หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

นิติราษฏร์เสวนา "๒ ปี นิติราษฏร์ ๖ ปี รัฐประหาร"

นิติราษฏร์เสวนา "๒ ปี นิติราษฏร์ ๖ ปี รัฐประหาร"






นิติราษฎร์ จัดเสวนา "๒ ปี นิติราษฎร์ ๖ ปี รัฐประหาร"
ใน วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕  เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป
ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  โดยมีกำหนดการดังนี้

๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐  “นักกฎหมายไทยกับรัฐประหาร” ปาฐกถานำ โดย ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ 

๑๓.๓๐ - ๑๔.๐๐ กิจกรรมรำลึกนวมทอง ไพรวัลย์ “๖ ปี แท็กซี่ชนรถถัง” 

๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ “รัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ”
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
ปิยบุตร แสงกนกกุล

 
ดำเนินรายการโดย ธีระ สุธีวรางกูร


๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ บทบาทของ คอป. กับการ "ปรองดอง"?  อภิปรายและตอบคำถามโดย คณะนิติราษฎร์
เปิดประตูหอประชุมตั้งแต่ ๑๒.๐๐ น. เป็นต้นไป จึงขอเรียนเชิญประชาชนผู้สนใจทุกท่าน

นอกจากนี้ คณะนิติราษฎร์ได้จัดทำ ดีวีดี “นิติราษฎร์เสวนา”  รวมการเสวนาของคณะนิติราษฎร์ตลอด ๒ ปี มีจำนวน ๑๐ แผ่น จำหน่ายก่อนเริ่มงาน จำนวน ๕๐๐ ชุด ในราคาชุดละ ๕๐๐ บาท เพื่อนำรายได้จ่ายค่าหอประชุม

และคณะนิติราษฎร์ขอเรียนทุกท่านทราบว่าพวกเราไม่ประสงค์รับบริจาคเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจากบุคคลใด หน่วยงานใด หรือโดยวิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น ! 

(ที่มา)

"ยุกติ มุกดาวิจิตร" : สังคมไทยปกครองด้วยระบอบคณาธิปไตยที่ชราภาพมากแล้ว

"ยุกติ มุกดาวิจิตร" : สังคมไทยปกครองด้วยระบอบคณาธิปไตยที่ชราภาพมากแล้ว

 

  


แม้การรำลึกครบรอบ 6 ปี รัฐประหารจะผ่านไปแล้ว

แต่กระแสข่าวการเกิดรัฐประหารมักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ

โดยเฉพาะการปลุกระดมเสื้อแดง-เสื้อเหลืองจนเกิดการปะทะกันหน้ากองปราบในช่วงเวลาที่ผ่านมา

อาจจะนำไปสู่ข้ออ้างสำคัญที่คณะรัฐประหารมักใช้อ้างเพื่อกระทำการก็คือ
 
การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและป้องกันปัญหา "คนไทยฆ่ากันเอง" 

"มติชนออนไลน์"  สัมภาษณ์ "ยุกติ มุกดาวิจิตร"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จะมาตอบคำถามว่าเหตุใดประเทศไทยยังสามารถเกิดรัฐประหารในอนาคตได้

แม้จะมีกระแสต่อต้านจะขยายไปในวงกว้างของสังคมแล้วก็ตาม

แล้วชนชั้นนำไทยเกี่ยวข้องอย่างไรกับการรัฐประหาร

ถึงเวลาที่ต้องรับ "ชมคลิป" และอ่านอย่าง "เพ่งพินิจตรึกตรอง"

