หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พรรคคอมมิวนิสต์ไทย สู่องค์กรเลี้ยวซ้าย

พรรคคอมมิวนิสต์ไทย สู่องค์กรเลี้ยวซ้าย




 อำนาจไม่ได้อยู่ที่สภา เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่อง "เฮมึนโฮ " - วิภา ดาวมณี 15 ก.ค. 55
ภาพถ่าย อ.วิภา โดย @[100000014066831:2048:Thailand Mirror]
เพลงปฏิวัติ-แองเตอร์นาซิอองนาล

สัมภาษณ์พิเศษ 'คุณวิภา ดาวมณี' สมาชิกองค์กรเลี้ยวซ้าย จาก 'กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน' ของเหล่าสหภาพแรงงานสู่ 'องค์กรเลี้ยวซ้าย' 

 
'คุณวิภา ดาวมณี' สมาชิกองค์กรเลี้ยวซ้าย เล่าถึงเรื่องของ 'กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน' ซึ่งเป็นกลุ่มประชาธิปไตยของผู้ใช้แรงงาน ตั้งขึ้นในปี 2538 ตั้งโดยนักสหภาพแรงงานต่างๆ ประมาณ 30 คน ทั้งนักสหภาพสิ่งทอ และโรงเหล็ก หลายๆ สหภาพมารวมกัน ซึ่งมี สมศักดิ์ โกศัยสุข , คุณลุงบุญมี ร่วมด้วย

กิจกรรมของกลุ่มก็มีการประชุมและศึกษาลัทธิสังคมนิยมมาร์กซิสต์ โดยมี อ.ใจ  อึ้งภากรณ์ ร่วมด้วย ทั้งนี้ ทางกลุ่มก็ได้มีการร่างระเบียบวิธี กลไกการทำงานของกลุ่ม การหาสมาชิกเข้ากลุ่ม รวมถึงมีการเก็บค่าสมาชิก ซึ่งเป็นรายได้ 1 % ของสมาชิกในกลุ่ม โดยค่าสมาชิกนี้จะถูกนำมาทำหนังสือพิมพ์ ตามหลักการของ มาร์กซ์ เลนิน ที่มองว่าการทำหนังสือพิมพ์เป็นเหมือนนั่งร้านของกลุ่ม

นอกจากนี้ก็มีการฝึกให้สมาชิกในกลุ่มเขียนบทความมาลงในหนังสือพิมพ์ และก็มีการจัดเสวนาขึ้นทุกสัปดาห์  ช่วงแรกๆ มีผู้ใช้แรงงานมาเข้าร่วมเสวนาต่อมาก็มีนักศึกษามาเข้าร่วมเสวนาด้วย จนในปี 2547-2548 ก็มีสมาชิกเป็นนักศึกษาเพิ่มขึ้น

และได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มจาก 'กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน' เป็น 'กลุ่มเลี้ยวซ้าย' เพื่อให้จำง่ายขึ้น  แต่หลังจาก อ.ใจ ต้องลี้ภัยไปต่างประเทศทางกลุ่มก็จัดกิจกรรมเสวนาลดลง จำนวนสมาชิกก็ลดลง

 
(ที่มา)
http://news.voicetv.co.th/thailand/57481.htm

เชิญร่วมกลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสม์

เชิญร่วมกลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสม์ 


 

เชิญร่วมกลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสม์

หัวข้อ ทำไมทหารคืออุปสรรค์หลักในการสร้างประชาธิปไตยไทย
นำเสนอโดย ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม

วันอาทิตย์ที่ ๒ ธ.ค. ๕๕ เวลา ๑๕.๐๐ น. 
ณ สำนักงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ลาดพร้าว 64 แยก 5 (ไม่มีที่จอดรถ)
 
--------------- 

หัวข้อ สหภาพแรงงานแตกต่างจากพรรคกรรมาชีพอย่างไร
นำเสนอโดย วัฒนะ วรรณ

วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธ.ค. ๕๕ เวลา ๑๕.๐๐ น. 
ณ สำนักงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ลาดพร้าว 64 แยก 5 (ไม่มีที่จอดรถ)
 
