สี่นิยายเรื่อง ๒๔๗๕
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
1. การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เป็นการ “ชิงสุกก่อนห่าม”
พวกที่เชื่อนิยายนี้มองว่าประชาชนไทยไม่พร้อมที่จะมีประชาธิปไตย ประยุทธ์กับสลิ่มปฏิกูลก็คงมองแบบนี้เช่นกัน แนวคิดนี้เริ่มต้นจากความเชื่อว่าประชาชนธรรมดาไร้การศึกษาและโง่ แน่นอนผู้ที่ตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าวถือว่าตนเองเป็นผู้ที่ฉลาดกว่าพวกคนชั้น ต่ำทั้งหลายเสมอ และเรามักจะได้ยินคำกล่าวหาจากสำนักนี้ว่าสาเหตุที่ระบบประชาธิปไตยไทยใน ปัจจุบันมีการทุจริตซื้อขายเสียงก็เพราะคนยากคนจนขาดการศึกษา แต่แท้ที่จริง การศึกษากับความฉลาดไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และการทุจริตกับการซื้อเสียงเป็นสิ่งที่นักการเมืองไทยทุกพรรคเป็นผู้ริ เริ่มทำกันเอง หลัง ๒๔๗๕
ความจริงแล้วถ้าเราพิจารณาการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองไปสู่ระบบรัฐ ธรรมนูญ ในปี ๒๔๗๕แทนที่จะยังไม่ถึงยุคสุกงอม ต้องถือว่าไทยล้าหลังประเทศอื่นพอสมควรเพราะแม้แต่ประเทศจีนก็ปฏิวัติยกเลิก ระบบจักรพรรดิไปแล้ว 21 ปีก่อนการปฏิวัติในไทย
เหล่าประชาชนไทยในยุคก่อน ๒๔๗๕ เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพราะก่อนหน้านั้นมีการตีพิมพ์บทความและเสนอฎีกาความเห็นจากประชาชนคนสามัญ มากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีผลกระทบต่อชีวิตประชาชนในสมัย นั้นและความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลกษัตริย์ในการแก้วิกฤตดังกล่าว