หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แม่ ผู้เสียสละ

แม่ ผู้เสียสละ 

เราทรุดลง เพื่อเป็นการเสียสละอันมีเกียรติ
ในการต่อสู้ที่มีกำลังไม่ทัดเทียมกันนี้
เราเสียสละทุกสิ่งที่เรามี
เพื่ออุดมการแห่งเสรีภาพ
อำนาจบาตรใหญ่ จักต้องพินาศ
ประชาชนจักต้องลุกฮือขึ้น

 

(เรียนรู้จากวรรณกรรมของโลก)

 

“แม่เป็นคนร่างสูง หลังงอนิดหน่อย เรือนร่างของแม่ถูกทำลายยับเยินด้วยงานหนัก และการทุบตีของพ่อนั้น เคลื่อนไหวไปมาอย่างเงียบเชียงไม่มีเสียง และค้อมเอียงน้อยๆ เหมือนกับกลัวว่าจะไปชนอะไรเข้า ใบหน้ารูปไข่ ใหญ่ฉุ เป็นริ้วย่นของแม่ มีประกายอยู่ก็แต่ที่ดวงตาทั้งสองซึ่งเต็มไปด้วยความหวาดกลัวและความรันทด ระทม เหมือนกับดวงตาของหญิงส่วนมากในย่านนั้น เหนือคิ้วขวามีรอบแผลเป็นรอยใหญ่ รั้งเอาคิ้วกระเดิดสูงขึ้นไปเล็กน้อย เลยทำให้ดูคล้ายกับว่า หูข้างขวาของนางสูงกว่าหูข้างซ้าย สภาพดังกล่าวทำให้ใบหน้าของแม่มีท่าทีเหมือนกับคนที่ต้องหวาดผวา ระวังตัวอยู่เสมอ ผมที่ดกดำของนางเริ่มมีเส้นสีขาวแซมประปราย แม่ช่างดูอ่อนโยนก็ปานนั้น เศร้าก็ปานนั้น และยอมเป็นทาสก็ปานนั้น.....


 ในวรรคตอนหนึ่งของ “แม่” (Mother)  ผลงานการประพันธ์ของแมกซิม กอร์กี้ หรือ Aleksei Maksimovich Peshkov  นักเขียนที่ยิ่งใหญ่แห่งรัสเซีย เขียนนวนิยายแนวอัตถนิยมต้องห้ามของรัสเซียในสมัยพระเจ้าซาร์ และเคยเป็นหนังสือต้องห้ามในประเทศไทยหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  ฉากของเรื่องทั้งหมดเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง บริเวณลุ่มน้ำโวลก้า
  
มุมมองของ “เลนิน”ที่มีต่องานเขียนอันลือลั่นแห่งการปฏิวัติสังคมนิยมรัสเซีย 
  
"เพราะ เรื่องราวชีวิตของหญิงชราคนหนึ่ง ในสังคมเก่าแก่ของรัสเซีย นางมีความประหวั่นพรั่นพรึงต่ออำนาจนานาประการที่ครอบงำสังคมในเวลานั้น แต่แล้วด้วยเหตุมาจากอิทธิพลที่แวดล้อมตัวเธอ นางก็ได้พลิกความคิดเปลี่ยนพฤติการณ์เสียใหม่ จนได้เข้าช่วยเหลือสนับสนุนขบวนการปฎิวัติในรัสเซีย นางเริ่มคิดได้ ค่อยๆ ซึมซับความเปลี่ยนแปลง จนละเลิกความหวาดหวั่นรั่นพรึงนั้นออกไปเสีย   ในขณะเดียวกันกับที่ลูกชายของนางก็ได้เข้าร่วมอยู่กับขบวนการสายหนึ่งของ การปฏิวัตินั้นด้วย"

(คลิกฟัง)

12 สิงหา....ตามแม่ไปคุก 


นื่องในวันแม่แห่งชาติ ใครๆ ก็ต้องพูดเรื่องแม่ 'ประชาไท' จึงขอนำเสนอเรื่องราวของแม่ผู้ชราคนหนึ่งที่ต้องเดินทางไปเยี่ยมลูกชายซึ่ง เป็นผู้ต้องหาและถูกคุมขังที่เรือนจำด้วยข้อหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และมาตรา 112

(คลิกฟัง)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/41992 



 
12 สิงหา วันแม่แห่งชาติ.



