หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

เขาพระวิหารเป็นของเขมร

เขาพระวิหารเป็นของเขมร

 

โดย อ.ใจ อึ๊งภากรณ์


การ ยกเรื่องเขาพระวิหารมาเป็นประเด็นเพื่อพยายามปลุกระดมคนให้สนับสนุน พันธมิตรฯ เป็นการกระทำที่น่าสมเพชอันหนึ่งของ พันธมิตรประชาชนเพื่อรัฐประหาร ชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์

เมื่อผมอยู่ ป.4 ที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ในสมัยรัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพลสฤษดิ์ ก็มีการปลุกระดมเรื่องเขาพระวิหารแบบนี้โดยฝ่ายขวาตกขอบเช่นกัน ในครั้งนั้นศาลโลกตัดสินอย่างถูกต้องและมีเหตุผลว่า เขาพระวิหารเป็นของเขมร ดูเหมือนว่าห้าสิบปีผ่านไป พวกฝ่ายขวาตกขอบในพันธมิตรฯ ยังไม่รู้จักโต ยังไม่รู้จักพัฒนาสักที

ขาพระวิหารเป็นของเขมร เพราะบนยอดเขานั้นมีปราสาทหินจากยุคอาณาจักรเขมร สมัยอาณาจักรเขมร "ชนเผ่าไท" ยังด้อยพัฒนาอยู่มาก เป็นคนป่า ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรไม่ดีหรอก แต่ต้องยอมรับความจริง เขมรเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรใดที่มีในไทยภายหลัง แถมนักประวัติศาสตร์ยังมองว่ากษัตริย์สุโขทัยเป็นคนเขมรอีกด้วย วัฒนธรรมและศีลปะจำนวนมากที่อ้างกันว่าเป็นแบบ "ไทยๆ" ก็ลอกมาจากเขมรทั้งสิ้น ซึ่งเห็นได้ชัดเมื่อเราไปดูนครวัด

ถ้าเขาพระวิหารเป็นของเขมร พิมาย ควรเป็นของเขมรหรือไม่? ใน แง่หนึ่งมันเป็นของเขมรอยู่แล้ว เพราะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมรในอดีต แต่ตอนนี้มันอยู่ใจกลางผืนแผ่นดินที่กษัตริย์กรุงเทพฯก่อตั้งขึ้นมาเป็นรัฐ ชาติไทยไปแล้ว ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ดังนั้นการที่จะไปยกให้เขมรก็คงไม่สมควร และรัฐบาลเขมรก็ไม่ได้เรียกร้องด้วย แต่ในกรณีเขาพระวิหาร มันอยู่บนยอดเขาตรงเส้นพรมแดน ที่กรุงเทพฯ กับปารีส เคยขีดเอาไว้ ไม่มีหมู่บ้านประชาชนอยู่ตรงนั้น ไม่จำเป็นต้องไปเถียงอะไรบ้าๆ บอๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย

แล้วพวกปัญญาอ่อนที่ทำเป็นโกรธเคืองเรื่องเขาพระวิหาร เขาทำไปเพื่ออะไร? ก็ เพื่อปั้นน้ำเป็นตัวปลุกกระแสชาตินิยมไร้เหตุผล เพื่อมาเป็นเครื่องมือของเขา ส่งผลต่อไปให้คนที่เป็นลูกน้องทางความคิดของพวกนี้ เกลียดชังคนพม่า คนมาเลย์มุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้ และในอนาคตอาจทำให้เกลียดคนเชื้อสายจีนอีกด้วย นี่คือการเมืองของชนชั้นปกครองซีกขวา ที่เราเคยเห็นสมัยรัชกาลที่ 6, จอมพล ป. และ 6 ตุลา ไม่มีประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเลยแม้แต่นิดเดียว

ถามว่าการที่เขาพระวิหารจะเป็น "ของ" ใครนั้น ช่วยแก้ปัญหาอาหารน้ำมันแพงหรือไม่? ช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยหรือไม่? ช่วยสร้างรัฐสวัสดิการหรือไม่? ช่วยขยายสิทธิเสรีภาพของสตรี หรือคนรักเพศเดียวกัน หรือกลุ่มชาติพันธ์หรือไม่? แก้ปัญหาโลกร้อนหรือไม่? ทำให้รายได้ลูกจ้างลดลงหรือไม่? ทำให้ชาวนารายย่อยล้มละลายมากขึ้นหรือไม่? ไม่เลย ไม่เกี่ยวอะไรกับปัญหาปากท้อง และปัญหาการขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนแต่อย่างใด มันเป็นเรื่องไร้สาระ ท่าทีที่ดีที่สุดของภาคประชาชนต่อเรื่องนี้คือ พูดออกมาเลย ฟันธงเลย "เขาพระวิหารเป็นของเขมร"

