หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พลวัตของชนชั้นนำไทย (2)

พลวัตของชนชั้นนำไทย (2)




ได้กล่าวในตอนที่แล้วว่า หลังการประกาศไม่รับตำแหน่งนายกฯ ของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สภาวะทางการเมืองที่เคย "ลงตัว" แก่ชนชั้นนำหลากหลายกลุ่มในระดับหนึ่งได้อันตรธานไป

การนำของนายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง ทำให้หลายกลุ่มของชนชั้นนำขัดแย้งกันเอง (เช่นระหว่างนักธุรกิจต่างจังหวัดซึ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง กับนักธุรกิจอุตสาหกรรมกรุงเทพฯ)

ชนชั้นนำอีกหลายกลุ่มไม่มั่นใจว่า ผลประโยชน์ปลูกฝังที่ดำรงอยู่ได้ภายใต้ "กึ่งประชาธิปไตย" ของพลเอกเปรม จะยังดำรงอยู่อย่างมั่นคงสืบไปหรือไม่ (เช่นแม้ว่าฝ่ายรวบอำนาจในกองทัพ ยังสามารถขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำได้เป็นแผง แต่ผู้นำกองทัพก็ถูกนักการเมืองโจมตีโดยตรงในที่สาธารณะ รวมทั้งไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดกลางอากาศได้เมื่อไร)


ฝ่ายกษัตริย์นิยมขาด "คนของตัว" ทั้งในสภาผู้แทนฯ และในรัฐบาล มีแต่อำนาจนำทางวัฒนธรรมซึ่งมีอยู่สูงมาก แต่อำนาจนำทางวัฒนธรรมนั้น ใช้มากเกินไปก็สึกหรอได้ ฝ่ายกษัตริย์นิยมจึงรู้สึกว่า ภายใต้สภาวะทางการเมืองเช่นนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ขาดความมั่นคง


รสช.พยายามจะตอบโจทย์เหล่านี้ของชนชั้นนำ แต่เป็นคำตอบที่มักง่ายเกินไป เพราะมองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดในบ้านเมืองสืบเนื่องมานานแล้ว ผลคือสิ้นสุดลงด้วยการนองเลือด และการตกต่ำด้านความนิยมของกองทัพลงอย่างมาก


ไม่มีกองทัพเป็นแกนกลางในการจัดระเบียบของระบบการเมือง ความรู้สึกปั่นป่วนขาดความมั่นคงของชนชั้นนำทุกกลุ่ม ยิ่งเข้มมากขึ้น นี่คือฐานที่มาของการสนับสนุนรัฐธรรมนูญ 2540

ในหมู่ชนชั้นนำทุกกลุ่ม (ยกเว้นกองทัพ ซึ่งในช่วงนั้นก็ลดอิทธิพลทางการเมืองไปมาก ซ้ำชนชั้นนำกลุ่มอื่นยังกลับไปสนับสนุนรัฐธรรมนูญเสียอีก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สนับสนุนรัฐธรรมนูญใหม่ก็คือกลุ่มนักธุรกิจต่างจังหวัด เพราะรัฐธรรมนูญใหม่มีจุดมุ่งหมายจะจำกัดอำนาจทางการเมืองของกลุ่มนี้โดยตรง)
 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1349659365&grpid=&catid=12&subcatid=1200

กรณี จำนำข้าว กับ ศาลรัฐธรรมนูญ สัญญาณ "ใหม่"

กรณี จำนำข้าว กับ ศาลรัฐธรรมนูญ สัญญาณ "ใหม่"



การปรากฏขึ้นของปัญญาชน นักวิชาการ 146 คน อันนำโดย
นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ยื่นฟ้องโครงการจำนำข้าวว่าผิดมาตรา 84(1) ของรัฐธรรมนูญ

รัฐ ต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ (1) สนับสนุนเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

โดยต้องยกเลิกและ ละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้อง กับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน

เว้นแต่มีความจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมหรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค

น่าสนใจ

น่าสนใจบทบาทของปัญญาชน นักวิชาการ


ส่วนหนึ่งเป็นปัญญาชน นักวิชาการ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ส่วนหนึ่ง เป็นปัญญาชน นักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปมเงื่อนอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับฟ้องหรือไม่

