ระหว่างการปกป้องแนวทางประชาธิปไตยกับการปกป้องรัฐบาล
"ที่ท่านนายกฯ ออกอากาศทางโทรทัศน์ชี้แจงว่าการประกาศกฎหมายเผด็จการฉบับนี้เป็นไปเพื่อ “รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน” ผมว่าไม่จริง ผม
เชื่อว่าท่านประกาศใช้อำนาจเผด็จการเพียงเพื่อปกป้องรัฐบาลตนเองมากกว่า
เป็นการปกป้องอำนาจของกลุ่มบุคคล
หาได้เป็นการปกป้องวิถีทางแห่งประชาธิปไตยไม่"
เช้าวันที่ 19 สิงหาคม 2534 ชาวรัสเซียตื่นนอนพร้อมจอดำ มีแต่เสียงเพลง
Wild Swan ของไชคอฟกี้ บางคนคิดว่ามีใครถึงแก่อสัญกรรม เปล่าหรอก
คณะนายทหารชุดหนึ่งได้ร่วมกันทำรัฐประหารยึดอำนาจจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพ
โซเวียต นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail S. Gorbachev)
เนื่องจากไม่พอใจนโยบายการเปิดประเทศทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง
(Perestroika) ของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Communist
Party of the Soviet Union) ท่านนี้
ในช่วงทศวรรษก่อนหน้านี้
กอร์บาชอฟในตำแหน่งเลขาธิการพรรคได้วางแนวทางปฏิรูปประเทศซึ่งประกอบด้วยการ
เปิดให้มีการเลือกตั้งผู้นำทางตรง และการกระจายอำนาจให้กับบรรดารัฐต่าง ๆ
ซึ่งต่อมาแยกเป็นประเทศอิสระ ในยุคของเขาประกอบด้วย 15 รัฐซึ่งรวมกันในนาม
“Russian Soviet Federal Socialist Republic”
ก่อนหน้านั้นเมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน
มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในสหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation)
ซึ่งเป็นหนึ่งใน 15 รัฐนี้ นายบอริซ เยลต์ซิน (Boris Nikolayevich Yeltsin)
ถือเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
บอริซ เยลต์ซิน ประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย
กับมวลมหาประชาชน เผชิญหน้ากับรถถัง หลังรัฐประหาร ส.ค.34
บรรดานายทหารที่อยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (CPSU)
ต่างไม่พอใจกับการสูญเสียอำนาจของตนให้กับประชาชน
และได้รวมตัวกันเคลื่อนรถถังเข้ามาในนครหลวง
ใช้โอกาสที่นายกอร์บาชอฟเดินทางไปพักผ่อนที่ต่างจังหวัด
เข้ายึดที่ทำการต่าง ๆ และประกาศตนเองเป็นคณะปฏิวัติในนาม
“คณะกรรมการในสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐ” (State Committee for the Emergency
Situation) (ชื่อคุ้น ๆ ไหม?)
แต่ทหารยึดอำนาจได้แค่สองวัน
ประชาชนหลายหมื่นคนนำโดยนายเยลต์ซินได้พากันล้อมที่ทำการ CPSU
ซึ่งเป็นเหมือนทำเนียบประธานาธิบดี
นายเยลต์ซินปีนขึ้นไปบนรถถังโบกธงพร้อมกับประชาชน
ทำให้ทหารไม่กล้ายิงประชาชน และยุติการเคลื่อนไหวไปโดยปริยาย
วันที่ 23 สิงหาคม นายกอร์บาชอฟก็เดินทางกลับมายังนครหลวง
ในวันเดียวกันนายเยลต์ซินลงนามในคำสั่งในฐานะประธานาธิบดี
สั่งยุบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
เป็นอันสิ้นสุดระบอบสั่งการจากศูนย์กลางอย่างเป็นทางการ
ส่วนนายกอร์บาชอฟก็ลงจากตำแหน่งในปลายปีเดียวกัน
สิ้นสุดยุคของผู้ที่ถือว่าเป็นบิดาแห่งรัสเซียยุคใหม่
และผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพท่านนี้
นับแต่ปี 2534 มาจนปัจจุบัน
ชาวรัสเซียรวมทั้งประชาชนในรัฐเครือจักรภพอื่น ๆ
ซึ่งเคยอยู่ใต้ปีกของสหภาพโซเวียต
ก็สามารถเลือกตั้งผู้นำประเทศของตนได้โดยตรง
และไม่เคยเกิดเหตุปฏิวัติรัฐประหารขึ้นมาอีก
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43826