หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

เสวนานิติราษฏร์: การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ

เสวนานิติราษฏร์: การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ







30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมเสวนาหัวข้อ “การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ” ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ธีระ สุธีวรางกูร กล่าวในช่วงเกริ่นนำว่า ประเทศไทยมีการรัฐประหารเฉลี่ย 3-4 ปีต่อครั้ง และการรัฐประหารทุกครั้งจะนำมาซึ่งเรื่องใหม่ๆ ทางกฎหมาย ทั้งการมีองค์กรและกฎเกณฑ์ใหม่ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐ

การรัฐประหาร 2549 เป็นสาเหตุของการกำเนิดขึ้นของนิติราษฎร์ซึ่งมีข้อเสนอออกมานับตั้งแต่มีการ รวมกลุ่ม และมีหลายข้อเสนอที่ก่อให้เกิดการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์ในทางสาธารณะค่อน ข้างมาก นั่นคือการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร

นอกจากนี้ คือเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยที่นำมา ซึ่งการจำกัดอำนาจของสถาบันกษัตริย์ แต่ระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมาความสัมพันธ์นี้แกว่งไกวมาตลอดแล้วแต่สถานการณ์ แต่ระหว่างการจัดความสัมพันธ์นี้ สิ่งที่เห็นคือ จะมีบรรดานักนิติศาสตร์ที่ทำหน้าที่อธิบายความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นการ เทิดพระเกียรติและอำนาจของสถาบันฯ แต่ข้อเท็จจริงนั้น ก่อนการรัฐประหาร 2549 ในช่วงที่ประเทศอยู่ในภาวะวุ่นวาย กลไกที่ทำหน้าที่หลักในบ้านเมืองตอนนั้นคือสถาบันตุลาการ ซึ่งมีบทบาทสำคัญค่อนข้างมากในช่วงที่กำลังจะมีการรัฐประหาร

บทบาทสำคัญอีกประการคือ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2549 เรื่องปัญหาการเลือกตั้ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้เลือกตั้งใหม่ และต้องเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่คณะที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติไม่เลือกโดยอ้างพระราชอำนาจ ตามหนังสือที่ประธานศาลฎีกาเวียนไประบุเหตุที่มีกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรง ใช้พระราชอำนาจโดยตรงทางตุลาการผ่านพระราชดำรัสวันที่ 25 เม.ย.2549 เมื่อมีพระราชดำรัสเช่นนั้นการที่ศาลฎีกาไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ก็เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

ธีระกล่าวต่อว่า ที่อ้างมานี้ เพื่อให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ถูกนำมาอ้างอิงเสมอไม่ว่าจากศาลหรือใครก็ตาม และ 30 ปีที่ผ่านมา ก็มีคำอธิบายทางนิติศาสตร์มากในเรื่องพระราชอำนาจและอำนาจอธิปไตย เป็นสิ่งที่ต้องตั้งคำถามและหาคำตอบ

สุดท้าย สิ่งที่ต้องรำลึกเสมอคือ แม้ว่าปัจจุบันมีการรัฐประหารค่อนข้างยาก แต่การรัฐประหารแบบคลาสสิกคือการใช้รถถังก็ยังมีอยู่ ก่อนหน้านั้นเราไม่มีองค์ความรู้ในการป้องกันหรือแก้ไขการรัฐประหารเลย

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/42914

สรุปปาฐกถาเกษียร เตชะพีระ: นักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร

สรุปปาฐกถาเกษียร เตชะพีระ: นักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร

 

 
อ.เกษียร "นักกฎหมายไทยกับรัฐประหาร"
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=A9YgdfC4e4g 

วิดีโอและสรุปปาฐกถา เกษียร เตชะพีระ ในงานเสวนานิติราษฎร์ 2 ปีนิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร มุมมองจากนักรัฐศาสตร์ที่มองพัฒนาการบทบาทของนักกฎหมายในการสร้างความชอบ ธรรมให้รัฐประหาร หน้าที่ในเชื่อมรอยต่อเผด็จการกับประชาธิปไตยให้เรียบเนียน โดยยึดถือการดำรงอยู่และอำนาจของสถาบันกษัตริย์ 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42903

ความจริงเรื่อง 6 ตุลา !!!

ความจริงเรื่อง 6 ตุลา !!!