มีความเห็น "แย้ง" จากปัญญาชน นักวิชาการทางกฎหมาย หลายภาคส่วน ว่าศาลรัฐธรรมนูญน่าจะไม่รับคำร้อง

เหตุผลเพราะ ไม่ใช่อำนาจ ไม่ใช่หน้าที่


(อ่านต่อ)) 

เก็บตกคลิป รำลึก 36 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตย

เก็บตกคลิป รำลึก 36 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตย 

 

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjAkvg7XwDG3SMDxWoYu-wnfMOzbeyLnf82pX93MWXENn8c6xtLGTO2gEWjGbuImlEL1T3ElfWsbNjl0ZTXZ0hKneJj7Z07VkO7jgStJhDaY0N-dPMRp6tnYkSX-6GI3ikHe6D7oKgMePEp/s1600/044-IMG_2772.JPG



บรรยากาศงานรำลึก 36 ปี 6 ตุลา ภาคเช้า
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=2Wm9UPaZA3s#!

(คลิกชม)
http://www.internetofreedom.com/index.php?/topic/16148-คลิป-รำลึก-36-ปี-6-ตุลา-ประชาธิปไตย

ความหมายของการรำลึก 36 ปี 6 ตุลา ปีนี้เราคงไม่ต้องถามว่า “ใครฆ่าเขา หรือเราเห็นคนตาย” อีกแล้ว

ความหมายของการรำลึก 36 ปี 6 ตุลา ปีนี้เราคงไม่ต้องถามว่า “ใครฆ่าเขา หรือเราเห็นคนตาย” อีกแล้ว

 


โดย อ.วิภา ดาวมณี


วันที่ 6 ตุลาคม ปีนี้ นอกจากเป็นวันครบรอบ 36 ปี ของเหตุการณ์นองเลือดในมหาวิทยา ลัย ธรรมศาสตร์ อันเกิดจากอาชญากรรมรัฐ เมื่อปี พ.ศ.2519 แล้ว ยังเป็นวันครบรอบ 12 ปี ของชิ้นงานประติมานุสรณ์ 6 ตุลาด้วย  ประติมากรรมชิ้นนี้สร้างขึ้นมาด้วยน้ำพัก น้ำแรง น้ำใจ และการระดมทุนจากบรรดาผู้ผ่านเหตุการณ์ และมีประสบการณ์ร่วมกันภายใต้คำขวัญการจัดงานรำลึก 20 ปี 6 ตุลา ว่า “ขบวนการนักศึกษาประชาชนเดือนตุลา..กล้าต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีงาม” โดยมติเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2539 สร้างเสร็จและเปิดก่อนหน้าอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาถึง  2 ปี นั่นหมายความว่าพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของสามัญชนในรูปของอนุสรณ์สถานนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะสร้างได้ง่ายๆในสังคมไทย

ในบันทึกอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดีในขณะนั้น ชื่อว่า “ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519” ถ่ายทอดทุกสิ่งที่สังคมไทยตั้งคำถามกับเหตุการณ์นี้ แจกแจงถึงเจตนาตลอดจนวิธีการของพวกที่รวมตัวกันวางแผนก่ออาชญากรรมรัฐว่า

“......... เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึกษา และประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมีอยู่นาน ในการเลือกตั้งเมษายน 2519 ได้มีการปิดประกาศและโฆษณาจากพรรคการเมืองบางพรรคว่า “สังคมนิยมทุกชนิดเป็นคอมมิวนิสต์” และพระกิตติวุฒโฑภิกขุ ยังได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า “การฆ่าคอมมิวนิสต์นั้นไม่เป็นบาป”  ในกันยายน–ตุลาคม 2519  มีผู้กล่าวว่าการฆ่าคนที่มาชุมนุมประท้วงจอมพลถนอม กิตติขจร สัก 30,000 คน ก็เป็นการลงทุนที่ถูก

ผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองในเดือนตุลาคม 2516 ได้แก่ทหารและตำรวจบางกลุ่ม  ผู้ที่เกรงว่าในระบบประชาธิปไตยจะสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไป  ได้แก่ พวกนายทุนเจ้าของที่ดินบางกลุ่ม และผู้ที่ไม่ประสงค์จะเห็นระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย กลุ่มเหล่านี้ได้พยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะทำลายล้างพลังต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์แก่ตนเองด้วยวิธีต่างๆ ทางวิทยุและโทรทัศน์ ทางหนังสือพิมพ์ ทางใบปลิวโฆษณา ทางลมปากลือกัน ทางบัตรสนเท่ห์ ทางจดหมายซึ่งเป็นบัตรสนเท่ห์ขู่เข็ญต่างๆ และได้ก่อตั้งหน่วยต่างๆ

