หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

วันสำคัญเดือนพฤษภา วันสว่างคาตา ( ตอนที่ 1 )

วันสำคัญเดือนพฤษภา วันสว่างคาตา ( ตอนที่ 1 )




โดย ยังดี โดมพระจันทร์

ดือนพฤษภานี้มีวันสำคัญไล่เรียงกันไปอยู่หลายวัน วันเหล่านี้มีสิ่งที่ร่วมกันคือเป็นวันประวัติศาสตร์หรือวันในอดีตที่ถูกบิด เบือนไปจากวันที่ควรจะเป็น เช่น 1 พฤษภา วันกรรมกรสากล 5 พฤษภา วันจิตร ภูมิศักดิ์ 11 พฤษภา วันปรีดี พนมยงค์ 17 พฤษภา วันพฤษภาทมิฬ และ วันที่ 19 พฤษภา วันตาสว่าง แต่ละวันมีบันทึกเรื่องราวที่น่าสนใจให้เราท่านมาช่วยกันติดตาม

1 พฤษภา วันกรรมกรสากล วันนี้ถูกเปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ

วันกรรมกรสากล หรือ วันเมย์เดย์ (May Day) มีจุดกำเนิดมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา ในยุคของการปฏิวัติจากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรมส่งผลให้ผู้คนอพยพไป เป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม และถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุน ถูกบังคับใช้งานเยี่ยงทาส ทำงานหนัก 14-16 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่มีวันหยุด ไม่มีทั้งสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน สภาพดังกล่าว เป็นสาเหตุให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้ และลุกลามไปหลายประเทศทั้งในยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย จากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2429 คนงานแห่งเมืองชิคาโก ประเทศอเมริกา ได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องระบบสามแปด คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง รัฐนายทุนได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ต่อมาสหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาซึ่งได้รับอิทธิพลแนวคิดสังคมนิยมก็ได้ฟื้นการ ต่อสู้เรียกร้องระบบสามแปดอีกครั้งหนึ่งโดยมีมติให้เดินขบวนทั่วประเทศเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2433 เรียกร้องให้ลดชั่วโมงทำงานตามที่สหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาได้กำหนดไว้ และได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันกรรมกรสากล เป็นสัญลักษณ์แห่งการสามัคคีต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชนชั้นกรรมกร ซึ่งกรรมกรทั่วโลกจะจัดให้มีการชุมนุมเดินขบวน เพื่อสร้างวัฒนธรรมการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยจากการกดขี่ขูดรีดของทุนนิยม  

สำหรับประเทศไทยเคยมีการจัดงานวันกรรมกรสากลอย่างเปิดเผยครั้งแรก ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2489 ที่สนามหน้าสำนักงานสมาคมไตรจักร์ (สามล้อ) พระราชวังอุทยานสราญรมย์ มีผู้เข้าร่วมประมาณสามพันคน และปีต่อมามีการชุมนุมวันกรรมกรสากลที่ท้องสนามหลวง ภายใต้คำขวัญ “ กรรมกรทั้งหลาย จงสามัคคีกัน” แต่หลังการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลเผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้ห้ามจัดงานวันกรรมกรสากลอย่างเด็ดขาด จนกระทั่งในปี 2499 กรรมกร 16 หน่วย รวมตัวกันเป็นขบวนการเพื่อรณรงค์ให้รัฐบาลเร่งออกกฎหมายรับรองสิทธิด้าน ต่างๆ และเคลื่อนไหวให้มีการจัดงานวันกรรมกรสากลขึ้นอีก ผลการเจรจาต่อรองกับรัฐบาล ทำให้กรรมกรจำต้องยอมรับเงื่อนไขให้เปลี่ยนชื่อ วันกรรมกรสากล เป็น วันแรงงานแห่งชาติ การควบคุมแทรกแซงโดยรัฐบาลเผด็จการทำให้วันกรรมกรสากลถูกแทรกแซงตลอดมา ( ข้อมูลจากกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=750 )  