-ปัจจัยใดทางสังคมที่ทำให้มีการรัฐประหารถึง 4 ปี/ครั้ง นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475
 รัฐประหารทุกครั้งมันตอกย้ำสิ่งที่ยังมีอยู่ในสังคมไทยคือ ระบบอำนาจนิยมและชนชั้นนำยังไม่อยากปล่อยอำนาจของตัวเอง ดังนั้นข้ออ้างของการทำรัฐประหารจะซ้ำ ๆ กัน โดยเฉพาะเรื่องของการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์จะถูกเอามาใช้เป็นข้ออ้าง ชนชั้นนำก็เชื่อว่ากลุ่มของตนเองเท่านั้นที่จะปกป้อง จงรักภักดีต่อสถาบันฯ และคิดว่าคนกลุ่มอื่นในสังคมไทยไม่มีใครรักสถาบันฯ เลย มีแต่ทหารกับชนชั้นนำเท่านั้น


 อีกปัจจัยคือ อุดมคติของข้าราชการก็ไม่ได้คิดว่า ตัวเองทำงานให้กับนักการเมืองซึ่งเท่ากับคิดว่าข้าราชการก็ไม่ได้ทำงานให้กับประชาชน ข้าราชการคิดว่า ตัวเองทำงานให้สถาบันอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ประชาชน โครงสร้างพื้นฐานของระบบข้าราชการจึงคิดว่า ตัวเองไม่ได้ทำงานให้ประชาชน  แล้วผู้ที่ทำรัฐประหารก็คือ ทหารซึ่งก็เป็นข้าราชการอีกด้วย
-ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยชนชั้นกลางจะเป็นคนกลุ่มแรกที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร แต่ทำไมการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ชนชั้นกลางกับยอมรับแล้วยื่นดอกไม้ให้ทหารที่ทำการรัฐประหาร
เพราะมันเป็นการรัฐประหารเพื่อชนชั้นกลาง โดยการกระทำและความสนับสนุนจากชนชั้นนำ การรัฐประหารในครั้งก่อน ๆ มันคือเรื่องผลประโยชน์ของชนชั้นนำเอง แต่หลังจากที่การกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจมันแพร่หลายในเขตเมืองมากขึ้นชนชั้นกลางก็มีอำนาจทางการเมืองเพิ่มขึ้นจนสามารถกำหนดว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

พอรัฐบาลทักษิณกระจายอำนาจให้ชนชั้นกลางระดับล่างจึงทำให้กลุ่มชนชั้นกลางในเมืองไม่พอใจ และยินดีที่เกิดรัฐประหารปี 2549 เพราะอย่างน้อยอำนาจทางการเมืองก็ยังอยู่ในมือพวกเขา แล้วอุดมการณ์ของชนชั้นกลางในเมืองยังเชื่อว่า ควรจะมีพลังพิเศษมาป้องกันหรือขัดขวางการเติบโตของพลังสถาบันพรรคการเมือง

-หมายความว่าชนชั้นกลางในเมืองกำลังหวาดกลัวกับการมีอำนาจทางการเมืองของกลุ่มชนชั้นล่างและชนชั้นกลางระดับล่างใช่หรือไม่

ทฤษฏีการปฏิวัติถาวรของตรอทสกี้

ทฤษฏีการปฏิวัติถาวรของตรอทสกี้
 


ท่ามกลางการปฏิวัติ 1917 เลนิน เปลี่ยนใจใน “วิทยานิพนธ์ เมษายน 1917” โดยเสนอว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดขึ้นต้องนำไปสู่ขั้นตอนของสังคมนิยม ทันทีและนำโดยกรรมาชีพ ผ่านการสร้างรัฐกรรมาชีพ ซึ่งจะเห็นว่า เลนิน หันมาสนับสนุนจุดยืน “การปฏิวัติถาวร” ของ มาร์คซ์

