นี่คือที่มาของแนวคิด "กองหน้า"
ในการสร้างพรรคของ เลนิน
เพราะหลักการสำคัญคือพรรคต้องเป็นตัวแทนของส่วนที่ก้าวหน้าที่สุดของ
กรรมาชีพ ไม่ใช่ตัวแทนของกรรมาชีพทั้งชนชั้นที่มีจิตสำนึกต่างระดับกัน
และพรรคต้องแยกตัวออกจากความคิดล้าหลังของสังคม
เพื่ออัดฉีดความคิดก้าวหน้าที่สุดกลับเข้าไปในขบวนการกรรมาชีพ
ถ้าไม่ทำเช่นนั้นก็จะไม่เกิดการพัฒนาการต่อสู้และจิตสำนึกเลย