(ที่มา)

มติชนวิเคราะห์...เมษาฯฮอต ฮอต ศึก"ใน"-ศึก"นอก" ท้าพิสูจน์ฝีมือรัฐบาล

มติชนวิเคราะห์...เมษาฯฮอต ฮอต ศึก"ใน"-ศึก"นอก" ท้าพิสูจน์ฝีมือรัฐบาล

 



การเมืองเดือนเมษายนที่ว่าร้อนและฮอตมีด้วยกัน 2 เรื่อง

เรื่อง แรก เป็นการขึ้นให้การต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ระหว่างวันที่ 15-19 เมษายน ในคดีที่กัมพูชาเสนอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี พ.ศ.2505 อีกครั้ง

เรื่องที่สอง เป็นเรื่องต่อเนื่องจากวันที่ 10 เมษายน จนถึงเดือนพฤษภาคม

ใน ประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินคดีนั้น กระทรวงการต่างประเทศไทยในวันนี้ตั้งตัวติด และตั้งทีมขึ้นมาต่อสู้ด้วยข้อกฎหมาย โดยยึดคำพิพากษาศาลโลก เมื่อปี พ.ศ.2505 เป็นหลัก

โดยเฉพาะคำพิพากษาที่ระบุว่า เรื่องเขตแดนนั้นศาลโลกไม่ขอพิจารณา

อย่าง ไรก็ตาม การเมืองในกรณีดังกล่าวไม่ได้อยู่ที่คดีความ หากแต่เป็นผลพวงจากการยื่นตีความและการต่อสู้คดี โดยเป็นการเมืองภายในประเทศไทย ซึ่งมีกลุ่มความคิดชาตินิยมออกมาเรียกร้องมิให้รับคำสั่งศาลโลก ควบคู่ไปกับการเมืองระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่เคยมีเรื่องวิวาทกันมาถึงขั้นเกิดการถล่มใส่กันมาแล้ว

สำหรับการ เมืองระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น เมื่อประเทศไทยมีการเลือกตั้ง และเปลี่ยนรัฐบาลจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มาเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

ดูเหมือนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาดีขึ้น สัญญาณที่ดีบ่งชี้เป็นลำดับจนกระทั่งมีการพระราชทานอภัยโทษ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกจำคุกในกัมพูชา

วิทยุ"บีบีซี"ตกที่นั่งลำบาก หลังเพลง"ยินดี"ที่"แธตเชอร์"ตาย ขึ้นชาร์ตเพลงอังกฤษ

วิทยุ"บีบีซี"ตกที่นั่งลำบาก หลัเพลง"ยินดี"ที่"แธตเชอร์"ตาย ขึ้นชาร์ตเพลงอังกฤษ

 

Ding Dong The Witch is Dead 
http://www.youtube.com/watch?v=xm6Stb6p8LA

Thatcher The Wicked Witch Is Dead
http://www.youtube.com/watch?v=TbYeJIvVwZk 

Margaret Thatcher's death celebrated in Brixton
http://www.youtube.com/watch?v=wrxy93fY3vI 



สถานีวิทยุ"เรดิโอ 1"ของบีบีซี กำลังตกที่นั่งลำบาก หลังเพลงที่ใช้ในการต่อต้านนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ติดชาร์ทเพลงในอังกฤษ


โดยเมื่อวันศุกร์ หลังจากกลุ่มผู้ต่อต้านเธอร่วมรณรงค์อย่างนักทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เพลง "Ding Dong! The Witch is Dead" หรือ"ดิ๊งด่อง! แม่มดตายแล้ว" ขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตไอจูนของอังกฤษ นักวิเคราะห์เชื่อว่า การติดอันดับเช่นนี้ถือเป็นตัวอย่างของการประท้วงรูปแบบใหม่ผ่านสื่อสังคมออ นไลน์ ในรูปแบบเชิงสัญลักษณ์ โดยไม่จำเป็นต้องออกไปประท้วงตามท้องถนนอีกต่อไป

