หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ว่าด้วยทุน เล่ม 2 ภาคที่1 การเปลี่ยนรูปของทุนและวงจรของมัน(บทที่5-6)

ว่าด้วยทุน เล่ม 2 ภาคที่1 การเปลี่ยนรูปของทุนและวงจรของมัน(บทที่5-6)




โดย กองบรรณาธิการ
 
บทที่ 5: เวลาในการหมุนเวียน
 
“เวลาทั้งหมดในการผลิตของทุน” ต้องรวมเวลาที่ทุนไม่มีส่วนในการผลิต เช่นการหยุดการผลิตตอนกลางคืน หรือช่วงที่กำลังเตรียมการผลิต หรือรอให้ผลผลิตสุกงอม(เช่นในภาคเกษตร) ซึ่งต่างจาก “เวลาที่ทุนมีบทบาทโดยตรงในการผลิต”

ประเด็นสำคัญคือ มูลค่าถูกสร้างโดยกรรมาชีพในช่วง “เวลาที่ทุนมีบทบาทโดยตรงในการผลิต” เท่านั้น เพราะเครื่องจักร ฯลฯ ทำงานเองไม่ได้ ต้องมีมนุษย์มาเริ่มกระบวนการ
   
การ “ทำงาน” ของกรรมาชีพ อาจจะมีรูปแบบการลงมือกระทำต่อวัตถุหรือเครื่องจักรตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง หรืออาจลงมือเป็นระยะๆ ในขณะที่เครื่องจักรเดินอยู่ นั้นไม่สำคัญ เพราะทั้งสองกรณีถือว่าเป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง

• การที่ “เวลาทั้งหมดในการผลิตของทุน” ต่างจาก “เวลาที่ทุนมีบทบาทโดยตรงในการผลิต” แปลว่ามนุษย์ที่เป็นกรรมาชีพเป็นผู้สร้างมูลค่า

• และนายทุนจะพยายามตลอดเวลา ที่จะลดช่วงเวลาที่ไม่ใช่ “เวลาที่ทุนมีบทบาทโดยตรงในการผลิต”

• ระยะเวลาที่ใช้ในการหมุนเวียนของทุนสามชนิด(ในบทที่ 4) มีผลกับเวลาในการผลิต ถ้าหมุนเวียนเร็ว การผลิตจะเพิ่มขึ้นได้

• หลังจากการผลิตเสร็จสิ้น ทุนสินค้าที่ถูกผลิตขึ้น จะต้องถูกแปรรูปไปเป็นทุนเงิน(ขาย) แต่กระบวนการนี้ไม่สร้างมูลค่าเลย เป็นเพียง “การได้มาของมูลค่าที่อยู่ในสินค้า” แต่ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองกระแสหลักเชื่อนิยายว่า การเกิดขึ้นของมูลค่ามาจากการซื้อขาย ซึ่งเป็นวิธีปกปิดความจริงเกี่ยวกับการขูดรีดแรงงานในกระบวนการผลิต

• ค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย ต้องหักจากกำไร (เช่นการจ้างตัวแทนเพื่อจำหน่ายหรือซื้อ) และสินค้าบางอย่าง โดยเฉพาะอาหาร อาจต้องรีบขายก่อนที่มันจะเสีย ดังนั้นนายทุนต้องพิจารณา (1)ระยะทางในการขนส่ง และ (2)ขนาดของตลาด โดยที่ตลาดในเมืองมักจะใหญ่กว่าตลาดในชนบทที่กระจัดกระจาย


บทที่ 6: ค่าใช้จ่ายในการหมุนเวียน

การซื้อขาย
คือการแปรเปลี่ยนระหว่างทุนสินค้ากับทุนเงิน

• ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายนี้ไม่เพิ่มมูลค่าของสินค้าแต่อย่างใดทั้งๆ ที่กระบวนการซื้อขายต้องใช้แรงงาน เพื่อให้มีการหมุนเวียนของทุน และการ “ได้มาของมูลค่า”

• การซื้อขายไม่ใช่การผลิต และค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายนอกการผลิต

• ถ้ามีการจ้างงานในระบบซื้อขาย จะมีการขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน คือคนงานจะได้ค่าจ้างต่ำกว่า “ค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย” นายทุนค้าขายก็จะได้กำไรตรงนี้ มันคุ้มที่นายทุนภาคการผลิตจะจ่ายค่าใช้จ่ายนี้ เพื่อให้สินค้าขายออกไปและมีการหมุนเวียนของทุน[1] 

การทำบัญชี
การทำบัญชีเกี่ยวกับรายรับ รายจ่าย ขั้นตอนการผลิต ราคาวัตถุดิบฯลฯ ถือว่าเหมือนค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย ไม่มีการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเลย และมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อทุนนิยมพัฒนา
   
เราควรมองว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้เหมือนค่าซื้อเครื่องจักรในแง่ที่มันเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

เงิน
เมื่อทุนนิยมพัฒนามากขึ้น ปริมาณสินค้าจะเพิ่ม และปริมาณเงินในเศรษฐกิจก็เพิ่ม
   
เงินเอง ธนบัตร หรือเหรียญ เป็นผลของการทำงานเพื่อผลิตเงิน แต่เราต้องมองว่าเป็น “ค่าใช้จ่ายของสังคม” เพราะไม่ได้เป็นส่วนของกระบวนการผลิตสินค้า

ค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้า
มองจากแง่ของสังคม ค่าเก็บสินค้าในโกดังหรือคลัง หรือการจ้างงานในการเก็บสินค้า ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกับการผลิต

• แต่มองจากมุมมองนายทุนแต่ละคน งานนี้มีส่วนในการสร้างมูลค่าสำหรับสินค้า คือเป็นการทำงานเพื่อทดแทนความเสื่อมของมูลค่าสินค้าซึ่งจะเกิดขึ้นถ้าไม่มี การเก็บรักษาไว้

• งานนี้มีส่วนในการสร้างมูลค่า แต่จะไม่เพิ่มมูลค่าแลกเปลี่ยน และนายทุนจะมีปัญหาในการเพิ่มราคาสินค้านี้โดยการอ้างว่าต้องเก็บไว้ในคลัง ถ้านายทุนอื่นไม่ต้องทำ

• ค่าใช้จ่ายตรงนี้ แบ่งกันจ่ายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย หรือเป็นการขาดทุนของนายทุน

• คนงานในโกดังจะถูกขูดรีดแรงงานด้วย เหมือนพนักงานซื้อขาย

• ในกรณีที่สินค้าอาจขาดตลาดในขณะที่ลูกค้าต้องการซื้ออย่างสม่ำเสมอ นายทุนอาจต้องมีคลังสะสมสินค้าเพื่อให้ส่งลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

• คลังสินค้าในรูปแบบทุนการผลิต (สินค้าวัตถุดิบที่รอเข้าสู่กระบวนการผลิต) อาจเพิ่มขึ้นในปริมาณสุทธิของมัน ในขณะที่มีการลดลงถ้าเทียบกับปริมาณสินค้าที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ถ้ากระบวนการผลิตและการส่งวัตถุดิบเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพตามการ พัฒนาของทุนนิยมและตลาดโลก

การสะสมผลผลิตในรูปแบบสินค้า
สัดส่วนการสะสมผลผลิตในรูปแบบสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อระบบทุนนิยมพัฒนา ในขณะที่สัดส่วนการสะสมผลผลิตเพื่อการบริโภคโดยตรงของผู้ผลิตลดลง
   
แนวโน้มคือ ปริมาณการผลิตจะขึ้นอยู่กับความสามารถของนายทุนในการลงทุนและสะสมทุนเพิ่ม ในขณะที่ความต้องการในการบริโภคสินค้ากลายเป็นเรื่องรอง

“ค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้า” ประกอบไปด้วย

1. การลดลงของปริมาณสินค้าที่สูญเสียไป

2. การเสื่อมคุณภาพของสินค้า

3. การจ้างแรงงานเพื่อรักษาสินค้า

การขนส่ง
การทำงานของกรรมาชีพในการขนส่งมีผลในการเพิ่มมูลค่าของสินค้า เพราถ้าไม่มีการขนส่ง สินค้าจะไม่พร้อมที่จะถูกขาย