ขบวนการขวาพิฆาตซ้าย และสังหารหมู่กดการต่อสู้ของกรรมกร

ในการรัฐประหาร 6 ตุลา 2519 ชนชั้นปกครองรวมหัวกันสร้างขบวนการขวาพิฆาตซ้าย และสังหารหมู่นักศึกษาประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช โดยใช้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ออกประกาศคณะปฏิรูปออกมาหลายฉบับ โดยมากมีเนื้อหาควบคุมเพื่อสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย และตั้งให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ปัจจุบันเป็นองคมนตรี) ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยนายทหารในคณะปฏิรูปการปกครองได้เปลี่ยนสถานะของตัวเองเป็น สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มีสมาชิก 340 คน ทำหน้าที่เหมือนรัฐสภาและฝ่ายนิติบัญญัติ ให้การสนับสนุนรัฐบาลนายธานินทร์ โดยที่คณะรัฐบาลนายธานินทร์มีคณะรัฐมนตรีเพียง 17 คนเท่านั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ นั่นเอง ซึ่งนายธานินทร์ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อมาว่า รัฐบาลเสมือนหอยที่อยู่ในเปลือก โดยมีนัยถึงเป็นรัฐบาลที่มีคณะนายทหารคอยให้ความคุ้มกัน จึงได้รับฉายาว่า รัฐบาลหอย รัฐบาลคณะนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำเนินนโยบายทางการเมืองอย่างขวาตกขอบ มีการจับกุมและทำร้ายผู้ที่สงสัยว่าอาจกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง โดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 มาตราที่ 21 จึงทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุด การจัดกิจกรรมในวันแรงงานแห่งชาติในปี 2520 จึงต้องงดไป

การดำเนินงานของคณะรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ประสบกับปัญหาตลอดด้วยนโยบายขวาตกขอบที่โลกไม่ยอมรับ ในที่สุดคณะนายทหารในสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินชุดเดิมที่นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ จึงกระทำการรัฐประหารอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 และแต่งตั้ง พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน สถานการณ์ต่างๆจึงเปลียนไปมีการผ่อนคลายทางการเมืองมากขึ้น จากรูปแบบการปราบปรามฝ่ายก้าวหน้ามาเป็นการหลอกลวง รัฐบาลเกรียงศักดิ์อาศัยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำกรรมกร ได้ดึงเอาผู้นำบางส่วนมาหนุนอำนาจรัฐ รูปแบบการจัดงานวันกรรมกรนับแต่ยุคนี้จึงกลายเป็นการผลักดันของรัฐบาล และกระทรวงแรงงาน โดยเชิญหัวหน้ารัฐบาลหรือตัวแทนมาร่วมเป็นประธานจัดงาน เพื่อควมคุมการเคลื่อนไหวของกรรมกร โดยเน้นกิจกรรมบันเทิงสนุกสนานแข่งกัฬา เตะตะกร้อ แจกถุงยางอนามัย ฯลฯ ภายหลังการเลือกตั้งปี 2522 แนวทางการสร้างความปรองดองที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ใช้ได้ผลคือ คำสั่ง 66/2523 ปรากฏเป็นผลงานทางการเมืองชิ้นสำคัญ นักศึกษา ประชาชน และผู้นำแรงงานที่เคยหลบหนี และเข้าไปต่อสู้ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในเขตป่าเขาต่างทะยอยก ลับสู่เมือง รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งขณะนั้นได้มาเป็นประธานในงานวัน กรรมกรที่ท้องสนามหลวง

การจัดงานวันกรรมกรกลับถูกจำกัดให้อยู่แค่ในพื้นที่สนามกีฬา
 

ในปีที่มีการรัฐประหารปี 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่า มีการโกงกินคอร์รัปชั่นอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลแทรกแซงสถาบันทหาร วันที่ 26 กุมภาพันธ์ รสช.มีคำสั่งให้บรรดาผู้นำสหภาพแรงงานเข้ารายงานตัวที่หอประชุมกองทัพบก เพื่อ แถลงนโยบายและเหตุผลในการยึดอำนาจ โดยมีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นผู้ชี้แจง เขาพูดเอาใจกรรมกรว่า "ทุกข์ของกรรมกรถือเป็นทุกข์ของทหาร" แต่การจัดงานวันกรรมกรกลับถูกจำกัดให้อยู่แค่ในพื้นที่สนามกีฬาไทย- ญี่ปุ่นดินแดง แถมมีรถโคชมาคอยรับส่งเพื่อไม่ให้เดินขบวน เสรีภาพถูกปล้น ผู้กรรมกรถูกคุกคาม ห้ามพูดห้ามแสดงความคิดเห็นทางการเมือง โดยเฉพาะสำหรับทนง โพธิอ่านผู้นำกรรมกรคนสำคัญ เมื่อ รสช. ประกาศจะยกเลิก