ยอดขายเพลงดังกล่าว เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การถึงแก่อสัญกรรมของอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ วัย 87 ปี เมื่อวันที่ 8 เมษายน เพลงดังกล่าว เดิมเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "Wizard of Oz" เมื่อปี 1939 ที่นำแสดงโดยจูดี้ การ์แลนด์


การประท้วงครั้งนี้ได้สร้างความหนักใจให้แก่บีบีซี ซึ่งตามปกติแล้ว จะมีรายการจัดอันดับเพลงที่ติดชาร์ตทางสถานีวิทยุเรดิโอ 1 ทุกสัปดาห์ เนื่องจากในเนื้อเพลงมีถ้อยคำที่อาจสร้างความไม่สบายใจต่อหลายฝ่าย ก่อนหน้าพิธีศพนางแธตเชอร์ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 17 เษายนนี้


สุขสันต์วันสงกรานต์ Happy Sonkran's Day!

สุขสันต์วันสงกรานต์ Happy Sonkran's Day!




http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=DCxlMgc0g9I#!


น้ำที่ หลั่ง รด ราด คือหยาดฝน
ทั้งเจือปนมนต์ขลังความตั้งจิต

เกิดปัญญาพรูพรั่งทั้งความคิด
เสริมชีวิต วิญญา และอารมณ์

หวนคิดถึงสงกรานต์แต่กาลก่อน
ไม่เคยร้อนมีแต่เย็นเป็นปฐม

แต่เมื่อเผยโฉมหน้าพระยายม
ก็หวานอมขมกลืนไม่ชื่นใจ

วันสงกรานต์ที่ผ่านมาคร่าชีวิต
ไร้ความผิดยังเชือดจนเลือดไหล

เพียงเราร้องสิทธิ์ที่มีเสรีไทย
ก็สั่งใช้กำลังทัพอย่างอัปรีย์

แต่เราไม่เศร้าสร้อยคอยร่ำไห้
เราเป็นไทยต้องตระหนักในศักดิ์ศรี

สงกรานต์ไทยใช่ของเขาของเรามี
ผู้พร้อมพลีคือวิญญาณสงกรานต์เรา

เทวดาสงกรานต์ในวันนี้
คือวีรชนคนที่พลีชีพเขา

เพื่อพิทักษ์ศักดิ์ศรีเสรีเรา
จนร้อนเร่ากลับเย็นและเป็นธรรม

โปรดอวยพรสงกรานต์สำราญจิต
โดยผ่านน้ำศักดิ์สิทธิ์และชุ่มฉ่ำ

ใจอย่าลืมวีรชนคนที่นำ
ความเป็นธรรมแห่งสงกรานต์ก่อนกาลมา

เศร้าและสุขคู่กันอย่างวันนี้
คือสัญลักษณ์ชีวีอันมีค่า

สุขและทุกข์คู่กันทุกวันมา
นั่นปัญญาแห่งสงกรานต์สานสมดุล... 

จักรภพ เพ็ญแข

การรักษาสถาบันกษัตริย์ด้วยการสละราชบังลังก์ของกษัตริย์สีหนุ

การรักษาสถาบันกษัตริย์ด้วยการสละราชบังลังก์ของกษัตริย์สีหนุ

 

 
โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล

 

- ๑ -
กษัตริย์กัมพูชา : กษัตริย์ผู้ถูกเลือกตั้ง ไม่ใช่ กษัตริย์ผู้สืบสายโลหิต

เอกลักษณ์สำคัญประการหนึ่งของสถาบันกษัตริย์กัมพูชาที่สะท้อนให้เห็นความ เป็นประชาธิปไตยมากกว่าสถาบันกษัตริย์ของไทย คือ การได้มาซึ่งตำแหน่งกษัตริย์ นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ๑๙๔๗ - รัฐธรรมนูญฉบับแรกของกัมพูชาซึ่งกำหนดให้กัมพูชาเป็นประชาธิปไตย เป็นราชอาณาจักร มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ – ได้สร้างหลักการเรื่อง “กษัตริย์ผู้ถูก เลือกตั้ง” ไม่ใช่ “กษัตริย์ผู้สืบสายโลหิต” กล่าวคือ เมื่อราชบัลลังก์ว่างลง ผู้สืบสายโลหิตของกษัตริย์ที่ตายไปไม่อาจถูกแต่ง ตั้งเป็นกษัตริย์ได้โดยอัตโนมัติ แต่ต้องให้คณะกรรมการราชบัลลังก์ (Conseil de la Couronne) มีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากเลือกให้ผู้สืบสายโลหิตนั้นเป็น กษัตริย์[1] ซึ่ง คณะกรรมการราชบัลลังก์ประกอบด้วย ประธานสภาแห่งพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์ ประธานสภาแห่งชาติ ประธานสภาแห่งราชอาณาจักร นายกรัฐมนตรี หัวหน้าฝ่ายสงฆ์ทั้งสองนิกาย[2]

