หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จากทรงนักเรียน ถึงข้อเสนอยกเลิกความเป็นไทย

จากทรงนักเรียน ถึงข้อเสนอยกเลิกความเป็นไทย



 
เนติวิทย์: ปฏิรูปการศึกษา และข้อเสนอยกเลิก "ความเป็นไทย"


สนทนากับ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย และบรรณาธิการนิตยสารปาจารยสาร

หลังจากก่อนหน้านี้ "สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย" ได้รณรงค์ให้มีการยกเลิกทรงนักเรียน และต่อมากระทรวงศึกษาธิการยอมปรนด้วยการออกระเบียบกฎกระทรวงฉบับใหม่ และมีหนังสือสั่งการถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานศึกษาในสังกัดให้นักเรียน ชายไว้ผมรองทรง และนักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ ทันทีที่เปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2556 แต่ล่าสุด เนติวิทย์บอกว่า ได้รับการร้องเรียนว่ายังพบโรงเรียนหลายร้อยแห่งที่ไม่ยอมปฏิบัติตาม (ข่าวที่เกี่ยวข้อง [1], [2])

(อ่านต่อ)

วิกฤตเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม

วิกฤตเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม 


 
มาร์คซ์เคยพูดถึงเรื่องการลดลงของอัตรากำไรไว้ ว่า การที่ระบบทุนนิยมมันยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่าไหร่ นายทุนก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร ซึ่งตัวเครื่องจักรนั้นมันเป็นทุนคงที่ นี่แหละที่มันทำให้อัตรากำไรของนายทุนลดลง

โดย ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม

ก่อนที่จะเข้าเรื่องว่าวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้ยังไงนั้น เราก็ควรที่จะรู้ถึงกลไกการแข่งขัน และหน้าตาของระบบทุนนิยมก่อน ว่าทำไมมาร์คซ์ถึงได้กล่าวไวว่า “อุปสรรค์ที่แท้จริงของระบบในทุนนิยมนั้น เกิดขึ้นจากตัวทุนนิยมเอง” ทำไมมาร์คซ์ถึงได้กล่าวไว้อย่างนั้น เนื่องจากว่า ลักษณะของทุนนิยมนั้น..  ปัจจัยการผลิตเป็นของนายทุน  ซึ่งนั้นก็เท่ากับว่าปากท้องของคนส่วนใหญ่  ตกอยู่ภายใต้กลไกตลาดที่มีนายทุนควบคุมกำกับ ปัจจัยการผลิตนี่ก็นี้ก็หมายถึง โรงงาน เครื่องจักร ที่ดิน ปัจจัยการผลิตพวกนี้เอง ที่เป็นเครื่องไม้เครื่องมือ ในการการช่วยให้มนุษย์นั้นสร้างผลผลิตได้  แต่ปัจจัยการผลิตมันก็เป็นได้แค่เครื่องมือช่วยเท่านั้น คือมันไม่สามารถสร้างมูลค่าหรือกำไรขึ้นเองได้ หากไม่มีคนเข้าไปทำงาน

มีนักเศรษฐศาสตร์คนหนึ่ง เดวิด ริคาโด ก็เคยบอกไว้ว่า มูลค่าของผลผลิตทุกอย่างนั้น เกิดจากการทำงานของแรงงานในอดีต ที่แรงงานในอดีตนั้นดัดแปลงทรัพยากรธรรมชาติ และดัดแปลงให้วัตถุดิบพวกนั้นสามารถใช้สอย เพื่อตอบสนองการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

ในเมื่อมีปัจจัยการผลิตบวกมีแรงงานเข้าไปทำการผลิตแล้ว ผลผลิตที่ได้ก็จะนำไปขายในกลไกตลาด พอขายได้นายทุนก็จะต้องหักต้นทุน หักค่าจ้าง พอหักรายจ่ายต่างๆหมดแล้ว เงินส่วนเกินที่เหลือมันก็จะเป็นกำไรเข้ากระเป๋านายทุน

ที่มาสำคัญที่ทำให้นายทุนได้กำไรมหาศาลนั้น เกิดจาก ค่าจ้างในการทำงานของกรรมชีพนั้นจะต้องมีอัตราที่ต่ำกว่า มูลค่าของสินค้าที่ตัวเองเป็นผู้ผลิตขึ้น การขูดรีดค่าแรงให้ต่ำ ค่าแรงต่ำทำให้กำไรสูง อย่างนี้เองที่เขาเรียกว่า เป็นการสะสมทุนเพื่อเอามาลงทุนต่อ ดังนั้นรูปแบบหนึ่งของระบบทุนนิยม จึงเป็นระบบที่ขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน จากการทำงานของแรงงาน มาเป็นกำไรในการสะสมทุน สะสมทุน ให้มากขึ้นเรื่อยๆ

