หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ใครเป็นผู้ตรวจสอบ?

ใครเป็นผู้ตรวจสอบ?






5 ธันวา ของทุกๆปี


5 ธันวา ของทุกๆปี




ปิดถนน บังคับใส่เสื้อเฉพาะสี บังคับจงรักภักดี แถมทั้งหมดยังต้องเสียเงินจัดงานให้.....
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ความป่าเถื่อนของสถาบันกษัตริย์ไทย

สถาบันกษัตริย์ไทยเป็นสัญลักษณ์ของความล้าหลัง ป่าเถื่อน และความเหลื่อมล้ำ
ชนชั้นปกครองไทยพยายามกล่อมเกลาให้เราเชื่อว่า นายภูมิพลเป็นทั้ง “กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์” และ “กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย” พร้อมกัน การ ที่ความเชื่อนี้ไม่สมเหตุสมผลไม่สำคัญ เพราะมีการรณรงค์ผ่านโรงเรียนและสื่อให้เราเชื่อว่ากษัตริย์มีอำนาจเหนือ ชีวิตของเรา มีการสั่งสอนให้เราทั้งรักและทั้งกลัวอำนาจกษัตริย์ และในบรรยากาศแบบนี้ โดยเฉพาะบรรยากาศความกลัว เหตุผลและปัญญาก็สูญหายไปง่าย ข้อเสนอของชนชั้นปกครองนี้ เป็นความพยายามให้ประชาชนเชื่อว่าไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการจงรักภักดีต่อและเกรงกลัวผู้ปกครองที่เป็นเสมือนพระเจ้าหรือเทวดา ความคิดนี้เป็นความพยายามที่จะหลอกเรา เพื่อปกป้องอำนาจและอภิสิทธิ์ของชนชั้นปกครองทั้งชนชั้น โดยเฉพาะทหาร ข้าราชการชั้นสูง และนายทุนใหญ่

ถ้า เราจะ “ตาสว่าง” จริง เราต้องเลิกจงรักภักดี และต้องเข้าใจว่านายภูมิพลอ่อนแอไร้อุดมการณ์ และเป็นเครื่องมือของทหาร เราต้องมองว่าทหารเป็นศัตรูสำคัญที่สุดของประชาธิปไตย
 
ใน ยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์นองเลือดที่ราชประสงค์และการเงียบเฉยของนายภูมิพล รวมถึงพฤติกรรมสนับสนุนพันธมารของราชินีและลูกชาย ประชาชนเสื้อแดงจำนวนมาก หลายล้านคนทั่วประเทศ กลายเป็น “ผู้เคยรักเจ้า” มีการเปลี่ยนจากการ “รัก” ไปเป็นการ “เกลียดชัง” และเวลาคน เสื้อแดงพันๆ คนตะโกนร้องว่า “เหี้ยสั่งฆ่า” ที่ราชประสงค์ในวันที่ ๑๙ กันยาที่ผ่านมา เขาหมายถึงนายภูมิพล ซึ่งมันไม่จริง.... แต่อย่างน้อยคนก็เลิกรักเจ้า ตรงนั้นเป็นเรื่องดี
 
สิ่ง หนึ่งที่คนเสื้อแดงส่วนใหญ่ยังสลัดออกจากหัวไม่ได้คือ “ความกลัว” ที่มีต่อนายภูมิพลและราชวงศ์ เพราะยังเชื่อใน “อำนาจ”ของกษัตริย์ที่ทหารและคนชั้นสูงกล่อมเกลาให้เราเชื่อ ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะเห็นทะลุนิยาย และเริ่มเข้าใจว่านายภูมิพลเป็นแค่สัญลักษณ์ของลัทธิกษัตริย์ เป็นตรายางเพื่อประทับตราความชอบธรรมให้ทหาร แต่เป็นตรายางที่ร่ำรวยมหาศาล คนเสื้อแดงต้องพยายามฝ่าฟันความรู้สึกกลัวนายภูมิพล และเปลี่ยนไปเป็นความรู้สึกสมเพชดูถูกกษัตริย์และราชวงศ์แทน ดูถูกสมเพชในแง่ที่พวกนี้ไม่มีปัญญาและความสามารถอะไร แต่กลับชื่นชมในนิยายที่ทำให้ตนเองเป็นเทวดา และเราต้องสมเพชที่เขาไม่มีความกล้าหรือศีลธรรมพอที่จะรับผิดชอบอะไร กล้าแต่รับผลประโยชน์จนรวยเท่าฟ้าเท่านั้น 
 
ภาพ ของสถาบันกษัตริย์ที่ดูเข้มแข็งและมีอำนาจ ที่ถูกสร้างขึ้นท่ามกลางความกลัว เป็นภาพลวงตา ภาพลวงตานี้มีวัตถุประสงค์อะไรสำหรับชนชั้นปกครอง? 
 
