หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

รณรงค์ปล่อยตัว "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" สร้างเสริมเสรีภาพของผู้ใช้แรงงาน

รณรงค์ปล่อยตัว "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" สร้างเสริมเสรีภาพของผู้ใช้แรงงาน

 

พัชณีย์ คำหนัก
โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

 

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 สภาแรงงานแห่งรัฐวิคตอเรีย (Victorian Trades Hall Council) ประเทศออสเตรเลีย ที่ประกอบด้วยสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 400,000 คน [1] ได้ออกจดหมายเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐไทยปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงาน ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่งถึงสถานทูตไทยประจำประเทศออสเตรเลีย

ทั้งนี้  ก่อนหน้าทางโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยได้ประชุมพูดคุยกับคุณลุค ฮิลาคารี เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์และฝ่ายอุตสาหกรรมของสภาแรงงานฯ ดังกล่าว  พร้อมกับนักกิจกรรมด้านแรงงานจากเครือข่ายแรงงานเอเชียออสเตรเลีย (Australia Asia Worker Links) และองค์กรสังคมนิยมทางเลือก (Socialist Alternative) ร่วมประชุมผลักดันการรณรงค์ครั้งนี้ด้วย

เนื้อหาของจดหมายรณรงค์ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข ลงชื่อโดยนายไบรอัน บอยด์ เลขาธิการสภาแรงงานแห่งรัฐวิคเตอเรีย  แปลเป็นภาษาไทยโดยละเอียดดังนี้ [2]
……..


ถึง เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศออสเตรเลีย
นายมาริษ  เสงี่ยมพงษ์
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา
111 Empire Circuit
Yarralumla ACT 2600

ถึง สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเมลเบิร์น
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ดร.ศรีมน เอ วอลเลซ
Suite 301, 566 St Kilda Road
Melbourne VIC 3004

ข้าพเจ้าใน นามของสภาแรงงานแห่งรัฐวิคตอเรีย ขอแสดงความสมานฉันท์ไปยังคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงานที่กำลังถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัว ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

เรารู้สึกเป็นกังวลอย่างยิ่งต่อการจองจำคุมขังเขา ซึ่งถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการประกันหลายครั้ง

คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่ทำงานจัดตั้งสหภาพแรงงานส่งเสริมประชาธิปไตยใน ประเทศไทย  ในปี 2550 เขาเป็นบรรณาธิการนิตยสารวอยส์ออฟตากสิน ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ทางการเมืองที่คัดค้านการทำรัฐประหารของทหารเมื่อปี 2549   เขายังเป็นประธานเครือข่ายองค์กรแรงงานเพื่อประชาธิปไตยและเป็นหัวหน้ากลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากการทำรัฐประหาร 2549

เราตกใจมาก เมื่อมีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมแดชานุภาพเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ปิดปากนักกิจกรรมทางสังคมและผู้ที่คัดค้านเห็นต่างจากเผด็จการรัฐ ประหาร 2549 เป็นต้นมา  เราเชื่อว่าการใช้กฎหมายไปในทางที่ผิดอย่างต่อเนื่องนี้จะก่อให้เกิดภัย อันตรายต่อการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทยใหม่  กฎหมายดังกล่าวจึงต้องถูกนำมาทบทวน ตรวจสอบ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล

ดังนั้น  เราจึงขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐไทย

1. ยกเลิกข้อกล่าวหาทุกข้อที่กระทำต่อคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขโดยทันที และปล่อยตัวเขาอย่างไม่มีเงื่อนไข
2. ยกเลิกข้อกล่าวหาทุกข้อที่กระทำต่อนักกิจกรรมทางการเมือง นักหนังสือพิมพ์ และทุกคนที่เป็นเหยื่อของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  และ
3. รื้อฟื้นเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นในประเทศไทยเพื่อสร้างคุณประโยชน์ และยกระดับประชาธิปไตยในประเทศต่อไป