• ภาคขนส่งในแง่หนึ่ง “อิสระ” เป็นภาคการผลิตที่อิสระจากการสร้างสินค้าแต่แรก แต่อยู่ในระบบหมุนเวียนของทุนอันเดียวกัน[2]

• มีการขูดรีดแรงงานของกรรมาชีพขนส่ง และมีการพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยนายทุน


เชิงอรรถ
[1]ในระบบทุนนิยมสมัยใหม่ปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายนอกระบบการผลิตมีมากขึ้น เช่นการโฆษณา หรือการบริการของภาครัฐ(กอง บก.)
[2]ดังนั้นกรรมาชีพในระบบขนส่งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ ซึ่งจัดอยู่ในภาคบริการในเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาคการผลิต(กอง บก.)
 
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/09/2-1-5-6.html

เรามีคุณธรรมไปทำไม?

เรามีคุณธรรมไปทำไม?

 

 

โดย นักปรัชญาชายขอบ

 

สูดกลิ่น "ศีลธรรม" จนสำลัก
กระอัก "จรรยา" จนหน้าเขียว
"คุณธรรม" เอ่อล้น จนซีดเซียว
ขับเคี่ยว "จริยธรรม" จนช้ำใน
มือถือสาก ปากถือศีล ตีนกระทืบ
ในซอกหลืบ ศพกอง เลือดนองไหล
ใครก็รู้ เราสู้ อยู่กับใคร
แผ่นดินธรรม อำไพ ไม่มีจริง!
 
(จากเฟซบุ๊กของ Rapeepan Songsaeng)
 
บท กวีข้างต้นนี้สะท้อนภาพการโฆษณาชวนเชื่อ ยัดเยียดปลูกฝังสิ่งที่เรียกกันว่า ศีลธรรม จรรยา คุณธรรม จริยธรรม และชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงด้านตรงข้ามอย่างตรงไปตรงมาและน่าหดหู่ มีเหตุผลมากทีเดียวที่บรรดาผู้ซึ่ง “ตาสว่าง” มองเห็นความเป็นจริงของระบบอำนาจที่นิยาม โฆษณาชวนเชื่อ ยัดเยียด ปลูกฝังศีลธรรม จรรยา คุณธรรม จริยธรรมว่าเป็นระบบอำนาจที่ทั้งฉ้อฉลเสรีภาพ หมิ่นศักดิ์ศรีมนุษย์ของประชาชน อำมหิตเลือดเย็น
 
คำ ถามที่ “ต้องถาม” คือ เราจะมีสิ่งที่เรียกกันว่า ศีลธรรม จรรยา คุณธรรม จริยธรรมกันไปทำไม? โยนมันทิ้งไปเลยได้ไหม? แน่นอน มันเป็นคำถามที่ “กวนประสาท” บรรดาผู้มีอำนาจ และผู้เสพติดยากล่อมประสาทพวกนั้น แต่แล้วยังไง สังคมนี้จะไม่มี “พื้นที่” ให้คนตั้งคำถามแบบนี้ได้เลยหรือ มีเหตุผลอะไรที่จะห้ามตั้งคำถามต่อ ศีลธรรม จรรยา คุณธรรม จริยธรรมบน “กองซากศพ” ว่า “ศีลธรรม จรรยา คุณธรรม จริยธรรมเหล่านั้น มันคือเครื่องมือปกป้องไม่ให้สังคมนี้มีกองซากศพ หรือว่ามันเป็นเพียงอาภรณ์อันสวยงามที่ประดับประดาการปราบปรามเข่นฆ่าให้ดู ดีมีความชอบธรรมกันแน่?”
 
