หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประกาศจุดยืน "ปกป้องประชาธิปไตย" เพื่อรักษาเจตจำนงของประชาชน

ประกาศจุดยืน "ปกป้องประชาธิปไตย" เพื่อรักษาเจตจำนงของประชาช


 
 
ด้วยเจตจำนงที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย
https://www.youtube.com/watch?v=UafotKRpGMc

นักวิชาการ สปป. จะไม่เข้าร่วมเวทีปฏิรูปที่กองทัพจัด พร้อมแนะให้ยุติบทบาทการเมือง

นักวิชาการ สปป. จะไม่เข้าร่วมเวทีปฏิรูปที่กองทัพจัด พร้อมแนะให้ยุติบทบาทการเมือง

 


"สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย" ยืนยันไม่ส่งตัวแทนร่วมเวทีปฏิรูปที่กองทัพจัด ย้ำไม่ใช่งานของกองทัพ พร้อมแนะภารกิจเร่งด่วนที่ผู้นำกองทัพต้องทำคือยุติบทบาทการเมือง ไม่แทรกแซงการเมือง ไม่ทำรัฐประหาร


14 ธ.ค. 2556  ตามที่ในวันที่ 14 ธ.ค. นี้กองทัพไทยจะจัดเวทีสาธารณะที่ห้องประชุม ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 14.15 น. ถึง 17.00 น. น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน หารือ ข้อคิดเห็น เพื่อนำมาสู่ความสงบสุขและผลประโยชน์ของประเทศชาติ โดยมีการเชิญสุเทพ เทือกสุบรรณ และแกนนำ กปปส. รวมทั้งหน่วยงาน องค์กรต่างๆ มาร่วมหารือนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ล่าสุดเพจ "สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย" หรือ สปป. ได้โพสต์สเตตัสเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ระบุว่า "สปป.และนิติราษฎร์ไม่ร่วมงานเสวนาของกองทัพ" โดยมีรายละเอียดดังนี้

"จากกรณีที่มีรายงานข่าวว่า นักวิชาการจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) และคณะนิติราษฎร์ จะเข้าร่วมการเสวนาระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยกองทัพ ในวันเสาร์ที่ 14 ธ.ค.นี้ สปป.และคณะนิติราษฎร์ขอชี้แจงว่า เราจะไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมในการเสวนาดังกล่าว ด้วยเหตุผลว่า นี่ไม่ใช่ภารกิจของกองทัพ กองทัพเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งในระบบราชการที่ต้องปฏิบัติตามสายการบังคับ บัญชาที่ขึ้นตรงกับรัฐมนตรีกลาโหม และนายกรัฐมนตรี จึงไม่สมควรเข้ามามีบทบาททางการเมืองใดๆ

ในทางตรงกันข้าม เราเห็นว่านับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2549 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุกาณ์การสลายการชุมนุมในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 กองทัพคือคู่กรณีในความขัดแย้งมาโดยตลอด และในขณะนี้ ยังมีความพยายามของกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่เรียกร้องให้กองทัพเข้าแทรกแซงทางการเมือง ทั้งในฐานะเจ้าภาพการเจรจาไปจนถึงก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง

สปป.และคณะนิติราษฎร์จึงเห็นว่า ภารกิจเร่งด่วนที่ผู้นำกองทัพจักต้องกระทำในขณะนี้คือ ยุติบทบาททางการเมือง และประกาศอย่างหนักแน่นว่ากองทัพจะไม่แทรกแซงทางการเมืองด้วยวิธีการใดๆ อีก รวมทั้งจะไม่ทำรัฐประหารอย่างเด็ดขาด และด้วยจุดยืนดังกล่าวเท่านั้น ที่จะทำให้ประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพของประชาชนได้การเคารพ และป้องกันไม่ให้สังคมไทยเดินหน้าไปสู่การนองเลือดดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว จึงเรียนมาให้ทุกท่านได้ทราบโดยถ้วนหน้ากัน"

สำหรับเวทีสาธารณะที่จัดโดยกองทัพดังกล่าว พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ระบุว่าจะมีการถ่ายทอดสดทางช่อง 5 และ TNN 24 และปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้นำเหล่าทัพจะเป็นเพียงผู้ฟังเท่านั้น จะไม่มีการเสนอแนวคิดใดๆ นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ขณะที่สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ระบุว่าจะไปเข้าร่วมเวทีดังกล่าว เพื่อชี้แจงจุดมุ่งหมายของ กปปส. และให้ผู้นำเหล่าทัพซักถาม ถือว่าเป็นการสื่อสารสองทาง และจะไม่บังคับการตัดสินใจของผู้นำเหล่าทัพ และเมื่อพูดจบก็จะเดินทางกลับเพราะไม่ต้องการทะเลาะกับคนอื่น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

นอกจากนี้ กปปส. เองจะจัดเวทีปฏิรูปการเมืองที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 14 ธ.ค. เริ่มตั้งแต่เวลา 9.30 น.  - 16.00 น. ขณะที่รัฐบาลจะจัดเวทีปฏิรูปดารเมืองในวันที่ 15 ธ.ค. ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50414  

ทันสถานการณ์ โจรยึดเมือง

ทันสถานการณ์ โจรยึดเมือง


Photo 

ขโมยร้องจับขโมย ฆาตกรร้องจับฆาตกร
Photo 


สุเทพขอให้ชุมนุมต่อจนกว่าจะได้รับชัยชนะ-ขจัดระบอบทักษิณ-ตั้งสภาประชาชน
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50381  

สุเทพโรดโชว์ - พบ 7 ภาคธุรกิจ กางแผนปฏิรูป พร้อมชี้แจงที่มา 'สภาประชาชน'
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50380 

กองทัพจะจัดเวทีเสวนาให้สุเทพมาชี้แจง และเชิญกลุ่มต่างๆ มาซักถาม

สุเทพขอสื่อมวลชนต่างชาติอย่าใช้ความรู้สึกแบบตะวันตกมาตัดสินการเมืองไทย
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50408 

สุเทพยืนยัน กปปส. ไม่ร่วมเลือกตั้ง 2 ก.พ. ย้ำต้องปฏิรูปก่อน-เลือกตั้งทีหลัง

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ กกต. ชุดใหม่ แล้ว
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50412 

การซื้อเสียงเป็นเพียงข้ออ้างไร้สาระที่อันตราย

การซื้อเสียงเป็นเพียงข้ออ้างไร้สาระที่อันตราย



ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ Christ Baker เขียน
ธรรมชาติ กรีอักษร แปล
ภาคิน นิมมานนรวงศ์ ตรวจแก้


การอ้างว่ารัฐบาลปัจจุบันไม่มีความชอบธรรมเพราะชัยชนะจากการเลือกตั้งของ พวกเขามาจากการซื้อเสียงนั้นถูกกู่ร้องก้องตะโกนมาจากเวทีประท้วงซ้ำแล้วซ้ำ เล่า ข้ออ้างเช่นนี้ถูกกล่าวซ้ำในบทความหลายชิ้นในบางกอกโพสต์ก่อนหน้านี้ และปรากฏเป็นความเห็นทั่ว ๆ ไปของผู้เขียนจดหมายถึงหนังสือพิมพ์ฉบับนี้

และมันเป็นเรื่องไร้สาระ ไร้สาระและอันตราย

ในช่วงแรกของประวัติศาสตร์การเลือกตั้งไทย ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะยัดเงินให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อสร้างข้อผูก มัด ครั้นเมื่อผู้เลือกตั้งรับน้ำใจจากผู้สมัครแล้ว คงดูเป็นการเสียมารยาทหากไม่ทดแทนน้ำใจงาม ๆ ด้วยการลงคะแนนให้ แต่การแลกเปลี่ยนที่ไร้เดียงสาเช่นนี้ไม่ได้มีอายุยืนยาวนัก หลังจากนั้นไม่นาน ประชาชนย่อมเรียนรู้ว่าพวกเขาสามารถรับเงินจากผู้สมัครทุกคน และยังคงกาบัตรเลือกตั้งของตัวเองได้ตามแต่ใจนึก

อย่างไรก็ดี จนกระทั่งถึง ต้นทศวรรษ 2540 ประชาชนทั่วไปยังไม่ได้สนใจการเลือกตั้งมากนัก ในช่วงเวลานั้น พวกเขาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกสามถึงสี่ปี โดยเลือกจากรายชื่อบรรดานักธุรกิจร่ำรวยที่ไม่ได้ทำอะไรให้พวกเขามากเท่า ไหร่ พวกเขาเห็นค่าคะแนนเสียงของตัวเองเพียงน้อยนิด จึงขายมันเพื่อแลกกับเงิน หรือสาธารณูปการบางอย่าง อาทิ น้ำประปาหรือการตัดถนน การเมืองของการเลือกตั้งไม่ได้เป็นเรื่องตื่นระทึกจนหายใจรดต้นคอหรือทำให้ หัวใจตกไปอยู่ใต้ตาตุ่ม ทุก ๆ ครั้งที่มีการเลือกตั้งทั่วไป กระทรวงมหาดไทยต้องออกมารณรงค์โน้มน้าวให้คนไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตัวเอง

สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างน่าประทับใจเมื่อช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษ ด้วยหลักปฏิบัติใหม่ ๆในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของกลไกการกระจายอำนาจให้กับรัฐบาลท้องถิ่นที่มาจากการ เลือกตั้ง ผู้คนเริ่มไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากขึ้นและไม่ได้เลือกตั้งเพียง ส.ส. อย่างเดียวทุก ๆ สองสามปี พวกเขาไปใช้สิทธิ์กันถึงปีละสองสามครั้งเพื่อเลือก ส.ว. ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาตำบล และกำนัน ในการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ ประชาชนมักจะเลือกผู้สมัครที่ตัวเองรู้จัก และสามารถเห็นผลของการเลือกของพวกเขาได้อย่างชัดเจน การให้การศึกษาถึงเรื่องคุณค่าและอำนาจของคะแนนเสียงด้วยวิธีเช่นนี้มีความ รวดเร็วและหยั่งลึก และทักษิณก็แสดงให้ประชาชนเห็นว่าการเลือกตั้งนั้นส่งผลในระดับชาติได้เช่น กัน