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40100

"อันเดอร์ เบห์ริง เบรวิก"ฆาตกรสังหารหมู่ 77ศพ ยังยืนยันศาลนอร์เวย์"ไม่รับผิด

"อันเดอร์ เบห์ริง เบรวิก"ฆาตกรสังหารหมู่ 77ศพ ยังยืนยันศาลนอร์เวย์"ไม่รับผิด

 

 

ศาลนอร์เวย์ นำตัวนายอันเดอร์ เบห์ริง เบรวิก มือปืนผู้ก่อเหตุวางระเบิดและสังหารหมู่ จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 77 คน เข้าพิจารณาคดีในศาลวันนี้ (16 เม.ย.) ซึ่งเชื่อว่าน่าจะพุ่งเป้าไปยังประเด็นที่ว่าเขามีสภาพจิตปกติปกติดีหรือไม่ ระหว่างก่อเหตุ

นางเวนเช เอลิซาเบธ อาร์นเซน หัวหน้าผู้พิพากษา เปิดการพิจารณาคดี ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 10 สัปดาห์ ในเบื้องต้นจะเน้นไปที่การพิจารณาว่า นายเบรวิคเป็นคนวิกลจริตหรือไม่ สมควรถูกส่งตัวเข้าเรือนจำหรือโรงพยาบาลโรคจิต

นายเบรวิกในชุดสูทสีดำ เดินเข้ามาในห้องพิจารณาคดีโดยมีสีหน้ายิ้มแย้ม ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะถอดกุญแจมือของเขาออก  และก่อนนั่งฟังพิจารณาคดี เขาได้นำมือข้างหนึ่งแตะที่หน้าอกและเหยียดแขนขวาไปข้างหน้า ซึ่งเป็นท่าแสดงความเคารพที่เขียนไว้ในคำประกาศ 1,500 หน้ากระดาษก่อนการโจมตีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมว่าเป็นการแสดงความเคารพขององค์กรอัศวินเทมพลาร์

ในภายหลังเขาได้กล่าวต่อผู้พิพากษาว่า เขาไม่ยอมรับความถูกต้องชอบธรรมของศาล เนื่องจากศาลรับคำสั่งจากพรรคการเมืองที่สนับสนุนแนวคิดความหลากหลายทาง วัฒนธรรม และเขาไม่สำนึกถึงอำนาจใดๆของศาล  และอ้างว่าผู้พิพากษาหญิงเอลิซาเบธ อาร์นเซน เป็นเพื่อนกับน้องสาวของนายโกร ฮาร์เล็ม บรุนด์ลันด์ อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคแรงงาน ทั้งยังอธิบายว่าตนเองมีอาชีพเป็นนักเขียน และตอนนี้กำลังผลิตผลงานจากห้องขัง

หลังจากนั้น ผู้พิพากษาได้อ่านคำคัดค้าน ก่อนที่หัวหน้าอัยการจะอ่านข้อกล่าวหา รวมถึงรายชื่อและรายละเอียดของการเสียชีวิตของเหยื่อและผู้บาดเจ็บทั้งหมด ขณะที่นายเบรวิกแสดงสีหน้าเรียบเฉย และก้มหน้ามองเพียงแต่โต๊ะที่อยู่ด้านหน้าของเขา  โดยหลังจากการชี้แจงทั้งหมด เขาได้กล่าวปิดท้ายยอมรับการกระทำทั้งหมด แต่ยังคงไม่ยอมรับผิดทางคดีอาญา โดยอ้างว่าที่กระทำไปเพื่อป้องกันตนเอง


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1334556996&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ปรองดองโดยประเด็น โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

ปรองดองโดยประเด็น โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์




 

ผมไม่ค่อยแปลกใจที่ความพยายามจะ "ปรองดอง" ในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จ ร้ายไปกว่านั้นกลับฟื้นความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ข้างในให้ปรากฏชัดขึ้น

