ศาลฎีกาพิพากษายืน ไม่รับคำร้องไต่สวนการตายคดีตากใบ
ภาพ: การขนย้ายผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ตากใบ ที่มีผู้เสียชีวิต 85 ราย โดย 7
ราย เสียชีวิตระหว่างการสลายการชุมนุม
และที่เหลือเสียชีวิตระหว่างการขนย้าย โดยเจ้าหน้าที่รัฐ
เนื่องจากขาดอากาศหายใจเพราะถูกให้นอนคว้ำหน้าซ้อนกันหลายชั้นบนหลังรถ
บรรทุกขณะขนย้ายเป็นเวลาหลายชั่วโมง เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 47
ศาลฎีกาพิพากษายืน ไม่รับคำร้องญาติผู้เสียชีวิต
ที่ขอให้ศาลพิจารณาทำคำสั่งใหม่ในคดีไต่สวนการตาย เนื่องจากเห็นว่า
ไม่เป็นไปโดยถูกต้อง ทั้งที่มีข้อเท็จจริงว่าผู้ตายทั้ง 78 คน
ถูกเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม
บังคับให้ถอดเสื้อ-มัดมือไขว้หลัง-นอนคว่ำหน้ากับพื้นรถทับซ้อนกันหลายชั้น-
มีการทำร้ายร่างกาย จนได้รับบาดเจ็บ หายใจไม่ออก และเสียชีวิตระหว่างทาง
วันนี้ (1 สิงหาคม 2556) เวลา 10.00 น. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีตากใบ ในคดีหมายเลขดำที่ ษ.43/2552 หมายเลขแดงที่ ษ.42/2552 โดยศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของนางสาวมัสตะ เจะอูมา กับพวก ว่า ศาลอาญามีอำนาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่ คดีนี้นางสาวมัสตะกับพวกยื่นคำร้องอ้างว่า การพิจารณาคดีของศาลจังหวัดสงขลาไม่เป็นไปโดยถูกต้องและไม่เป็นธรรมตามรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 โดยมิได้มีคำสั่งถึงพฤติการณ์ที่ตายในการขนย้ายของเจ้าหน้าที่โดยการมัดมือ ไขว้หลัง นอนคว่ำหน้าและทับซ้อนกัน ซึ่งเป็นพฤติการณ์แห่งการตายที่แท้จริง อีกทั้งมิได้มีคำสั่งถึงคนทำร้ายให้ตาย และการเคลื่อนย้ายศพโดยไม่มีเหตุที่อ้างตามกฎหมาย และมีคำขอให้ศาลอาญาทำคำสั่งใหม่ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานใน สำนวนความ
(อ่านต่อ)
วันนี้ (1 สิงหาคม 2556) เวลา 10.00 น. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีตากใบ ในคดีหมายเลขดำที่ ษ.43/2552 หมายเลขแดงที่ ษ.42/2552 โดยศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของนางสาวมัสตะ เจะอูมา กับพวก ว่า ศาลอาญามีอำนาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่ คดีนี้นางสาวมัสตะกับพวกยื่นคำร้องอ้างว่า การพิจารณาคดีของศาลจังหวัดสงขลาไม่เป็นไปโดยถูกต้องและไม่เป็นธรรมตามรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 โดยมิได้มีคำสั่งถึงพฤติการณ์ที่ตายในการขนย้ายของเจ้าหน้าที่โดยการมัดมือ ไขว้หลัง นอนคว่ำหน้าและทับซ้อนกัน ซึ่งเป็นพฤติการณ์แห่งการตายที่แท้จริง อีกทั้งมิได้มีคำสั่งถึงคนทำร้ายให้ตาย และการเคลื่อนย้ายศพโดยไม่มีเหตุที่อ้างตามกฎหมาย และมีคำขอให้ศาลอาญาทำคำสั่งใหม่ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานใน สำนวนความ
(อ่านต่อ)