หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การริเริ่มสร้างรัฐสวัสดิการในยุโรป

การริเริ่มสร้างรัฐสวัสดิการในยุโรป
 

 
แนวคิดสำคัญที่ก่อหวอดให้มีการพูดถึงบทบาทของรัฐ ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความไม่เป็นธรรมทางชนชั้น คือ แนวคิดสังคมประชาธิปไตย (Social democracy) แก่นแกนของความคิดนี้มองว่า รัฐต้องมีหน้าที่ดูแลบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนเพื่อลดความยากจน 

โดย พจนา วลัย 


ในยุโรป นโยบายแรกๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของรัฐในการจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชน ก่อนหน้าที่จะมีการใช้คำว่ารัฐสวัสดิการ คือ นโยบายประกันอุบัติเหตุในสถานประกอบการ (ปี 1884) นโยบายประกันสุขภาพ (ปี 1883) ของประเทศเยอรมนี และขยายไปยังประเทศใกล้เคียง ในปี 1920 ประเทศในยุโรปจำนวน 10 ประเทศยอมรับรูปแบบของรัฐว่าต้องรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของการว่างงาน เช่น การให้ค่าครองชีพแก่ครอบครัว  ต่อมาคำว่า “รัฐสวัสดิการ” (welfare state) ถูกใช้อธิบายรัฐอังกฤษหลังปี 1945 เป็นครั้งแรกและใช้ทั่วยุโรป โดยความหมายครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ในแง่สังคม คือ การเรียกร้องให้มีการสร้างหลักประกันสังคมเพื่อความเสมอภาคด้านโอกาส ส่วนในแง่เศรษฐกิจคือ การหยุดยั้งความยากจนและการว่างงานทั่วไป
 
ตัวอย่างกฎหมายและระเบียบสำคัญๆ ในการวางรากฐานของรัฐสวัสดิการในสวีเดน ได้แก่

1847    ระเบียบว่าด้วยการอภิบาลคนจน
1889    กฎหมายคุ้มครองการประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน
1901    กฎหมายเกี่ยวกับเงินชดเชยกรณีประสบอุบัติเหตุในที่ทำงาน
1912    กฎหมายคุ้มครองการทำงาน
1914    การประกันสังคมทั่วไป
1919    การทำงานวันละ 8 ชั่วโมง
1931    เงินช่วยเหลือจากรัฐยามป่วยไข้
1934    การประกันการตกงาน
1935    กฎหมายเกี่ยวกับเงินบำนาญประชาชน
                        ฯลฯ

รัฐสวัสดิการถูกสร้างในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังปีค.ศ. 1945  เห็นได้จากการเสนอรายงานประกันสังคมของ เซอร์วิลเลียม เบเวอร์ริดจ์(Sir William H. Beveridge) ต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน ประเทศสหราชอาณาจักร  เซอร์เบเวอร์ริดจ์ มองว่ารัฐจำเป็นต้องขจัดความชั่วร้ายทางสังคม และประกันการจ้างงานเต็มที่ รวมถึงสร้างหลักประกันสังคมจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน การบริการสาธารณสุขแห่งชาติ การเคหะ เงินบำนาญสำหรับผู้สูงวัย และควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่คือ เคนเชียน (Keynesianism)
 
เราสามารถกล่าวได้ว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคทองของการสร้างรัฐสวัสดิการ(ค.ศ.1945-1975) กล่าวคือ

1) มีการปฏิรูประบบรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า มาตรฐานเดียว ครอบคลุม บนฐานคิดสิทธิความเป็นพลเมืองร่วมกัน

2) จัดการทรัพยากรให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างกว้างขวางสอดรับกับระบบสวัสดิการถ้วนหน้า

3) สร้างฉันทามติทางการเมืองให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบผสมผสาน(รัฐและ เอกชน) และการจัดระบบสวัสดิการสังคมที่ขยายการบริการสาธารณะ

4) มีพันธกิจต่อการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและจ้างงานเต็มที่  อย่างไรก็ตามเกิดวิกฤตของรัฐสวัสดิการในยุคหลัง 1970 เป็นต้นไป เนื่องจากถูกโต้แย้งโดยนักเสรีนิยม
 
แนวคิดสำคัญที่ก่อหวอดให้มีการพูดถึงบทบาทของรัฐในการแก้ไขปัญหาความยากจน และความไม่เป็นธรรมทางชนชั้น คือ แนวคิดสังคมประชาธิปไตย (Social democracy) แก่นแกนของความคิดนี้มองว่า รัฐต้องมีหน้าที่ดูแลบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนเพื่อลดความยากจน และเพื่อรักษาระเบียบของรัฐเอาไว้ รวมถึงการขยายสิทธิและการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเทศอย่างเต็มที่ เช่น สิทธิในการเลือกตั้งทั่วไป

นโยบายสวัสดิการ การจัดเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า ซึ่งมาจากการผลักดันของพรรคการเมืองแนวทางสังคมประชาธิปไตย ได้แก่ พรรคสังคมประชาธิปไตยในเยอรมนี(German Social Democracy Party) พรรคสังคมประชาธิปไตยในสวีเดน(Social Democracy of Sweden) ซึ่งเป็นพรรคที่ครองเสียงข้างมากและเป็นรัฐบาลอยู่ถึง 44 ปี(ค.ศ.1932-1976) และคืนอำนาจในปี 1982 สลับกันขึ้นครองอำนาจกับพรรคของนายทุน พรรคแรงงานในอังกฤษ(Labour Party of Britain)
 
ต่อมารัฐสวัสดิการในยุโรปถูกโต้แย้งว่า จากการที่รัฐเก็บภาษีสูง ทำให้การลงทุนหดตัว ทำลายการแข่งขัน เกิดปัญหาเงินเฟ้อ เงินออมมีน้อยลง ไม่ได้ช่วยให้จำนวนคนว่างงานลดลง อย่างไรก็ตาม สวีเดนเป็นประเทศหนึ่งที่ยังคงรักษาความเป็นรัฐสวัสดิการเอาไว้ได้ ซึ่งมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ยังดำรงอยู่ ได้แก่ การที่ประชาชนออกมาเรียกร้องให้รักษาไว้ เป็นต้น

แนวคิดสังคมประชาธิปไตย
 
แนวคิดสังคมประชาธิปไตยเป็นแนวคิดว่าด้วยรัฐ สิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางปัญหาความยากจน ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้  หากสืบสาวแนวคิดสังคมประชาธิปไตย สามารถกล่าวได้ว่าเริ่มต้นจากเฟอร์ดินานด์ ลาซาลล์ ในทศวรรษ 1880 เป็นต้นมา หรือช่วงของการเกิดสากลที่ 2 (Second International) ภายใต้เงื่อนไขบริบทของสังคมยุโรปที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการริเริ่มทางความ คิดว่าด้วยรัฐสวัสดิการ คือ ความขัดแย้งทางการเมืองในระบอบการปกครองของกษัตริย์ เผด็จการทหาร การเกิดการปฏิวัติรัสเซีย การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ที่นำไปสู่กระแสความตกต่ำของรัฐสมัยนั้น จึงมีขบวนการเรียกร้องต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ไม่ให้กดขี่ประชาชน
 
เฟอร์ดินานด์ ลาซาลล์(Ferdinand Lassalle) ชาวปรัสเซียน (ค.ศ.1825-1864) ซึ่งยังอยู่ในยุคของคาร์ล มาร์คซ์ เป็นผู้นำสำคัญในขบวนการสังคมนิยมในประเทศเยอรมนี ได้ก่อตั้งกลุ่ม General German Workers’ Association (ADAV) และรวมกับกลุ่ม League of German Workingmen’s Association ก่อตั้งโดยลิบเนค(Liebknecht) และเบเบล(Bebel) เป็นพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี ในยุคของรัฐบาลเผด็จการบิสมาร์ค(Bismarck) เป็นนายกรัฐมนตรี(ค.ศ.1861) แห่งจักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Reich หรือ German Empire)
 

ลาซาลล์ เชื่อมั่นในพลังการต่อสู้ของชนชั้นแรงงาน เขาจึงเสนอให้มีการจัดตั้งพรรคแรงงานที่เป็นอิสระจากชนชั้นกลาง และได้เป็นประธานกลุ่ม ADAV ซึ่งต่อมาพัฒนามาเป็นพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี 

ทว่าความคิดของลาซาลล์ แตกต่างจาก คาล มาร์กซ์ เนื่องจากลาซาลล์ให้ความหมายคำว่า “รัฐ” แตกต่างโดยเขาใช้แนวคิดอุดมคติของเฮเกล กล่าวคือ เขามองว่า รัฐคือเครื่องมือในการปรับปรุงสภาพความยากลำบากของแรงงาน เพราะทุนนิยมไม่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้แก่แรงงานได้เลย อีกทั้งกลไกตลาดจะนำไปสู่วิกฤต การล้มละลายและการสะสมทุนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้รัฐจึงต้องมีบทบาทในการดูแลสถานะของผู้ใช้แรงงาน เช่น สนับสนุนเงินกู้ยืมสำหรับจัดตั้งสหกรณ์ผู้ผลิต รัฐต้องเข้ามาแทรกแซงกลไกตลาด และควรเป็นรัฐสวัสดิการเพื่อทำหน้าที่ในการสร้างความมั่นคงให้แก่มนุษยชาติ ในขณะที่มาร์กซ์ไม่เชื่อว่า สหภาพแรงงานจะสามารถปรับปรุงสภาพการทำงานและเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงภายใต้ ระบบทุนนิยมและกลไกรัฐที่เป็นอยูj