โดย กองบรรณาธิการเลี้ยวซ้าย

คาร์ล มาร์คซ์ เสนอในปี 1850 (60 ปีหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส)ว่าความขัดแย้งหลักในสังคมเปลี่ยนไปจากความขัด แย้งระหว่างนายทุนกับขุนนาง ไปเป็นความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพกับชนชั้นปกครอง มาร์คซ์เขียนว่า...   
“ชน ชั้นกรรมาชีพเท่านั้นที่จะเป็นผู้ต่อสู้อย่างถึงที่สุดกับทุนนิยมจนได้รับ ชัยชนะ... และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อชนชั้นกรรมาชีพเข้าใจผลประโยชน์ของชนชั้น ตัวเองอย่างชัดเจน โดยสร้างพรรคการเมืองอิสระของกรรมาชีพเอง และไม่หลงเชื่อคำแนะนำจากพวกนายทุนน้อยประชาธิปไตยตอแหลที่เสนอว่า กรรมาชีพไม่ต้องมีพรรคของตนเอง... คำขวัญของกรรมาชีพจะต้องเป็น ‘ปฏิวัติให้ถาวรไปเลย!’” [Marx, K & Engels, F (1981) “Collected Works Vol X” pp 280-287, London.]

ก่อนการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 เลนิน แสดงจุดยืนในหนังสือ “สองยุทธวิธีของสังคมนิยมประชาธิปไตย” ว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดต้องนำโดยชนชั้นกรรมาชีพที่ทำแนวร่วมกับชาวนา แต่ในขั้นตอนแรก เนื่องจากความล้าหลังของประเทศรัสเซียที่มีชาวนา 130 ล้านคน เมื่อเทียบกับกรรมาชีพแค่ 3 ล้านคน การปฏิวัติจะสถาปนาระบบประชาธิปไตยทุนนิยมก่อน โดยมีนายทุนเป็นชนชั้นปกครอง หลังจากนั้นกรรมาชีพจะค่อยๆทำการปฏิวัติไปสู่สังคมนิยมในภายหลัง

แต่ท่ามกลางการปฏิวัติ 1917 เลนิน เปลี่ยนใจใน “วิทยานิพนธ์ เมษายน 1917” โดยเสนอว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดขึ้นต้องนำไปสู่ขั้นตอนของสังคมนิยม ทันทีและนำโดยกรรมาชีพ ผ่านการสร้างรัฐกรรมาชีพ ซึ่งจะเห็นว่า เลนิน หันมาสนับสนุนจุดยืน “การปฏิวัติถาวร” ของ มาร์คซ์

ในขณะที่ เลนิน เสนอให้กรรมาชีพปฏิวัติถาวรและสร้างสังคมนิยมในประเทศล้าหลังอย่างรัสเซีย ก่อนหน้านั้นในปี 1906 ลีออน ตรอทสกี ก็แสดงจุดยืนสนับสนุนการปฏิวัติถาวรของ มาร์คซ์ ในบทความชิ้นสำคัญที่เรียกว่า “การปฏิวัติถาวร”

ความสำคัญของทฤษฎีการปฏิวัติถาวรสำหรับสังคมไทย ในปัจจุบันคือ มันอธิบายว่าทำไมความขัดแย้งระหว่างทักษิณกับอำมาตย์ ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างนายทุนกับศักดินา และกรรมาชีพกับคนจนไม่ควรต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทุนนิยมเท่านั้น แต่ควรสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อสังคมนิยม

หลายคนที่เคยศึกษานโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย(พ.ค.ท.) จะทราบดีว่า พ.ค.ท. ในอดีตถือนโยบายตาม สตาลิน และ เหมาเจ๋อตุง ที่เสนอว่าการปฏิวัติในประเทศไทยในขั้นตอนแรก จะต้องเป็นการปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยทุนนิยม ไม่ใช่สังคมนิยม และชนชั้นกรรมาชีพจะต้องสร้างแนวร่วมและประนีประนอมกับชนชั้นนายทุน มันเป็นข้อเสนอที่พานักปฏิวัติสังคมนิยมในพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกให้ไปจงรัก ภักดีกับนายทุน เพื่อไม่ให้ชนชั้นนายทุนในประเทศต่างๆ ต่อต้านรัสเซีย มันนำไปสู่การประนีประนอมกับทุนนิยมตลาดเสรีอย่างที่เราเห็นในเนปาลหลังจาก ที่พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาเป็นรัฐบาลเมื่อไม่นานมานี้เอง และสำหรับขบวนการเสื้อแดง มันเป็นข้อเสนอให้กรรมาชีพและเกษตรกรทำแนวร่วมกับทักษิณโดยไม่เสนอนโยบายที่ จะเป็นประโยชน์กับชนชั้นตนเองเลย

