หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

จาก ๖ ตุลา ถึง ๑๙ พฤษภา

เหตุการณ์ นองเลือด ๖ ตุลา มีส่วนคล้ายกับวิกฤตที่เกิดจากรัฐประหาร ๑๙ กันยา และการเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ และมีบทเรียนสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจว่าทำไมเราชาวเสื้อแดงต้องสนับสนุนข้อ เสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ เพื่อล้มล้างผลพวงของรัฐประหารในยุคนี้ 



ใน ทั้งสองกรณี มีการก่อตั้งกลุ่มฝ่ายขวาสุดขั้ว เพื่อต่อต้านประชาธิปไตยภายใต้ข้ออ้างว่าปกป้องกษัตริย์ หรือ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ในทั้งสองกรณี ชนชั้นปกครองและทหารอ้างความชอบธรรมจากกษัตริย์ในการล้มประชาธิปไตยและการ ฆ่าประชาชน ฝ่ายประชาธิปไตยจึงมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทกษัตริย์ในทั้งสองเหตุการณ์ และหลังเกิดเหตุมีการถกเถียงกันเรื่องการนีรโทษกรรม


ใน ทั้งสองกรณีฝ่ายอำมาตย์พยายาม “ปรองดอง” เพื่อสร้างเสถียรภาพในการปกครองและการกอบโกยผลประโยชน์ของอำมาตย์ต่อไป ในกรณี ๖ ตุลา การปรองดองทำหลังป่าแตก โดยมีข้อตกลงกับอดีตนักสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะนักศึกษาและปัญญาชนที่เข้าป่า แต่เป็นการปรองดองที่อำมาตย์ได้ประโยชน์หมดจากชัยชนะของเขา อำมาตย์จึงเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขเกือบทั้งหมด

ด้วย เหตุนี้ประเด็นสำคัญสำหรับเราชาวเสื้อแดงในยุคนี้คือ วิกฤตปัจจุบันจะจบลงด้วยการประนีประนอมของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับทหาร และการปิดปากเสื้อแดง คือให้ประโยชน์ทั้งหมดกับอำมาตย์ หรือจะจบลงด้วยการลบล้างผลพวงของรัฐประหารและการสร้างประชาธิปไตยกับความ ยุติธรรม 

(อ่านต่อ)
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-41-04/282-2011-10-04-10-33-51.htm

๖ตุลาถึง๑๙พฤษภา.wmv    

http://www.youtube.com/watch?v=dksIFGs1Wtw&feature=player_embedded

 

"กลุ่มต้านวอลล์สตรีท"เริ่มลามไปทั่วปท.แล้ว แม้ถูกจับไปกว่า 700 คนหลังปิดสะพานกลางนิวยอร์ก














การชุมนุมของชาวอเมริกันที่ต่อต้านกลุ่ม ธุรกิจในวอลล์สตรีทประกาศล่วงเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ต่อเนื่องกันแล้ว แม้ว่าผู้ร่วมชุมนุมถูกจับไปมากกว่า 700 คน จากการขัดขวางการจราจรบนสะพานบรู๊คลินในนครนิวยอร์กวานนี้ (2 ต.ค.)



การรวมตัวกันอย่างหลวมๆของกลุ่ม "ยึดครองวอลล์สตรีท" (Occupy Wall Street) ย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่สามแล้ว โดยเมื่อวานนี้ไปรวมตัวกันในสวนสาธารณะซุคคอตตี้ ใกล้ย่านวอลล์สตรีราว 800 คน และการจับกุมตัวผู้ประท้วงหลายรายวานนี้ กลับเป็นตัวจุดชนวนให้มีผู้เข้าร่วมการประท้วงมากยิ่งขึ้น

กลุ่มผ้ประท้วงนำเสื้อกันฝนที่เปียกโชกตากผึ่งแดด กินอาหารและชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลือธนาคารและประท้วงภาค ธุรกิจที่มีอิทธิพลแทรกแซงการเมือง ตำรวจจับกุมสมาชิกกลุ่มไปมากกว่า 700 คน ตั้งข้อหาก่อความวุ่นวายก่อนปล่อยตัวไป ทางกลุ่มประกาศจะเดินขบวนครั้งใหม่ในบ่ายวันพุธนี้ตามเวลาท้องถิ่นโดยจะเดิน จากศาลาว่าการนครนิวยอร์กไปจนถึงย่านการเงิน