ลาซาลล์ยังให้ความหมาย “สังคมนิยม” ว่าคือประชาธิปไตยในทางการเมือง การเลือกตั้ง เสรีภาพในการพิมพ์และการรวมตัว การลงประชามติ รัฐเป็นตัวแทนเจตจำนงของประชาชนโดยรวม เขาเชื่อว่าการเลือกตั้งจะเป็นหนทางที่ประชาชน รวมทั้งแรงงานสามารถพัฒนาได้ แต่รัฐจะเป็นผู้วางบทบาทตำแหน่งของปัจเจกบุคคลให้บรรลุเป้าหมายและรักษา ระดับความมีอยู่ เช่น ให้เข้าถึงการศึกษา อำนาจ เสรีภาพของความเป็นมนุษย์
 
เขาและผู้นำเช่นลิบเนคและเบเบลมีความคิดเห็นตรงกันในเรื่องบทบาทของรัฐ การเลือกตั้ง กฎหมายที่จะทำให้สังคมสงบสุขได้ ด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และการผลักดันให้พรรคการเมืองของแรงงานเข้าสู่อำนาจรัฐ ลาซาลล์จึงถูกขนานนามว่าเป็นนักปฏิรูปไม่ใช่นักปฏิวัติ ดังเห็นได้จาก Gotha Program ของพรรคสังคมประชาธิปไตยของเยอรมนี(SPD) อันเป็นนโยบายพรรคที่จัดทำขึ้นในวันที่ 23-27 พฤษภาคม ปีค.ศ. 1875 สะท้อนความคิดของเขา คือ การให้รัฐเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาของแรงงาน เช่น การจ้างงาน ขจัดการเอารัดเอาเปรียบทุกรูปแบบ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ให้มีสหกรณ์ของแรงงานภายใต้การสนับสนุนของรัฐแต่บริหารงานควบคุมโดยแรงงาน นั่นคือการใช้กลไกรัฐที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อแรงงาน
 
มรดกทางความคิดของลาซาลล์ที่จะพัฒนาแนวทางสังคมนิยมเป็นที่ถกเถียงในบรรดา นักสังคมนิยมในเวลาต่อมา เช่น เบิร์นสไตน์ เคาสกี้ แต่ในที่สุดเยอรมนีได้นำเอาแนวทางของลาซาลล์มาใช้ คือ แนวทางสังคมประชาธิปไตย ประนีประนอมระหว่างสังคมนิยมกับเสรีนิยมประชาธิปไตย แต่ทว่าการใช้ประโยชน์จากกลไกรัฐภายใต้การนำของบิสมาร์คไม่ประสบความสำเร็จ

อีกทั้งแนวคิดนี้อ่อนกำลังลงในช่วงที่มีการประกาศกฎหมายต่อต้านสังคมนิยม หรือเรียกว่า Socialist Law เป็นเวลา 12 ปี(1878-90)  ทั้งนี้ บิสมาร์คเกรงว่าพรรคสังคมนิยมจะขยายตัวเติบใหญ่จนคุกคามอำนาจรัฐของตนได้ การหยิบยื่นโครงการประกันสุขภาพและตามด้วยการประกันอุบัติเหตุในปี 1884 จึงมีเป้าหมายเพื่อช่วงชิงความจงรักภักดีจากคนงาน และเพื่อแยกสลายขบวนการสังคมนิยม

แนวคิดสังคมประชาธิปไตยในประเทศไทย

แนวคิดสังคมประชาธิปไตยเคยถูกใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างการ เมืองเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ระบุไว้ในเค้าโครงเศรษฐกิจของท่าน ปรีดี พนมยงค์ โดยกล่าวว่า

“ความไม่เที่ยงแท้ในการเศรษฐกิจเป็นอยู่เช่นนี้ จึงมีนักปราชญ์คิดแก้ โดยวิธีให้รัฐบาลประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร(Social Assurance) กล่าวคือ ราษฎรที่เกิดมาย่อมได้รับประกันจากรัฐบาลว่า ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งสิ้นชีพ ซึ่งในระหว่างนั้นจะเป็นเด็ก หรือเจ็บป่วย หรือพิการ หรือชรา ทำงานไม่ได้ก็ดี ราษฎรก็จะได้มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม สถานที่อยู่ ฯลฯ 
ปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต เมื่อรัฐบาลประกันได้เช่นนี้แล้ว ราษฎรทุกคนจะนอนตาหลับ เพราะตนไม่ต้องกังวลว่า เมื่อเจ็บป่วยหรือพิการหรือชราแล้ว จะต้องอดอยาก หรือเมื่อตนมีบุตรจะต้องเป็นห่วงใยบุตร เมื่อตนได้สิ้นชีพไปแล้วว่า บุตรจะอดอยากหรือหาไม่ เพราะรัฐบาลเป็นผู้ประกันอยู่แล้ว การประกันนี้ย่อมวิเศษยิ่งกว่าการสะสมเงินทอง เพราะเงินทองนั้นเอง ก็ย่อมเป็นของไม่เที่ยงแท้ดั่งได้พรรณนามาแล้ว”
 
นอกจากนี้ ยังเห็นได้จากนโยบายหนึ่งที่สะท้อนแนวคิดสังคมประชาธิปไตยคือ การให้มีการจัดเก็บภาษีมรดกเพื่อนำไปจัดสรรบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ถูกฝ่ายตรงข้ามขัดขวางสำเร็จในที่สุด หน่ออ่อนของการนำแนวคิดสังคมประชาธิปไตยดังกล่าวจึงถูกสกัดออกไปจากสังคมไทย ในช่วงนั้น
 
นอกจาก ปรีดี พนมยงค์ แล้วยังมีนักคิดในแนวทางเดียวกันนี้อีก ได้แก่ แคล้ว นรปติ หัวหน้าพรรคแนวร่วมสังคมนิยม พ.อ.สมคิด ศรีสังคม ผู้ตั้งพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ทองปัก เพียงเกษ ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จากแนวคิด “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” 

ทั้งนี้ในช่วงของการต่อสู้สมัย 14 ตุลาคม 2516 พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยและพรรคแนวร่วมสังคมนิยมได้รับการยอมรับ และได้ที่นั่งในรัฐสภาในการเลือกตั้งเดือนมกราคม 2518  อย่างไรก็ตาม การเบ่งบานทางความคิดทางด้านสังคมนิยมถูกทำลายโดยเผด็จการ จากเหตุการณ์ปราบปรามนักศึกษาวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นักคิดนักสู้แนวทางสังคมนิยมถูกจับด้วยข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ คุกคามความสงบของสังคมไทย หลายคนหลบหนีเข้าป่า เช่นเดียวกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จากนั้นขบวนการสังคมนิยมในประเทศไทยจึงปิดฉากลง
 
แม้ว่าขบวนการสังคมนิยมในประเทศไทยจะถูกปราบปรามอย่างหนัก แต่ความคิดสังคมประชาธิปไตยยังคงดำรงอยู่ ดังเห็นจากแนวคิด “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ที่ ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติ เป็นเพียงแต่การพูดถึง ล่าสุดในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์นำโดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการเสนอยกเลิกกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้วร่างกฎหมายใหม่ แทนคือ ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ....... ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 เห็นชอบ พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม และจะไปสู่การบรรจุในการพิจารณาของสภาฯ แน่นอนในวาระแรก แต่ทว่ารัฐบาลชุดนี้จะพิจารณาไม่ทัน เพราะได้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกรกฎาคม 2554

ท้ายที่สุด ร่างกฎหมายนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาแต่อย่างใดภายใต้รัฐบาลนำโดยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แม้จะมีกระแสเสียงเสนอให้เก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้ากับทุกส่วน ไม่เว้นแต่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดย นักวิชาการเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจากภาคประชาชน ทั้งนี้ ภาษีอัตราก้าวหน้าคือหนทางหลักของการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน เพื่อนำเงินรายได้ไปจัดสวัสดิการถ้วนหน้ามาตรฐานเดียวและมีคุณภาพตั้งแต่ เกิดจนตาย ที่เราในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมควรผลักดันกันต่อไป
 
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/12/blog-post_8.html?spref=fb

หยั่งเชิงกองทัพ ควันหลง"ม็อบ เสธ.อ้าย" กับความเคลื่อนไหวที่ "นายกฯ ปู" กลัวเรื่องของ"ป.-ด.-ย.-ก.-ศ."

หยั่งเชิงกองทัพ ควันหลง"ม็อบ เสธ.อ้าย" กับความเคลื่อนไหวที่ "นายกฯ ปู" กลัวเรื่องของ"ป.-ด.-ย.-ก.-ศ."