ลีออน  ตรอทสกี สรุปเรื่องการปฏิวัติถาวรในปี 1928 ว่า

1. ในประเทศที่การพัฒนาระบบทุนนิยมล้าหลัง  โดยเฉพาะประเทศเมืองขึ้นหรือกึ่งเมืองขึ้น ทฤษฎีการปฏิวัติถาวรมีความสำคัญตรงที่ทำให้เห็นว่าการสร้างประชาธิปไตยและ เอกราชที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ภายใต้สังคมนิยมเท่านั้น และชนชั้นนำจะต้องเป็นชนชั้นกรรมาชีพ 

2. ปัญหาของระบบเกษตรกรรม และปัญหาของเอกราชในประเทศล้าหลัง มีผลทำให้ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่มีบทบาทสำคัญ ถ้าไม่มีแนวร่วมระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชาวนาภาระของการปฏิวัติจะไม่บรรลุ ความสำเร็จ แต่แนวร่วมนี้จะต้องสร้างขึ้นภายใต้เงื่อนไขของการต่อสู้อย่างไม่มีวันประนี ประนอมกับอิทธิพลของนายทุนรักชาติเสรีนิยม

3. ไม่ว่าการปฏิวัติในประเทศหนึ่งจะมีขั้นตอนแตกต่างกันอย่างไร การสร้างแนวร่วมระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชาวนาต้องสร้างภายใต้การนำของ กรรมาชีพที่ก้าวหน้าที่สุด ซึ่งจัดตั้งโดยพรรคคอมมิวนิสต์

4. อำนาจของชนชั้นกรรมาชีพ จะต้องเผชิญหน้าอย่างรวดเร็วกับปัญหาต่างๆ ที่แก้ได้โดยวิธีเดียวเท่านั้นคือ การลดทอนสิทธิทรัพย์สินเอกชนของนายทุน ฉะนั้นกระบวนการประชาธิปไตยจะนำไปสู่การปฏิวัติถาวรเพื่อสร้างสังคมนิยม ทันที

5. การยึดอำนาจของชนชั้นกรรมาชีพไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการปฏิวัติ เพียงแต่เป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น การสร้างระบบสังคมนิยมทำได้ภายใต้เงื่อนไขการต่อสู้ทางชนชั้นเท่านั้น ทั้งในระดับชาติและระดับสากลพร้อมกัน การต่อสู้แบบนี้ ภายใต้สภาพโลกที่ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์แบบทุนนิยม มักจะนำไปสู่การระเบิดภายใน ในรูปแบบสงครามกลางเมือง และการระเบิดภายนอกในรูปแบบสงครามปฏิวัติ สภาพเช่นนี้เองชี้ถึงความ “ถาวร” ของการปฏิวัติสังคมนิยม ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนในประเทศล้าหลังที่พึ่งจะบรรลุการปฏิวัติประชาธิปไตย หรือในประเทศทุนนิยมเก่าแก่ที่มีประชาธิปไตยและระบบรัฐสภามานาน

6. ความสำเร็จของการปฏิวัติสังคมนิยมในขอบเขตประเทศเดียวเป็นไปไม่ได้ สาเหตุหนึ่งของวิกฤตปัจจุบันของสังคมทุนนิยมคือการที่พลังการผลิตปัจจุบัน ถูกจำกัดภายในขอบเขตของประเทศชาติไม่ได้ การปฏิวัติสังคมนิยมจะเกิดขึ้นในเวทีรัฐชาติแต่จะแผ่ขยายไปสู่เวทีสากลและจะ สำเร็จในเวทีโลก ฉะนั้นความ “ถาวร” ของการปฏิวัติสังคมนิยมมีมิติที่กว้างยิ่งขึ้นคือ สำเร็จได้ต่อเมื่อสังคมใหม่ได้รับชัยชนะทั่วโลก