ทั้งนี้ ได้มีการตั้งกลุ่มในรูปแบบเดียวกับ "กลุ่มยึดครองวอลล์สตรีท" แล้วทั่วประเทศถึง 21 เมืองทั่วประเทศ อาทิ ลอส แอลเจลิส, ซานฟรานซิสโก, ชิคาโก โคลัมบัส และบอสตัน บริเวณหน้าสำนักงานธนาคารกลางของแต่ละเมือง


กลุ่มยึดครองวอลล์สตรีทได้แรงบันดาลใจจากการลุกฮือในโลกอาหรับ เริ่มการเคลื่อนไหวด้วยการยึดสวนสาธารณะใจกลางย่านวอลล์สตรีท เมื่อวันที่ 17 กันยายน และปักหลักประท้วงหน้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กและกองบัญชาการตำรวจนครบาล นิวยอร์กมาจนถึงขณะนี้

ผู้ประท้วงได้เลือกย่านวอลล์สตรีทเป็นสถานที่ประท้วงเนื่องจากเห็นว่า เป็นแหล่งรวมของบริษัทต่างๆที่ประกอบธุรกิจอย่างเห็นแก่ได้ สร้างความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก และปัญหาอื่นๆ

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=LngwTp2xvgY 

จีนอนุญาตให้เจ้าของโนเบลสันติภาพ"หลิวเสี่ยวโป"ออกจากคุก"ชั่วคราว"เพื่อร่วมงานศพบิดา

 



น้องชายของนายหลิว เสี่ยวโป ชาวจีนเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2010 เปิดเผยว่า ทางการอนุญาตให้พี่ชายของเขาออกจากเรือนจำได้ชั่วคราวเมื่อเดือนก่อน หลังจากที่บิดาของเขาเสียชีวิต

นายหลิว เสี่ยวช่วน กล่าวว่า เขาได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมพี่ชายวัย 55 ปี ในเรือนจำเมื่อสัปดาห์ก่อน และเยี่ยมนางหลิวเซี่ย พี่สะใภ้ เมื่อเดือนสิงหาคม ซึ่งถูกกักบริเวณในบ้านพักนับตั้งแต่มีการประกาศผลรางวัลเมื่อปีที่แล้ว

นายหลิว เสี่ยวช่วนเปิดเผยว่า พี่ชายคนโตได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับบ้าน เมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อร่วมงานครบ 7 วันการเสียชีวิตของบิดา ซึ่งนับเป็นวันสำคัญตามธรรมเนียมจีนที่สมาชิกในครอบครัวจะต้องมารวมตัวกัน เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิต นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เขาถูกตัดสินจำคุก 11 ปี เมื่อเดือน ธ.ค. 2552

ทั้งนี้ ชาวจีนมักจะจัดพิธีศพเป็นเวลา 3 วันนับตั้งแต่การเสียชีวิต และมักจะจัดพิธีรำลึกเล็กๆในวันที่ 7  นายหลิว เสี่ยวช่วนกล่าวว่า ตนไม่สามารถเผยได้ว่านายหลิวพำนักอยู่บ้านนานกี่วันและทำอะไรบ้าง และเขาเพิ่งไปเยี่ยมพี่ชายเมื่อสัปดาห์ก่อนพร้อมกับพี่น้องอีก 2 คน  โดยกล่าวเสริมว่าพี่ชายดูดีมาก

นายหลิว วัย 55 ปี ถูกควบคุมตัวที่เรือนจำเมืองจินโจว มณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ข้อหาล้มล้างรัฐบาล เนื่องจากร่วมเขียนกฎบัตร 08 เรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองในจีน แต่คณะกรรมการโนเบลสาขาสันติภาพยกย่องเขาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมปีก่อนว่าต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในจีนอย่างสันติมายาวนาน

นายหลิว เสี่ยวโปเป็น 1 ใน 3 คนที่ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพขณะถูกคุมขัง ภายหลังจากผู้ที่ได้รับรางวัลก่อนหน้านี้  2 คน คือ นางออง ซาน ซูจี แกนนำเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า ได้รางวัลในปี 1991 และนายคาร์ล ฟอน ออสซิเอ็ทซกี นักหนังสือพิมพ์ชาวเยอรมันถูกขังคุกนาซีขณะได้รางวัลในปี 1935