ผม ไม่ทราบหรอกว่า คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ "ปรองดอง" ไม่รู้จะกี่ชุดที่ผ่านมา มี "วาระซ่อนเร้น" ทางการเมืองอะไร ซ้ำยังออกจะเชื่อด้วยว่า ถึงรู้ไปก็ไม่มีประโยชน์ นอกจากทำให้เกิดความระแวงสงสัย และกระตุ้นความขัดแย้งให้แรงขึ้นโดยไม่จำเป็น

เมื่อนึกถึงการปรองดอง กรรมการทุกชุดที่ผ่านมา มักนึกถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นคู่ขัดแย้ง และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ผมไม่แปลกใจว่าความพยายามของกรรมการมักล้มเหลว เพราะความขัดแย้งที่เกิดในประเทศไทยนั้น ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ไม่ใช่เพราะนาย ก.ไม่ชอบนาย ข. จึงได้เคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างอำนาจของกันและกัน แต่ทั้งนาย ก.และนาย ข.ต่างสามารถดึงประชาชนจำนวนมาก ให้เข้ามาร่วมเคลื่อนไหวได้ จนกลายเกิดเหตุร้ายแรงบ่อยครั้ง เรื่องของเรื่องจึงเกินกว่าความบาดหมางส่วนบุคคล

และระงับความขัดแย้งด้วยวิธี "จับเข่าคุยกัน" ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องของนาย ก.และนาย ข.เท่านั้น

มีเข่าให้จับยุ่บยั่บไปหมด

ที่ น่าแปลกใจมากกว่า คือคณะกรรมการปรองดองชุดต่างๆ ไม่ค่อยให้ความสนใจกับ "ประเด็น" ที่สังคมไทยขัดแย้งกันเอง "ประเด็น" เหล่านี้ต่างหากที่น่าจะใช้กระบวนการทางสังคมเข้ามาเจรจาต่อรองกัน ผมคิดว่าในกระบวนการเจรจาต่อรองซึ่งออกมาในรูปของการอภิปราย โต้เถียง และข้อเสนอต่างๆ นั้น ประเด็นของความขัดแย้งจะชัดขึ้น

ในขณะเดียว กัน หนทางประนีประนอมที่ทุกฝ่ายยอมรับได้จะปรากฏให้เห็นขึ้นมาพร้อมกัน ผมจึงอยากเสนอ (โดยปราศจากการวิจัยรองรับ) ว่า ประเด็นแห่งความขัดแย้งในสังคมไทยเวลานี้มีอะไรบ้าง
 


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1334585676&grpid=&catid=02&subcatid=0200

The Daily Dose 16เมย55

The Daily Dose 17เมย55

 

The Daily Dose 16เมย55

(คลิกฟัง)

http://www.youtube.com/watch?v=wK6s2kfXiTQ&feature=relmfu

The Daily Dose 16เมย55

(คลิกฟัง) 
http://www.youtube.com/watch?v=hj3tGl4_t7Y&feature=relmfu

Wake Up Thailand 17เมย55

Wake Up Thailand 17เมย55

 

Wake Up Thailand 17เมย55

(คลิกฟัง) 

http://www.youtube.com/watch?v=681NGiUsoLQ&feature=relmfu

สันติภาพปาตานี: บทสนทนาอันไม่รู้จักจบ?

สันติภาพปาตานี: บทสนทนาอันไม่รู้จักจบ?

 

 
ดอน ปาทาน  
PATANI FORUM


เมื่อกล่าวถึงประเด็นของความรุนแรงในภาคใต้  ปฏิกิริยาของทั้งกองทัพไทยและผู้นำทางการเมืองซึ่งยืนคนละขั้วทางการเมือง ต่างก็แย่พอๆ กัน


พวกเขาต่างพยายามที่จะโจมตีอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือ มากกว่าที่จะมองถึงการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่าง จริงจัง