ถึงร้อยดาวพราวพรายกระจายแสง
 
ถึงร้อยดาวพราวพรายกระจายแสง
กระจ่างแจ้งแจ่มฟ้าเวหาหน
ถึงร้อยมุกต์เมิลระยับกับสายชล
ที่ริมวนวังหาดดาษดา

ถึงร้อยนกผกผินได้ยินเสียง
ส่งสำเนียงในทำนองร่อนถลา
ถึงร้อยหมู่ภู่ภมรร่อนนภา
เคล้าผกาซาบแสงสุริยัน

ถึงร้อยหยดเย็นเยือกน้ำค้างหยาด
เมื่อสูรย์สาดแลอร่ามงามเฉิดฉัน
ถึงร้อยเมษเพศมฤคอธึกพันธ์
ที่ดุ่มดั้นเล็มหญ้ามาตามชาย

ถึงร้อยสีผีเสื้อเหลือจะนับ
แลระยับในสนามงามเฉิดฉาย
แต่แม่นำกำเนิดบังเกิดกาย
จะหาภายภพนี้มีผู้เดียว


Hundreds of stars in the pretty sky,
Hundreds of shells on t he shore together
Hundreds of birds that go singing by
Hundreds of bees in the sun weather,
Hundreds of dew drops to greet tthe dawn,
Hundreds of lanks in the purple clover,
Hundreds of butterflies on the lawn,
But only one Mother, the wide world over


กวีสรรเสริญพระคุณแม่บทนี้
จิตรแปลมาจากบทกวีที่ชื่อ
Only One Mother ของ George Cooper 



วันแม่ ควรคิดถึงอะไรบ้าง...
- คนที่ไม่พร้อมจะเป็นแม่ ควรมีทางเลือกอย่างไรบ้าง เช่น การทำแท้งเสรี
- แม่ที่เกษียณหรือทำงานไม่ได้ รัฐควร ให้เงินเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ยน
ของคนในสังคม

- การเลี้ยงดูบุตร(กรรมาชีพรุ่นต่อไป) ไม่ควรผลักภาระไปให้แม่ เพียงลำพัง แต่รัฐควรต้องร่วมรับผิดชอบ เช่นจัดสถานที่เรียนที่มีคุณภาพฟรี พร้อมกับเงินใช้จ่ายให้กับเด็ก พ่อและแม่ที่ต้องการมีบุตรควรมีสิทธิลาคลอดได้อย่างน้อยหกเดือน โดยได้รับเงินเดือนปกติ และจ่ายค่าเลี้ยงดูที่เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ฯลฯ

เห็น ใจคนที่ไม่มีแม่ หรือมีแม่ไม่ดีตามกรอบจารีต คงกดดันน่าดูในภาวะเช่นนี้ เขาสร้าง "วันแม่" สร้างรูปแบบ "แม่ที่ดี" ขึ้นมา ก็เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมในการผลัก ภาระความเป็นแม่ต้องเรียกดูลูกให้ดี โดยที่รัฐไม่ต้องไปเก็บเงินจากคนรวย มาสร้างมาตรฐานชีวิตแรงงานรุ่นใหม่เลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่คนมีเงินอาจจะไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยตัวเองเลยด้วยซ้ำ