สหภาพแรงงานของคนงานรัฐวิสาหกิจ ทนงได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า "ถ้าคณะ รสช.ยังยืนยันจะดำเนินการในเรื่องนี้ ไม่เฉพาะคนงานในสหภาพรัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่จะเคลื่อนไหว แต่ผู้ใช้แรงงานทุกระดับคงคัดค้านแน่" เขาประณามการประกาศใช้กฎอัยการศึกว่า เป็นการปิดหูปิดตาประชาชน ทนงได้เรียกประชุมสภาแรงงานแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณามาตรการตอบโต้คณะ รสช.ในประเด็นแยกรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงาน ภายหลังการประชุมเขาได้แสดงทัศนะอย่างแข็งกร้าวต่อคณะ รสช.ว่า "ทหารกำลังสร้างปัญหาให้กับกรรมกรด้วยการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจและออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 54 และขอฝากเตื่อนถึงบิ๊กจ๊อด อย่านึกว่าเป็นใหญ่ในแผ่นดินแล้วจะทำอะไรก็ได้ ต้องฟังเสียงประชาชนบ้าง เวลานี้ทหารทำให้กรรมกรเป็นทุกข์ ดังนั้นควรทำอะไรให้รอบคอบ วันนี้สามช่า วันหน้าอาจไม่มีแผ่นดินอยู่"  การ เคลื่อนไหวของทนงจึงได้รับการตอบสนองจากขบวนการแรงงานสากลอย่างกว้างขวาง ในฐานะตัวเชื่อมระหว่างขบวนการแรงงานไทยกับขบวนการแรงงานสากล ทำให้ทนงถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ วันที่ 14 มิถุนายน 2534 สภาแรงงานแห่งประเทศไทยภายใต้การนำของทนงได้จัดการประชุมใหญ่กลางท้องสนาม หลวงเย้ยอำนาจ รสช.เรียกร้องให้คืนสหภาพแรงงานให้คนงานรัฐวิสาหกิจและยกเลิกประกาศ รสช.ฉบับ 54 แล้ววันที่ 19 มิถุนายน 2534 เขาก็ได้ถูกทำให้หายตัวไปอย่างลึกลับไร้ร่องรอย จากนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นหรือได้ข่าวที่แท้จริงเกี่ยวกับทนงอีกเลย ( ข้อมูลจากประชาไท http://prachatai.com/journal/2006/06/8720 )



 

แม้จะมีรัฐบาลประชาธิปไตยครึ่งใบ เต็มใบ วันนี้ก็ยังคงถูกซ่อนเร้นจากความเป็นสากล ทั้งเนื้อหา และรูปแบบของการจัดงานยังคงถูกควบคุมโดยรัฐบาล และบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดงาน กรรมกรแทนที่จะภูมิใจในชนชั้นตน ในฐานะผู้สร้างโลก กลับปฏิเสธคำๆนี้ เลี่ยงไปใช้ว่า ผู้ใช้แรงงานแทน ไม่เท่านั้นยิ่งในยุคหลังรัฐประหาร 2549 ยุคที่สีเหลืองเฟื่องฟู ยุคที่รัฐบาลอำมาตย์เข่นฆ่าพี่น้องประชาชนบนท้องถนน ปล้นประชาธิปไตยและความยุติธรรมในสังคม ยุคที่พี่น้องเราต้องถูกคุมขังจองจำด้วยข้อหาลมๆแล้งๆ กรรมกรยุคนี้ต้องสวมใส่เสื้อสีเหลืองเอาใจอำมาตย์ในการเคลื่อนขบวนวัน เมย์เดย์ กรรมกรต้องใส่เสื้อสีชมพูกันสลอนในรัฐบาลที่แต่งตั้งมาโดยทหาร กรรมกรไทยต้องนำวันอันเป็นสากลไปผูกติดกับการยกย่องประมุขของประเทศ แทนการยกย่องกรรมกรผู้ใช้แรงงานด้วยกัน การรัฐประหารแต่ละครั้งทำให้ขบวนการกรรมกรหดเล็กลงๆ กรรมกรไม่มีศีกดิ์ศรีแม้แต่จะกำหนดวันของตนเอง