พรรคประชาธิปัตย์และกองทัพไม่ได้รีรอที่จะโจมตีรัฐบาลหลังจากที่ได้รู้ ว่าอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรซึ่งยังคงหลบหนีอยู่นอกประเทศนั้นได้พบกับกลุ่มผู้นำรุ่นเก่าของขบวน การแบ่งแยกดินแดนของปาตานีหลายกลุ่ม


ควรจะกล่าวไว้ในที่นี้ว่า  รัฐบาลในอดีตหลายรัฐบาล ตัวแทนองค์กรหลายแห่ง และแม้กระทั้งเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงได้พยายามที่จะพูดคุยหรือเจรจากับ กลุ่มแบ่งแยกดินแดนตั้งแต่ช่วงปีทศวรรษที่ 1980
ในครั้งแรก กองทัพเป็นผู้ริเริ่ม  แต่ว่าการพบปะกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ไปได้ไม่ไกลเกินกว่าการเป็นข่าวและการแสวงหาข่าวกรอง



ในช่วงปลายปีทศวรรษที่ 1980 และต้นทศวรรษที่ 1990 ปีกที่ติดอาวุธของขบวนการเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนได้ล้มเลิกการเคลื่อนไหว ผู้นำของพวกเขาหลายคนก็ยังคงลี้ภัยอยู่นอกประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปี 2004 กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ซึ่งได้เคยพบกับทหารเมื่อกว่าสองทศวรรษ ที่แล้ว ได้กลับมาสร้างบทบาทให้ตัวเองอีกครั้ง พวกเขาพยายามที่จะเข้าไปให้ถึงขบวนการรุ่นใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งเรียกกันในท้องถิ่นว่า “ยูแว” และกลุ่มประชาสังคมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

(อ่านต่อ) 

http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40102

ข้อเท็จจริงจากการชันสูตรศพผู้เสียชีวิต 10 เมษา 53

ข้อเท็จจริงจากการชันสูตรศพผู้เสียชีวิต 10 เมษา 53

 

โดยสลักธรรม โตจิราการ


แม้ว่าการสลายการชุมนุมของประชาชนที่บริเวณสี่แยกคอกวัวจะผ่านมา 2 ปี แม้ว่าทุกฝ่ายจะเห็นพ้องต้องกันว่าการค้นหาความจริงว่าใครเป็นผู้ใช้ความ รุนแรงเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในการทำให้ประเทศไทย พัฒนาสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ก็ตาม ยังมีความไม่ชัดเจนว่าผู้เสียชีวิตนั้นถูกผู้ใดสังหาร ฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ก็กล่าวหาว่า “ชายชุดดำ” ซึ่งถือปืนอาก้าทำการสังหาร ในขณะที่ฝั่งประชาชนผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากลงความเห็นว่าทหารเป็นผู้สังหาร ประชาชน

2 ปีที่แล้วหลังเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมชันสูตรพลิกศพที่เสียชีวิตเนื่องจากเหตุการณ์ ปะทะกันในวันที่ 10 เมษายน 2553 โดยมีคณาจารย์ด้านนิติเวชวิทยาจากหลายสถาบัน เช่น โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนแพทย์อื่นๆเป็นกรรมการร่วมกันชันสูตรพลิกศพเพื่อให้การชันสูตร พลิกศพเป็นไปด้วยความโปร่งใส นอกจากนั้น คณะกรรมการดังกล่าวได้เชิญตัวแทนจาก นปช. ไปร่วมชันสูตรศพที่เสียชีวิตซึ่งมี อ.เชิดชัย ตันติสิรินทร์ และ อ.ชลน่าน ศรีแก้ว ไปร่วมชันสูตร ส่วนผมก็เข้าไปเป็นผู้ช่วยทั้ง 2 ท่านด้วย โดยศพของประชาชนนั้น คณะกรรมการชันสูตรพลิกศพทำการชันสูตรที่โรงพยาบาลตำรวจ ส่วนศพของทหารนั้นคณะกรรมการชันสูตรพลิกศพทำการชันสูตรที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ เกล้า ผมจึงได้เห็นผู้เสียชีวิตทุกคนในเหตุการณ์ 10 เมษายน ทั้งฝั่งประชาชนและฝั่งทหาร โดยศพของประชาชนนั้นได้รับการชันสูตรพลิกศพโดยคณะกรรมการร่วมชันสูตรฯที่โรง พยาบาลตำรวจทุกราย ส่วนศพของทหารที่เสียชีวิตก็ได้รับการชันสูตรโดยคณะกรรมการร่วมชันสูตรพลิก ศพชุดเดียวกันนี้ 