บรรดาชนชั้นผู้มีอำนาจต้องการ “คุณสมบัติ” ที่มีคุณธรรมจริยธรรมไปทำไมหรือ คำอธิบายของแมคเคียวเวลลี่ (Maciavelli) ใน “เจ้าผู้ปกครอง” (The Prince) ข้างล่างนี้น่าจะบออกอะไรได้บ้าง (คัดจาก The Big Questions 20 คำถามของปรัชญา โดยไซมอน แบล็กเบิร์น ปกรณ์ สิงห์สุริยา บรรณาธิการแปล สำนักพิมพ์มติชน,2555 หน้า 173) 

ดังนั้น จึงไม่จำเป็นสำหรับเจ้าผู้ปกครองที่จะต้องมีคุณสมบัติอันดีทั้งหมดที่ ข้าพเจ้าได้จาระไนมา แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทรงแสดงพระองค์ว่ามีคุณสมบัติเหล่านั้น และข้าพเจ้ากล้าที่จะกล่าวอย่างนี้อีกด้วยว่า การมีคุณสมบัติเหล่านั้นและการปฏิบัติตามคุณสมบัติเหล่านี้เสมอจะทำร้าย พระองค์ และการแสดงว่าทรงมีคุณสมบัติเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อพระองค์ จงทำเหมือนเป็นผู้มีเมตตา ซื่อสัตย์จงรักภักดี มีมนุษยธรรม เคร่งศาสนา ยึดมั่นในความถูกต้องและจงเป็นแบบนั้น แต่ด้วยความคิดที่ตีกรอบไว้ว่าหากพระองค์จำเป็นที่จะต้องไม่เป็นแบบนั้น พระองค์จะสามารถทำได้และรู้ว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมกลับเป็นตรงกันข้ามได้อย่าง ไร
 
นี่ คือคำแนะนำให้ผู้มีอำนาจให้คุณสมบัติที่มีคุณธรรมอย่างฉ้อฉล แต่ในโลกของความเป็นจริงเป็นไปได้ว่าผู้ปกครองไม่ว่าจะอยู่ในระบบเผด็จการ หรือประชาธิปไตย พวกเขาอาจจะแสดงตัวว่าเป็นคนดี เป็นผู้เปี่ยมคุณธรรมเช่น มีเมตตา ซื่อสัตย์จงรักภักดี มีมนุษยธรรม เคร่งศาสนา ยึดมั่นในความถูกต้อง ฯลฯ เพื่อสร้างภาพให้น่าเชื่อถือ แต่เมื่อต้องรักษาอำนาจและผลประโยชน์ พวกเขาอาจกลายร่างเป็นสุนัขจิ้งจอกได้อย่างง่ายดาย ฉะนั้น คนพวกนี้เขามีคุณธรรมไปทำไม คำตอบชัดเจนในตัวมันเองตามข้อเท็จจริงของการกระทำ หรือพฤติกรรมของชนชั้นผู้มีอำนาจที่ชั่วชีวิตเราต่างก็ได้เห็นกันอยู่แล้ว

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42530

Diva Cafe ประจำวันที่ 11 กันยายน 2555

Diva Cafe ประจำวันที่ 11 กันยายน 2555


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k 

 

ส.ว. ประเทศไทย 'ค้าน' แท็ปเล็ต ไม่ได้ช่วยพัฒนาสมอง

ผู้ชายคนหนึ่งที่ทำให้เราระลึกได้ว่า โลกของความงามไม่ได้มีแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่ครอบครอง กับ ชู อูเอมูระ (Shu Uemura)
 
นานาประเทศสนับสนุนการใช้แท็ปเล็ตช่วยพัฒนาการศึกษา ในขณะที่  ส.ว. ประเทศไทย ค้าน แท็ปเล็ต ไม่ได้ช่วยพัฒนาสมอง
 
อัพเดทกระแสข่าวลือ ไอโฟนรุ่นใหม่ ที่คาดจะเปิดตัวในวันพรุ่งนี้  กับข่าวลือ 9 ข้อ ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด

(คลิกฟัง) 
http://shows.voicetv.co.th/divas-cafe

Wake up Thailand ประจำวันอังคารที่ 11 กันยายน 2555

Wake up Thailand ประจำวันอังคารที่ 11 กันยายน 2555


  