อยากรู้ความจริงเรื่อง 6 ตุลา 
คลิก www.2519.net

กำหนดการ สัปดาห์รำลึก 36 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตยประชาชน
ณ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
5-14 ตุลา นิทรรศการคนรุ่นตุลา เมษา พฤษภา กับ การเมือง
ด้านหน้าหอใหญ่ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เราเคยมีทหารเป็นอธิการบดีมาแล้ว 
คลิกดู http://www.rc.ku.ac.th/old

เหตุใดจึงควรแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดสถาบันกษัตริย์

เหตุใดจึงควรแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดสถาบันกษัตริย์



"2 ปีนิติราษฎร์" วรเจตน์ ภาคีรัตน์
http://www.youtube.com/watch?v=E503arHhXWg&list=UUho9X86WGsBR2xYhuZcw2Yg&feature=player_embedded

สรุปการอภิปรายของวรเจตน์ ภาคีรัตน์ กลุ่มนิติราษฎร์ ระบุว่า ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของรัฐประหาร 2490 คือ การฝังสำนึกห้ามแตะต้องรัฐธรรมนูญหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เพื่อให้สังคมไทยเดินไปข้างหน้าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นจริงที่ ดำรงอยู่ต่อหน้าได้ ถ้าเราต้องการการปรองดองที่สถานฉันท์อย่างแท้จริง อย่างน้อยรัฐธรรมนูญต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สถาบันการเมือง ศาล และกองทัพ 

โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์


30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมเสวนาหัวข้อ “การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ” ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่ากิจกรรมต่อไปของนิติราษฎร์คือการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

ใน ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเวทีเสวนา วรเจตน์กล่าวว่า รัฐประหาร 2490 โดยผิน ชุณหวัณ เป็นต้นแบบของการทำรัฐประหารปัจจุบันคือ ล้มลางการปกครองแล้วเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราว และจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ รัฐประหารครั้งที่เปลี่ยนแปลงการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิงคือจอมพลสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2500 ตามด้วย รัฐประหารอีกครั้ง 2501 ใช้เวลายาวนานก่อนจะก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 รัฐประหารอีกครั้งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ตามกฎหมายในส่วนสถาบันพระ มหากษัตริย์ คือ รัฐประหารปี 2534 โดยพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ. 2534 ขึ้นมา

รัฐประหารที่สำคัญๆ นั้นส่งผลกระทบต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร แม้บางช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจะปกครองไปในเชิงอำนาจนิยมบ้าง แต่ก็มีกฎหมายเหนี่ยวรั้งอยู่จนถึง พ.ศ. 2489 แต่หลังรัฐประหาร โดยผิน ชุณหวัณ  เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2490ได้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ มีผลเป็นการสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ก่อน รัฐประหารปี 2490 กฎเกณฑ์การถ่วงดุลของสถาบันทางการเมืองได้มาตรฐานสากลพอสมควร แต่หลังรัฐประหารครั้งนั้นได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญหลายเรื่อง

ประการ แรก คือ การจตัดตั้งให้มีคณะอภิรัฐมนตรี ถ้าครม. จะเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมที่ทำไว้ ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ก่อน

รัฐธรรมนูญปี 2492 ก็ได้เป็นต้นแบบให้รัฐธรรมนูญต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน คือ การกำหนดให้มีองคมนตรี และในกรณีที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการฯ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนฯ กำหนดห้ามยกเลิก-แก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วนการสืบสันตติวงศ์ และอำนาจในการวีโต้กฎหมายของสถาบัน ซึ่งกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้สืบต่อมาถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบัน

นี่จึงเป็นที่ มาที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้กลับไปใช้แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามแนวทางก่อนปี 2490 เพราะเป็นการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับองค์กรทางการเมือง ที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยมากที่สุด

‘สาวตรี’ วิจารณ์ข้อเสนอ คอป. ชี้ประโยชน์และปัญหา

‘สาวตรี’ วิจารณ์ข้อเสนอ คอป. ชี้ประโยชน์และปัญหา




30 ก.ย.55 ในช่วงท้ายของเวทีเสวนา 2 ปีนิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์  กล่าวถึงรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง แห่งชาติ (คอป.)  ว่า หลังจากได้อ่านรายงานมีหลายจุดที่ค่อนข้างมีประโยชน์ เช่น มีข้อเท็จจริงจำนวนหนึ่งที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ แต่ปัญหาคือ ข้อมูลดิบที่แสดงมีไม่เพียงพอ