คงมีแต่พลังคนเสื้อแดงที่มีดวงตาสว่างไสวจะช่วยกันชุบชีวิต ฟื้นคืนการต่อสู้ร่วมกับกรรมกรฝ่ายก้าวหน้าให้วันกรรมกรกลับมามีคุณค่าและ ความหมายอีกครั้ง เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ผดุงความยุติธรรม และรังสรรค์วัฒนธรรมของชาวกรรมาชีพต่อไป วันที่ 1 พฤษภานี้ขอเชิญกรรมกรแดงผู้รักประชาธิปไตยไปร่วมกันเดินขบวน แปดโมงเช้าที่ลานพระรูป
( พบกับเรื่องราวของ วันที่ 5 พฤษภา วันจิตร ภูมิศักดิ์ วันที่ 11 พฤษภา วันปรีดี พนมยงค์ 17 พฤษภา วันพฤษภาทมิฬ วันที่ 19 พฤษภา วันตาสว่าง ในนสพ.เลี้ยวซ้าย เดือนถัดไป )






(ที่มา) 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/04/1.html 
         

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand
 

Coffee with : นนทวัฒน์ นำเบญจพล และ ภาณุ อารี

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 26 เมษายน 2556  ตอนที่ 2
Coffee with : นนทวัฒน์ นำเบญจพล และ ภาณุ อารี 
http://www.dailymotion.com/video/xzby3y_coffee-with-yyyy-yy 


อย่าปล่อยให้เรื่องน้ำมันเสี้ยม'แดง' 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 26 เมษายน 2556  ตอนที่ 1
อย่าปล่อยให้เรื่องน้ำมันเสี้ยม'แดง' 
http://www.dailymotion.com/video/xzbxeb_yy-yyy 


สภาอุตสาหกรรม เลิกเป็นลูกแหง่สักที  
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 25 เมษายน 2556  ตอนที่ 2
เพื่อไทยทำลายมรดกไทยรักไทย ? 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xzaqsu


สภาอุตสาหกรรม เลิกเป็นลูกแหง่สักที

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 25 เมษายน 2556  ตอนที่ 1
สภาอุตสาหกรรม เลิกเป็นลูกแหง่สักที 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xzaok4 

 
เป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ยาก...ต้องเป็นชนชั้นปกครอง 
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 24 เมษายน 2556  ตอนที่ 2 
เป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ยาก...ต้องเป็นชนชั้นปกครอง
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/2#video=xz9m5h 


ตรวจสอบม็อบ หรือ จะตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 24 เมษายน 2556  ตอนที่ 1
ตรวจสอบม็อบ หรือ จะตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/2#video=xz9lfw 

จาตุรนต์ ฉายแสง: ไม่ใช่นักมวยไล่ชกกรรมการ กรรมการต่างหากที่ไล่ชกนักชกมวย

จาตุรนต์ ฉายแสง: ไม่ใช่นักมวยไล่ชกกรรมการ กรรมการต่างหากที่ไล่ชกนักชกมวย

 



เห็นข่าวคุณจรัญบอกว่างงที่นักมวยไล่ชกกรรมการ และก็พูดทำนองว่าไม่อยากต่อความยาวสาวความยืดเพราะมีงานต้องทำ ผมก็เข้าใจได้ทันทีว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายๆคนกำลังจะจนมุมเข้าทุกที แล้ว

ใช้คำว่า"จนมุม"ก็ดูจะเข้ากับบรรยากาศดีทีเดียวเพราะเป็นเรื่องหมัดๆ มวยๆ

คุณจรัญ นับได้ว่าเป็นระดับมันสมองของศาลรัฐธรรนูญที่คอยทำหน้าที่ปกป้องรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้อย่างหัวชนฝามาตลอด ด้วยความสามารถระดับคุณจรัญ ถ้าไม่จนมุมจริงๆคงไม่ออกลูกนี้แต่ที่ต้องมาเปรียบเทียบเป็นนักมวยกับ กรรมการก็เพราะเรื่องที่กำลังโต้แย้งเกี่ยวกับบาทบาทที่เลยเถิดของศาลรัฐ ธรรมนูญกันอยู่ในขณะนี้ ฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญไม่มีทางโต้แย้งด้วยเหตุผลได้เลย