ยกเว้น พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่คณะกรรมการร่วมชันสูตรพลิกศพไม่ได้เป็นผู้ชันสูตรศพ เพราะศพถูกนำไปฌาปนกิจเสียก่อน หลายคนจึงตั้งข้อสงสัยว่าทำไมจึงต้องรีบฌาปนกิจศพของ พ.อ.ร่มเกล้า โดยไม่นำศพเข้าร่วมการชันสูตรโดยคณะกรรมการร่วมชันสูตรพลิกศพจากหลายสถาบัน เพื่อความโปร่งใสในขั้นตอนการชันสูตรพลิกศพเช่นเดียวกับศพอื่น ?


อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ผมได้เข้าร่วมกระบวนการชันสูตรด้วย จึงขอนำเอาสิ่งที่ได้พบเห็นมาเล่าให้ประชาชนได้รับฟังเพื่อจะเป็นประโยชน์ใน การค้นหาความจริงมากขึ้น

จากการตรวจศพของประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมกับ นปช. ในวันที่ 10 เมษายน คณะกรรมการชันสูตรฯ ลงความเห็นว่าผู้เสียชีวิตในฝั่งของประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมกับ นปช. นั้น มี 1 คนที่หัวใจวายตาย และอีก 1 คนที่เสียชีวิตเนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนความเร็วต่ำ ส่วนคนที่เหลือทั้งหมดเสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยกระสุนความเร็วสูง เนื่องจากมีการแตกสลายของอวัยวะภายในอย่างรุนแรง และมีอาจารย์แพทย์ด้านนิติเวชจากโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งให้ความเห็นเป็นการ ส่วนตัวว่าแผลจากกระสุนปืนความเร็วสูงนั้นน่าจะเป็นแผลจากกระสุนปืน M16 มากกว่าอาก้า แต่ว่าเนื่องจากไม่พบหัวกระสุน แพทย์นิติเวชจึงไม่สามารถระบุชนิดของหัวกระสุนไปในรายงานตรวจศพได้ทันที ต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานนิติวิทยาศาสตร์และพนักงานสอบสวนในการนำ ข้อมูลจากการสอบสวนไปพิจารณาลงความเห็นเพิ่มเติมว่าเกิดจากกระสุนชนิดใด แต่ถ้าลองดูภาพที่ผมหามาเปรียบเทียบแผลภายในร่างกายที่เกิดจากกระสุนชนิด ต่างๆ (ขอบคุณ www.firearmstactical.com) ดังที่ปรากฏข้างล่าง แผลของกระสุน 5.56x45 mm มาตรฐาน NATO อย่างที่ใช้ใน M16 HK33 และTavor ที่ทหารใช้ตอนปราบปรามประชาชน (รูปที่ 1 กรอบบน) จะเห็นว่าแผลภายในจะเกิดการทำลายเป็นช่องกว้างขึ้นมามากเหมือนกับที่พบในศพ ของประชาชน ในขณะที่แผลจากกระสุน 7.62x39 mm มาตรฐานรัสเซียอย่างที่ใช้ในอาก้า (รูปที่ 1 กรอบล่าง) ที่อ้างว่าชายชุดดำใช้ จะไม่เกิดการทำลายอวัยวะภายในเป็นช่องกว้าง แต่จะทะลุร่างกายออกไปได้มากกว่า M16

 

(อ่านต่อ) 

http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40081