นิติรัฐ หรือ นิติราษฎร์

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2554)

โฆษกพรรค ปชป.แถลงปฏิกิริยาต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์แทนคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ตรงไหนเป็นการตอบโต้ของคุณอภิสิทธิ์ และตรงไหนเป็นการตอบโต้ของตัวโฆษกเอง ไม่สู้จะชัดนัก

อย่าง ไรก็ตาม คุณอภิสิทธิ์มิได้ปฏิเสธคำแถลงของโฆษก จึงต้องถือว่าทั้งหมดนั้นเป็นความเห็นของคุณอภิสิทธิ์ หรืออย่างน้อยก็มีความเห็นสอดคล้องตามคำแถลง

คุณอภิสิทธิ์เคยพูดเอง มาก่อนว่า ตัวเขาเอาแต่นิติรัฐ ไม่เอานิติราษฎร์ ประหนึ่งว่าสองอย่างนี้ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังที่เขาเคยเลือกการเป็นนายกฯ ด้วยอำนาจนอกระบบ เพื่อรับเสียงสนับสนุนให้พอในสภา แต่ไม่มุ่งมั่นที่จะสร้างคะแนนเสียงจากประชาชนด้วยตนเอง

อันที่จริง หากเคยอ่านเว็บไซต์ของกลุ่มนิติราษฎร์ ก็เห็นได้ในชื่อรองอยู่แล้วว่า นิติราษฎร์ในความหมายของกลุ่มก็คือ "นิติศาสตร์เพื่อราษฎร" เป็นคนละเรื่องกับนิติรัฐ เอามาแทนที่กันไม่ได้

แต่แน่นอนว่าคำนิติราษฎร์เลียนเสียงคำว่านิติรัฐ จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีนัยยะซ้อนมากไปกว่านั้น

อ่านต่อ...

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1317638018&grpid=&catid=02&subcatid=020

เริ่มแล้วงานรำลึก 6 ตุลา-แพร่ 25 ภาพที่หล่นหายในประวัติศาสตร์

นักกิจกรรมจัดงานรำลึก 35 ปี 6 ตุลา 19 ที่ มธ.ท่าพระจันทร์ 1-14 ต.ค.นี้ เผยแพร่ภาพชุดใหม่ เหตุการณ์เช้าวันที่ 6 ตุลาผ่าน 2519.net-เฟซบุ๊ก

โครงการกำแพงประวัติศาสตร์: ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับเครือข่ายเดือนตุลา  องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน(CCP) กลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์คัดค้านอำนาจนอกระบบ(TCAD) กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย(LLTD) กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์(LKS) และกลุ่มประชาคมมหิดลเสรีเพื่อประชาธิปไตย(FMCD) จัดงานสัปดาห์รำลึก 35 ปี 6 ต.ค.19 ระหว่างวันที่ 1-14 ต.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์

วิภา ดาวมณี ผู้ประสานงานคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ระบุว่า ในปีนี้ มีภาพเหตุการณ์วันที่ 6 ต.ค.2519 ซึ่งไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อนจำนวน 25 ภาพ ส่งมาจากอดีตนักเรียนอาชีวะผู้ไม่ประสงค์ออกนาม โดยภาพชุดดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ช่วงเช้า หลังมีการใช้กำลังตำรวจ-ตชด. บุกเข้าไปใน มธ. โดยเบื้องต้นเผยแพร่ทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ http://2519.net และเพจ Truth Finding ในเฟซบุ๊ก

อ่านต่อ...
http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37218 
เสียงจากนิติราษฏร์   19-9-2011 นิติราษฏร์  19-9-2011
ฉบับเต็ม วันที่ ๑๙กันยายน๒๕๕๔

1 รศ.ดร.วรเจตน์
http://www.mediafire.com/?n6ei04xtewj74x2

และ 

http://www.4shared.com/audio/_rlo9ndt/1___19-9-2011.html[/url] 

นิติราษฏร์ 19-9-2011(1)
http://www.youtube.com/watch?v=Q5f2yLWAE0c&feature=player_embedded#!

นิติราษฏร์ 19-9-2011(2)
 http://www.youtube.com/watch?v=Q5f2yLWAE0c&feature=player_embedded#!