การ สร้างภาพของกษัตริย์ว่ามีอำนาจสูงสุดดุจเทวดา เป็นวิธีหาความชอบธรรมให้กับตนเองของชนชั้นปกครองไทย พูดง่ายๆ พวกทหาร ข้าราชการชั้นสูง และนักการเมือง รวมถึงนายทุนใหญ่ เป็นผู้ที่มีอำนาจจริงในสังคม และเป็นผู้ที่ตัดสินใจทำอะไรเองเสมอ เขาเป็น “เหี้ยที่สั่งฆ่าประชาชน” แต่เขาจะสร้างภาพว่าทำทุกอย่างเพื่อกษัตริย์ หรือทำตามคำสั่งของกษัตริย์หรือราชินี ส่วนนายภูมิพลในฐานะกษัตริย์ ก็มีหน้าที่ในการประทับตรา ชม และให้ความชอบธรรมกับสิ่งที่ชนชั้นปกครองทำ การปราศรัยของนายภูมิพลมักจะมีลักษณะกำกวมตีความได้หลายด้าน บ่อยครั้งไม่มีสาระอะไรมากมาย แต่นั้นคือโอกาสของชนชั้นปกครองที่จะตีความเข้าข้างตนเอง และเป็นโอกาสของนายภูมิพลที่จะไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น แต่อย่าหลงคิดว่านายภูมิพลเป็นเหยื่อ เขากอบโกยผลประโยชน์มากมายจนเป็นกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก และเป็นคนไทยที่รวยที่สุดอีกด้วย
 
ถ้านายภูมิพลจริงใจในคำพูดของตนเอง เรื่องการ “ช่วยคนจน” เขาจะต้องกระทำบางอย่างเป็นรูปธรรมคือ
1. สละมหาสมบัติทั้งหลายในธนาคาร บริษัทใหญ่ฯลฯ และยกให้ประชาชนไทย เพื่อเป็นกองทุนสร้างรัฐสวัสดิการ
2. ประกาศขายวังทั้งหมด แล้วนำเงินนี้เข้ากองทุนเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ โดยสงวนบ้านพักขนาดเล็กพอเหมาะให้ตนเองอยู่
3. แจ้งรัฐบาลว่าจะปฏิเสธเงินจากภาษีประชาชน และจะเลี้ยงดูตนเองด้วยรายได้พอเหมาะ เช่นเงินเดือนเท่ากับนายกรัฐมนตรี
4. สั่งให้คนอื่นในครอบครัวทำเช่นกัน และให้ออกไปทำงาน แทนที่จะแบมือรับเงินประชาชน
 
การ ใช้กษัตริย์เป็นเครื่องมือแบบนี้ของชนชั้นปกครองไทย มีกฎหมายหมิ่นและกฎหมายคอมพิวเตอร์ไว้เพื่อบังคับความจงรักภักดี และข้อหา “ล้มเจ้า” กลายเป็นข้ออ้างในการเข่นฆ่าประชาชนกลางเมืองด้วย มันเกิดขึ้นในวันที่ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ และอีกครั้งใน เมษา/พฤษภา ๒๕๕๓
 
มัน มีวิธีเดียวที่เราจะแก้ไขปัญหานี้ได้คือ เราต้องล้มอำมาตย์ ลดอำนาจและบทบาทของทหาร และยกเลิกสถาบันกษัตริย์ แล้วเราจะมีโอกาสสร้างประชาธิปไตย
 
ถ้า เราศึกษาประวัติศาสตร์ไทยเราจะพบว่าในรอบ 200 ปีที่ผ่านมาสถาบันกษัตริย์ไทยเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง จากสถาบันในระบบศักดินา ไปเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจรวมศูนย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในช่วงรัชกาลที่ ๕ และในการปฏิวัติปี ๒๔๗๕ เปลี่ยนอีกครั้งเป็น “ประมุขภายใต้อำนาจทหาร” ตั้งแต่ ๒๔๗๕ ถึงปัจจุบัน นายภูมิพลไม่เคยล้มอำนาจทหารและขึ้นมาเป็นใหญ่ได้เลย เพราะเมื่อเผด็จการถนอมหรือสุจินดาถูกประชาชนคัดค้าน ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม และ พฤษภาคม ๓๕ นายภูมิพลเป็นแค่ประมุขรับใช้ของทหารส่วนอื่น องค์มนตรี และนายทุน โดยที่มีการรอดูว่าใครชนะ แล้วให้นายภูมิพลออกมาปกป้องผลประโยชน์ของอำมาตย์ต่อ ผ่านการแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ หรือการออกโทรทัศน์
 