วิธีการของบุคคลกลุ่มเหล่านี้คือ ใช้การปลุกผีคอมมิวนิสต์โดยทั่วไป ถ้าไม่ชอบใครก็ป้ายว่าเป็นคอมมิวนิสต์  แม้ แต่นายกรัฐมนตรีคึกฤทธิ์ หรือเสนีย์ หรือพระราชาคณะบางรูปก็ไม่เว้นจากการถูกป้ายสี อีกวิธีหนึ่งคือการอ้างถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องมือในการป้ายสี ถ้าใครเป็นปรปักษ์ก็แปลว่าไม่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ….”

ความขัดแย้งทางการเมืองในระหว่างกลุ่มพลังก้าวหน้า ที่มุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างกับพลังอนุรักษ์ นิยมทางการเมือง   ลงเอยด้วยการก่ออาชญากรรมรัฐ  ในวันที่ 6 ตุลา 2519   เพียง 3 ปี จากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516   ความทรงจำที่พร่ามัวบวกกับความหมายของการตายที่ถูกบิดเบือนไปทำให้บันทึกประวัติศาสตร์ 6 ตุลา และเจตนารมณ์ 6 ตุลา ต้องผิดเพี้ยนไปจากความจริง วันนี้สังคมไทยยังคงซึมซับกับประสบการณ์เดิมๆ เรื่องราวเดิมๆ การคุกคาม ปราบปราม เข่นฆ่า และอาชญากรรมของรัฐ ซึ่งดูรุนแรงยิ่งกว่า

แต่ขณะเดียวกันประชาชนก็มีความตื่นตัว แจ่มชัด ยิ่งขึ้น ตาสว่างมากขึ้น มีการกระจายตัวอยู่ในทุกจังหวัด ไม่ได้รวมศูนย์เฉพาะในกรุงเทพฯ  การสื่อสารต่างๆจึงไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงฝ่ายกุมอำนาจ แม้จะมีความพยายามปิดสื่อทุกทาง ทั้งโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์

ความหมายของการรำลึก 36 ปี 6 ตุลา  ปีนี้เราคงจะไม่ต้องถามหาว่า “...ใครฆ่าเขา หรือเราเห็นคนตาย ” อีกแล้ว  ความจริงคำถามเหล่านี้เราตอบได้เพราะฆาตกรในเหตุการณ์สังหาร หมู่ 6 ตุลา 2519 กับ เมษา-พฤษภามหาโหด 2553 ก็ไม่ได้ต่างกันเลย   ขบวนการประชาชน ซึ่งรวมคนชนบทและคนในกรุงเทพฯ จำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ยิ่งใหญ่กว่าการต่อสู้ 14 ตุลา และการต่อสู้ในเดือนพฤษภาปี 2535 มีการสั่งสมบทเรียน และก่อตัวเป็นอุดมการณ์ การขับเคลื่อนใหม่ๆ

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43057

ภัยจากองค์กรอิสระ

ภัยจากองค์กรอิสระ

 

 
"ผมจัดตัวเองว่าเป็นผู้ประสบ ภัยจากองค์กรอิสระซึ่งผลาญเงินประชาชนมาก ด้วยลักษณะที่เราคิดถึงว่าองค์กรอิสระเป็นเทวดา เป็นผู้ทรงความรู้คู่ธรรม การวิจารณ์ตรวจสอบจึงไม่เกิดขึ้น นี่เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าเรื่องสำคัญในการเมืองไทยจำนวนมาก รัฐบาลไม่ได้ตัดสินใจแต่ถูกดึงไปให้องค์กรอิสระจำนวนมาก และนี่เป็นเรื่องที่สำคัญเกินกว่าจะฝากไว้กับใคร ผมคิดว่าองค์กรอิสระ เป็นสิ่งที่หลายๆ ส่วนควรคิดถึงและจับตามองให้มากขึ้น"

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล

http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43049