 
สงสัยเคลียร์ม็อบง่ายกว่าเคลียร์น้ำ
  
นำเสนอประเด็น
 
- นายกฯ เรียกประชุมบริหารน้ำจากเหตุอุทกภัยภาคเหนือ                         
- ชลประทานเตือน น้ำมาแล้ว ลุ่มเจ้าพระยาเตรียมรับมือ                            
- สุโขทัยอ่วมน้ำทะลักเข้าท่วมสูงกว่า 1 เมตร                                
- เตือนชาว อยุธยา – อ่างทอง เตรียมขนของหนีน้ำ                                      
- ธีระชน แนะรัฐอย่ารับน้ำอยุธยาเข้าคลองชั้นใน เร่งผันออกด้านนอก  
- 'รอยล'โต้กทม.ยันจัดการน้ำตามเเผน                                                             
- นายกฯ ขออภัยชาวท่าอิฐ ที่ข้อมูลตกหล่นไปบ้าง                                       
- 11 กันยายน 2544 ถล่มตึกเวิล์ดเทรด
- ฟรีดอมทาวเวอร์กับระบบป้องกันภัย         
- การเรียนรู้ผ่าน TABET PC               
   
(คลิกฟัง) 
http://shows.voicetv.co.th/wakeup-thailand

The Daily Dose ประจำวันที่ 11 กันยายน 2555

The Daily Dose ประจำวันที่ 11 กันยายน 2555


 
สอง Candidate เตือน!...รัฐควรฟัง

-  ภาคีคอรัปชั่น
-  ต่อต้านคอรัปชั่น
-  โคงการรับจำนำข้าว
-   ใช้ Tablet สอนเด็กในเเอฟริกาอ่าน
-  คุณสมบัติ ดีดี การบินไทยคนใหม่
-  11 กันยายน 2544

(คลิกฟัง) 
http://shows.voicetv.co.th/the-daily-dose

11 ปี 9/11 เมืองลุงแซมและโลก ที่ไม่เคยเหมือนเดิม

11 ปี 9/11 เมืองลุงแซมและโลก ที่ไม่เคยเหมือนเดิม


Posted ImagePosted Image
Posted ImagePosted Image


ยังคงจำกันได้ สำหรับเหตุการณ์โจรจี้เครื่องบินสองลำพุ่งชนตึกแฝด "เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์" ในมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือที่เรียกกันติดปากว่า "เหตุการณ์ 9/11"

คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เหตุการณ์ในคราวนั้น ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนจนมีผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกาอย่างกว้างขวางทั้งทางการ เมือง เศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิถีชีวิตของอเมริกันชนที่ได้รับผลกระทบนี้โดยตรง

ไม่ เพียงแค่นั้น ผลกระทบดังกล่าว ซึ่งเป็นผลพวงจากเหตุการณ์ 9/11 ยังได้ส่งต่อไปยังความรู้สึกของคนทั่วโลก โดยเฉพาะมุมมองที่มีต่อชาวมุสลิมผู้มักถูกมองว่าเป็นตัวร้ายของเหตุการณ์ใน ครั้งนั้น อีกทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่สร้างความปั่นป่วนให้กับโลกใบนี้

แม้ ว่าเหตุการณ์จะผ่านมา 11 ปีแล้ว แต่ด้วยรอยด่างของความละเอียดอ่อนอันเกิดจากความแตกต่างทางเชื้อชาติและ ศาสนา ทำให้ "ห้องสมุด The Reading Room" และ "กลุ่ม Film Virus" ได้จัดวงเสวนาในหัวข้อ "11 ปี ของเหตุการณ์ 9/11 สหรัฐอเมริกาและโลกที่ไม่เคยเหมือนเดิม" ขึ้น

โดยมีนักวิชาการ ผู้กำกับภาพยนตร์และนักวิจารณ์ภาพยนตร์ ร่วมพูดคุยในประเด็นเรื่องอิทธิพลของสื่อสารมวลชนที่มีต่อเหตุการณ์ 9/11 ถึงการสร้างความรับรู้ของเหตุการณ์ ไปจนถึงการสร้างตัวตนใหม่ให้กับชาวมุสลิมในทรรศนะของผู้รับสารด้วย

