คำถามซ้ำๆ แต่ต้องย้ำบ่อยๆ การปฏิวัติสังคมนิยม มีหน้าตาอย่างไร?
มาร์คซ์เสนอว่าสาเหตุหนึ่งที่กรรมาชีพต้อง
ปฏิวัติ ก็เพื่อที่จะปฏิวัติแนวคิดตนเองด้วย
คือคนมักจะกล้าคิดนอกกรอบท่ามกลางการต่อสู้
แนวคิดที่ไม่เกิดความเท่าทียมและยุติธรรมจะเลือนหายไป
แต่อย่างไรก็ตามความคิดเก่าก็จะยังดำรงอยู่ระยะหนึ่ง
การต่อสู้จึงไม่สิ้นสุดลงง่ายๆ
โดย เรดชิพ
(เรียบเรียงจาก นสพ.ประชาธิปไตยแรงงาน พ.ค.2546)
ระบบทุนนิยมโดยโครงสร้างคือ
การขูดรีดมูลค่าส่วนเกินที่กรรมาชีพผลิตขึ้นโดยชนชั้นผู้ครอบครองปัจจัยการ
ผลิต(นายทุน)
ชนชั้นปกครองซึ่งเป็นคนส่วนน้อยสามารถกระทำการขูดรีดจากกรรมาชีพได้
เพราะเราเป็นผู้ไร้ปัจจัยการผลิต ถ้าเราไม่ทำงานเราก็อดตาย
การขูดรีดไม่ได้กระทำไปเพื่อให้นายทุนบริโภคเองเป็นหลักหรือเพราะนายทุนโลภ
แต่กระทำไปเพื่อสะสมส่วนเกินคือทุนเพื่อลงทุนต่อไป พลังทุนที่กรรมาชีพสร้าง
แต่นายทุนขโมยเอาไปจึงกลายเป็นอำนาจในการแข่งขันระหว่างกลุ่มทุนต่างๆ
จะเห็นได้ว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของนายทุนและกรรมาชีพขัดแย้งกันโดยพื้น
ฐาน ถ้าเราได้ค่าจ้างเท่ากับมูลค่าที่เราผลิตจริง
นายทุนจะไม่มีกำไรเพื่อลงทุนต่อและจะไม่มีอำนาจในการแข่งขันกับกลุ่มทุนอื่น
รัฐที่ใครๆ สอนเราว่า "เป็นกลาง" หรือ "เป็นของประชาชนทั้งชาติ"
กลายเป็นเครื่องมือของชนชั้นนายทุนที่พยายามสร้างกลไกต่างๆ
ให้เอื้อประโยชน์ต่อชนชั้นของตนอยู่ตลอดเวลา
ชนชั้นกรรมาชีพหรือชาวนาที่เป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมจึงเสียผลประโยชน์อยู่ตลอด
เวลา ยกตัวอย่างเช่น
รัฐนายทุนระบุผ่านกฎหมายและรัฐธรรมนูญว่าการขโมยมูลค่าส่วนเกินจากคนจนและ
ผู้ใช้แรงงานโดยนายทุนในรูปแบบกำไรเป็นสิ่ง"ชอบธรรมและไม่ใช่การขโมย"
แต่ในทางตรงกันข้ามการเข้าไปยึดที่ดินนายทุนเพื่อทำกินโดยเกษตรกรยากไร้
กลับถูกกำหนดว่าเป็นอาชญากรรม เป็น"การขโมยที่ผิดกฏหมาย"
หรือการยึดโรงงานโดยกรรมกรก็ถูกมองว่า "ผิด" เช่นกัน
เมื่อมีการระบุว่าการกระทำเหล่านี้ "ผิดกฏหมาย" รัฐนายทุนจึงมีกองกำลัง
ตำรวจ ทหาร ศาล และคุก ตะรางหนุนหลังเพื่อรักษาวินัยของการขูดรีด
นี่คือสาเหตุที่นักมาร์คซิสต์พูดมาตลอดว่ารัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครอง
ในการกดขี่ชนชั้นอื่นๆ
รัฐทุนนิยมไม่เคยเป็นกลางไม่ว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญแบบไหน
ไม่ว่าเราจะมีประชาธิปไตยรัฐสภา และไม่ว่าเราจะมี "ประชาสังคม"แบบไหน
ทำไมต้องปฏิวัติ?
หลายคนมองว่า "การปฏิวัติสังคม" เป็นความรุนแรง เป็นเรื่องสุดขั้ว
เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แต่แค่ศึกษาประวัติศาสตร์ของทุกประเทศสักนิด
ไม่ว่าจะในไทยหรือต่างประเทศ ก็จะพบว่าความก้าวหน้าของสังคมทุกครั้ง
ทุกหนแห่ง มาจากการปฏิวัติ สิทธิเสรีภาพที่เรามีอยู่ก็มาจากการปฏิวัติ ๒๔๗๕
โดยคณะราษฎร และการต่อสู้ของขบวนการนักศึกษาประชาชนเมื่อ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖
หรือ พฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