การเชียร์โอลิมปิกกับความเท่าทันชาตินิยม

การเชียร์โอลิมปิกกับความเท่าทันชาตินิยม


 
โดยประวิตร โรจนพฤกษ์


การเชียร์เทควันโดหญิงไทยแข่งโอลิมปิกอย่างมีอารมณ์ร่วมทำให้ผู้เขียน ตระหนักอีกครั้งถึงอำนาจอันหยั่งลึกไพศาลของลัทธิชาตินิยมที่แม้แต่ตนเองก็ มักหนีไม่พ้นอย่างสมบูรณ์

การเชียร์ ‘น้องเล็ก’ ชนาธิป ซ้อนขำ แข่งกับสเปนทำให้ผู้เขียนตระหนักว่า ผู้เขียนเชียร์เพียงเพราะเกิดเป็นคนไทย และหากผู้เขียนดันเกิดเป็นคนสเปน ก็คงหันไปเชียร์นักกีฬาสเปนแข่งกับไทยเป็นแน่แท้ (หรือกรณีเชียร์นักมวยโอลิมปิกไทย แก้ว พงษ์ประยูร ชิงเหรียญทองกับจีนก็เช่นกัน)

การเชียร์ทีมชาติของตนเองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกช่วยย้ำเตือนให้ผู้ เขียนตระหนักว่าหลายอย่างที่เราอาจคิดว่าเป็นสิ่งที่เราตัดสินเลือกเองอย่าง เป็นอิสระ (free will) แท้จริงแล้วหาได้เป็นอิสระจริงๆ อย่างที่คิดไม่ และไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือนับถือในศาสนาใดหรือไม่เชื่อในอะไรเลย คุณก็มิสามารถปฏิเสธได้ว่าทุกคนเลือกสังคม ครอบครัว เพศ และยุคสมัยที่เราเกิดไม่ได้ ปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความเป็นตัวตนของเราเองอย่างมหาศาล หากคนจำนวนมิน้อยอาจมิได้ฉุกคิด


หากเราไม่ตระหนักคิดเท่าทันต่อปัจจัยเหล่านี้ เราก็อาจไม่ต่างจากปลาทองที่หลงคิดว่าตนได้เป็นคนเลือกตู้ปลาหรือขวดโหลแก้ว ที่อาศัยอยู่ด้วยตนเอง แต่ถ้าเราตระหนัก มันจะช่วยเราตั้งคำถามถึงสิ่งที่เรียกว่า free will หรือการตัดสินใจเลือกด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระ

เพราะฉะนั้น แท้จริงแล้วคนส่วนมากมิได้เลือกที่จะเชียร์ทีมชาติตนเองแข่งกับชาติอื่น หากถูกอุดมการณ์ชาตินิยมหล่อหลอมให้เชื่อว่าการเชียร์ทีมชาติตน การเข้าข้างชาติตนและการยึดถือผลประโยชน์ชาติตนเป็นหลักนั้นเป็นเรื่องปกติ ถูกต้องและธรรมชาติเป็นที่สุด

(ตัวอย่างอื่นที่สะท้อนอิทธิพลของสังคมและยุคสมัยที่เราเกิดได้แก่: ความรู้สึกที่คนส่วนใหญ่มักเชื่อว่าอาหารชาติตนนั้นอร่อยที่สุดในโลกหรือ อย่างน้อยก็ถูกปากที่สุด/ หลายคนที่สนใจเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือประหยัดพลังงานคงไม่ได้สนใจ เรื่องเหล่านี้หากเกิดมามีชีวิตเมื่อสามศตวรรษที่แล้ว/ หากคุณดันเกิดในสมัยอยุธยา คุณจะสนใจเรื่องประชาธิปไตยไหมและทำไม?/ ถ้าคุณดันเกิดเป็นคนที่ถูกกดขี่ในยุคสงครามปลดแอกเพื่อเอกราชของอเมริกาจาก พระเจ้าจอร์ชที่ 3 ของอังกฤษ โอกาสที่คุณจะเป็นพวกเจ้านิยมนั้นสูงหรือต่ำแค่ไหนและทำไม?/ ในสงครามแต่ละคนก็มักเลือกที่จะสู้เพื่อบ้านเกิดตนทั้งๆ ที่บ้านเกิดตนเป็นสิ่งที่ตนมิสามารถเลือกเองได้และหากตนดันไปเกิดเป็นทหาร ของประเทศคู่อริก็คงไปต่อสู้อยู่ฝั่งตรงข้ามของสงคราม)

ในมุมมองผู้เขียน หากคุณสามารถเชียร์ทีมชาติอื่นแข่งกับชาติคุณเองได้ ก็แสดงว่าคุณมิได้ติดอยู่ใต้อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมอย่างสมบูรณ์แบบ (และแม้แต่ผู้เขียนก็ยังอดเชียร์ทั้งชนาธิปกับจ่าแก้วมิได้) และแม้เราจะตระหนักและรู้เท่าทัน มันก็ยังเป็นสิ่งยากลำบากที่จะหลีกเลี่ยงการมีความรู้สึกผูกพันกับประเทศ บ้านเกิดเพราะมันเป็นเรื่องของอารมณ์ที่หยั่งลึกซึ่งต่างจากเหตุผล – แต่การตระหนักก็ดีกว่าการไม่รู้ตัวหรือไม่ตระหนักอะไรเลยถึงอิทธิพลของสถาน ที่และยุคสมัย (กาละและเทศะ) ที่เราเกิดและอาศัยอยู่ ที่มีต่อการปลูกฝังบ่มเพาะตัวตนของเรา

ผู้เขียนไม่มีทางออกอย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าเลือกได้ ผู้เขียนขอเลือกเป็นปลาทองที่ตระหนักว่าตนมิได้เป็นผู้เลือกตู้ปลาหรือขวด โหลที่อาศัยอยู่ แม้ว่าอาจไม่มีวันว่ายหนีออกจากตู้ปลาไปอยู่ที่อื่นหรือนอกตู้ได้ก็ตาม และผู้เขียนก็จะขอเป็นปลาทองที่ตั้งถามต่อไปว่าใครหรืออะไรเอาเรามาใส่อยู่ ในตู้ที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบัน

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42006

ปฏิญญาหน้าศาล อาทิตย์ 12 สค 55

ปฏิญญาหน้าศาล อาทิตย์ 12 สค 55




กม.หมิ่น ความต่างที่เหมือนกัน

กม.หมิ่น ความต่างที่เหมือนกัน


'Freedom for Pussy Riot' rally in St Petersburg, 27 July 2012.  Photograph: Anatoly Maltsev/EPA
'Freedom for Pussy Riot' rally in St Petersburg, 27 July 2012. Photograph: Anatoly Maltsev/EPA  

Posted Image



ที่รัสเซีย ทางการใช้กฎหมายหมิ่นพระเจ้า (blasphemy) เพื่อลงโทษนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่เมืองไทย ทางการใช้กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ (lèse majesté) เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน อัยการรัสเซียเสนอโทษจำคุกสามปี

สำหรับสามสาวกลุ่ม Pussy Riot ที่กระโดดขึ้นไปเต้นบนแท่นบูชาในโบสถ์คริสต์ออร์โธดอกซ์ที่ใหญ่สุดแห่งหนึ่งของโลกในมอสโคว์ พวกเธอถูกกล่าวหาว่า “ใช้ถ้อยคำหยาบคายด่าพระเจ้า” ทั้ง ๆ ที่พวกเธอเพียงแต่ร้องเพลงแปลงเรียกร้องให้พระแม่มารีลงโทษไล่ปูตินที่โกงการเลือกตั้งประธานาธิบดีออกไป และเหมือนนักโทษมาตรา 112 ในไทย ทั้งสามสาวติดคุกมาตั้งแต่มีนาคมปีนี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว
 
(ที่มา)