หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ศาลโลกวัดใจ‘เพื่อไทย’

ศาลโลกวัดใจ‘เพื่อไทย’



ดูภาพใหญ่



“ประเด็นการขับไล่ยังเดินหน้าต่อไป แม้จะมีการยอมรับหรือลงสัตยาบัน การขับไล่ก็ยังเดินหน้าเป็นปรกติ แต่รัฐมนตรีปึ๋ง (นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) จะตัดสินใจแบบปึ๋งๆหรือเปล่า ไม่ว่าตัดสินใจทางไหนก็ต้องมีคำตอบให้เห็นว่ารัฐ บาลนี้ไม่ได้คิดเพื่อตัวเอง แต่มองไปวันข้างหน้า ถ้าประ เทศเราต้องกลับไปถูกกระ บวนการคว่ำรัฐบาลในวิถีทางที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย อย่างน้อยก็จะมีภูมิต้านทาน โดยรัฐมนตรีปึ๋งควรจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดใน 2 ข้อนี้ จะประกาศชัดเจนก็ได้ แต่ถ้าลังเลเรื่องการยอมรับหรือไม่ยอมรับเขตอำนาจศาล ก็ร่วมลงสัตยาบันไปเลย ก็ไม่มีปัญหา แต่ไม่ใช่อยู่ในภาวะไม่ตัดสินใจอะไรเลย อีกฝ่ายหนึ่งเขาต้องการให้รัฐบาลพ้น วันนี้เราต้องอยู่อย่างมีเกียรติ คิดถึงคนที่ตาย รวมถึงเรื่องที่เกิดความไม่เป็นธรรมในประเทศ ถ้าวันหน้าเกิดเหตุการณ์ล้อมปราบประชาชน จะให้เหตุผลกับประชาชนเขาอย่างไร”

นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ให้ความเห็นเรื่องการรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC-International Criminal Court) ว่าไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาตามมาตรา 190 แต่ถ้าจะลงสัตยาบันก็เข้าข่ายมาตรา 190 ถ้ารัฐบาลวิตกเกี่ยวกับความเสี่ยงทางการเมืองก็ยื่นให้รัฐสภาเห็นชอบตาม มาตรา 190 ไปเลย เพราะไม่ได้มีผลแค่คดี 98 ศพเท่านั้น แต่ทุกคดีที่ฝ่ายค้านสงสัย อย่างเรื่องฆ่าตัดตอน การยอมรับเขตอำนาจ ICC หรือลงสัตยาบันจึงเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ฝ่ายค้านจะได้พิสูจน์เรื่องข้อกล่าวหา “นี่คือวัคซีนประชาธิปไตยและป้องกันการรัฐประหารในอนาคต”

(อ่านต่อ)
http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=16784 

โจ กอร์ดอน (ฉบับทิ้งทวน): คนนอก กลาง ‘ความเป็นไทย’

โจ กอร์ดอน (ฉบับทิ้งทวน): คนนอก กลาง ‘ความเป็นไทย’

 

 

 

สัมภาษณ์โดย มุทิตา เชื้อชั่ง
ภาพโดย คิม ไชยสุขประเสริฐ

 

เขาเป็นผู้ต้องโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เชื้อสายไทย-อเมริกัน เกิดในเมืองไทย แต่ไปใช้ชีวิตส่วนใหญ่ราว 30 ปีที่สหรัฐอเมริกา

หลังถูกคุมขังนานเกือบปี เขาตัดสินใจรับสารภาพในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น ‘นายสิน แซ่จิ้ว’ ผู้แปลบางบทของหนังสือ The King Never Smiles ลงในบล็อกส่วนตัว

บล็อกดังกล่าว เขียนหัวบล็อกไว้ว่า “(For Educational Purposes Only/No Plagiarism Please!)
บทแปลจากหนังสือเพื่อการศึกษา ไม่มีเจตนาลบหลู่ดูหมิ่นฯผู้ใด”


หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล ในปี 2549 เขียนโดย Paul M. Handley  เป็นหนังสือต้องห้ามในประเทศไทยตามคำให้สัมภาษณ์ของผู้บัญชาการตำรวจแห่ง ชาติในขณะนั้น

ศาลพิพากษาลงโทษเขาเพียง 2 ปีครึ่ง เนื่องจากรับสารภาพ  หลังจากนั้นจึงขอพระราชทานอภัยโทษ และได้ออกจากเรือนจำในวันที่ 10 ก.ค.55 เขาเก็บตัวเงียบอยู่พักใหญ่ ก่อนเดินทางออกจากประเทศไทยไม่เมื่อไม่กี่วันก่อน

1

 

วิเคราะห์ ‘คนใน’ จากสายตา ‘คนนอก’

 

หลังจากออกจากเรือนจำมา มองสถานการณ์ประเทศไทยอย่างไร

คิดว่าประเทศไทยมีความขัดแย้งสูง ไม่มีใครยอมใคร ลักษณะประเทศไทยค่อนข้างอนุรักษ์นิยม conservative สูง ซึ่งมันต้านกับกระแส globalization เอามากๆ ด้านหนึ่งยอมรับความเป็นสากล อีกด้านหนึ่งจะถ่วงเอาไว้ ก็เลยเกิดความขัดแย้งขึ้นมา

ปัญหาของประเทศมันอยู่ที่คนในกลุ่มผู้นำประเทศไม่มีสำนึกทางด้านการทำงาน เพื่อส่วนรวม กลายเป็นกลุ่มหลายกลุ่ม กลุ่มธุรกิจ กลุ่มทหาร กลุ่มนักการเมือง กลุ่มราชการ ทุกคนมีอิทธิพลกันหมด กลายเป็นอำนาจที่ abusive เกินไป จะบอกว่ามีการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมในสังคมก็ได้ การใช้อำนาจในทางที่ผิด แต่กลุ่มคล้ายเป็นมาเฟีย นี่เป็น characteristic ของประเทศด้อยพัฒนา หลีกเลี่ยงไม่ได้ สังคมก็เลยเลอะเทอะ ไม่มีความเป็นระเบียบ

นับตัวเองเป็นคนในหรือคนนอก
 
เป็นคนนอก เราเพียงแต่เกิดที่นี่ แต่ไม่ได้มาตรฐานชีวิตในลักษณะที่เขาเป็นอยู่กัน เรามองประเทศไทยว่ามาตรฐานยังไม่ได้ในระดับสากล สิ่งที่มันเป็นสากลไม่ใช่ของคนไทยทั้งนั้น ห้างสรรพสินค้า บรรษัทใหญ่ทั้งหลายมีระบบการบริหารที่เป็นสากลทั้งนั้น แต่สิ่งที่ ‘เป็นไทย’ ดูเหมือนไม่ได้พัฒนาอะไร ลองดูหน่วยงานของไทย ระบบของไทยที่ทำกันมันไม่มีระบบ

ถ้าจะให้นิยาม “ความเป็นไทย” ในความรู้สึกหรือเท่าที่เห็น คืออะไร

เขายอมรับความจริงกันไม่ได้ เป็นสังคมที่เสแสร้ง เพราะถ้ายอมรับความจริงแล้วมัน hurt feeling ที่สำคัญที่สุดคือวัฒนธรรมที่ว่าเสียหน้าไม่ได้ เพราะความหน้าบาง ฝรั่งบอกว่าคุณต้องมีหนังหนาถึงจะทำงานใหญ่สำเร็จ you have to have a thick skin ของไทยพูดวิพากษ์วิจารณ์กันหน่อยก็ทนไม่ได้แล้ว เพราะความบางของหนังรับแรงต้านทานไม่ได้ พอรับไม่ได้ก็เดือดร้อน ต้องการเอาคืน

(ที่มา) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43568

เปิดโฉมหน้า "10 พลังขวา" ในการเมืองไทย : แนวร่วมต่อต้านรัฐบาลแห่งชาติ!

เปิดโฉมหน้า "10 พลังขวา" ในการเมืองไทย : แนวร่วมต่อต้านรัฐบาลแห่งชาติ!





ยุทธบทความ สุรชาติ บำรุงสุข 10 พลังขวาในการเมืองไทย : แนวร่วมต่อต้านรัฐบาลแห่งชาติ! มติชนสุดสัปดาห์ 9-15 พ.ย. 2555
 
"ถ้าเราผลักความอคติออกไปทางประตู มันก็จะกลับเข้ามาอีกทางหน้าต่าง"

พระเจ้าเฟรดเดอริกมหาราช

ค.ศ. 1712-1786


หลังจากรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 แล้ว เราเห็นได้อย่างชัดเจนถึงการขับเคลื่อนของปีกขวาในการเมืองไทย

ว่าที่จริงก่อนที่รัฐประหารดังกล่าวจะประสบความสำเร็จนั้น กลุ่มการเมืองปีกขวาได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่อย่างเข้มแข็ง

หาก เปรียบเทียบในช่วงระยะเวลาจากช่วง 14 ตุลาคม 2516 จนถึง 6 ตุลาคม 2519 ก็อาจจะต้องยอมรับว่า กลุ่มขวาในยุคปัจจุบันมีความซับซ้อน และมีองค์ประกอบที่หลากหลายมากกว่า

จนต้องเรียกกลุ่มเช่นนี้ว่าเป็น "แนวร่วมต่อต้านรัฐบาลแห่งชาติ"

แต่ ในสถานการณ์ปัจจุบัน การก่อตัวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นตัวแทนที่ชัดเจนของ กลุ่มขวาในการเมืองไทยนั้น เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างแนวร่วมของกลุ่มขวาในการเมืองชุด ใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงอยู่กับพลังอำนาจของกลุ่มทหารในแบบเดิม

ดัง จะเห็นได้ว่า หากพิจารณาถึงองค์ประกอบของขบวนการทางการเมือง กลุ่มพันธมิตรฯ มีทั้งผู้นำที่มีความเป็นผู้นำสูง หรือใช้ในภาษาทั่วไปก็คือ "ผู้นำที่มีบารมี" (charismatic leader) ไม่ว่าจะเป็น นายสนธิ ลิ้มทองกุล หรือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็ตาม ซึ่งสามารถโน้มน้าวมวลชนเป็นจำนวนมากให้เข้าร่วมการต่อสู้ของพวกเขาได้จน กลายเป็นขบวนการเมืองขนาดใหญ่ในช่วงปี 2551

นอกจากปัจจัยของความ เป็นผู้นำแล้ว อีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญก็คือ การมีเครื่องมือสื่อสารของตัวเองและทำให้เกิดการ "ส่งสาร" ที่เป็นชุดความคิดทางการเมืองของปีกขวาออกไปสู่สังคมในวงกว้าง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมากในการโฆษณาทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน

ซึ่งการดำเนินการ ในส่วนนี้ว่าที่จริงก็คือ การอาศัยเครื่องมือของการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองเป็นกลไปในการต่อสู้ ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายเป้าหมายทางการเมืองที่พวกเขาไม่ต้องการ

หากเปรียบเทียบกับยุคก่อนปี 2519 กลุ่มปีกขวาอาศัยหนังสือพิมพ์ดาวสยามกับสถานีวิทยุยานเกราะเป็นเครื่องมือหลัก

แต่ หากพิจารณากับกลุ่มพันธมิตรฯ แล้ว จะพบว่ากลุ่มพันธมิตรฯ มีทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้การโฆษณาทางการเมืองเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น

   
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352434186&grpid=01&catid&subcatid