หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คุยกับ ‘จรัญ โฆษณานันท์’: เส้นทางวิบากของสิทธิมนุษยชน (แบบไทยๆ)

คุยกับ ‘จรัญ โฆษณานันท์’: เส้นทางวิบากของสิทธิมนุษยชน (แบบไทยๆ)

 


สัมภาษณ์ โดย ธนากร อาจชายแดน

ตลอดห้วงความขัดแย้งทางการเมือง มีโวหารทางการเมืองหลายอย่างที่ถูกสร้างเสริมเติมแต่งขึ้นเพื่อให้ผู้พูดมี ที่ยืนในสนามการเมืองอย่างชอบธรรม คำว่า ‘สิทธิมนุษยชน’ ก็เป็นหนึ่งในนั้น มันเป็นถ้อยคำที่เราได้ยินบ่อยๆ จากหลายๆ ภาคส่วนทั้งนักวิชาการ เอ็นจีโอ ข้าราชการ กระทั่งรัฐบาลหลายๆ รัฐบาล ไม่เว้นแม้แต่รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร

ท่ามกลางความเฟื่องฟูของ แนวคิดด้านสิทธิมนุษยชน สถานการณ์ความเป็นจริงในสังคมกลับเป็นไปในทางตรงข้าม ขณะที่องค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ไม่ว่าศาลสถิตยุติธรรม หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ในวาระ เดือนแห่งสิทธิมนุษยชน ‘ประชาไท’ พูดคุยกับ จรัญ โฆษณานันท์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เขียนตำรานิติปรัชญาเลื่องชื่อ ย้อนดูประวัติศาสตร์ของสิทธิมนุษยชนไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับการเมืองและชนชั้น นำอย่างแนบแน่น นอกจากนั้นยังชวนมองการทำงานขององค์กรด้านสิทธิที่สำคัญหลายองค์กร และประเมินอนาคตด้านสิทธิมนุษยชนหลังประชาคมอาเซียนถือกำเนิดอย่างเป็นทาง การ


ประเทศไทยเริ่มมีการพูดถึงหรือมีแนวคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชน ตั้งแต่เมื่อไร เริ่มชัดเจนตั้งแต่สมัยปรีดี พนมยงค์ ใช่หรือไม่

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44320

“ลูกเผด็จการ” VS ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลี: 2 ความทรงจำคู่ขนานของ ปัก กึน เฮ

“ลูกเผด็จการ” VS ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลี: 2 ความทรงจำคู่ขนานของ ปัก กึน เฮ

 


 
โดย พิณผกา งามสม

 
ความลักลั่นของปัก กึน เฮ ว่าที่ ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้ ขณะที่เพศสภาพหญิงนั้นเป็นประเด็นหนึ่งที่ชี้วัดว่าสังคมเปิดให้กับความเท่า เทียมทางเพศเพียงใด แต่ในอีกทางหนึ่ง ในฐานะ “ทายาทเผด็จการ” ที่โลกจดจำ ความเป็นมาของเธอจึงถูกวิพากษ์และต่อต้านจากนักประชาธิปไตยในเกาหลีไม่น้อย


พลันที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีใต้ประกาศออกมาอย่าง เป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่ผ่านมา ความประดักประเดิดก็เกิดขึ้น เมื่อ ปักกึนเฮ กำลังจะก้าวสู่การเป็น “ประธานาธิบดีหญิง” คนแรกของประเทศ แต่ประวัติความเป็นมาของเธอนั้นกลายเป็นสิ่งที่ลำบากใจต่อการบอกว่า นี่คือความก้าวหน้าของสังคมการเมืองเกาหลี

ปัก กึน เฮ วัย 60 ปี เป็นบุตรสาวคนโตของปักจุงฮี เผด็จการที่ครองอำนาจอยู่นานถึง 18 ปี (พ.ศ. 2504- พ.ศ. 2521) ในยุคแห่งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจด้วยการวางรากฐานแห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมและ การส่งออก ก่อนจะถูกลอบสังหาร ในปี 2521 เธอเคยทำหน้าที่สตรีหมายเลขหนึ่งในฐานะบุตรสาวของประธานาธิบดี เนื่องจากแม่ของเธอที่ถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2517 และสิ้นสุดการทำหน้าที่เมื่อพ่อลูกลอบสังหารในวันที่ 26 ตุลาคม 2521

ปัก กึน เฮ  เคยดำรงตำแหน่งประธานพรรคแกรนด์แนชันแนล (GNP) พรรคฝ่ายอนุรักษนิยมของเกาหลีใต้ (พ.ศ. 2554-2555) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกาหลีใต้ 4 สมัย ระหว่างปีพ.ศ. 2541-2555

ประวัติศาสตร์ “ก้าวหน้า” หรือ “ถอยหลัง”

“Who said, history is 'progress'? Welcome to the backward society! A daughter of the dictator became the first 'female' Korean president,, Oh..my...” “ใครพูดว่าประวัติศาสตร์ “ก้าวหน้า”, ขอต้อนรับสู่สังคมถอยหลัง เมื่อลูกสาวเผด็จการกลายมาเป็น 'ประธานาธิบดีหญิงคนแรก’ ของเกาหลี”

นักวิชาการรุ่นใหม่ของเกาหลีใต้รายหนึ่ง โพสต์ในเฟซบุ๊กแสดงความผิดหวังต่อผลการเลือกตั้ง สะท้อนแรงต่อต้านจากแง่มุมประวัติศาสตร์

ก่อนการลงคะแนนเสียง เครือข่ายนักวิชาการสายประชาธิปไตย มีการออกจดหมายเปิดผนึก และเรียกร้องให้ร่วมลงชื่อเพื่อต่อต้านบุตรสาวของอดีตเผด็จการ

“ปัก กึน เฮ ไม่ได้เพียงแต่แสดงบทบาทลูกสาวของผู้เผด็จการเท่านั้น แต่เธอยังทำหน้าที่ ‘สตรีหมายเลขหนึ่ง’ แทนแม่ของเธอที่ตายไปด้วย เธอก้าวสู่เส้นชัยในการเป็นผู้ชิงตำหน่งประธานาธิบดีด้วยการชี้ให้ผู้ลง คะแนนเห็นความสำเร็จของระบอบปักจุงฮี และยังเรียกร้องให้ฟื้นฟูเกียรติภูมิของระบอบดังกล่าว เธอจะกลายมาเป็นตัวเลือกให้กับฝ่ายคณาธิปไตยที่โหยหาระบอบเผด็จการปักจุงฮี” (อ่านจดหมายเปิดผนึกจากไฟล์แนบ)

จดหมายเปิดผนึกที่ส่งถึงนักวิชาการและสื่อในเอเชีย ให้ร่วมลงชื่อเพื่อต่อต้านเธอในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ใช้ ถ้อยคำวิพากษ์เธออย่างรุนแรง พร้อมย้ำถึงช่วงเวลาภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความ ทุกข์ของชาวเกาหลี

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44313

ห้องเรียนประชาธิปไตย 21 12 201

ห้องเรียนประชาธิปไตย 21 12 201

 

ห้องเรียนประชาธิปไตย 21 12 55

"โต้อานันท์ ปันยารชุน คนดี๊ดี"
โดย อ.ยิ้ม&หวาน

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=xDGYqM8Qlb0