"เกษม เพ็ญภินันท์" อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายสภาพสังคมภายในของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานั้นว่า มีความพยายามที่จะสร้างหรือให้พลเมืองสหรัฐเชื่อไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้สื่อในประเทศนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อให้พลเมืองของตัวเชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับสหรัฐมันคืออะไร และสหรัฐมีศักยภาพพอจะทำอะไรได้บ้าง จนนำไปสู่การเข้าไปจัดการกับกลุ่มอัลเคด้าและซัดดัม ฮุสเซน อดีตผู้นำเผด็จการของอิรักในที่สุด ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ใช้แค่การทำสงครามหรือแค่ต้องการผลประโยชน์น้ำมันใน ตะวันออกกลางเท่านั้น 



อีกด้านหนึ่ง มันได้ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกามีบทบาท มีสถานะและความเชื่อมั่นในบทบาทของประเทศตัวเองอย่างไร ซึ่งผลของการชวนเชื่อนี้ คือผลสำเร็จของ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช อดีตประธานาธิบดี ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศและนโยบายภายในประเทศ จนสามารถชนะการเลือกตั้งในสมัยที่ 2 ได้ ทั้งยังได้พันธมิตรที่กระโดดเข้าร่วมวงประกาศสงครามกับลัทธิการก่อการร้าย ด้วย

สอดคล้องกับมุมมองของ "ชญานิน เตียงพิทยากร" นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ที่บอกว่า แน่นอนเหตุการณ์ 9/11 สหรัฐจะต้องทำให้ทุกคนเห็นว่า เขาเป็นผู้ถูกกระทำและรับไม่ได้กับการกระทำนี้ ซึ่งภาพความเสียหายนี้ยังมีอิทธิพลถึงขนาดที่ประธานาธิบดีบุชสามารถพูดต่อ ประชาคมโลกว่า "ถ้าคุณไม่อยู่ฝั่งเราก็เป็นศัตรูของเรา แต่ถ้าคุณอยู่ฝั่งตรงข้ามกับผู้ก่อการร้ายคุณก็ต้องมาเป็นพวกกับเรา" ซึ่งผลของมันทำให้มีหลายประเทศลงไปอยู่ในบ่วงของสงคราม เข้าไปจัดการอัฟกานิสถาน จัดการอิรัก


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1347350978&grpid=&catid=02&subcatid=0202 

ถอดรหัส′โพล′ ตีกรอบ′การแข่งขัน′ ฤดูกาลใหม่′เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์

ถอดรหัส′โพล′ ตีกรอบ′การแข่งขัน′ ฤดูกาลใหม่′เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์




โพลล่าสุดของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 กันยายน มีตัวเลขเชิงเปรียบเทียบที่น่าสนใจ

ภายใต้ หัวข้อ 1 ปีรัฐบาล ประชัน 1 ปีฝ่ายค้าน

เป็น การเปรียบเทียบระหว่าง รัฐบาลที่นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับ ฝ่ายค้าน ที่นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

หลังจากขับเคี่ยวกันมา 1 ปี จนเดินหน้าเข้าสู่ปีที่ 2

ใครประสบความสำเร็จ ใครล้มเหลว ประชาชนเป็นผู้กดคะแนน ผ่านผลสำรวจ ครั้งนี้

ในคำถามถึงความพอใจต่อนโยบายสาธารณะ อาทิ นโยบายด้านสุขภาพ และการป้องกันภัยพิบัติ

ตัวเลขเทไปทางพรรคเพื่อไทย

นโยบายค่าครองชีพ และแก้ปัญหายาเสพติด คะแนนพอใจของพรรคเพื่อไทยสูงกว่า ก็จริง แต่ยังไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์

ส่วนนโยบายด้านการศึกษา พรรคประชา ธิปัตย์ชนะ ด้วยคะแนนพอใจ ร้อยละ 46.7

ขณะที่พอใจพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 40.2

นโยบายด้านสินค้าทางการเกษตร ตัวเลขไม่ต่างกันนัก ร้อยละ 34.5 พอใจต่อพรรค เพื่อไทย ร้อยละ 35.1 ต่อพรรคประชาธิปัตย์

