หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วาทะจุดประกาย

วาทะจุดประกาย




"...ข้าพเจ้าต้องการให้มีค้าน แต่ค้านโดยสุจริตใจ ไม่ใช่ปั้นข้อเท็จจริงขึ้น ทางธรรมนั้นการกล่าวเท็จหรือมุสาวาทก็เป็นผิด ในทางการเมืองการใช้สิทธิตามระบอบ ประชาธิปไตย ต้องทำโดยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังผลส่วนรวมจริงๆ ไม่ใช่มุ่งหวังผลส่วนตัว หรือมีความอิจฉาริษยา อันเป็นมูลฐานเนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว..."

ปรีดี พนมยงค์

ทันสถานการณ์

ทันสถานการณ์


นปช.สวนข้อเสนอนายกฯลาออก-ยุบสภาไม่ได้ผล ชี้‘สุเทพ’ไม่รับ 

 
 
สุเทพประกาศควบคุมเบ็ดเสร็จศูนย์ราชการ กสท. ทีโอที- 1 ธ.ค. จะเป็นวันแห่งชัยชนะ

วิวาทะ

วิวาทะ


 
 

"ประชาชนมีเหตุผล มีสิทธิเข้่าร่วมต่อสู้แน่นอนครับ พวกเขาต้องการประชาธิปไตย แต่แกนนำ ผู้มีอำนาจทั้งสองฝ่าย ไม่มีความจริงใจที่จะสร้างประชาธิปไตยตามที่ตัวเองประกาศแก่ประชาชน พวกเขาดึงประชาชนเข้าสู่การต่อสู้ที่สุ่มเสี่ยง เมื่อเกิดความเสียหายแล้วไม่มีใครรับผืดชอบทั้งในทางกฎหมาย แม้แต่ขอโทษ ไม่จริงใจในการแก้ไขโครงสร้างของประเทศให้เป็นประชาธิปไตย และไม่จริงใจแม้กระทั่งเรื่องนิรโทษกรรมแก่ชาวบ้านที่สู้เพื่อตนเอง" 

อ.สุรพศ ทวีศักดิ์
อาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

"ยุบสภาแล้วจะมีขบวนการสร้างเงื่อนไข "ห้ามเลือกตั้ง"")

"ยุบสภาแล้วจะมีขบวนการสร้างเงื่อนไข "ห้ามเลือกตั้ง"")


 
ทปอ.แนะยุบสภา-หาคนกลางเจรจาคลายปม-นิรโทษผู้ชุมนุมปัจจุบัน
http://www.prachatai.com/journal/2013/11/50058

โดย Phuttipong Ponganekgul
  
จากท่าทีของเหล่าเอลีทในช่วงนี้ และบรรดาข้อเสนอเพี้ยนๆ ที่กระหน่ำกันออกมาเหมือนก่อนสมัยรัฐประหาร ๒๕๔๙ หากพิจารณาในทางที่ "รัฐบาลไม่ยุบสภา" เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อ "เหตุการณ์นอกระบบกฎหมาย" (ถ้าพิจารณาในระบบกฎหมาย มันจะไม่มีปัญหาเลย) แต่มีความพยายามที่จะล้มกระดานเพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้งอีกต่อไป และบรรดาบุคคลที่ออกมานั้นก็ล้วนแต่เป็นพวกสุนัขรับใช้คณะรัฐประหารทั้งสิ้น (เช่นบรรดาอธิการบดีต่างๆ) สะท้อนว่า 

การล้มกระดานคงจะกระทำผ่านการชี้มูลความผิดโดย ป.ป.ช. ในระหว่างที่ยุบสภาไปแล้ว (คุณวิชา มหาคุณ แจ้งว่า จะใช้เวลาชี้มูลประมาณเป็นเดือน ซึ่งจะอยู่ในช่วงที่หากยุบสภาพอดี ก็จะโดนล็อคได้ทันที) และเป็นการชี้มูลในระหว่างที่คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ เป็นเหตุให้คุณยิ่งลักษณ์ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีรักษาการ

แม้ว่าโดยระบบกฎหมาย รองนายกรัฐมนตรีรักษาการอันดับที่ ๑.จะต้องปฏิบัติหน้าที่แทนคุณยิ่งลักษณ์ได้ก็ตาม แต่หากเกิดการสร้างกระแสการเมืองแบบสนธิลิ้มฯ (ต้นปี ๒๕๔๙) อ้าง "หลักโคมลอย" บีบให้คุณยิ่งลักษณ์ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการ แบบสมัยทักษิณ ชินวัตร โดนกระทำเมื่อปี ๒๕๔๙ เช่นนี้จะส่งผลให้คณะรัฐมนตรีรักษาการต้องพ้นจากตำแหน่งไปทั้งคณะ และเกิดสุญญากาศขึ้น แล้วเรียกร้องมาตรา ๗

หากวิถีทางยุบสภาเป็นเรื่องที่ยังไม่พึงปรารถนาในสถานการณ์เช่นนี้ (ประกอบกับ แถลงการณ์แผนการอุบาทว์ที่หลุดออกมา ทปอ. ต่างๆ ล่าสุดนี้ ซึ่งสะท้อนสภาวะไม่ปรารถนาจะให้มีการเลือกตั้งขึ้นเลยผ่านข้อเสนอที่แฝงนัยะถึงอุดมคติของพวกเขาที่จะให้เป็นเช่นนั้น คือ "ยุบสภาแล้วจะมีขบวนการสร้างเงื่อนไข "ห้ามเลือกตั้ง"")

เห็นว่า สิ่งที่รัฐบาลควรทำ ณ ตอนนี้ (ท่ามกลางสถานการณ์ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม กำลังขยับเบาๆ แต่สุดลิ่มทิ่มประตูในวันนี้) รัฐบาลควรควบคุม agenda ของตนเองให้หนักแน่นอย่างยิ่ง เรียกประชุมสภา(วิสามัญ) เพื่อ

(๑.)ลงมติ "ไม่รับความผูกพันตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" และ  

(๒.)รีบลงมติวาระ ๓ ร่างรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๒๙๑ ที่ค้างอยู่ในสภา อันเป็นการเดินหมากเดิมพันสุดท้ายในระบบครับ ส่วนจะโดนศาลรัฐธรรมนูญเล่นงานตามมาตรา ๖๘ รัฐสภาก็ต้อง "สู้ชน" โดยไม่ยอมรับความผูกพันเช่นที่จะต้องทำในข้อ (๑.)

แต่หากจะใช้วิธีของ อ.นิธิ คือ ให้ลงประชามติ แล้วยุบสภา ก็อาจพอไหว แต่ยัง "เสี่ยง" ที่จะโดน ป.ป.ช. ชี้มูลในระหว่างนายกรัฐมนตรีรักษาการ (และช่วง "รักษาการ" บรรดาข้าราชการประจำจะไม่ฟังคำสั่ง --- สมัยทักษิณ เคยเดินเกมตามระบบกฎหมายคือให้เลือกตั้งเร็ว ซึ่งโดนศาลรัฐธรรมนูญ เพ่งโทษต่างๆนานา จนกระทั่งอาจเป็นช่องทางให้ศาลรัฐธรรมนูญไปเล่นงานประเด็นเลือกตั้งโมฆะได้) แต่คำถามที่จะใช้ลงประชามติ ก็ต้องตั้งให้ดีครับ การตั้งคำถามในการลงประชามติ จะส่งผลว่า เป็นการตั้งคำถามที่ให้ใครได้ประโยชน์ กล่าวคือ



หากถามว่า "ท่านเห็นด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับตามร่างรัฐธรรมนูญที่ค้างวาระ ๓ อยู่หรือไม่" ถ้าอย่างนี้รัฐบาลเพื่อไทยได้ประโยชน์


แต่ถ้าถามว่า "ท่านเห็นว่าควรยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อปฏิรูปการเมืองไทยหรือไม่" ถ้าถามอย่างนี้จะต้องมีเถียงกันอีกว่า ใครจะมาร่างรัฐธรรมนูญ (สภาพระราชทาน, สสร.เลือกตั้ง ฯลฯ).     