ยิ่งโต้กันไปโต้กันมา คนทั้งบ้านทั้งเมืองก็ยิ่งเห็นตรงกันว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายผิดเต็มประตู คือกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง ก้าวก่ายการทำหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งๆที่ตนเองไม่มีอำนาจ และตั้งตัวอยู่เหนือรัฐธรร,นูญ

เมื่อรู้ว่าโต้ไปก็ยิ่งแพ้ ยิ่งเข้าเนื้อ คุณจรัญจึงใช้วิธีเปรียบเทียบที่ง่ายๆและคงหวังว่าสังคมไทยจะคล้อยตามได้ง่าย

แต่ผมคิดว่าในหลายปีมานี้ สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรๆ มามากพอที่จะรู้เท่าทันคุณจรัญแล้ว
ความจริงเรื่องระหว่างรัฐสภากับศาลรัฐธรรมนูญนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่จะ เปรียบเทียบว่าฝ่ายหนึ่งเป็นนักมวยและอีกฝ่ายเป็นกรรมการ ต้องอธิบายกันหลายแง่มุม

แต่ถ้าจะเปรียบอย่างที่คุณจรัญเปรียบคงต้องบอกว่าขณะนี้ไม่ใช่นักมวยไล่ ชกกรรมการ แต่คนดูทั้งสนามเขาเห็นว่ากรรมการนั้นไม่เป็นกลางและทราบกันโดยทั่วไปว่า กรรมการนั้นสังกัดค่ายมวยค่ายหนึ่ง ค่ายมวยนี้นักมวยชกไม่เป็นแต่ที่ยังมีนักมวยชกอยู่ได้และบางทีก็ชนะเสียด้วย ก็เพราะมีกรรมการคอยช่วยอยู่เรื่อย มาช่วงหลังๆนักมวยก็ยิ่งชกไม่เป็น ภาษามวยเขาเรียกว่า"ออกทะเล" กรรมการก็เลยใจร้อน โดดเข้าช่วยนักมวยในสังกัดเดียวกัน ถึงขั้นชกเสียเองเลย

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/04/46405


Divas Cafe

Divas Cafe




Divas Cafe ประจำวันที่ 26 เมษายน 2556 
360องศา รอบสะดือ ดีว่าส์ 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xzbzl2 
   
Divas Cafe ประจำวันที่ 25 เมษายน 2556
อย่าให้กระทรวงวัฒนธรรมประหารปัญญา 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xzarw6 
 
Divas Cafe ประจำวันที่ 24 เมษายน 2556 
กรุงเทพเมืองไสยศาสตร์โลก 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/2#video=xz9nxr 

รายงานฮิวแมนไรท์ วอทช์ เผยรายละเอียด "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ต่อชาวโรฮิงญา

รายงานฮิวแมนไรท์ วอทช์ เผยรายละเอียด "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ต่อชาวโรฮิงญา

 


 
"สิ่งที่คุณทำได้ คือการภาวนาให้รอดชีวิต" รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์เปิดเผยการ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ต่อชาวโรฮิงญา ในขณะที่ปธน. เต็งเส่งได้รับรางวัล 'สันติภาพดีเด่น' จากองค์กร ICG


ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในรัฐอาระกัน ทางตะวันตกของประเทศพม่าในเดือนมิถุนายนและตุลาคมเมื่อปีที่แล้ว นำมาซึ่งการเสียชีวิตของประชาชนชาวชาติพันธุ์ยะไข่และโรฮิงญาอย่างน้อย 180 คน นอกจากนี้ยังทำให้ชาวโรฮิงญากว่า 125,000 พลัดถิ่น บ้านเรือนเกิดความเสียหายและถูกเผาไหม้เป็นพื้นที่ราว 348 เอเคอร์ หรือราว 1.4 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นอาคารและบ้านเรือนจำนวนราว 4,862 แห่ง