คนไทยกำลังเข้าสู่โหมดแห่งความสุขของเทศกาลเฉลิมฉลอง ยาวตั้งแต่ เฉลิมพระชนมพรรษา ไปจนถึง คริสต์มาส และปีใหม่

รวม ทั้งทหารในกองทัพ ที่ก็ถอนหายใจอย่างโล่งอก หลัง เสธ.อ้าย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประกาศยุติการชุมนุม เมื่อ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

ต้อง ยอมรับว่า ช่วงการชุมนุมนั้น กองทัพเครียดไม่น้อย เพราะมีแรงยุให้ออกมาปฏิวัติรัฐประหาร และหวั่นเกรงกันว่าจะเกิดเหตุรุนแรงครั้งใหญ่ เพื่อล้มรัฐบาล

ยิ่ง เครียดหนัก เมื่อ พล.อ.บุญเลิศ ไล่โทรศัพท์หา ผบ.หน่วย และเดินบุกไปทั้งที่ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) เพื่อขอพบ บิ๊กต้อม พล.ต.วราห์ บุญญะสิทธิ์ ผบ.พล.1 รอ. แล้วเดินไปกองทัพภาคที่ 1 เพื่อขอพบ บิ๊กต๊อก พล.ท.ไพบูลย์ คุ้มฉายา แม่ทัพภาคที่ 1 เพื่อขอให้ส่งทหารออกมาช่วยเหลือประชาชน ที่โดนตำรวจใช้แก๊สน้ำตา

แต่ ก็ไม่มีใครยอมให้เข้าพบ เนื่องจากเป็นคำสั่งของ บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ที่ไม่ต้องการให้ทหารไปยุ่งเกี่ยว และไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะนำกำลังออกไป มีแต่คำสั่งให้เตรียมพร้อมในที่ตั้งเท่านั้น

แม้จะโทรศัพท์ถึง บิ๊กโด่ง พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เสธ.ทบ. และ บิ๊กหนุ่ย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รอง ผบ.ทบ. แต่คำตอบที่ได้ก็เหมือนกัน ทหารออกไปไม่ได้

จนที่สุดทำให้ พล.อ.บุญเลิศ ยุติการชุมนุม

ดูเหมือน คลื่นลมในช่วงปีใหม่จะสงบลง...

แต่ ฝ่ายรัฐบาลยังไม่วางใจสถานการณ์ เพราะส่อเค้าว่า หลังวันเฉลิมพระชนมพรรษา เช่น วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม อาจมีเฮือกสุดท้ายของปีนี้ ด้วยเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 และการเข้าเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ที่ ผบ.ทบ. ออกมาต่อต้าน เพราะห่วงกระทบคดี 98 ศพเสื้อแดง และมีการปลุกกระแส การลดพระราชอำนาจ อีกด้วย

อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมา เกิดคำถามทำนองว่า กระบวนการ "ตุลาการภิวัฒน์" มีแบบเงียบๆ อีกแล้วหรือ โดยหยิบเอาหลายคดีมาวิเคราะห์ ซึ่งจะจริงหรือไม่ ไม่ทราบ ทั้งศาลปกครองรับฟ้องคดี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อง บิ๊กโอ๋ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ที่ปลดและถอดยศร้อยตรีของเขา ถึงขั้นที่นายอภิสิทธิ์เชื่อมั่นก่อนหน้านั้นเสียอีกว่า ศาลจะรับฟ้อง และเชื่อว่า พล.อ.อ.สุกำพล จะมีความผิดและถูกถอดยศ พลอากาศเอก ด้วย

(อ่านต่อ) 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355031920&grpid=01&catid=&subcatid=

ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์


 
โดย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล


๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม) 

"พระเจ้าแผ่นดินทำอะไรไม่มีผิด  เพราะฉนั้นเปนผู้ที่อยู่เหนือกฎหมายอาญาแลศาลอาญาในเมืองของท่าน  โดยเหตุนี้เราไม่จำเปนจะต้องพิจารณาว่า  การที่ท่านกระทำสิ่งนั้น ๆ จะผิดกฎหมายอาญา  หรือถูกกฎหมายอาญาแต่อย่างใด  แลอีกประการหนึ่งไม่สมควรที่เราจะคาดคะเนหรือสงไสยว่า  บางทีการสิ่งนั้นที่ท่านทำจะไม่เปนการสมควร  หรือเปนสิ่งที่ไม่ถูกกฎหมาย 

เมื่อกฎหมายถือว่าพระเจ้าแผ่นดินทำอะไรไม่มีผิดดังนี้ก็ดี  ยังต้องคิดถึงผู้ที่เปนเเครื่องมือของพระเจ้าแผ่นดินอยู่  เช่นข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยต่าง ๆ ที่พระเจ้าแผ่นดินได้ตั้งแต่งไว้ไปกระทำสิ่งใดลง  หรือสั่งการสิ่งใดในหน้าที่ที่ผิดกฎหมายอาญาแล้ว  ผู้ใดกระทำตามคำสั่งที่ผิดนั้นต้องมีโทษ  จะไปซัดว่าผู้ที่มาสั่งหรือใช้ให้ตนกระทำเช่นนั้น  เปนผู้ได้รับอำนาจความตั้งแต่งจากพระเจ้าแผ่นดิน  ตนจึงกระทำตามคำสั่ง  แลเมื่อตามกฎหมาย  พระเจ้าแผ่นดินเปนผู้กระทำสิ่งใดไม่มีผิด  ผู้ที่รับอำนาจความตั้งแต่งมาสั่งการตามหน้าที่  ก็คงต้องไม่มีผิด  เขาผู้กระทำตามก็ควรไม่มีผิด  จะเถียงเช่นนั้นไม่ได้  ผู้ใดกระทำตามคำสั่งหรือคำบังคับที่ผิดกฎหมายอาญาแล้ว  ต้องมีโทษตามโทษานุโทษ"


โดยดู ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม). หลักกฎหมายอาญา : เปนคำอธิบายหัวข้อกฎหมายอาญาต่าง ๆ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนคร : โสภณพิพรรฒธนากร. รัตนโกสินทร ศก ๑๒๖. หน้า ๑๘ - ๒๐. 

_____________________________


๒.อำนาจอภิสิทธิ์ขององคาพยพของกษัตริย์

"ในการที่ศาลจะมีหมายถึงเจ้าพนักงานกรมอื่นให้ทำการอย่างใดนั้น  ขอให้ระวังบ้าง  ต่อการใดจำเปนที่เขาต้องทำตามกฎหมายจึ่งควรมีเปนหมายสั่งไป  ถ้าการสิ่งใดไม่มีกฎหมายบังคับ  ว่าเขาต้องทำตามคำสั่งของศาล ๆ ไม่ควรมีหมายไป  เพราะกระทรวงก็มีอำนาจเท่า ๆ กัน  ศาลจะบังคับเขาไม่ได้  ศาลควรแจ้งความไปตามทางราชการ...อีกอย่างหนึ่ง ก็เรื่องโจทก์ฟ้องกรมแลกระทรวงเปนจำเลย  ศาลอย่ามีหมายไปยังกรมอัยการเลย  ให้มีเปนหนังสือแจ้งความไปยังเจ้ากรมอัยการ  เพราะเขาจะมาแก้ความก็ได้ไม่มาก็ได้  ศาลบังคับกรมแลกระทรวงเหล่านั้นไม่ได้  เปนน่าที่โจทก์ต้องทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา  ถ้ากรมแลกระทรวงจะมาแก้ความแล้วก็ได้  โดยเขาไม่ถืออำนาจ  ศาลจึ่งตัดสินได้เหมือนอย่างความธรรมดา... ขอให้เปนที่เข้าใจว่า  เขายอมให้ชำระเรื่องหนึ่ง  อย่าเข้าใจว่ายอมให้ชำระทุกเรื่อง  ต้องว่ากันเปนเรื่อง ๆ ไป"


โดยดู กฎที่ ๖๐ ว่าด้วยการที่ศาลจะมีหมายถึงกรมแลกระทรวงต่าง ๆ. กฎให้ไว้มาณวันที่ ๒๘ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙. โดยดู หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) . ประชุมกฎหมายไทย. ภาค ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : นิติสาส์น. หน้า ๕๔๒.

ปีศาจแห่งกาลเวลา (บทบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกันปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555)

ปีศาจแห่งกาลเวลา (บทบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกันปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555)

 

 

 

ปีศาจแห่งกาลเวลาแม้องค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) จะประกาศรหัส “901” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันเป็นฤกษ์ยามของการชุมนุม เพื่อหลอมรวมจิตใจของพสกนิกรให้ออกมาขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์  ชินวัตรยิ่งไปกว่านั้น แกนนำการชุมนุมยังมั่นใจว่าข้อหาหมิ่นกษัตริย์จะเป็น “หมัดน็อค” ได้ ถึงขนาดเปิด “คลิปหมิ่นเจ้า” กลางเมืองหลวง โจมตีเครือข่ายทักษิณและขบวนการคนเสื่อแดงที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ทว่าก็ไม่สามารถเรียกทั้งประชาชนผู้จงรักภักดีทหาร และผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนญู ให้เข้ามาร่วม “แชแข็งประเทศไทย” ตามนัดหมายได้ เพียงเวลาไม่ถึง10 ชั่วโมง การชุมนุมดังกล่าวก็ต้องสลายตัวลง

ปรากฏการณ์ดังกล่าวแม้ไม่ได้บอกว่าพลังอนุรักษนิยมหมดน้ำยาลงอย่างสิ้น เชิงแล้ว แต่อย่างน้อยก็ชี้ได้ว่าพลังกลุ่มนี้อ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด อุดมการณ์ “ราชาชาตินิยม” เสื่อมมนต์ขลัง ใช้ไม่ได้ผลเหมือนเก่าการสถาปนาพระราชอำนาจนำโดยอาศัยอุดมการณ์ราชาชาตินิยม เป็นธงนำเป็นกระบวนการที่เริ่มต้น ขึ้นอย่างจริงจังในชว่งทศวรรษ 2490-2510 ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475ที่ฝ่ายชนชั้นนำจารีตกลับมาเป็นฝ่ายรุกทางอุดมการณ์-ความคิด กระบวนการดังกล่าวสถาปนาตั้งมั่นได้หลัง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และอาศัย ช่วงเวลาภายใต้ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบสร้างเครือ ข่ายอำนาจที่เข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับ กระทั่งสามารถสร้างให้ “ราชา” กลายเป็นหนึ่งเดียวกับ “ชาติ” ได้

มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้การสถาปนาพระราชอำนาจนำตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2490 ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางการเมือง - วัฒนธรรมแบบอนุรักษนิยมที่หลงเหลืออยู่ การหนุนหลังของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น การสร้างอำนาจบารมีและความเป็นธรรมราชาผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับข้าราชการ ปัญญาชน และพสกนิกรไปด้วยในตัว ตลอดจนการควบคุมการสื่อสารทางเดียวให้เห็นแต่แง่งามอย่างไรก็ดี ปัจจัยเหล่านี้ยากจะคงสภาวะเดิมสืบเนื่องไปตลอดหรือผลิตซ้ำได้ ประกอบกับสภาวะความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่าง “ราชา” กับ “ชาติ” ก็มีข้อจำกัดและความเปราะบางในตัวเองความปรารถนาของชนชั้นนำจารีตที่จะ “แช่แข็ง” ประเทศ เพื่อหยุดกาลเวลา หยุดความเปลี่ยนแปลงเมื่อต้องเผชิญกับการท้าทายครั้งใหญ่จากเครือข่ายอำนาจ ใหม่ที่ถูกสร้างภาพให้เป็น “ปีศาจ” ในนามของ“ระบอบทักษิณ” จึงไม่ใช่อะไรมากไปกว่าอาการละเมอหวาดกลัว

เป็นความละเมอหวาดกลัวดังคำของสาย สีมา ตัวเอกในนิยายเรื่อง ปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ที่กล่าวต่อหน้าสมาคมของชนชั้นสูงว่า “ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว และไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้ เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลาที่จะสร้างปีศาจเหล่านี้ให้ มากขึ้นทุกที ท่านคิดจะทำลายปีศาจตัวนี้ ในคืนวันนี้ต่อหน้าสมาคมชั้นสูงเช่นนี้ แต่ไม่มีทางจะเป็นไปได้… เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา ท่านอาจจะเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ไดบ้างสิ่งบางอย่างชั่วครั้ง ชั่วคราว แต่ท่านไม่สามารถจะรักษาทุกสิ่งทุกอย่างไว้ได้ตลอดไป”แตในช่วงปลายรัชกาลนี้ เรื่องอาจกลับตาลปัตรอย่างร้ายกาจ เมื่อโลกเก่า-ความคิดเก่ากำลังเพลี่ยงพล้ำ\อ่อนแรงลง ทว่าแทนที่รัฐบาลที่เป็น “ปีศาจ” ของเหล่าชนชั้นนำจารีต จะใช้โอกาสนี้เร่งถอนรื้อโครงสร้างที่เป็นแขนขามือไม้ของโลกเก่า แล้ววางรากสร้างฐานของโลกใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ กลับพยายามจะลอยตัวไม่กล้าทำอะไร นอกจากรอคอย “เวลา” แห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะต้องมาถึงตามกฎธรรมชาติที่ว่าไม่มีใคร อยู่ค้ำฟ้า

รัฐบาลเพื่อไทย ยังคิดด้วยว่า “เวลา” อยู่ข้างพวกเขา และลำพังอาศัย “เวลา” เป็นอาวุธไร้เทียมทานก็สามารถทำลายโลกเก่าได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปรื้อ ทำลายนั่งร้านค้ำยันโลกเก่าที่กำลังจะตายไปเอง ขอเพียงรักษาตัวให้รอดรอถึงวันที่ “เวลานั้น” มาถึง สังคมใหม่ก็ปรากฏเรืองรองขึ้นต่อหน้าต่อตาโดยอัตโนมัติ

(อ่านต่อ)

อ่าน 'มติชน' อ่านข้อจำกัดรายงานสื่อเรื่องเจ้า

อ่าน 'มติชน' อ่านข้อจำกัดรายงานสื่อเรื่องเจ้า


ฝากรูป 
โดย ประวิตร โรจนพฤกษ์
@PravitR



‘เสียงจากผู้สื่อข่าวต่างชาติเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความทุ่มเทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

‘ซึ่งไม่เพียงแต่ชาวไทยจะรู้ซึ้งเท่านั้น พระเกียรติคุณของพระองค์ยังเป็นที่ยอมรับจากชาวต่างชาติอย่างกว้างขวาง’ 

บทสรุปท้ายสกู๊ปข่าวเรื่อง ‘สนทนาสื่อต่างชาติ ทึ่ง ‘มหาสมาคม 5 ธ.ค.’ หน้า 14 มติชนรายวัน 7 ธันวา 2555

สกู๊ปข่าวมติชนที่ ‘สะท้อน’ มุมมองนักข่าวต่างชาติ 5 คนต่องานฉลอง 5 ธันวา ที่ผ่านมา ตอกย้ำให้ผู้เขียนเห็นถึงความบิดเบี้ยวของสื่อไทยในการรายงานเรื่องเจ้า และการคงอยู่ของกรงขังของการเซ็นเซอร์ตนเองที่สื่อเหล่านั้นอาศัยอยู่


ข่าวเนื้อที่เกือบเศษหนึ่งส่วนสี่ของหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ ซึ่งอ้างว่าสัมภาษณ์มุมมองของผู้สื่อข่าวต่างประเทศ 5 คน เต็มไปด้วยข้อมูลด้านบวกด้านเดียวเกี่ยวกับเจ้า

ผมไม่แปลกใจที่มีแต่ข้อมูลด้านบวก เพราะทั้งมติชนและผู้สื่อข่าวต่างชาติต่างก็คงตระหนัก และพูดเขียนภายใต้ข้อจำกัดของ ม.112

นายเอ็ดเวิร์ด เคอร์นัน ช่างภาพอิสระจากสหราชอาณาจักร หนึ่งใน 5 นักข่าวต่างชาติที่มติชนสัมภาษณ์ พูดเหมารวมถึงขนาดว่า ‘บ้านทุกบ้าน’ มีภาพพระองค์ติด ‘ประดับข้างฝา’ ทั้งๆ ที่หลายคนคงทราบทราบว่าหลายบ้านไม่มีรูปเจ้าประดับข้างฝา รวมถึงบ้านของผู้เขียน

ทางด้านนายทาเคชิ ฟูจิทานิ (Takeshi Fujitani) หัวหน้าสำนักข่าวหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุนประจำประเทศไทยก็ได้ให้สัมภาษณ์ มติชนว่า ‘พระองค์ทรงเป็นบุคคลเดียวที่สามารถสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้กับประชาชน ชาวไทยได้’ แต่มุมมองเช่นนี้ สะท้อนความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ก็ไม่อาจถกเถียงได้อย่างเปิดเผยเชิงวิพากษ์ โดยสื่อไทยและสังคมไทย ภายใต้มาตรา 112

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand


ยิ่งตีความแย่ ยิ่งประจานตัวเอง 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 7 ธันวาคม 2555 ตอน 2
ยิ่งตีความแย่ ยิ่งประจานตัวเอง
http://www.dailymotion.com/video/xvo3t6_ 


คดีอภิสิทธิ์-สุเทพสั่งฆ่า บทพิสูจน์ ความยุติธรรมในสังคมไทย 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 7 ธันวาคม 2555 ตอน 1
คดีอภิสิทธิ์-สุเทพสั่งฆ่า บทพิสูจน์ ความยุติธรรมในสังคมไทย
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Zjt1zfxtqHA  

ชาวบ้านนับหมื่นปะทะตำรวจในจีน

ชาวบ้านนับหมื่นปะทะตำรวจในจีน

 

ชาวบ้านนับหมื่นปะทะตำรวจในจีน

ประชาชนนับหมื่นเข้าร่วมในเหตุปะทะกับตำรวจ ที่เมืองชายแดนจีนติดกับเวียดนาม เหตุไม่พอใจเจ้าหน้าที่ที่ขับรถพุ่งชนมอเตอร์ไซค์ขนสินค้าเถื่อนคันหนึ่ง
 
ตำรวจท้องถิ่นของอำเภอตงซิง ในเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี เปิดเผยทางเว็บบล็อกว่า เมื่อวันศุกร์ ผู้ก่อจลาจลได้ทำลายรถตำรวจและรถตรวจการณ์หลายคัน และได้ปะทะกับกองกำลังความมั่นคง ตำรวจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 5 นาย รถยนต์ที่ใช้ปราบปรามพวกลักลอบขนสินค้าเถื่อนเสียหาย 9 คัน ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต และตำรวจไม่ได้ใช้ความรุนแรง
 
ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ในฮ่องกง บอกว่า มีประชาชนเข้าร่วมในเหตุจลาจลเมื่อวันศุกร์ถึง 10,000 คน รถยนต์ของตำรวจและศุลกากรกว่า 20 คันได้ถูกทุบหรือถูกเผา และมีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บถึงประมาณ 100 คน โดยมีการเสริมกำลังตำรวจปราบจลาจลและกองกำลังความมั่นคงเข้าไปในเมืองตงซิ งตลอดวันศุกร์
 
ทางการท้องถิ่นและศูนย์ข้อมูลแห่งนี้ระบุว่า เหตุจลาจลได้เกิดขึ้นหลังจากชาวบ้านบนท้องถนนอันจอแจของเมืองตงซิงได้พบเห็น คนขับรถมอเตอร์ไซค์รายหนึ่งถูกรถของตำรวจหน่วยปราบปรามการลักลอบค้าของ เถื่อนพุ่งชน แล้วรุมซ้อมคนขับมอเตอร์ไซค์อย่างทารุณ
 
เจ้าหน้าที่บอกว่า ฝูงชนเข้าใจว่าคนขับมอเตอร์ไซค์ได้เสียชีวิต จึงเข้ารุมล้อมรถตำรวจ แล้วพลิกรถตำรวจก่อนลงมือเผา ตำรวจคาดว่ามีประชาชนในที่เกิดเหตุราว 1,000 คน โดยคนจำนวนหนึ่งได้ลงมือก่อเหตุจลาจล
 
ภาพถ่ายที่เผยแพร่ทางออนไลน์เผยให้เห็นรถตำรวจและรถของทางราชการหลายคันถูก พลิกหงาย บางคันถูกเผา และมีตำรวจปราบจลาจลเข้าแถวคุมเชิงเผชิญหน้ากับฝูงชน
 
นักวิชาการประเมินว่า เมื่อปีที่แล้ว ในจีนได้เกิดเหตุประท้วงราว 180,000 ครั้งสืบเนื่องจากความขัดแย้งในหลายประเด็น เช่น คอรัปชั่น, รัฐบาลไล่ที่, ตำรวจใช้ความรุนแรง และเรียกร้องค่าจ้างที่ค้างจ่าย

(ที่มา)
http://news.voicetv.co.th/global/57979.html

The Daily Dose ประจำวันที่ 7 ธันวาคม 2555

The Daily Dose ประจำวันที่ 7 ธันวาคม 2555
 


เงินเฟ้อเดือนต่อเดือนเเค่ 0.5%...ต้องชมเชย ก.พาณิชย์

เงินเฟ้อเดือนต่อเดือนเเค่ 0.5%...ต้องชมเชย ก.พาณิชย์
http://www.dailymotion.com/video/xvol0b_

Divas Café ประจำวันที่ 7 ธันวาคม 2555

Divas Café ประจำวันที่ 7 ธันวาคม 2555



ผี ความทรงจำ สู่ภาพยนตร์ไทย สไตล์ อภิชาติพงศ์
http://www.dailymotion.com/video/xvobub 

'เขตพระนคร' ครองแชมป์คนไร้บ้านสูงสุดใน กทม.

'เขตพระนคร' ครองแชมป์คนไร้บ้านสูงสุดใน กทม.

 

พม.เตรียมเช่าอาคารร้างให้ 'คนไร้บ้าน' 

กทม.เตรียมตั้งกองทุนช่วยคนเร่ร่อน



ปัญหาคนไร้บ้านในเมืองขนาดใหญ่ของประเทศ เป็นสิ่งที่เติบโตขึ้นพร้อมขนาดของเมือง มูลนิธิอิสรชน เปิดเผยจำนวนคนไร้บ้านล่าสุด พบว่า เขตพระนคร เป็นพื้นที่ที่มีคนไร้บ้านมากที่สุดในกรุงเทพฯ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมแนะให้รัฐบาลเร่งผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.คนไร้ที่พึ่ง เพื่อให้การแก้ปัญหาคนไร้บ้านเกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น หลังจากค้างอยู่ในสภามากว่า 5ปี

มูลนิธิอิสรชน เปิดเผยผลการสำรวจจำนวนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ หรือ "คนไร้บ้าน" ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อปลายปี 2554 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 2,561 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 1,630 และผู้หญิง 931 คน

เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 4.2 โดยคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากหลายปัจจัย เช่น การว่างงาน ปัญหาสุขภาพจิต เป็นโรคร้ายที่สังคมรังเกียจ และครอบครัวแตกแยก

หากเปรียบเทียบในเชิงพื้นที่จะพบว่า เขตพระนคร มีคนไร้บ้านมากที่สุดในกรุงเทพฯ คือ 472 คน รองลงมาคือ เขตบางซื่อ  จตุจักร  ปทุมวัน และสัมพันธวงศ์

โดยพบว่าคนไร้บ้านส่วนใหญ่ เป็นคนกลุ่มคนเร่ร่อน  รองลงมา คือคนติดสุรา  คนหลับนอนชั่วคราว  ผู้ป่วยข้างถนน และคนจนเมือง  ส่วนจำนวนคนไร้บ้านทั่วประเทศนั้น มูลนิธิอิสรชนคาดว่ามีอยู่ประมาณ 30,000 คน

นายนที สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน กล่าวว่า กลุ่มคนไร้บ้านที่ภาครัฐควรเข้ามาช่วยเหลือเร่งด่วน คือผู้ป่วยทางสมองและจิต เนื่องจากสถิติพบว่า คนไร้บ้านกลุ่มนี้เสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละ 1 คน เพราะนอนข้างคลองจนพลัดตกน้ำ และเสียชีวิตจากโรคร้ายที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

ส่วนกลุ่มที่คนเร่ร่อน ภาครัฐจะต้องมีการฟื้นฟู ปรับกระบวนการคิด พัฒนาอาชีพ เน้นพึ่งพาตนเองให้มากกว่าการสงเคราะห์ พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งผลักดัน "ร่างพระราชบัญญัติคนไร้ที่พึ่ง" ซึ่งค้างอยู่ในสภามากว่า 5ปีแล้ว หลังจากที่แนวคิดนี้ริเริ่มในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช


นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงา กล่าวว่า การแก้ปัญหาคนไร้บ้าน  จะต้องทำการศึกษาถึงต้นเหตุ ไม่ใช่แค่สร้างสถานสงเคราะห์เพื่อรองรับเท่านั้น โดยภาครัฐควรต้องจับมือกับมูลนิธิและองค์กรที่ทำงานด้านนี้ เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาที่ชัดเจน

เลขาธิการมูลนิธิอิสรชนย้ำว่า ไม่ควรเรียกกลุ่มคนไร้บ้านว่าเป็นพวกเร่ร่อนจรจัด เนื่องจากเป็นคำที่แฝงทัศนคติเหยียบย้ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่ควรเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ" ตามสภาพการใช้ชีวิตของพวกเค้า

และอยากให้สังคมเข้าใจว่า มนุษย์แต่ละคนมีความชอบและวิถีชีวิตแตกต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีคนนอนอยู่ใต้สะพานหรือบนทางเท้า สิ่งสำคัญคือการกระทำนั้นจะต้องไม่ผิดกฎหมาย หรือสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น

(ที่มา)
http://www.dailymotion.com/VoiceTV#video=xvphky

ระบบฟิวเดิลในยุโรป

ระบบฟิวเดิลในยุโรป


โดย C. H.

ถ้าพ่อค้าคนไหนจากเมือง ไคโร หรือ คอร์โดบา ซึ่งเป็นเมืองเจริญภายใต้อารยะธรรมอิสลาม เดินทางไปค้าขายในยุโรปตะวันตกเมื่อ 1000 ปีมาแล้ว เขาคงจะตกใจในความป่าเถื่อนล้าหลัง เพราะแถบนี้จะอยู่ภายใต้ระบบฟิวเดิล ในระบบนี้พื้นที่เล็กๆ น้อยๆ จะถูกปกครองโดยขุนนางขุนศึกที่บังคับแรงงานเกษตรกร ไม่มีรัฐรวมศูนย์ สังคมนี้เป็นสังคมหมู่บ้านชนบท ไม่มีการเขียนอ่านยกเว้นแต่ในโบสถ์ และคุณภาพชีวิตจะยากลำบาก

แม้แต่พวกขุนนางเอง ซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่ดีกว่าเกษตรกร มักจะเขียนอ่านไม่ได้ ใส่เสื้อผ้าหยาบๆ และพักอาศัยในป้อมปราสาทที่ก่อสร้างด้วยไม้แต่พวกพระคริสต์อ่านเขียนได้ ซึ่งช่วยให้เขาศึกษาเทคโนโลจีจากที่อื่นที่ถูกลืมไปในยุโรป

พวกพระเหล่านี้ต้องไปอ่านตำราอาหรับจากตะวันออกกลาง แต่ละพื้นที่จะไม่ค่อยติดต่อกับที่อื่น พึ่งตนเองในการผลิต และขุนนางขุนศึกจะบังคับให้เกษตรกร ซึ่งเป็น “ไพร่ติดที่ดิน” (serf) ทำงานฟรีเพื่อส่งผลผลิตเกินครึ่งหนึ่งให้ครอบครัวขุนนาง โดยที่เกษตรกรเหล่านั้นไม่มีสิทธิ์ย้ายออกจากพื้นที่เลย

ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบทาสที่เคยใช้ในยุคโรมัน เพราะอย่างน้อยไพร่ติดที่ดินสามารถเก็บผลผลิตส่วนหนึ่งให้ตนเอง ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้ขยัน นอกจากนี้ไม่ต้องมีการทำสงครามเพื่อไปหาทาสใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะไพร่มีครอบครัวของตนเองได้
   
ไม่ว่าสังคมฟิวเดิลจะล้าหลังป่าเถื่อนแค่ไหน แต่มันไม่ได้แช่แข็งไร้การเปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด ในแง่หนึ่งความล้าหลังเป็นแรงกดดันให้คนหาทางพัฒนาการผลิตด้วยการเรียนรู้ จากอารยะธรรมตะวันออก แต่ความเจริญขยับไปข้างหน้าด้วยความเชื่องช้าเหมือนเต่าแก่ มีนักประวัติศาสตร์บางคนคำนวนว่าเศรษฐกิจยุคนั้นในปีที่ผลผลิตสูงสุดอาจขยาย ตัวปีละ 0.5 %

ความเจริญในระบบเกษตรที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ทำให้เริ่มมีการค้าขายมากขึ้น และศูนย์กลางการค้าขายดังกล่าวมักจะเป็นเมือง เมืองเหล่านี้ประกอบไปด้วยเสรีชน เช่นพ่อค้าหรือช่างฝีมือ และเมื่อคนเหล่านี้ต้องการกำลังงานเพิ่ม จะมีการดึงเกษตรกรมาเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้มีการสร้างกองกำลังประชาชนเพื่อปกป้องเมือง และในภาษาเยอรมันมีสุภาษิตว่า “อากาศเมืองทำให้คุณอิสระเสรี” เมืองจึงกลายเป็น “เกาะ” เสรีชนกลางทะเลฟิวเดิล ซึ่งเริ่มพัฒนาเป็นหน่ออ่อนของทุนนิยม
   
ความเจริญของเมืองนำไปสู่การพัฒนาทางปัญญา มีการสร้างมหาวิทยาลัย เช่นที่ออคซ์ฟอร์ด ปารีส และพราก มีการพัฒนาเทคโนโลจี เช่นกังหันน้ำที่ใช้ในโรงเหล็กและการทอผ้าเป็นต้น
 
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/12/blog-post_7.html

ทหาร ชาวบ้าน พระ และเทวดา

ทหาร ชาวบ้าน พระ และเทวดา



 ๑.  ทหาร

โอม...พระสยามเทวาธิราช
ช่วยประกาศโองการผ่านสวรรค์
อัญเชิญเทพทุกองค์วงศ์เทวัญ
ประทับขวัญบนรถถังบัลลังก์ทอง
พระศิวะพระนารายณ์นรสิงห์
ให้ข้าวิ่งออกศึกคึกผยอง
ให้กระสุนดินดำโลดลำพอง
ให้ปืนข้ากึกก้องด้วยมนตรา......



๒.  ชาวบ้าน

โอม...กะละมังถังถ้วยช่วยด้วยเถิด     เรามันเกิดเป็นคนน้อยด้อยหนักหนา
ชาติตระกลูลแหว่งวิ่นอยู่ถิ่นกา           ดวงชะตาตกฟากสากกะเบือ
สวมเสื้อยืดสีหม่นปนสีคล้ำ                ออกไปขายส้มตำรสแซบเหลือ
ราชประสงค์คงได้ทุนพอจุนเจือ         เขาชุมนุมยืดเยื้อและยาวนาน
ถึงกระชับพื้นที่ไม่มีหวั่น                      ไทยด้วยกัน...ทหารคงจะสงสาร
เราก็ไร้มีดปืนฝืนต้านทาน                   เถอะ ไม่ให้ขายก็กลับบ้านก็แล้วกัน


๓.  พระ

พิโธ่เอ๋ย ทุเรศทารุณ ไอ้บุญหลาย       เอ็งมาตายให้ข้าสวดส่งสวรรค์
กุศลาธรรมาถึงครามัน                         ทั้งรูปขันธ์สัญญามาจากไป
ออกไปขายส้มตำทำร่อนเร่                  หรือว่าเอ็งเกเรเที่ยวเฉไฉ
ไปเกะกะระรานเขาหรือไร                     เขาจึงโกรธแค้นใจยิงหัวเอา


๔.  เทวดา

หา...เป็นไรตายรึไอ้บุญท่วม
อ๋อ... มึงไปร่วมชุมนุมกะเขา
เฮ้ย...กูบอกแล้ว ปชต. ไม่ใช่ของเรา
ไอ้ห่า...มึงไปยุ่งอะไรเล่า....เฮ้อ...เวรกรรม ฯ 

ฝ่ายคัดค้านปัดข้อเสนอปธน.อียิปต์ ขอเจรจายุติเหตุนองเลือด

ฝ่ายคัดค้านปัดข้อเสนอปธน.อียิปต์ ขอเจรจายุติเหตุนองเลือด

 



กลุ่มพันธมิตรฝ่ายค้านในอียิปต์ปฏิเสธข้อเสนอของประธานาธิบดีโมฮัมหมัด มอร์ซี เพื่อจอเปิดการเจรจาเพื่อคลี่คลายเหตุประท้วงนองเลือด

(ที่มา) 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354885167&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ผู้ประท้วงตัดรั้วลวดหนาม บุกประชิดทำเนียบปธน.อียิปต์ ฝ่ายต่อต้านประกาศบอยค็อตต์เจรจา

 


ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลอียิปต์ได้ร่วมชุมนุมบริเวณด้าน นอกทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงไคโร หลังจากสามารถฝ่าแนวกั้นของเจ้าหน้าที่เข้ามาได้

ประชาชนหลายหมื่นคนได้รวมตัวใกล้กับทำเนียบ หลังจากปฏิเสธข้อเรียกร้องของประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี เพื่อขอเปิดการเจรจาเพื่อยุติเหตุนองเลือดร่วมกับฝ่ายต่อต้าน โดยผู้นำฝ่ายต่อต้านกล่าวว่า ปธน.มอร์ซี แทบไม่เหลือทางเลือกให้พวกเขา หลังจากประกาศกฤษฎีกาเพิ่มอำนาจให้ตนเอง และนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าสู่การทำประชามติ

ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายอียิปต์ การทำประชามติจะต้องจัดภายในสองสัปดาห์หลังถูกนำเสนออย่างเป็นทางการต่อ ประธานาธิบดี อย่างไรก็ดี รองประธานาธิบดีมาห์มูด เมกกี กล่าวว่า นายมอร์ซี อาจชะลอการลงประชามติในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ ออกไปก่อน หากฝ่ายต่อต้านยินยอมรับประกันว่าจะไม่แสดงการท้าทายรัฐบาลอีกในภายหลัง

ในช่วงค่ำวันศุกร์ ผู้ประท้วงฝ่ายต่อต้านได้รวมตัวกันใกล้ทำเนียบประธานาธิบดี ก่อนที่จะตัดรั้วลวดหนามและบุกเข้าไปยังบริเวณนอกกำแพงที่ใกล้ทำเนียบ บางรายฉีดสเปรย์และพ่นเป็นข้อความต่างๆ ส่วนกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลอียิปตื ได้เดินขบวนในเมืองหลวง พร้อมประกาศล้างแค้นให้แก่ผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะเมื่อต้นสัปดาห์

ก่อนหน้านี้ กลุ่มพันธมิตรฝ่ายค้าน National Salvation Front แถลงว่า ฝ่ายค้านไม่ขอเข้าร่วมการเจรจาตามข้อเสนอของประธานาธิบดีที่กำหนดมีขึ้นใน วันเสาร์ นายโมฮัมเหม้ด เอลบาราได เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ และหัวหน้าผู้ประสานงานของกลุ่ม โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ เรียกร้องให้ทุกกลุ่มการเมืองปฏิเสธทุกข้อเสนอเพื่อเปิดเจรจาจากปธน.มอร์ซี เช่นเดียวกับกลุ่มเสรีนิยม Wafd และ กลุ่ม National Association for Change ที่ประกาศว่าจะบอยค็อตต์การเจรจาเช่นกัน

(ที่มา)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354936823&grpid=&catid=06&subcatid=0600

จตุพร พูดวันนี้เหมือน จะขอแยก!!??

จตุพร พูดวันนี้เหมือน จะขอแยก!!??

 

 
 






 



นปช.แถลงข่าว 07 12 55
https://www.youtube.com/watch?v=Z_gSCenn7vo&feature=player_embedded#!




ผม ว่าพักหลังนปช. ไม่พัฒนาการตัวเองเลย ดักดานเคยทำยังไงก็ทำเหมือนเดิม รู้ทั้งรู้ว่ามันไม่ได้ผล นัดชุมนุม ตั้งโรงเรียน แถลงการณ์ไม่มีผลงานอะไรคืบหน้า โง่หรือว่าไม่รู้จริงๆครับ ถ้าไม่รู้ผมจะบอกให้ หนทางชนะอำมาตย์แบบสะเด็จน้ำคือ การเปิดเผยข้อมูลชั่วของอำมาตย์ ในต่างจังหวัดเกือบ80%ไม่รู้เรื่องว่าอำมาตย์มันชั่ว เลว ดูดผลประโยชน์ของชาติยังไง ที่เราได้ความนิยมเวลานี้เพราะบารมีท่านทักษิน นายกยิ่งลักษณ์ หาใช่ผลงานของนปช.ไม่

สิ่ง ที่จำเป็นและจะต้องเร่งทำความเข้าใจโดยด่วนคือ การเปิดสื่อทางเลือกในสื่อท้องถิ่น ให้คลุมพื่นที่ทั่วทุกภูมิภาค เป็นภาษาถิ่นได้ยิ่งดีครับ เวลานี้ชาวบ้านไม่มีสื่อทางเลือก เรียกว่าเสพสื่อทางเดียว และก็รู้ๆอยู่ว่าสื่อพวกนี้มันของใคร การลงทุนเรื่องสื่ออาทิ เคเบิลท้องถิ่นใช้เงินน้อยมาก แต่ชาวบ้านได้รับประโยชน์มาก ตรงจุดนี้เองรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนยังได้ครับ ในรูปการศึกษานอกโรงเรียน มีโอกาสรีบๆทำครับ ผมว่าดีกว่าเอาเงินไปละลายให้กับนปช. สมาพันธุ์หมู่บ้านเสื้อแดง ซึ่งผลประโยชน์เยอะเวลานี้กัดกันยังกะหมาแยกชามข้าว แต่ทั้งสององค์กรที่ว่าทำแล้วล้มเลว วันๆเขียนรีพอตโกหกนายใหญ่ เพื่อเบิกเงินอย่างเดียว เอาง่ายๆอย่างงานโบนัลช่า22ธค.55จะถึงนี่ใช้เงินเท่าไร กี่ร้อย กี่พันล้าน แล้วเงินพวกนี้ถึงมือประชาชนไหมครับ ขนาดให้จัดรถรับ-ส่งฟรี หลายๆที่ยังเอาบัตรไปขายมวลชนเลย พอจับได้ไล่ทันถึงยอมได้นั่งรถฟรี!!!

ผมว่าเลิกเสียทีเถอะครับการเกณฑ์มวลชนแสดงพลัง เพื่อต่อรองผลประโยชน์พวกพร้อง-ตนเอง ก่อนที่มันจะเสื่อมหนักไปกว่านี้ครับ

ปล.คนเสื้อแดงไม่ไปสนับสนุน นปช.กิจกรรมคนเสื้อแดงเล็กๆน้อยๆ มิใช่ว่าพวกเขาจะเปลี่ยนสีครับ"แดงก็ยังเป็นแดงไปตลอดจนตาย"นั่นแหละครับ

ผม ว่าเอาเงินจัดงานรวมพลไปเขาใหญ่ ไปใช้อย่างอื่นที่มันได้ประโยชน์ดีกว่าไหมครับ บอกตรงๆ"มันตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"ดีๆนี่เอง!!!เวลานี้เราเป็นรัฐบาล เราได้เปรียบหลายขุมด้านความชอบธรรม กระแสประชาชนสนับสนุน(ดูจากโพลทุกๆสำนัก) นปช.จะดิ้นไปทำไม ยิ่งดิ้นยิ่งแสดงตัวตนชัดเจน  

คลิป"เรื่องเล่าและความทรงจำในงานวรรณกรรมบันทึก: กรณีศึกษา รักเอย”

คลิป"เรื่องเล่าและความทรงจำในงาวรรณกรรมบันทึก: กรณีศึกษา รักเอย”





 
1 กรณีศึกษา รักเอย 8-12-2012
http://www.youtube.com/watch?v=aejPBz_PoJQ& feature=player_embedded

2 กรณีศึกษา รักเอย 8-12-2012
http://www.youtube.com/watch?v=Sjsrf59_5CQ&feature=player_embedded


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อนุสรณ์สถาน 08 12 55
http://www.youtube.com/watch?v=I_1m_1o_jPY&feature=player_embedded#!

"เรื่องเล่าและความทรงจำในงานวรรณกรรมบันทึก: กรณีศึกษา รักเอย”
 
จัดโดยสำนักพิมพ์อ่าน
วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2555
ณ ห้องประชุมชั้นใต้ดิน อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถ. ราชดำเนิน


9.30 - 10.00 น. เปิดใจผู้เขียน - คุณรสมาลิน ตั้งนพกุล
(สัมภาษณ์โดย คุณเพียงคำ ประดับความ)


10.00 - 11.30 น. สัมมนาหัวข้อ “รักเอย ในฐานะงานวรรณกรรมบันทึกความทรงจำ"


ผู้ร่วมสัมมนา
คุณเดือนวาด พิมวนา นักเขียนรางวัลซีไรต์ประจำปี 2546
รศ. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร. สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินรายการ โดย คุณไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์อ่าน


11.30 - 12.00 น. ถาม-ตอบ


13.00 - 14.30 น. สัมมนาหัวข้อ “รักเอย ในฐานะงานบันทึกประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสตรีนิยม"


ผู้ร่วมสัมมนา
อ. สุธิดา วิมุตติโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการ โดย รศ. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์


14.30 - 15.00 น. ถาม-ตอบ


15.00 - 16.00 น. มุมมองสะท้อนความเห็น: “รักเอย ในฐานะบันทึกชะตากรรม"


- มุมมองจากคุณสุชาติ นาคบางไทร
- มุมมองจากคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข อ่านโดยคุณสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข
- มุมมองจากคุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ อ่านโดยคุณปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์
- มุมมองจากคุณธันย์ฐวุฒิ (หนุ่ม เรดนนท์) อ่านโดยคุณอานนท์ นำภา


16.00 - 17.00 น. อ่านบทกวีปิดรายการ


โดยคุณรสมาลิน ตั้งนพกุล, คุณประกาย ปรัชญา, คุณไม้หนึ่ง ก. กุนที, คุณเดือนวาด พิมวนา, คุณเพียงคำ ประดับความ และคุณอานนท์ นำภา

สง่างามบนเวทีโลก แต่ความจริงแล้วหล่อนก็ฝุ่นใต้ตีน ฮึ!

สง่างามบนเวทีโลก แต่ความจริงแล้วหล่อนก็ฝุ่นใต้ตีน ฮึ!




รัฐบาลจัดงาน ให้นายภูมิพลได้หน้าได้ตา แต่... มันเป็นเงินภาษีของชาชนทั้งน้านนนน...

Posted Image

Posted Image
Posted Image
Posted Image
Posted Image
Posted Image 

คนสั่งฆ่าประชาชนอาจไม่ใช่อภิสิทธิ์

คนสั่งฆ่าประชาชนอาจไม่ใช่อภิสิทธิ์
 




Pavin Chachavalpongpun

กรี๊ดดดดด อ่านเจอใน Straits Times.. ปวินบอกอภิสิทธิ์อาจเป็น "แพะ" เพราะคนสั่งฆ่าประชาชนอาจไม่ใช่อภิสิทธิ์

ฆาตกรสั่งฆ่าและร่วมกันฆ่าประชาชน คือไอ้ประยุทธ์(เหล่)และเหล่าสมุนทหารของมัน....



ทำไมเราต้องยกเลิกกองทัพไทยในรูปแบบปัจจุบัน 

ถึง แม้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเชื่อว่าจุดศูนย์กลางอำนาจอำมาตย์อยู่ที่ กษัตริย์และราชวงศ์ ในความเป็นจริงอำนาจแท้ที่อยู่เบื้องหลังกษัตริย์คือกองทัพ กองทัพไทยแทรกแซงการเมืองและสังคมมาตั้งแต่การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เพราะคณะราษฎร์พึ่งพาอาศัยอำนาจทหารในการทำการปฏิวัติครั้งนั้นมากเกินไป แทนที่จะเน้นการสร้างพรรคมวลชนเพื่อล้มระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 

อย่าลืมว่ากองทัพมีบทบาทสำคัญในองค์มนตรี สื่อมวลชน และรัฐวิสาหกิจอีกด้วย 

อย่าง ไรก็ตามเราควรเข้าใจว่าอำนาจทหารเป็นอำนาจจำกัด เพราะในหลายยุคหลายสมัยอำนาจกองทัพถูกจำกัดและคานด้วยการลุกฮือและการ เคลื่อนไหวของประชาชน ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และกรณี ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ และพฤษภา ๒๕๓๕ เป็นตัวอย่างที่ดี ดังนั้นเราควรเข้าใจว่ากองทัพเป็นกลุ่มอำนาจหนึ่งในชนชั้นปกครอง กลุ่มอื่นๆ ประกอบไปด้วย นายทุนใหญ่ นักการเมือง และข้าราชการชั้นสูง แต่สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับกองทัพ ถ้าเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในชนชั้นปกครองหรืออำมาตย์คือ กองทัพจะผูกขาดการใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธสงคราม ซึ่งความรุนแรงนี้ใช้ในรัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาลที่เป็นคู่แข่งของกลุ่มทหาร และใช้เพื่อฆ่าประชาชนมือเปล่า .... ล่าสุดก็ที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ในปี ๒๕๕๓ นี้เอง

วัตถุ ประสงค์หลักของการมีกองทัพสำหรับชนชั้นปกครองไทยคือ เป็นเครื่องมือในการควบคุมและปราบปรามประชาชนภายในประเทศ วัตถุประสงค์รองคือเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่ำรวยให้พวกนายพล ดังนั้นอย่าเชื่อเลยว่ากองทัพเป็น “รั้วของชาติ” มันไม่ใช่ มันเป็นกองโจรที่คอยปล้นประชาชนไทยเอง กองทัพไทยขาดประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิงในการทำสงครามระหว่างประเทศ สงครามกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศ ASEAN ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นทหารไทยจะเป็น รั้วพุที่ ป้องกันประเทศไม่ได้เลย ในอดีตกองทัพไทยต้องยอมแพ้ต่อญี่ปุ่น และมหาอำนาจอื่นๆ มาตลอด กองทัพไทยต่างจากกองทัพของเวียดนาม ลาว หรือของอินโดนีเซีย ที่เคยได้รับชัยชนะในการปลดแอกประเทศ ดังนั้นกองทัพไทยมีรถถังไว้เพื่อข่มขู่ประชาชนไทยและเพื่อทำรัฐประหารเท่า นั้น

ใน อดีตมีสองกรณีที่กองทัพไทยทำสงคราม แต่เป็นสงครามภายในอีก คือสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และสงครามปัจจุบันที่ยังไม่สิ้นสุดในสามจังหวัดภาคใต้ ในทั้งสองกรณีนี้กองทัพไม่สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ เพราะการลุกขึ้นสู้ของประชาชน เกิดจากการกดขี่และการที่ไม่มีความยุติธรรมในสังคม และทุกครั้งพฤติกรรมป่าเถื่อนของทหารไทย ยิ่งทำให้การกบฏของประชาชนเข้มแข็งมากขึ้น บทเรียนสำคัญจากสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์คือ ต้องใช้การเมืองแก้ปัญหา ไม่ใช่การทหาร ในกรณีสามจังหวัดภาคใต้ก็เช่กัน

กองทัพไทยอาจมีอำนาจก็จริง แต่อำนาจนั้นถูกจำกัดจากเงื่อนไขสามประการคือ (1) อำนาจของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่นคนเสื้อแดง (2) อำนาจของกลุ่มอื่นๆ ในชนชั้นปกครองที่มีอำนาจเงินและอำนาจการเมือง และ (3) การที่กองทัพแบ่งเป็นพรรคเป็นพวกที่แข่งขันกันเสมอ นอกจากนี้การที่กองทัพต้องอ้างความชอบธรรมจาก ลัทธิกษัตริย์ก็เป็นจุดอ่อนด้วย เพราะแสดงให้เห็นว่าไม่มีความชอบธรรมของตนเองเลยที่จะแทรกแซงการเมือง

แม้ แต่ในยุคเผด็จการ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือ ถนอม กิตติขจร กับ ประภาส จารุเสถียร ทหารไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เพราะต้องอาศัยความร่วมมือของ ผู้เชี่ยวชาญ และนายทุน และต้องฟังเสียงของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม อย่าลืมว่าในยุคแรกๆ แม้แต่ สฤษดิ์ เอง ยังต้องพึ่งพาขบวนการนักศึกษาและคนของพรรคคอมมิวนิสต์ในหนังสือพิมพ์ของเขา เพื่อทำรัฐประหารจนสำเร็จ ในกรณีรัฐประหาร ๑๙ กันยา ทหารคงทำรัฐประหารไม่ได้ถ้า พันธมิตรฯ นักวิชาการ และเอ็นจีโอเหลือง ไม่โบกมือเรียกทหารให้เข้ามาแทรกแซงการเมือง ตอนนั้นขบวนการคนเสื้อแดงยังไม่เกิด แต่พอเกิดขึ้น ทหารต้องใช้กลไกอื่นๆ เช่นศาล ในการล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน หรือใช้วิธีการแบบฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐบาล เพื่อปล่อยให้ม็อบพันธมิตรฯ ยึดสนามบินเป็นต้น

การ แบ่งเป็นพรรคเป็นพวกของทหารในกองทัพ เป็นการแย่งชิงผลประโยชน์กัน ไม่ค่อยเกี่ยวอะไรกับความคิดทางการเมือง ก๊กต่างๆ ของทหารมักจะเชื่อมกับทหารเกษียณ นายทุน และนักการเมือง กรณีล่าสุดคือกลุ่มทหาร บูรพาพยัคฆ์จาก ทหารราบที่สอง ปราจีนบุรี ซึ่งขึ้นมามีอำนาจชั่วคราว การที่เป็นทหารรักษาพระองค์ของราชินีไม่สำคัญ เพราะทุกส่วนของกองทัพมักอ้างการเชื่อมโยงกับวังอยู่แล้ว สำคัญว่าพร้อมจะเข่นฆ่าประชาชนเพื่อปกป้องเผด็จการมากกว่า กรณีทหารราบที่หนึ่งรักษาพระองค์ของภูมิพลหรือพวก แตงโมที่ ถล่มผู้บัญชาการทหารบูรพาพยัคฆ์ที่ราชดำเนิน เป็นการสู้กันระหว่างสองพวก ทหารแตงโมดังกล่าวไม่ได้ขึ้นกับขบวนการเสื้อแดง และในอดีตไม่เคยมีจิตใจประชาธิปไตย  

วัฒนธรรม ของกองทัพไทยคือวัฒนธรรมในการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนตำแหน่ง ตำแหน่งที่มีอำนาจมากที่สุดคือ ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งต้องผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทั้งนี้เพื่อให้นายพลต่างๆ มีโอกาสเข้าถึงรางอาหารในคอกเลี้ยงหมู ทหารคนใดคนหนึ่งไม่สามารถผูกขาดการกินและการเข้าถึงอำนาจและความร่ำรวยได้ ตลอดกาล

ความร่ำรวย ผิดปกติเกิน รายได้หรือเงินเดือนธรรมดาของพวกนายพล มาจากกิจกรรมของกองทัพในสื่อมวลชนและรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้มีรายได้มหาศาลจากการคอร์รับชั่น รับเงินใต้โต๊ะเวลาซื้ออาวุธ การค้ายาเสพติด การค้าไม้เถื่อน และการลักลอกขนสินค้าข้ามพรมแดน ทั้งหมดนี้เป็นแรงจูงใจให้ทหารรักษาอิทธิพลทางการเมือง เพื่อปกป้องกิจกรรมต่างๆ ของทหาร ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับการป้องกันประเทศ

แต่ การใช้ความรุนแรงอย่างเดียว ไม่สามารถสร้างอำนาจในการปกครองได้ ต้องมีการครองใจประชาชนควบคู่กันไป ลัทธิที่ครองใจประชาชนไทยในยุคสมัยใหม่มากที่สุดคือ ประชาธิปไตยและความเป็นธรรมแต่ทหารอ้างความชอบธรรมจากแนวคิดนี้ไม่ได้ เพราะทหารทำลายประชาธิปไตยและความเป็นธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทหารจึงต้องใช้ ลัทธิกษัตริย์โดย อ้างว่าทหารรับใช้กษัตริย์ แถมยังมีกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ไว้ข่มขู่คนที่คัดค้านทหารอีกด้วย ในความเป็นจริงทหารไม่ได้รับใช้ใครนอกจากตนเอง แต่กษัตริย์ภูมิพลพร้อมจะร่วมมือกับทหารเสมอ เพราะได้ผลประโยชน์มหาศาลตรงนั้น การเข้าเฝ้ากษัตริย์ของพวกนายพลหลังการทำรัฐประหาร เป็นเพียงละครที่สร้างภาพเท็จว่ากษัตริย์สั่งทหาร

ชาติ ศาสนา กษัตริย์คือ ลัทธิของอำมาตย์ชนชั้นปกครองตั้งแต่ยุคเผด็จการ สฤษดิ์ และก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ ในสมัย สฤษดิ์ ทหารได้พยายามลดบทบาททางการเมืองของศาสนาพุทธ ดังนั้นทหารใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือไม่ค่อยได้ ส่วนเรื่อง ชาติเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับ กษัตริย์ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ เพราะ ความเป็นชาติมี ลักษณะส่วนรวมมากกว่าที่จะไปเน้นตัวบุคคลของกษัตริย์ ผู้ที่เน้นลัทธิชาตินิยมในอดีต มักเป็นพวกที่ไม่เอากษัตริย์ด้วย เช่น คณะราษฎร์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นี่คือสาเหตุที่ลัทธิกษัตริย์เป็นลัทธิที่เหมาะสมมากกับทหารเผด็จการ

ลักษณะ การสั่งการและสายอำนาจในกองทัพ มีผลในการสร้างวัฒนธรรมเลวทรามไปทั่วองค์กร เพราะคนดีๆ ที่เข้าไปเป็นนายทหารหนุ่มต้านพลังของวัฒนธรรมนี้ไม่ได้ เราไม่ควรโทษเขา แต่เราจะโทษพวกนายพลระดับสูงมากกว่า

ถ้า เราจะมีประชาธิปไตยแท้ เราต้องตัดบทบาททหารออกจากสังคมและเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง ต้องตัดงบประมาณทหาร ต้องปลดนายพลเผด็จการออกให้หมด ต้องนำนายพลฆาตกรมาลงโทษ และต้องยกเลิกหรือไม่ก็เปลี่ยนโครงสร้างกองทัพอย่างถอนรากถอนโคน นอกจากนี้เราต้องยกเลิกสถาบันกษัตริย์ ให้มีระบบสาธารณรัฐแทน เพื่อไม่ให้ใครอ้างเทวดามาเพื่อทำลายสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยอีก 

ทหารไทยคือกาฝากของสังคม ในหมู่ชาวไร่ชาวนามันมีวิธีเดียวที่จะจัดการกับกาฝาก นั้นคือการตัดมันออกไปให้แห้งตาย 

ข้อคิดจากข่าวประชาไท เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย และองค์กรแนวร่วมแถลง ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 17 พ.ค.54  


“ถึง เวลาแล้วหรือยังที่ต้องปฏิรูปกองทัพอย่างจริงจัง เช่น ห้ามกองทัพในการเข้ามาแทรกแซงการเมือง ลดงบประมาณทางการทหารเอาเงินส่วนนี้ไปจัดสวัสดิการให้กับประชาชนดีกว่า ให้ทหารออกจากเขตเมือง เพราะคงไม่มีความจำเป็นที่เราต้องมีรั้วของชาติมาอยู่กลางบ้าน เปลี่ยนพื้นที่ค่ายทหารดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในเมือง โอนหน้าที่ของที่ซ้ำซ้อนเปลืองงบประมาณแถมลำบากทหารเปล่าๆมาให้ประชาชน เช่น กิจกรรมสาธารณะภัยมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรอาสาสมัครหรือองค์กรของพลเรือนอื่นๆ ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร โอนสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของกองทัพให้แก่รัฐสภาหรือหน่วยงานอื่นที่มีที่มา จากประชาชน เป็นต้น”

(ที่มา)