ความตอแหลของสุเทพ

ความตอแหลของสุเทพ



By Giles Ji Ungpakorn
 
สุเทพตอแหล ๑.
การซื้อเสียงเกิดจากการมีพรรคการเมืองที่ขาดนโยบาย เลยต้องเอาเงินมาแทนที่ แต่พรรคประชาธิปัตย์ตัวดีในเรื่องแบบนี้ เพราะไม่เคยมีนโยบายเป็นรูปธรรม พรรคไทยรักไทยกับทักษิณไม่ได้ดีเลิศ แต่อย่างน้อยริเริ่มการเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรม



 
สุเทพตอแหล ๒.
รัฐบาลประชาชน หรือสภาประชาชนต้องมาจากการเลือกตั้ง และต้องทำให้คนจน กรรมาชีพ และเกษตรกรรายย่อยมีอำนาจในแผ่นดิน แต่สุเทพกับม็อบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถ่มน้ำลายใส่ประชาชนส่วนใหญ่ จัดตั้งคนชั้นกลางบ้าคลั่ง ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย ดังนั้นสุเทพต้องการหมุนนาฬิกากลับสู่การปกครองของอภิสิทธิ์ชนที่กีดกันคนส่วนใหญ่ออกจากการมีส่วนร่วม



 
สุเทพตอแหล ๓.
สุเทพอ้างว่าต่อต้านการคอร์รับชั่น แต่ไม่ตรวจสอบตนเองก่อน ไม่วิจารณ์ประวัติอันยาวนานของการคอร์รับชั่นโดยกองทัพ ไม่วิจารณ์การคอร์รับชั่นถูกกฏหมายที่ทำให้กษัตริย์กอบโกยมหาศาล จริงๆ แล้วที่ม็อบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อต้านนั้น ไม่ใช่การคอร์รับชั่น แต่ต่อต้านการที่ตนเองไม่ได้ร่วมกินมากกว่า




สุเทพตอแหล ๔.
สุเทพต่อต้านการลงทุนโดยรัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างขนาดใหญ่สำหรับประชาชนและ สังคม เช่นรถไฟความเร็วสูง มันอ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองเพื่อพรรคพวก แต่สุเทพเงียบเฉยต่อการลงทุนมหาศาลในกองทัพและสถาบันกษัตริย์ ซึ่งให้ประโยชน์กับคนส่วนน้อย มันเงียบเฉยกับการที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ในอดีตละเลยการพัฒนาสังคมโดยสิ้น เชิง ซึ่งทำให้ไทยล้าหลังกว่าหลายประเทศในเอเชีย
 



 
สุเทพตอแหล ๕.
สุเทพต่อต้านระบบที่มันเรียกว่าประชานิยม เหมือนกับว่านโยบายที่ประชาชนชอบเพราะได้ประโยชน์ เป็นเรื่องสกปรก แล้วมาหน้าด้านพูดถึงการปกครองเพื่อสังคมและประชาชนทำไม? อย่าลืมว่าพรรคประชาธิปัตย์ต่อต้าน ๓๐ บาทรักษาทุกโรค และโครงการจำนำข้าวมาตลอด



  
สุเทพตอแหล ๖.
สุเทพพูดถึง “คนดี” แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยและโลก คนที่มีส่วนในการสั่งฆ่าประชาชนมือเปล่า อย่างที่สุเทพทำ เป็น “คนเลว” เป็น “อาชญากร”


Sutep’s 6 lies By Giles Ji Ungpakorn

1.VOTE BUYING. Vote buying happens when political parties of the elites lack any concrete policies. They then have to buy votes to get support. The Democrat Part traditionally has never put forward any concrete policies, unlike Thai Rak Thai. Of course TRT and Pua Thai are parties of big business and we shouldn’t support them either.