หลังจากเกิดเหตุจลาจลทางชาติพันธุ์และศาสนาดังกล่าว รัฐบาลพม่าได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ จำนวน 27 คน รวมถึงผู้นำฝ่ายค้าน อาทิ มิน โก นาย และซากานาร์ นักเคลื่อนไหวสมัยการลุกฮือของนักศึกษาปี 1988 เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงและผลิตรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้กล่าวว่าความรุนแรงในพื้นที่เกิดขึ้นจากพรรคการเมือง พระสงฆ์บางกลุ่ม และคนบางกลุ่มที่กระพือสร้างความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนต่างศาสนา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการลงโทษผู้กระทำผิด หรือการช่วยเหลือเยียวยาด้านอื่นๆ 


หลังจากเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์คนในพื้นที่ราว 100 คนจากกลุ่มชาวโรฮิงญาและชาวอาระกัน ฮิวแมนไรท์วอทช์ ได้เผยแพร่รายงานที่ชื่อ "'All You Can Do is Pray': Crimes Against Humanity and Ethnic Cleansing of Rohingya Muslims in Burma’s Arakan State" ซึ่งชี้ว่าการกระทำหลายด้านของรัฐบาลต่อเหตุการณ์จลาจลนับเป็น "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา ไม่ว่าจะเป็นการปิดกั้นความช่วยเหลือจากองค์กรด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือการที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของรัฐร่วมกับชาวอาระกันทำร้ายและทำลายที่ อยู่อาศัยของชาวโรฮิงญา เป็นต้น 


"รัฐบาลพม่ามีส่วนในการดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวโรฮิงญาที่ยัง คงเกิดอยู่จนถึงวันนี้ ผ่านการปิดกั้นการให้ความช่วยเหลือและการจำกัดการเคลื่อนย้าย" ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรท์ วอทช์ กล่าว "รัฐบาลจำเป็นต้องยุติการละเมิดดังกล่าว และให้ผู้กระทำผิดรับผิดชอบ มิเช่นนั้น รัฐบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับความรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และ ศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศ" 

คดีเจริญ วัดอักษร: ชวน ‘ย้อนรอยคำพิพากษา’ อีกหนึ่งบทพิสูจน์กระบวนการยุติธรรม

คดีเจริญ วัดอักษร: ชวน ‘ย้อนรอยคำพิพากษา’ อีกหนึ่งบทพิสูจน์กระบวนการยุติธรรม

 


 
 
“แม้เราจะถูกกำหนดให้เชื่อว่าคำ พิพากษาของศาลในระบบปัจจุบันมีความถูกต้องเป็นธรรมเสมอ แต่ก็ไม่มีใครสามารถมาบังคับให้เราต้องศิโรราบกับที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรม ได้...” ถ้อยความจากบทวิพากษ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีจ้างวานฆ่า ‘เจริญ วัดอักษร’ โดย กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก 
 
หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้ประหารชีวิต ‘ธนู หินแก้ว’ จำเลยที่ 3 ในคดี ในฐานะผู้จ้างวานด้วยเหตุความโกรธแค้นที่ ‘เจริญ วัดอักษร’ เป็นผู้นำชาวบ้านคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของ บ.กัลฟ์พาวเวอร์ เจนเนอเรชั่น จำกัด ในพื้นที่ ต.บ่อนอก และเปิดโปงการบุกรุกที่ดินสาธารณะของกลุ่มอิทธิพล ตั้งแต่เมื่อปี 2547


เหตุผลในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องระบุว่า “พยานโจทก์ไม่มีเหตุผลหนักแน่นพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่านายธนูเป็นผู้จ้างวาน จริง” จึงก่อให้เกิดคำถามต่อกระบวนการยุติธรรมในวงกว้าง


เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าว กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก พร้อมกลุ่มชาวบ้านเสื้อเขียวกว่า 200 คนเดินทางจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มายังศาลอุทธรณ์ ถ.รัชดา เมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ด้วยเป้าหมายในการชี้แจงข้อมูลต่อสาธารณะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดี รวมทั้งคำวินิจฉัยคดีของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ซึ่งต่างกันราวขาวกับดำ

(อ่านต่อ)