รัฐธรรมนูญ ๑๙๔๗ ถูกยกเลิกโดยรัฐประหาร ๘ มีนาคม ๑๙๗๐ ของนายพลลอน นอล กัมพูชากลายเป็นสาธารณรัฐ หลังจากนั้นกัมพูชาก็ผ่านความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มพลังทางการเมือง ต่างๆโดยมีประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต จีน และประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม และไทย คอยให้การสนับสนุนกลุ่มพลังการเมืองเหล่านั้น

สถาบันกษัตริย์กัมพูชากลับมาอีกครั้งในรัฐธรรมนูญ ๑๙๙๓  บทบัญญัติหมวด ๒ ว่าด้วยกษัตริย์ ยังคงหลักการตามรัฐธรรมนูญ ๑๙๔๗ ที่ว่า “กษัตริย์ผู้ถูกเลือกตั้ง” ในมาตรา ๑๐ ของรัฐธรรมนูญ ๑๙๙๓ ประกาศหลักการดังกล่าวอย่างชัดเจนว่า สถาบันกษัตริย์กัมพูชาเป็นสถาบันกษัตริย์ที่ถูกเลือกตั้ง กษัตริย์ไม่มีอำนาจในการแต่งตั้งรัชทายาทเพื่อครองราชย์ แม้ จะยึดหลักการ “กษัตริย์ผู้ถูกเลือกตั้ง” แต่รัฐธรรมนูญ ๑๙๙๓ เคร่งครัดกว่ารัฐธรรมนูญ ๑๙๔๗ ในประเด็นที่ห้ามมิให้กษัตริย์แต่งตั้งรัชทายาทโดยเด็ดขาด ในขณะที่รัฐธรรมนูญ ๑๙๔๗ อนุญาตให้กษัตริย์ตั้งรัชทายาทได้หลังปรึกษาหารือคณะกรรมการราชบัลลังก์แล้ว

ตามรัฐธรรมนูญ ๑๙๙๓ มาตรา ๑๓ องค์กรผู้มีอำนาจหน้าที่ในการเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งกษัตริย์ คือ คณะกรรมการราชบัลลังก์ (Conseil du Trône) อันประกอบด้วยกรรมการ ๙ คน ได้แก่ ประธานวุฒิสภา ประธานสภาแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าฝ่ายสงฆ์นิกายธรรมยุติและมหานิกาย รองประธานวุฒิสภาคนที่ ๑ และ ๒ รองประธานสภาแห่งชาติคนที่ ๑ และ ๒ จากองค์ประกอบของคณะกรรมการราชบัลลังก์แสดงให้เห็นถึง “ลักษณะทางการ เมืองอยู่เหนือลักษณะทางกษัตริย์”[3] เพราะกรรมการมาจากฝ่ายการเมืองรวม ๗ คน มีเพียงหัวหน้าคณะสงฆ์สองนิกายเท่านั้นที่สะท้อนถึงลักษณะจารีตประเพณี  

คณะกรรมการราชบัลลังก์ไม่สามารถเลือกบุคคลใดมาดำรงตำแหน่งกษัตริย์ก็ได้ เพราะ รัฐธรรมนูญ ๑๙๙๓ มาตรา ๑๔ บังคับให้เลือกสมาชิกในราชวงศ์อายุอย่างน้อย ๓๐ ปี และสืบสายโลหิตมาจากกษัตริย์องด้วง กษัตริย์นโรดม กษัตริย์สีสวัสดิ์ นั่นหมายความว่า บุคคลที่อาจถูกเลือกเป็นกษัตริย์ต้องมาจาก ๓ สกุลนี้เท่านั้น

วาด รวี ถาม สมศักดิ์ เจียมฯ: ทำไมต้องเถียงกันเรื่อง"ยกเลิก”หรือ“แก้ไข" ม.112

วาด รวี ถาม สมศักดิ์ เจียมฯ: ทำไมต้องเถียงกันเรื่อง"ยกเลิก”หรือ“แก้ไข" ม.112

 

 


บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นเพื่อตั้งคำถามและวิพากษ์ความคิดของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลที่วิจารณ์ข้อเสนอเรื่อง 112 ของคณะนิติราษฎร์และ ครก.112 ในช่วงปีกว่าที่ผ่านมา ตลอดเวลาที่สมศักดิ์วิจารณ์ข้อเสนอเรื่อง 112 ของคณะนิติราษฎร์ มีประเด็นสำคัญเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น คือ สมศักดิ์เห็นว่าข้อเสนอที่ถูกต้องนั้นคือการยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 เท่านั้น เพื่อยืนยันว่า “กฎหมายที่ดีพอสำหรับคนธรรมดา ก็ต้องดีพอสำหรับเจ้า” และข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์มาจากฐานคิดเดียวกับรอยัลลิสต์คือ “เจ้าไม่เท่ากับคนธรรมดา”

โปรดสังเกตว่าข้อวิจารณ์นิติราษฎร์และ ครก.112 ของสมศักดิ์นั้น มองไม่เห็นข้อเท็จจริงสำคัญอันหนึ่ง  คือ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะภายใต้การบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างที่เป็นอยู่ ทุกคนล้วนถูกบังคับให้ต้องเสนอภายใต้กรอบของระบอบ constitutional monarchy ทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ตัวสมศักดิ์เองซึ่งอ้างอยู่ตลอดเวลาว่า ข้อเสนอ 8 ข้อเพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของตนนั้น เป็นไปเพื่อทำให้สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันสมัยใหม่

พูดง่าย ๆ คือสมศักดิ์เองก็อ้างอยู่เสมอว่าตัวเองกำลังเสนอให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว (สมศักดิ์พูดหลายครั้งว่าเป็นไปเพื่อเป็น “ผลดี” ต่อสถาบันกษัตริย์เอง รวมทั้งในการพูดครั้งหลังสุดที่งาน 80 ปี ส.ศิวรักษ์)

คำถามก็คือ ข้อเสนอ 8 ข้อของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไม่ตั้งอยู่บนฐานคิดของรอยัลลิสต์กระนั้นหรือ? (ยังเสนอให้มีสถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันประมุขของประเทศ)

ข้อเสนอของสมศักดิ์มีความแตกต่างอย่างไรกับข้อเสนอของคณะนิติ ราษฎร์ ในเมื่อทั้งสองข้อเสนอตั้งอยู่บนฐานคิดว่าให้มีสถาบันกษัตริย์ (และรักษาสถาบันกษัตริย์ไว้ในระยะยาวในกรณีของสมศักดิ์)

โปรดสังเกตว่า เหตุผลที่เสนอให้แก้ไข 112 ของคณะนิติราษฎร์นั้นเป็นเหตุผลในทางกฎหมาย โดยให้สถาบันกษัตริย์ (ตามกรอบเดิมคือ กษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ถือเป็นสถาบันประมุขที่อาจทำหน้าที่เป็นตัวแทน (representative) รัฐ ดังนั้นจึงให้มีการแยกแยะกฎหมายไว้ต่างหาก และให้โทษเฉพาะตำแหน่งกษัตริย์มากกว่าคนธรรมดาอยู่ 1 ปี ส่วนเหตุผลของสมศักดิ์ที่ให้ยกเลิกนั้นคือ เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เป็นสมัยใหม่ (ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนหรือเป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์เอง – คำพูดของสมศักดิ์เองที่อ้างอยู่เสมอ)

วิปริตทหารไทย ทุเรดดด เถื่อนว่ะ ตะหานไทย

วิปริตทหารไทย ทุเรดดด เถื่อนว่ะ ตะหานไทย

 

[IMG]
นี่คือความวิปริตของนายทหารครูฝึก
ความบิดเบี้ยวทารไทยจึงตาส่อนตานาย

มันสร้างระเบียบวินัยแบบนี้ ถึงออกมาไล่ฆ่าประชาชนได้ง่ายๆ 

(ที่มา)
http://www.dangdd.com/threads/%E0%B8%A7%E0%B8%B4