ประชามติหรือคือทางออก
โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
โลกวันนี้วันสุข ฉบับ ๓๙๑ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕
แม้
ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ ที่เป็นที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้นั้น
ขึ้นชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีปัญหา และมีผู้ที่ต่อต้านไม่ยอมรับจำนวนมาก
โดยเฉพาะในข้อโจมตีว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า เมื่อใดก็ตาม
ที่ฝ่ายพลังประชาธิปไตยจะพยายามผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ก็กลายเป็นเรื่องยากทุกครั้ง
ความไม่เป็นประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่ถูกโจมตีมีหลายประเด็น
ตั้งแต่เรื่อง การขยายอำนาจตุลาการมากเกินไป จนครอบงำองค์กรอิสระทั้งหมด
การให้สิทธิตุลาการในการยุบพรรคการเมืองและลงโทษกรรมการพรรคการเมืองที่ไม่
ได้ทำความผิด การกำหนดให้มีวุฒิสมาชิกลากตั้งครึ่งสภา
ที่มีอำนาจเท่าเทียมวุฒิสมาชิกเลือกตั้ง การมีบทเฉพาะกาลต่ออายุตุลาการ
และการมีมาตรา ๓๐๙ รับรองความชอบธรรมของคณะรัฐประหารตลอดกาล
แต่กลุ่มพลังที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญ กลับเห็นว่า
มาตราเหล่านี้เป็นความถูกต้อง จึงคัดค้านการแก้ไขเสมอ
แม้
กระทั่งครั้งล่าสุด
ที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๙๑
เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.)เพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง
ฉบับ และรัฐสภาได้พิจารณาผ่านวาระที่สองมาแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕
ที่ผ่านมา เหลือเพียงการผ่านวาระที่สาม แต่ในที่สุด การลงมติต้องค้างเติ่ง
เพราะในวันที่ ๑ มิถุนายน
ศาลรัฐธรรมนูญก็ใช้อำนาจสั่งระงับการลงมติวาระที่ ๓ โดยอ้างว่า
ศาลได้รับคำร้องที่ว่า การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา
อาจเป็น”การกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข
และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม
วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” ตามมาตรา ๖๘ แม้ว่า ต่อมา
ศาลจะมีวินิจฉัยว่า การพิจารณาของรัฐสภา ไม่เป็นไปตามข้อหานั้น
แต่ศาลก็แนะนำให้มีการลงประชามติเสียก่อน
พรรคร่วมรัฐบาลจึงถอยและยังไม่ได้มีการผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญในวาระที่ ๓