การรณรงค์ให้ประชาชนชื่นชมและให้ความสำคัญกับกษัตริย์ภูมิพลหลัง ๒๔๗๕ เริ่มในสมัยจอมพลสฤษดิ์ และมีการทำอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ ถ้าไม่มีการรณรงค์แบบนี้โดยฝ่ายทหาร ข้าราชการ และนายทุน คนอย่างนายภูมิพลคงไม่มีปัญญาจะผลักดันความสำคัญของตนเองได้ เพราะเขาเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนแอ ขาดความมั่นใจ ขี้ขลาด หลงตนเอง และคบค้าสมาคมกับมนุษย์คนอื่นไม่เป็น อย่าลืมว่าเพื่อนแท้ของนายภูมิพลคือหมา และสาเหตุที่เขาไม่ยิ้มก็เป็นเพราะเขาเป็นคนขี้อายที่ไม่มีเพื่อน ในภาพรวมครอบครัวของนายภูมิพลเป็นครอบครัวพิการที่ไร้ความอบอุ่นและเต็มไป ด้วยคนเพี้ยน
 
เครือ ข่ายของชนชั้นปกครองที่สนับสนุนและปกป้องสถาบันกษัตริย์ประกอบไปด้วยชนชั้น ปกครองทั้งหมด รวมถึงอดีตนายกทักษิณและนายทุนใหญ่อื่นๆ อีกด้วย ชนชั้นปกครองไทยทั้งชนชั้น รวมทุกซีก ทุกกลุ่ม และนักการเมืองพรรคเพื่อไทยจำนวน มากอีกด้วย ได้ประโยชน์จากการมีกษัตริย์เป็นประมุข และได้ประโยชน์จากการห้ามไม่ให้เราวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน เพราะทำให้เราไม่ตั้งคำถามกับระบบความเหลื่อมล้ำในสังคม
 
ใน กรณีอดีตนายกทักษิณ เขาชื่นชมระบบกษัตริย์ แต่ถูกทหารและกลุ่มอนุรักษ์นิยม แย่ง “สิทธิ์ที่จะอ้างความชอบธรรมจากกษัตริย์” ผ่านรัฐประหาร ๑๙ กันยาและเหตุการณ์อื่นๆ 

“ลัทธิ กษัตริย์” การบูชากษัตริย์เหมือนเทวดา การหมอบคลาน การใช้ราชศัพท์ การชมลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง หรือการประกาศความจงรักภักดี ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ และขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ทุกวันนี้คนเสื้อแดงจำนวนมากเข้าใจประเด็นนี้ได้ดี นี่คือสิ่งที่สร้างความกลัวในหมู่ชนชั้นปกครองไทย เพราะถ้าประชาชนไม่ศรัทธาในกษัตริย์ และไม่ศรัทธาในระบบศาล ทหารและข้าราชการชั้นสูงจะอ้างความชอบธรรมอะไรในการแทรกแซงการเมือง การทำลายประชาธิปไตย และการกอบโกยผลประโยชน์?.... จงกลัวต่อไปเถิดพวกอำมาตย์ เพราะสักวันหนึ่งประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
 
(ที่มา)

บทบาทแท้ของนายภูมิพล
(ที่มา)

ใครเป็นพ่อแล้วแฮปปี้ที่ลูกกราบ?

ใครเป็นพ่อแล้วแฮปปี้ที่ลูกกราบ?

เครดิต
http://www.prachatai.com/

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand


 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2555 ตอน 2
การ์ตูนเหยียดเพศ...ไร้รสนิยม
http://www.dailymotion.com/video/xvl8y 

แช่แข็งไป ''ล้างบ้านล้างเมืองมา'' 
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2555 ตอน 1 
แช่แข็งไป ล้างบ้านล้างเมืองมา ?
http://www.dailymotion.com/video/xvl7b5 


อ้าย เหวย เหว่ย ศิลปินทรงอิทธิพลของจีน 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 3 ธันวาคม 2555 ตอน 2
อ้าย เหวย เหว่ย ศิลปินทรงอิทธิพลของจีน 
http://www.dailymotion.com/video/xvk9r  



เสรีภาพการสาดกาแฟ พอๆ กับเสรีภาพสื่อ  

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 3 ธันวาคม 2555 ตอน1
เสรีภาพการสาดกาแฟ พอๆ กับเสรีภาพสื่อ
http://www.dailymotion.com/video/xvk8ql

The Daily Dose

The Daily Dose


เกือบสำเร็จเเล้วสำหรับ Egypt กับการสร้างชาติใหม่  


The Daily Dose ประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2555
เมืองไทยพร้อม 3G ...ศาลตัดสินดีเเล้ว

the daily dose 3 12 2012
สื่ออังกฤษมีอำนาจล้นฟ้
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=1YlaDdA1Oo8

Divas Cafe


Divas Cafe



Divas Cafe ประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2555
เที่ยวเมืองไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก
http://www.dailymotion.com/video/xvlgcu


เกย์ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย..!!

Divas Cafe ประจำวันที่ 3 ธันวาคม 2555
เกย์ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย..!!
http://www.dailymotion.com/video/xvkjm8

รู้ไหม ! พี่ไทย เป็นที่สุดแห่งอาเซียน หนึ่งเดียวในเออีซี ...อายเด็กไหม ???

รู้ไหม ! พี่ไทย เป็นที่สุดแห่งอาเซียน หนึ่งเดียวในเออีซี ...อายเด็กไหม ???


 
 

ปลายปี 2558  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC หรือ Asean Economics Community  จะเริ่มต้นขึ้นแล้ว

 
ช่วงนี้ โรงเรียนทั่วประเทศ จัดกิจกรรม เออีซี   เป็นกิจกรรมหลัก เพื่อให้เยาวชนเรียนรู้อาเซียน ทั้งในแง่มุม การศึกษา วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ  รวมถึงการเมือง
 
กิจกรรม ความรู้เรื่อง อาเซียน ของโรงเรียนหอวัง โดดเด่นไม่แพ้ใคร  เด็กนักเรียนต่างร่วมกิจกรรม ติดตั้งบอร์ด แสดงเรื่องราวของอาเซียน และ เออีซี อย่างต่อเนื่อง
 
แต่มี บอร์ดหนึ่งของ เด็กนักเรียนชั้น ม. 3/12   ให้ข้อมูลเรื่องการรัฐประหารในอาเซียน และพบว่า ประเทศไทย มีการรัฐประหารมากที่สุด
 
เป็นผลงานของผู้ใหญ่ ที่ควรภูมิใจหรือน่าละอายใจกันแน่ ???


(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354589929&grpid=01&catid=&subcatid=

ก้าวข้ามการยึดติด ‘ความดี’ กับ ‘คนดี’ แบบลอยๆ

ก้าวข้ามการยึดติด ‘ความดี’ กับ ‘คนดี’ แบบลอยๆ

 

โดย ประวิตร โรจนพฤกษ์
@PravitR

 

'no reason to be a good man with a bad guy'
จาก profile ทวิตเตอร์ของ @13daytimes, 2 ธันวาคม 2555 




อาจฟังดูแปลกๆ แต่การยึดติด ‘ความดี’ กับ ‘คนดี’ ของคนไทยจำนวนมาก เป็นอุปสรรคต่อการเข้าใจสังคมโดยแท้จริงและสร้างปัญหาตามมามากมาย

ทั้ง นี้เพราะความคิดเรื่องความดีและคนดีมีปัญหาอย่างน้อย 3 ประการ: 1) นิยาม ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ อันลื่นไหล 2) การให้ค่า ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ เหนือสิ่งอื่นใด และ 3) การพยามยามเข้าใจและอธิบายสังคมโดยผ่านแว่นของ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’
 

1) นิยาม ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ อันลื่นไหล
สังคมไทย มีการใช้คำว่า ‘ความดี’ กับ ‘คนดี’ กันอย่างฉาบฉวยกว้างขวางและลอยๆ ทั้งๆที่คำจำกัดความของแต่ละคน แต่ละอุดมการณ์ อาจต่างกันโดยสิ้นเชิง สร้างความสับสนมากมายให้กับสังคม


‘คนดี’ ในระบอบเผด็จการ หรือสังคมไพร่ทาส อาจหาใช่ ‘คนดี’ ในระบอบประชาธิปไตยที่ยึดหลักความเสมอภาคเท่าเทียมก็เป็นได้

‘คนดี’ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชอาจไม่อาจยอมรับให้ใครบังอาจวิพากษ์เจ้าได้ แต่ ‘คนดี’ ในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ย่อมยอมรับว่าการตรวจสอบวิพากษ์เจ้า เป็นส่วนหนึ่งของความโปร่งใสและสิทธิในสังคมประชาธิปไตย

‘คนดี’ และ ‘ความดี’ ในสังคมทุนนิยม ก็ต่างจาก ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ในสังคมที่เป็นสังคมนิยมมิมากก็น้อย


กลุ่มเสื้อเหลืองและองค์การพิทักษ์สยามเชื่อว่าพวกเขาเป็น ‘คนดี’ ในขณะที่เสื้อแดง ‘เลว’ แต่เสื้อแดงก็คงมองตนเองว่าเป็น ‘คนดี’ เช่นกัน

‘คน ดี’ และ ‘ความดี’ ของอัลกออีดะห์ ย่อมเป็น ‘คนชั่ว’ และ ‘ความชั่ว’ ของสหรัฐอเมริกา หรือ ผู้หญิง ‘ที่ดี’ ในสังคมที่ยอมรับความเท่าเทียมทางเพศ อาจมิใช่ผู้หญิงที่ ‘ดี’ ในสังคมที่ชายเป็นใหญ่ก็เป็นได้

‘คนดี’ สำหรับผู้เขียน อาจเป็น ‘คนเลว’ สำหรับผู้อ่านก็ย่อมเป็นได้

สรุปคือ นิยาม ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ แบบลอยๆ ไม่มี มันขึ้นอยู่กับคำจำกัดความจากมุมมองและอุดมการณ์อุดมคติอันหลากหลาย

การเป็น ‘คนดี’ และยึดถือ ‘ความดี’ ฟังแล้วดูดี และดูเหมือนเข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย ไม่มีปัญหาอันใด หากเอาเข้าจริงมันลื่นไหลซับซ้อนและพร่ามัวกว่าที่คิดมาก

ความคิดเรื่อง ‘คนดี’ และ ‘ความดี’ สามารถใช้เป็นกรอบบังคับให้ประชาชนหรือผู้อื่นปฏิบัติตามความคิดหรือ อุดมการณ์ที่นิยามกำหนดว่าอะไรคือ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ หากหากใครไม่ปฏิบัติตาม ก็จะถูกถือว่าเป็น ‘คนชั่ว’ แล้วถูกจัดการหรือกำจัดด้วยวิธีที่อาจมิสู้ดีก็เป็นได้

มันคล้ายกับ เวลาคนรักเจ้าอย่างไม่รู้จักพอเพียง หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าคนคลั่งเจ้า ถามผู้เขียนว่าเป็น ‘คนไทย’ หรือเปล่า เพียงเพราะผู้เขียนต่อต้านกฎหมาย ม.112 ซึ่งปิดหูปิดตาปิดปากประชาชน แท้จริงแล้วผู้ถามมิได้ต้องการคำตอบ หากต้องการจะบอกว่า ถ้าคุณคิดเห็นต่างจากเขา คุณก็ไม่ใช่ ‘คนไทย’ ในสายตาเขา และย่อมสามารถถูกไล่ให้ไปอยู่ประเทศอื่นอย่างเขมรหรือเมืองดูไบได้ โดยมิต้องมีสิทธิเหมือนคนไทยอื่นๆ – การพยายามกำหนดนิยามและวาทกรรมว่าอะไรเป็นไทยไม่เป็นไทย ก็ไม่ต่างจากการพยายามกำหนดว่าอะไรคือความดีและคนดีสักเท่าไหร่ ทั้งสองต่างเป็นเพียงความพยายามที่จะกำหนดให้คนเชื่อว่า มนุษย์ควรปฏิบัติตนอย่างไรภายใต้อุดมการณ์นั้นๆ การยัดเยียด ‘ความดี’ หรือ ‘ความชั่ว’ ให้คนๆ หนึ่ง จึงเป็นการยัดเยียดอุดมการณ์บางชนิด ในแง่นี้จึงไม่มีอะไรดีชั่วโดยปราศจากอุดมการณ์หรืออุดมคติรองรับ (ตัวอย่างเช่นสัตว์ล่าสัตว์ ที่ไม่ได้ดีชั่วในตัวของมันเอง) และในเมื่ออุดมการณ์มีหลากหลาย จะเกิดอะไรหากมีการยึดติด ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ในแบบของตนเองโดยไม่ฟังอะไรทั้งสิ้น?



2) ปัญหาการให้ค่า ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ เหนือสิ่งอื่นใด
ปัญหา การให้ค่า ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ เหนือสิ่งอื่นใด ทั้งๆ ที่ผู้คนในสังคมมีอุดมคติ อุดมการณ์หลากหลายคือความสับสนทางความคิดและการถกเถียงอันไม่รู้จบ แถมมันนำไปสู่การสร้างปัญหาทั้งทางการเมืองและสังคมได้


ยกตัวอย่างเช่น รัฐประหาร 19 กันยา 2549 นั้นอ้างว่าทำเพื่อ ‘ความดี’ – กล่าวคือเป็นการกำจัดนักการเมือง ‘ชั่ว’ อย่างทักษิณ ชินวัตร โดยมิได้สนใจสิทธิทางการเมืองของผู้ที่เลือกพรรคไทยรักไทย เพราะคนที่สนับสนุนทักษิณถูกมองว่าถ้าไม่โง่ก็ชั่ว หรือทั้งสอง

เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ที่มหาโหดอำมหิตและป่าเถื่อน ก็เช่นกัน มันเกิดขึ้นในนามของการปกป้อง ‘คนดี’

เร็วๆ นี้ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา พลเอกบุญเลิศ ผู้นำองค์กรพิทักษ์สยามก็อ้างว่าการยุติม็อบเป็นสัญญาณว่าแกแพ้นักการเมือง ‘ชั่ว’

แทนที่สังคมจะพูดถึงเรื่องสิทธิ ความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย การกระจายรายได้ การจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้า การปกครองตนเองของท้องถิ่น การเลือกตั้งผู้ว่าฯทุกจังหวัด การจัดเก็บภาษีที่ดินของผู้ที่มีที่ดินจำนวนมาก รวมถึงภาษีมรดก คนไทยกลับมาติดกับอยู่กับความคิดเรื่อง ‘ความดี’ และการพึ่ง ‘คนดี’ ที่นิยามต่างกัน

ความโหดร้าย การมองชีวิตผู้อื่นอย่างไม่เป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม เกิดขึ้นได้จากการยึดติดกับ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ อย่างแคบๆ จนคำว่า ‘ดี’ อาจไม่ดีเสียแล้ว  

3) การพยายามเข้าใจและอธิบายสังคมโดยผ่านแว่นของ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’
คง มิต้องขยายความให้มาก นอกจากจะบอกว่า การยึดติดกับ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ แบบ แคบๆ แบบของตนเพียงคนเดียว โดยมิยอมพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ต่างๆ ในสังคม รังแต่จะทำให้ผู้นั้นไม่เข้าใจพลวัตความหลากหลายของสังคมและอุดมการณ์ที่ ต่อสู้กันและอยู่ร่วมกันอย่างทับซ้อน


คนไทยจำนวนมิน้อยยังยึดติดกับความคิดที่ว่า คำตอบที่ถูกต้องมีเพียงคำตอบเดียว ซึ่งหาได้สะท้อนความสลับซับซ้อนของสังคมและชีวิตอย่างแท้จริงไม่ แต่การยึดกับ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ อย่างแคบๆ โดยไม่สนใจอะไร และการมองทุกอย่างผ่านแว่นตาของความดีความชั่ว คนดีและคนชั่ว อาจช่วยให้พวกเขา ‘เข้าใจ’ สังคมได้ง่ายขึ้น แม้ว่ามันอาจเป็นความเข้าใจที่แคบและคลาดเคลื่อนอย่างมาก

ป.ล. จะเป็นการ ‘ดี’ หรือไม่ หากประชาชนจะตั้งคำถามกับ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทุกประเภท ทุกรูปแบบ ว่าดีของใคร ดีเพื่ออะไร ดีจริงหรือไม่อย่างไร และพิสูจน์ได้อย่างไร


(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/43998

จดหมายเปิดผนึกเรื่องไอซีซีถึงรมว.ต่างประเทศจากนายอัมสเตอร์ดัม

จดหมายเปิดผนึกเรื่องไอซีซีถึงรมว.ต่างประเทศจากนายอัมสเตอร์ดั

 

จดหมายเปิดผนึกเรื่องไอซีซีถึงรมว.ต่างประเทศจากนายอัมสเตอร์ดัมในนามคนเสื้อแดง ขอยังไงรัฐบาลเพื่อไทยเลี้ยงไข้ไม่เซ็นแน่นอน.... 

(ที่มา)