สาวตรีกล่าวว่า แล้ว คอป. เกี่ยวอะไรกับนักกฎหมายและรัฐประหาร เราทราบกันดีว่าในคอป. มีนักกฎหมายค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าเราดูทัศนคติก็ดี หรือตัวรายงานก็ดี จะพบว่า คอป. อาจไม่ใช่นักกฎหมายที่รับใช้รัฐประหารโดยตรง แต่ปัจจุบันก็มีการตั้งคำถามกันว่า คอป.รับใช้รัฐบาลที่เป็นผลพวงของรัฐประหารหรือไม่

“คอป.อาจถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการแอบอ้างความเป็นกลางเพื่อรับรองความชอบธรรมให้กับการปราบปรามประชาชน” สาวตรีกล่าว

สาว ตรีกล่าวต่อว่า หลังอ่านรายงานอย่างละเอียดจะพบประเด็นปัญหาคือ 1)  ที่มาของ คอป.ที่มีการแต่งตั้งและคัดเลือกในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นฝ่ายที่ปราบปรามประชาชน ลักษณะของความเป็นกลางจึงถูกตั้งคำถามแต่แรก  2) ปัญหาการอ้างอิงแหล่งข้อมูล จะเห็นว่ามีการเทน้ำหนักพยานหลักฐานไปที่ฝ่ายรัฐ เต็มไปด้วยคำให้การของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ แต่ในส่วนของชาวบ้าน ผู้เห็นเหตุการณ์มีน้อยมาก 3) ในรายงานราว 300 หน้า กว่าครึ่งพยายามอธิบายปัญหาที่ คอป.มองว่าก่อให้เกิดความไม่ปรองดองหรือความขัดแย้งยืดเยื้อ ซึ่งเราจะพบปัญหาในการมองปัญหา เช่น คอป.สรุปปัญญาคดีหลายคดีในศาลรัฐธรรมนูญว่าศาลทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง แต่รายละเอียดมีแค่คดีซุกหุ้นเท่านั้น คดีอื่นๆ ไม่มีรายละเอียดเลย , ในการพูดถึงปัญหาเรื่องการชุมนุมปิดสถานที่ต่างๆ เปรียบเทียบระหว่างฝ่ายเสื้อเหลืองและเสื้อแดงแดง สิ่งที่เกิดขึ้นคือผลพวงจากการปิดสนามบินไม่มีปรากฏ แต่เน้นเรื่องการปิดสถานที่ต่างๆ ของคนเสื้อแดง รวมถึงผลพวงของมัน นี่คือลักษณะที่แสดงทัศนะออกมา , คอป.พูดถึงปัญหาผังล้มเจ้า โดยบอกว่า ศอฉ. แสดงชัดเจนว่ามีผังล้มเจ้า แต่คอป.ไม่ระบุเลยว่าในที่สุด ศอฉ.ประกาศว่าไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น , คอป.ยกเรื่องการอ้างสถาบันของฝายต่างๆ ทำให้เกิดปัญหายืดเยื้อ พร้อมเสนอว่าควรหยุดอ้างได้แล้ว แต่ในรายงานไม่เคยมีการวิเคราะห์ให้เห็นบทบาทของสถาบันเองนับแต่การรัฐ ประหารเป็นต้นมา และไม่มีการยกว่าเหตุการณ์อะไรที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด

นิติราษฏร์เสวนา "๒ ปี นิติราษฏร์ ๖ ปี รัฐประหาร"

นิติราษฏร์เสวนา "๒ ปี นิติราษฏร์ ๖ ปี รัฐประหาร"  


Posted Image


Posted Image 

ฝากรูป 

เสวนา ๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร 30 9 2012 (ช่วง 1)
http://www.youtube.com/watch?v=0WItFs9_Z08  

เสวนา ๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร รำลึกนวมทอง ไพรวัลย์ 30 9 2012 (ช่วง 2) 
http://www.youtube.com/watch?v=K_cMBB2bK5Y

สวนา ๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร รัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ 30 9 2012 (ช่วง 3) 
http://www.youtube.com/watch?v=x4u2P2xK5L4
 

ภาพ/คลิป กิจกรรมครบรอบ 2 ปีนิติราษฏร์ 6 ปี รัฐประหาร @ธรรมศาสตร์ 30/09/55

(คลิก)
http://www.internetofreedom.com/index.php?/topic/15884-