7. การสรุปการพัฒนาของกระบวนการปฏิวัติโลกดังที่เขียนไว้ข้างต้นนี้ ทำให้เราสามารถยกเลิก “ปัญหา” ของประเทศที่ “สุกงอม” หรือประเทศที่ “ยังไม่พร้อม” ที่จะปฏิวัติสังคมนิยม ตามแนวคิดกลไกของ สตาลิน ระบบทุนนิยมได้สร้างตลาดโลกและได้แบ่งงานและการผลิตในระดับโลก ฉะนั้นระบบทุนนิยมจึงช่วยเตรียมเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกเพื่อการเปลี่ยน แปลงสังคมนิยม

8. ในประเทศต่างๆ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะมีอัตราความรวดเร็วที่ต่างกัน ในบางกรณีประเทศที่ล้าหลังอาจเกิดสังคมนิยมก่อนประเทศก้าวหน้า แต่การสร้างสังคมนิยมที่สมบูรณ์จะใช้เวลายาวนานกว่าถ้าเทียบกับประเทศพัฒนา

9. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้าง “สังคมนิยมในประเทศเดียว” ของ สตาลิน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปฏิกิริยาที่ต่อต้านประเพณีตุลาคม 1917 เป็นทฤษฎีเดียวที่ขัดแย้งอย่างถึงที่สุดกับทฤษฎีปฏิวัติถาวร การแบ่งงานกันทำในระบบเศรษฐกิจโลก การที่อุตสาหกรรมโซเวียดต้องพึ่งพาเทคโนโลจีต่างชาติ และการที่ระบบการผลิตของประเทศพัฒนาในยุโรปต้องพึ่งทรัพยากรและวัตถุดิบจาก เอเชีย ฯลฯ ทำให้การสร้างระบบสังคมนิยมที่มีเอกราชในประเทศเดียวเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ ได้


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/02/blog-post_5945.html?spref=f

รายการ Wake up Thailand 28 กันยายน 2555

รายการ Wake up Thailand  28 กันยายน 2555 



'อภิสิทธิ์' ทำอะไรก็ผิด?

(คลิกฟัง)

http://shows.voicetv.co.th/wakeup-thailand

The Daily Dose ประจำวันที่ 28 กันยายน 2555

The Daily Dose ประจำวันที่ 28 กันยายน 2555



 
(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/the-daily-dose

Divas Cafe ประจำวันที่ 28 กันยายน 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 28 กันยายน 2555


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

 
อะไร ? คือ หน้าที่ ของกระทรวงวัฒนธรรม

(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/divas-cafe 

ใครจะเป็นอากง 2 ?

ใครจะเป็นอากง 2 ?




อากง ตายไปเกิน 10 วัน ประธาน นปช.ค่อยออกมาแสดงความคิดเห็นแบบขอไปที และรัฐบาลหยุดเดินหน้าเรื่องการเยียวยา พี่น้องถูกจับ 1857 คน (เป็นอย่างน้อย) ยังไม่มีใครได้รับการเยียวยา ในขณะที่สหภาพเมียนม่าร์ เขาปล่อยนักโทษการเมืองเป็นล๊อต ! 

สรุปรายงาน คอป. ไร้หลักสิทธิมนุษยชน

สรุปรายงาน คอป. ไร้หลักสิทธิมนุษยชน


 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=6JW9LTFBbug&feature=youtube_gdata

กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล !ความจริงที่ คอป. ไม่(กล้า)เปิดเผย! ในงานอภิปราย "รัฐประหาร 19 กันยา กับอาชญากรรมโดยรัฐ กรณีสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53" วิทยากรประกอบด้วย
ดำเนินรายการโดย สุดา รังกุพันธุ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ตึกเอนกประสงค์ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555