ฟังสื่อกัมพูชาและสื่อไทยชายแดน ประเด็นน่ากังวลจากข่าวเขาพระวิหารคือสงคราม

ฟังสื่อกัมพูชาและสื่อไทยชายแดน ประเด็นน่ากังวลจากข่าวเขาพระวิหารคือสงคราม

 

 

 

ตัวแทนสื่อกัมพูชา เปิดใจประเด็นที่คนกัมพูชากังวลคือสงคราม พร้อมยอมรับคำตัดสินเพราะกัมพูชาเป็นฝ่ายยื่นคำร้องต่อศาลโลกเอง ขณะสื่อชายแดนไทย-กัมพูชาเรียกร้องความร่วมมือระหว่างประเทศ


ซก สุวรรณ ประธานกรรมการสื่อมวลชนกัมพูชา และรองเลขาธิการสหพันธ์สื่อมวลชนอาเซียน กล่าว ในการเสวนาหัวข้อ “ไทย-กัมพูชา-ปราสาทพระวิหาร..รู้ทันข่าว รู้ทันสื่อ” ซึ่งจัดโดยมีเดีย อินไซด์เอาท์ ว่าคนกัมพูชารวมถึงนักข่าวจะติดตามข่าวถ่ายทอดสดจากช่อง 11 ของกัมพูชา และสิ่งที่กังวลคือสงครามมากกว่าเรื่องผลคำตัดสิน ทั้งนี้ฝั่งกัมพูชาเชื่อว่าชนะคดีเพราะกัมพูชาอ้างอิงแผนที่1:200,000 เตามคำตัดสินจากศาลโลก ซึ่งกัมพูชาชนะมา 50 ปีแล้ว

“นักการเมืองกัมพูชาพูดน้อยในเรื่องนี้ เพราะเขาเห็นว่าอยากตีความคำตัดสินใหม่ให้ชัดเจน ไม่อยากให้เป็นเรื่องซ้ำไปซ้ำมาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารซึ่งต้องการการ พัฒนา”

“แต่การนำเสนอไม่เหมือนไทย ผมเห็นว่าไทยออกข่าวทุกช่วงเวลาเลย ทั้งช่องสาม ช่อง 11 ผมดูทีวีของไทยสามช่อง” สำหรับประเด็นในศาลโลกนั้น สำหรับกัมพูชาเชื่อมั่นว่าต้องชนะนะ เพราะเรามีแผนที่ 1:200,000 เพราะเป็นตัดสินจากศาลโลก ซึ่งกัมพูชาชนะมา 50 ปีแล้ว

ส่วนความสนใจของประชาชนนั้น ซก สุวรรณกล่าวว่าประชาชนไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่วนใหญ่ติดตามจากข่าวไทย ส่วนนักข่าวกัมพูชานั้นไปที่กรุงเฮกนั้นมีการรายงานประมาณ 2 ช่วงเท่านั้น คือ  11.00 น. และ 18.00 น.

“การติดตามข่าวสารของฝั่งกัมพูชา กลัวอย่างเดียวคือกลัวสงคราม ส่วนเรื่องคำตัดสินไม่มีความกังวล” ซก สุวรรณกล่าวและว่าประชาชนกัมพูชาผ่านความขัดแย้งมานานแล้วและไม่ชอบเรื่อง ความขัดแย้ง เมื่อมีความขัดแย้งทางกัมพูชาก็จะถือว่ารัฐบาลเป็นตัวแทนของเขา

วาทะเด็ด "สติปัญญาและอุดมการณ์"

วาทะเด็ด "สติปัญญาและอุดมการณ์"




ท่าทางเจ้าตัวจะภูมิใจนักกับวาทะเด็ด หารู้ไม่ว่า เป็นความคิดย้อนยุคสมัยมนุษย์ยังป่าเถื่อนเเละไร้ขื่อเเปเเท้ๆ ใช้วิธีรุนเเรงเเละอาวุธฆ่าฟันกันตัดสินถูกผิด เเทนการใช้วิธีสันติตามอำนาจศาลอย่างผู้ที่เจริญเเล้ว คนที่เกิดยุคนี้เเต่ยังมีวิธีคิดลักษณะนี้ได้ เเสดงว่าไม่ใช่คนจิตปกติเเล้ว...