สำรองที่นั่งได้ที่เบอร์ ๐๘๕ ๐๔๔ ๑๗๗๘ 
จัดโดย องค์กรเลี้ยวซ้าย

70 ปีคอมมิวนิสต์ไทย

70 ปีคอมมิวนิสต์ไทย


 
VoiceTV:วันก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์

เพลงปฏิวัติ-สหาย

โดย อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ


ในประวัติที่เป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ถือว่า วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2485 คือวันก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ถ้านับกันเช่นนี้ 1 ธันวาคม ปีนี้ก็จะเป็นปีครบรอบ 70 ปีของพรรค ความจริงต้องถือว่า พรรคคอมมิวนิสต์ไทยนั้น สิ้นบทบาทในทางสังคมไปนานแล้ว แต่ในทางประวัติศาสตร์และสถานการณ์ปัจจุบัน ถือว่า ยังคงมีประเด็นที่น่าสนใจให้พูดถึงอยู่บ้าง

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของการที่มีพรรคคอมมิวนิสต์ไทย ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นแบบลัทธิมาร์Œกซ์อยู่ที่ว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเป็นองค์กรทางการเมืองที่นำเสนอทางเลือกใหม่ แก่สังคมไทยที่ชัดเจนที่สุดในระยะก่อนหน้านี้ เพราะสังคมไทยนั้นเป็นสังคมจารีตประเพณี ผู้คนโดยทั่วไปนั้นถูกครอบงำด้วยความคิดอนุรักษ์นิยมขวาจัด ภายใต้การครอบงำของระบบเจ้าศักดินาและวัฒนธรรมไพร่ฟ้า ทำให้สังคมไทยมีแนวโน้มต่อต้านสิ่งใหม่ และไม่ยอมรับแนวคิดทางการเมืองหรือเศรษฐกิจแบบอื่น

แต่แนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์ก่อให้เกิดความแตกต่าง โดยเฉพาะเรื่องการใช้ลัทธิมาร์Œกซในการวิเคราะห์และอธิบายสังคม ก่อให้เกิดพลังที่จะวิพากษ์สังคมไทยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยก็เป็นเช่นเดียวกับสังคมอื่นๆ ทั่วโลก คือเป็นสังคมที่มีชนชั้น มีการกดขี่ และเอารัดเอาเปรียบ แนวทางลัทธิมาร์กซไม่เพียงแต่จะอธิบายถึงความไม่เป็นธรรรมของสังคมเท่านั้น ยังได้นำเสนอแนวการวิเคราะห์สังคมที่ว่า สังคมไทยนั้นเป็นแบบกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา และเสนอการวิเคราะห์การกดขี่และมอมเมาของชนชั้นศักดินาไทยอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังอธิบายกำเนิดและพัฒนาการของชนชั้นนายทุนไทย และกรรมกรไทยอีกด้วย การนำเสนอทฤษฎีวิพากษ์และวิเคราะห์สังคมไทยในลักษณะเช่นนี้ ถือเป็นผลสะเทือนส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวแนวทางของพรรค ไม่ว่าจะเป็นแนวทางลัทธิมาร์กซ หรือที่โจมตีกันว่าเป็นแนวทางเหมาเจ๋อตงก็ตาม

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43966

วิภาค ICC

วิภาค ICC

 

Posted Image
Posted Image
Posted Image
โดย หนานเมือง สล่าง่าวบ้านนอก

หากพิจารณาดีๆผมว่าชัดเจนในความคิดผมนะ คือ ทั้งฝ่ายอำมาตย์ใหญ่และฝ่ายทักษิณ ทั้งคู่ไม่ต้องการให้มีการเซ็นยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ

ด้านอำมาตย์ใหญ่ หากเซ็นพวกตนต้องด้รับผลกระทบรุนแรง
อาจจะล่มสลายเลยทีเดียว

ด้านทักษิณ ให้ผมคิดนะ ถ้าจะเซ็นก็คงเซ็นตั้งแต่ปี 42 ไม่ปล่อยให้เขาทำรัฐประหารหรอกครับทางกลุ่มอำมาตย์ใหญ่เขาจับทางถูกครับ
คำถามว่าทำไมทักษิณไม่กล้า จะกล้าใด้อย่างไรละเพราะเรื่อง มัสยิดกรือเซะ 32 ศพ และกรณีตากใบ 87 ศพยังคาราคาซังอยู่

หากเซ็นก็ไม่ต่างจากพวกเขาเท่าไหร่หรอกครับ นี่คือเหตุที่ว่าทำไม? ทางศาลอาญระหว่างประเทศ พวกเขาล็อบบี้ด้หรือศาลระหว่างประเทศไม่ใช่ธุระกิจระหว่างประเทศนะครับ ทั้งอำมาตย์และทักษิณหากโดนอาณาจักรของแต่ละฝ่ายล่มสลายแน่นอน

นี่คือความกลัวของทั้งสองฝ่าย มีหรือที่จะเซ็นหากอยู่ภายใต้การกุมอำนาจของพวกเขาทั้งคู่ ประเทศนี้จะไร้รัฐประหารอย่างถาวรก็ต่อเมื่อมีพรรคทางเลือกใหม่ที่ไม่ฝักไฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด?

มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แล้วเมืองไทยมันจะมีพรรคและนักการเมืองอย่างนี้มั้ยในชาตินี้ แต่ละฝ่ายต่างอ้างปัดความรับผิดชอบของตนทั้งนั้นแหละ แต่หากสอบสวนโดยนานาชาติเขาดูที่ใครคือคนรับผิดชอบในการสั่งการครับ? คนเชียร์  จ...อาจจะอ้าง จ ไม่รู้ กูป่วย จะอ้างนะอ้างใด้แต่ในเมืองไทย

คนเชียร์ทักษิณอาจจะอ้างว่าคนทำคือ พัลลพ สั่งการบอกตรงๆเขาไม่ดูกันตรงนั้นครับ ทักษิณรู้ ปูรู้ เปรมรู้ จ....รู้ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมรู้ แต่คนไทยญาติผู้เสียชีวิตซิไม่รู้ ไม่รู้ว่าพวกเขาเล่นอะไรกัน ที่เอาชีวิตประชาชนมาสังเวยอำนาจของกันและกัน

(ที่มา) 
http://www.internetofreedom.com/index.php?/topic/18442-

องค์กรอิสระ ฆ่า ประชาธิปไตย???

องค์กรอิสระ ฆ่า ประชาธิปไตย???




วิบากในชัยชนะ

วิบากในชัยชนะ


ใบตองแห้ง Baitonghaeng

โดย ใบตองแห้ง Baitonghaeng

 
รัฐบาลชนะทั้ง 2 เด้ง หรือ 3 เด้ง ในการรับมือม็อบแช่แข็ง การอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน รวมถึงการอภิปรายทั่วไปของวุฒิสภา ซึ่งผมไม่ได้ดู เห็นแต่หน้ารสนา โตสิตระกูล โดยไม่เปิดเสียง (ฮา)
 
แต่ก็ใช่ว่าจะวางใจได้ สบายแล้ว ผ่านฉลุย มั่นคง แข็งโป๊ก โดยไม่ต้องแช่ นับแต่นี้จะเดินหน้าจำนำข้าว เข้า TPP แก้รัฐธรรมนูญ ผ่าน กม.ปรองดอง ฯลฯ
 
เพราะในชัยชนะก็มีสัญญาณด้านลบ
 
นี่ไม่ใช่พูดถึงม็อบเสธอ้าย ซึ่งสื่อเลอะเทอะเพ้อเจ้อว่าชนะใจคนและจะกลับมา โถ ที่สังคมชื่นชมก็เพราะรู้จักประมาณตน ละลายม็อบแช่แข็งเองโดยไม่ต้องให้ไล่ (แต่ 2-3 วันให้หลัง พอได้ลมเป่าตูดหน่อย ประกาศตายแล้วยังอยากคัมแบ็ก คงคิดว่าตัวเองเป็นแวมไพร์ Twilight ชักเข้าชักออกฉลองวันจุดโคมลอย ที่ไหนได้เป็นแค่ซอมบี้)
 
ประเด็นน่าห่วงใยอยู่ที่การอภิปรายไม่ไว้วางใจต่างหาก เพราะน้ำหนักข้อมูลเรื่องการประมูลต่างๆ โดยเฉพาะการจำนำข้าว รัฐมนตรีที่รับผิดชอบชี้แจงไม่เคลียร์ ทั้งที่เป็นข้อมูลเก่า รู้กันอยู่ว่าเขาจะอภิปรายจำนำข้าว ทำไมไม่เตรียมรับมือตอบโต้ หรือเคลียร์ปัญหาก่อนอภิปราย ฝ่ายค้านแฉเป็นฉากๆ เรื่องบริษัทนอมินี รัฐมนตรีพูดได้อย่างเดียว ขายข้าวจีทูจี ขายแล้วเขาไปจ้างใครหรือขายต่อให้ใครเราไม่รู้ แบะ แบะ
 
นี่ยังดีนะที่ฝ่ายค้านจุดกระแสไม่ขึ้น รัฐบาลยังคุมเกมได้ เหมือนที่ อ.ตระกูล มีชัย รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งก็ไม่ได้อยู่ฝ่ายเชียร์รัฐบาล ยังสรุปว่ารัฐบาลสามารถคุมเกมเหนือฝ่ายค้านในเชิงยุทธศาสตร์
 
จุดพลาดสำคัญคือ ประชาธิปัตย์เล่นเกมการเมืองมากไป ในการไม่ยอมอภิปราย รมว.พาณิชย์ แต่อภิปรายนายกฯ แทน โดยคาดว่าจะเป็นจุดอ่อน นายกฯ พูดไม่เป็น กะเอาเปรียบด้วยสำนวนโวหาร ที่ไหนได้ แพ้ภัยนารีตามเคย ผลสำรวจออกมาไม่ว่าโพลล์ไหนก็กินขาด ยิ่งลักษณ์อาจพูดไม่เก่งแต่พูดดีเกินคาด พูดแต่น้อย ให้คนอื่นช่วยชี้แจง และดึงคะแนนเห็นใจมาไว้กับตัว โดยเฉพาะเมื่อ ปชป.เล่นเกมถ่วงดึงญัตติถอดถอน และจะไม่ยอมให้รัฐมนตรีคนอื่นช่วย
 
ถ้าไม่เพราะเล่นเกมมากไป อภิปรายรัฐมนตรีตรงตัว เอาแต่เนื้อๆ รัฐบาลจะสะเทือนกว่านี้
 
ม็อบแช่แข็งก็มีส่วนทำลายการอภิปรายของฝ่ายค้าน (สม! พรรคการเมืองจากการเลือกตั้งดันให้ท้ายม็อบไม่เอาเลือกตั้ง) ม็อบดึงกระแสไปหมด ทำให้สถานการณ์ขึ้นถึงจุดสูงสุดตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.สังคมตึงเครียดเขม็ง แล้วก็โล่งกะทันหัน พวกแช่แข็งยังไม่ทันแข็ง ดันล่มปากอ่าว หมดอารมณ์กันไปตั้งแต่ยังไม่ทันอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฝ่ายค้านจึงจุดกระแสไม่ติด
 
ประชาธิปไตยชนะ
ไม่ใช่รัฐบาลชนะ

(อ่านต่อ)
http://www.voicetv.co.th/blog/1440.html

มาตามกฎ กติกา ประชาธิปไตย

มาตามกฎ กติกา ประชาธิปไตย