เป็นตัวเลขที่เตือนให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งสปีดการทำงานทันที 


ในเรื่อง "จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส" ของ 2 พรรค


การ แข่งขันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย การเข้าถึงประชาชน เป็นรัฐบาลจากเลือกตั้ง ความชัดเจนในนโยบายสาธารณะ ร้อยละ 52.6 ระบุพรรคเพื่อไทยมีจุดแข็งมากกว่า ส่วนพรรคประชาธิปัตย์อยู่ ที่ร้อยละ 34.1

ถือว่าต่างกันมาก

ส่วน "จุดอ่อน" เช่น ไม่แข่งขันกันในเชิงนโยบายสาธารณะ เอาแต่เล่นการเมือง มุ่งแย่งชิงอำนาจกันเกินไป คอยแต่จับผิดแต่เรื่องไม่เป็นเรื่อง ผิดจริยธรรมทางการเมือง ฯลฯ

ศพไพร่ไร้ค่า ตายห่าช่างหัวมัน

ศพไพร่ไร้ค่า ตายห่าช่างหัวมัน 


Somyot-Redpower's picture
โดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข

 

80  ปีบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากราชาธิปไตย มาเป็นประชาธิปไตยของไทยเราเต็มไปด้วยชีวิต เลือดเนื้อ กองกระดูกของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยครั้งแล้วครั้งเล่า จอมพลสฤษดิ์  ธนรัชต์ ใช้อำนาจเผด็จการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์จำนวนมากโดยไม่มีความผิด เช่นเดียวกันกับการสังหารหมู่ประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519, พฤษภาทมิฬ 2535  ล่าสุด 19 พฤษภาคม 2553 ทั้ง 4 เหตุการณ์นองเลือดเป็นอาชญากรรมของรัฐเผด็จการทหาร และรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ โดยที่ไม่มีใครรับผิดชอบต่อการสูญเสีย  และไม่มีใครต้องถูกประณาม หรือถูกตำหนิ ถูกดำเนินคดีให้ต้องรับโทษทัณฑ์ บรรดาขุนศึกนายทหารที่เกี่ยวข้องกับการเข่นฆ่าประชาชนอย่างป่าเถื่อนล้วน ดำรงอยู่ในตำแหน่งเกียรติยศ เป็นที่เชิดหน้าชูตาอยู่ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นถนอม  กิตติขจร,  ประภาส  จารุเสถียร,   ณรงค์  กิตติขจร,  สงัด  ชะลออยู่,  สุจินดา  คราประยูร  ฯลฯ  บางคนยังได้ดิบได้ดี เป็นผู้มีบารมีมากล้น  และอิทธิพลกว้างขวางจนถึงทุกวันนี

ส่วนคนที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยถูกยิงตายกลางถนน  กว่าจะได้อนุสาวรีย์รำลึกถึงพวกเขาต้องใช้เวลาอยู่หลายปี ที่มีการจัดงานรำลึกประจำปีเป็นงานซังกะตาย ไร้คุณค่าความหมาย เป็นงานพิธีกระจอกงอกง่อย สับปะรังเค  จนสังคมส่วนใหญ่ลืมสนิทไปเสียแล้ว และไม่รู้เรื่องราวเหล่านี้แม้แต่น้อยด้วยซ้ำไป

บรรดาคนเป็น  ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ไต่เต้าสู่ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ในที่สุดพวกเขาเป็นได้แค่ลิ่วล้อสถุลของระบบการเมืองแบบเก่าเท่านั้น

แม้แต่ในเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงจนเสียชีวิตเป็นใบไม้ร่วงกลางถนน  94  ศพ ระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553  เหตุการณ์ผ่านมา 2 ปี ยังหาฆาตกรไม่พบ และไม่มีใครหน้าไหนต้องรับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิต ผู้ที่เป็นรัฐบาลในขณะนั้นยังหน้าด้านปฏิเสธหน้าตาเฉยอีกว่า ไม่ได้สั่งการให้ทหารยิงประชาชน