เพราะฉะนั้น ลักษณะของระบบทุนนิยม จึงเป็นระบบแข่งขันกันโกยกำไร ผ่านกลไกตลาด และเป็นการผลิตเพื่อแข่งขันกันขาย ระหว่างนายทุนด้วยกันเอง ซึ่งการที่นายทุนยิ่งได้กำไรมากขึ้นเท่าไหร่ ก็เท่ากับว่ายิ่งขูดรีดแรงงานมากขึ้นเท่านั้น และจากการเร่งการแข่งขันกันระหว่างตัวนายทุนด้วยกันเอง อันเนื่องมาจากกลไกของระบบ ที่มันบังคับกดดันให้นายทุนทุกคน ต้องเร่งกันแข่งขันเพื่อสร้างผลผลิตให้มากๆ ถ้านายทุนคนไหนไม่เร่งการผลิต ไม่เร่งการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องจักรแล้ว นายทุนคนนั้นก็จะไม่สามารถแข่งขันกับนายทุนคนอื่นๆได้ และในที่สุดนายทุนคนนั้นก็จะล้มละลาย เหมือนปลาเล็กที่ถูกปลาใหญ่กิน

จากการนายทุนมีเสรีภาพ ในการแข่งขันกันในกลไกตลาด มันจึงมีผลทำเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น ซึ่งหลักๆมันมีอยู่สองสาเหตุ อย่างที่มาร์คซ์เคยบอกไว้ ว่ามันจะเกิดปรากฎการณ์อย่างนี้ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอยู่เป็นระยะๆคือ การผลิตล้นท่ามกลางความอดอยาก และการลดลงของอัตรากำไร

มาร์คซ์เคยพูดถึงเรื่องการลดลงของอัตรากำไรไว้ว่า การที่ระบบทุนนิยมมันยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่าไหร่ นายทุนก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร ซึ่งตัวเครื่องจักรนั้นมันเป็นทุนคงที่ นี่แหละที่มันทำให้อัตรากำไรของนายทุนลดลง เนื่องจากว่าอัตรากำไรนั้น เกิดจากการทำงานของแรงงาน ไม่ได้เกิดจากตัวเครื่องจักรเอง

และสาเหตุที่นายทุนจะต้องลงทุนกับเครื่องจักรนั้น เป็นเพราะว่านายทุนแต่ละคน จะต้องขยายการผลิตอยู่ตลอดเวลา  เนื่องจากว่าการแข่งขันกันในกลไกตลาด มันเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้นายทุนต้องเร่งพัฒนาเครื่องจักรให้ทันคู่แข่ง ถ้าหากเครื่องจักรล้าสมัยแล้ว คุณภาพของสินค้าจะตกรุ่นจนด้อยกว่าคู่แข่ง และผลิตสินค้าออกมาได้น้อยกว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ผลก็คือโรงงานนั้นๆจะเจ๊งหรือไม่ก็ล้มละลาย เพราะสู้ไม่ได้

การลดลงของอัตรากำไรนั้น มีผลสำคัญ เพราะอัตรากำไรนี้มีส่วนที่จะชี้วัด ในการลงทุนของนายทุนแต่ละคนว่า การลงทุนครั้งต่อไปนั้นมันคุ้มค่าหรือเปล่า หากเขาคำนวณดูแล้วว่ามันไม่คุ้มค่า เพราะกำไรต่ำเกินกว่าที่จะลงทุน พวกนายทุนเขาก็จะหยุด เลิก หรือชะลอการลงทุน ซึ่งการที่นายทุนทำอย่างนี้ มันเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการว่างงาน การบอกเลิกจ้าง ไม่มีโอที พักงาน จนส่งผลให้รายได้ของกรรมมาชีพลดลง ขาดรายได้ พอรายได้ของคนส่วนใหญ่ลดลง การบริโภคก็จะน้อยลงไปด้วย เพราะกำลังซื้อหลักของคนในสังคมมันไม่พอจ่าย และสาเหตุของการการที่ประชาชน มีรายได้ไม่พอจ่ายก็เป็นเพราะ ค่าแรงที่ต่ำกว่ามูลค่าสินค้าที่ตัวเองผลิตด้วย

และจากผลกระทบในการลดลง ของอัตรากำไรนี้เอง ยังที่มีผลให้เกิดสภาวะการผลิตล้นตลาด เนื่องจากที่ กลไกตลาดแบบเสรีในระบบทุนนิยมนั้น มันไม่ได้วางแผนการผลิต เพื่อสร้างประโยชน์ใช้สอยกับจริงๆ ของคนส่วนใหญ่ในสังคม แต่มันเป็นระบบที่เร่งผลิตออกมาเพื่อขาย พอคนส่วนใหญ่ไม่กำลังซื้อ สินค้าเหล่านั้นก็จะล้น ซึ่งมันทำเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรของส่วนรวมอีกด้วย

ส่วนการหาทางออกให้กับวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ขอเสนอก็คือการยึดเอากิจการ และปัจจัยทั้งหมดมาเป็นของรัฐ ประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐจะต้องสามารถออกแบบ ความต้องการของตัวเองได้ นายทุนไม่มีอิสระในการควบคุมกลไกตลาดอีกต่อไป การผลิตจะต้องผลิตอย่างมีแบบแผน และควบคุมจากรัฐ เก็บภาษีก้าวหน้า สร้างรัฐสวัสดิการ ค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องเพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่สำคัญรัฐจะต้องปกป้องให้ประชาชนมีงานทำ เพื่อเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อและเศรษฐกิจ

เอกสารอ้างอิง
ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะ. (2543). การเมืองไทยในทัศนะลัทธิมาร์คซ์. กรุงเทพฯ : ชมรมหนังสือประชาธิปไตยแรงงาน.
ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะ. (2545). อะไรนะลัทธิมาร์คซ์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : ชมรมหนังสือประชาธิปไตยแรงงาน
 
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/06/blog-post_28.html 

The Economist วิเคราะห์กระแสการตื่นตัวของชนชั้นกลางในการประท้วงทั่วโลก

The Economist วิเคราะห์กระแสการตื่นตัวของชนชั้นกลางในการประท้วงทั่วโลก

 


ฝ่ายต้านรบ.อียิปต์เริ่มชุมนุมแล้วหลายพันคน


ดิ อิโคโนมิสต์ ชี้ กระแสตื่นตัวในหมู่ชนชั้นกลางและเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เอื้อต่อการกระจาย ข้อมูล ทำให้เกิดการทำตามกันอย่างเรื่องหน้ากาก V และเหตุการณ์ประท้วงหลายแห่งทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาทั้งในบราซิล, ตุรกี, อินโดนีเซีย ฯลฯ 


29 มิ.ย. 2013 -  เว็บไซต์ The Economist นำเสนอบทความชื่อ "The march of protest" เกี่ยวกับกระแสการประท้วงรัฐบาลที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ ผ่านมา บางแห่งมีการใช้หน้ากาก กาย ฟอว์กส์ จากตัวละคร V ในการ์ตูนยุค 1980 ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มกลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้นิรนาม" (Anonymous)

โดยการประท้วงในแต่ละที่มีที่มาต่างกัน เช่น ในบราซิลเริ่มต้นมาจากการประท้วงต่อต้านการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง, ในตุรกีเริ่มจะการประท้วงโครงการก่อสร้างที่มีการรื้อถอนสวนสาธารณะ, อินโดนีเซียมีการประท้วงการขึ้นราคาเชื้อเพลิง, ในบัลแกเรียเป็นการประท้วงการเอื้อผลประโยชน์ให้พวกเดียวกันในรัฐบาล ส่วนในเขตประเทศยุโรปก็มีการประท้วงต่อต้านนโยบายจำกัดงบประมาณ (austerity) ขณะที่ปรากฏการณ์ "อาหรับสปริง" ในตอนนี้ก็กลายเป็นการประท้วงโดยถาวรในแทบทุกเรื่อง ผู้ประท้วงแต่ละกลุ่มต่างก็มีความไม่พอใจในแบบของตัวเอง

แต่กระนั้นในบทความกล่าวว่า ผู้คนก็ยังคงมีลักษณะของการเรียกร้องร่วมกัน ผู้ชุมนุมก็มีลักษณะคล้ายกัน แบบการประท้วงที่เคยเกิดขึ้นในปี 1848, 1968 และ 1989 แม้ว่าการประท้วงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาจะเกิดการรวมตัวอย่างรวดเร็ว ในยุคนี้มีความตื่นตัวของประชาธิปไตยมากกว่าเผด็จการ และผู้ชุมนุมก็มักจะเป็นกลุ่มชนชั้นกลางธรรมดาๆ ไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์ที่มีข้อเรียกร้องเรียงกันเป็นรายการ พวกเขามีทั้งความสนุกสนานและความโกรธในการกล่าวประณามการทุจริต, ความไร้ประสิทธิภาพ และความจองหองของผู้บริหารประเทศ

ไม่มีใครรู้ว่าปรากฏการณ์ในปี 2013 จะเปลี่ยนโลกไปอย่างไรหรือแม้กระทั่งจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้จริงหรือไม่ ในปี 1989 สหภาพโซเวียตคลอนแคลนและล่มสลาย แต่ในปี 1848 ที่มาร์กซ์ เชื่อว่าเป็นกระแสการปฏิวัติชนชั้นแรงงานครั้งแรกก็ต้องแปลกใจกับการเบ่งบาน ของระบบทุนนิยมในอีกหลายทศวรรษต่อมา และในปี 1968 ที่ดูเหมือนจะเป็นแนวถอนรากถอนโคนก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเพศ มากกว่าเรื่องการเมือง แม้ว่าในตอนนี้ก็ยังบอกไม่ได้ว่าปรากฏการณ์ปี 2013 จะนำไปสู่อะไร แต่สำหรับนักการเมืองที่พยายามใช้วิธีการแบบเก่านั้น มันไม่ใช่ข่าวดีเลย

(อ่านต่อ)