2. PEOPLES’ GOVERNMENT. Sutep claims he wants a Peoples’ Government. But he and his supporters want a return to the Absolute Monarchy, a military coup, and they view most of the population with contempt.

3. CORRUPTION. Sutep and his mates only talk about Taksin’s corruption. But he doesn’t look at himself. He ignores rampant corruption in the military and the legal corruption of the Royal Family.

4. STATE SPENDING ON MEGA-PROJECTS. Sutep and the neo-liberal Democrats, are against government spending on a new high speed railway system. In the past they opposed the government rice subsidy and the universal health care system. They never, however, oppose huge military and palace spending. While in office in the past, they failed to invest in improving infrastructure and society. Bangkok’s terrible traffic and the gap between rich and poor is their legacy.

5. POPULISM. Sutep says he opposes “Populism” as though policies which the people support because of the benefits are somehow wrong. Yet he talks about a Peoples’ Government!

6. GOOD PEOPLE. Sutep and his Absolute Monarchy protesters talk about the need for the country to be led by “good people”. Yet all over the world and in Thailand, those who order the shooting of unarmed pro-democracy demonstrators, like Sutep did, are deemed to be CRIMINALS.     

ทางออก? (5) คมชัดลึก 29 11 56

ทางออก? (5) คมชัดลึก 29 11 56

 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=ew1QiLadQdk&desktop_uri=%2Fwatch%3Fv%3Dew1QiLadQdk&app

"...ผมไม่เห็นด้วย...!!!


"...ผมไม่เห็นด้วย...!!! 
 
 
เจาะข่าวเด่น หาทางออกการเมืองไทย 29 พ.ย. 56
http://www.youtube.com/watch?v=B5xvBtWw0XQ 

"...ผมไม่เห็นด้วย...!!!
ทำไมต้องให้คนตระกูลชินวัตรเลิกเล่นการเมือง
มีสิทธิ์อะไรไปทำกับคนตระกูลชินวัตร
หากจะเสนอให้คนตระกูลชินวัตรเลิกยุ่งการเมือง
คุณเอาอำนาจอะไร มาไล่เค้าออกไปนอกประเทศ"
 

ดิอิโคโนมิสต์แบนตัวเองรอบ 2 ในเดือน พ.ย.

ดิอิโคโนมิสต์แบนตัวเองรอบ 2 ในเดือน พ.ย.

 


29 พ.ย.2556 ดิอิโคโนมิสต์ นิตยสารวิเคราะห์การเมือง-เศรษฐกิจชื่อดัง ส่งอีเมลแจ้งสมาชิกว่า นิตยสารฉบับวันที่ 30 พ.ย. 2556 จะไม่วางจำหน่ายในประเทศไทย เนื่องจากมีเนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อน (sensitive) และอาจส่งผลกระทบกับผู้จัดจำหน่ายในประเทศ

สำหรับดิอิโคโนมิสต์ ฉบับดังกล่าว มีบทความเกี่ยวกับประเทศไทย เรื่อง The exile and the kingdom (ผู้พลัดถิ่นและราชอาณาจักร) ว่าด้วยสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบัน พร้อมเสนอทางแก้ปัญหาว่า รัฐบาล ฝ่ายต่อต้าน และสถาบันกษัตริย์ต้องปรับตัว

ก่อนหน้านี้ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ดิอิโคโนมิสต์ งดวางจำหน่ายนิตยสารฉบับวันที่ 16 พ.ย. 2556 เช่นกัน โดยในเล่มมีบทความชื่อ "เป่านกหวีด" หรือ "Blowing the whistle" มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองไทย