หน้าเว็บ

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศาลอ่านคำวินิจฉัยศาลรธน.คดี'สมยศ' - 23 ม.ค.พิพากษา

ศาลอ่านคำวินิจฉัยศาลรธน.คดี'สมยศ' - 23 ม.ค.พิพากษา 

  




ศาลอ่านคำวินิจฉัยศาลรธน. ระบุม. 112 ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญด้านการคุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกและหลักนิติธรรม เนื่องจากพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของชาติที่เคารพสักการะ ระบุโทษ 3-15 ปีเหมาะสมแล้วตามกฎหมาย


19 ธ.ค. 55 - ที่ศาลอาญารัชดา ห้อง 701 ผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยจากกรณีการยื่นคำร้องของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักเคลื่อนไหวสิทธิแรงงานและแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย และนายเอกชัย (สงวนนามสกุล) ในฐานะจำเลยกม.อาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยื่นคำโต้แย้งแก่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าม. 112 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยมีผู้สังเกตการณ์จากองค์กรสิทธิระหว่างประเทศ สถานทูต นักวิชาการ เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล สุธาชัย ยิ้่มประเสริฐ ปิยบุตร แสงกนกกุล เดินทางเข้าร่วมรับฟัง รวมกว่า 100 คน ทำให้ต่อมาต้องย้ายไปห้องพิจารณาคดีที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

โดยศาลได้อ่านคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า ม.112 มิได้ขัดกับหลักการคุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกตามมาตรา 29 และ 45 วรรคหนึ่ง และสอง ตามรัฐธรรมนูญไทย ตามที่ยื่นร้องโดยจำเลย เนื่องจากประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นศูนย์รวมจิตใจอันเป็นที่เคารพรักของประชาชน มีพระมหากรุณาธิคุณกับประชาชนชาวไทยอย่างใหญ่หลวง อีกทั้งพระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในสถานะที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ รัฐจึงต้องให้การคุ้มครองเป็นพิเศษ และชี้ว่า บทลงโทษที่มีอยู่ระหว่าง 3-15 ปี เพราะอยู่ในสถานะหลักของรัฐ และเป็นองค์ประมุขของรัฐ จึงนับว่าเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ และระบุว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล ต้องอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นด้วย

จากคำร้องที่จำเลย ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ม.112 ขัดต่อ มาตรา 3 วรรคสองหรือไม่ ซึ่งระบุเรื่องหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยดังกล่าวระบุว่า สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ "ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ จะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใดๆ มิได้ และด้วยพระเกียรติคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศของประเทศ และรักษาคุณลักษณะประการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข จึงมีความชอบธรรมที่ต้องมีกฎหมายคุ้มครองมิให้มีการละเมิดพระมหากษัตริย์ใน ฐานะที่ทรงเป็นประมุขของรัฐและสถาบันหลักของประเทศ" ศาลระบุว่า การกำหนดบทลงโทษ จึงเป็นไปเพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามหลักนิติธรรม ม.112 จึงสอดล้องกับหลักนิติธรรม ตามมาตรา 3 วรรคสอง

ผู้พิพากษา กล่าวต่อว่า ได้มีการเปลี่ยนเจ้าของสำนวนคดี เนื่องจากมีการโยกย้ายคณะผู้พิพากษาชุดเก่าไปยังต่างจังหวัด เจ้าของสำนวนคดีจึงเปลี่ยนเป็นรองอธิบดีศาลอาญา 2 คนแทน และเนื่องจากมีเอกสารที่เกี่ยวข้องมาก ต้องใช้ระยะเวลาพิจารณาอีกพอสมควร จึงได้นัดวันอ่านคำพิพากษาเป็นวันที่ 23 ม.ค. 56

นายสมยศ พฤกษาเกษมสุขกล่าวว่า ไม่รู้สึกแปลกใจกับคำวินิจฉัยที่ออกมาเท่าใดนัก และเสริมว่าศาลก็ไม่ได้พิจารณาในหลายประเด็นที่ยื่นให้วินิจฉัย เช่น เรื่องม.112 กับหลักสิทธิมนุษยชนสากล หรือเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก และกล่าวว่า ตนสมควรได้รับความยุติธรรมและถูกยกฟ้อง เนื่องจากอาจกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะคดีนี้อยู่ในความสนใจของต่างชาติ

"คำวินิจฉัยนี้ยืนยันว่ารัฐไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์" สมยศกล่าว


คารม พลกลาง ทนายความของนายสมยศ กล่าวภายหลังจากการอ่านคำวินิจฉัยว่า การอ่านคำวินิจฉัยวันนี้เป็นไปเพื่อพิจารณาว่าม. 112 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อไม่ขัด ศาลจึงมีกำหนดอ่านคำพิพากษา โดยมองว่าไม่น่าจะเลื่อนวันดังกล่าวออกไป และกล่าวว่า ไม่น่าจะได้รับการประกันตัวอีก ทั้งนี้ นายสมยศถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. 54 และ ถูกปฏิเสธการประกันตัวทั้งหมดแล้ว 10 ครั้ง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44289

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand 
  
ความรุนเเรงที่คุณไม่เลือกก็ได้

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2555 ตอน 2
ความรุนเเรงที่คุณไม่เลือกก็ได้ 
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=ldFhI3ZrCp4 

 
'Unfortunately' อภิสิทธิ์ 'รีเทิร์น' นายกรัฐมนตรี

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2555 ตอน 1
'Unfortunately' อภิสิทธิ์ 'รีเทิร์น' นายกรัฐมนตรี 
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=ZRU9fTYRQEY

จังหวะก้าว′เพื่อไทย′ ก่อนลง′ประชามติ′ ความคึกคักของประชาธิปัตย์

จังหวะก้าว′เพื่อไทย′ ก่อนลง′ประชามติ′ ความคึกคักของประชาธิปัตย์

 


ภายหลังจากพรรครัฐบาล ประกาศว่า จะทำ "ประชามติ" ขอความเห็นประชาชน ก่อนเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่แตกต่าง

จากพรรคเพื่อไทยเอง บางส่วนเกิดความไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจ

เมื่อ ทราบหลักเกณฑ์ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.การลงประชามติว่า 1.จะต้องมีผู้มีสิทธิ มาใช้สิทธิเกินครึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด

กล่าวคือ จากผู้มีสิทธิทั้งประเทศ 46 ล้านคน เบื้องแรก ต้องมาใช้สิทธิ 23 ล้านคน

และ 2.ความเห็นที่จะเป็นประชามติ จะต้องมีครึ่งหนึ่งของ 23 ล้านเสียง คือ 11 ล้านเสียงเศษ

แม้ว่าในการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งถึง 35 ล้านคน หรือ 74 เปอร์เซ็นต์

แต่การลงประชามติ มีความต่างจากการลงคะแนนเลือกตั้ง

โดยเฉพาะหากเผชิญกับการรณรงค์ของฝ่ายค้าน ที่ชูธง "นอนหลับ" ต่อต้านการลงประชามติทันที

สังเกต จากอาการของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ไม่เข้าร่วมประชุม ครม. ในวันที่ 18 ธันวาคม ซึ่งมีการพิจารณาเรื่องการลงประชามติ

โดยอ้างว่า "เจ็บคอมา 2 อาทิตย์แล้ว"

ส่วนที่ไม่เข้าประชุม "... ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย แต่ถ้ารัฐบาลเห็นอย่างไรก็เห็นตาม และพรรคเพื่อไทยมีมติอย่างไรก็เห็นด้วย"

"ผม พูดถึงความเป็นไปได้กับความเป็นไปไม่ได้ เพราะดูตัวเลขแล้วผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 48 ล้านคน มีเศษอีก 3 แสนกว่า ก็ต้องได้คะแนน 24 ล้านเศษ แต่มันเป็นเรื่องยาก"

"ผมเล่นการเมืองปี นี้ปีที่ 30 ตั้งแต่ พ.ศ.2526 วิเคราะห์การเมืองบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ผมก็เสียเหลี่ยมตัวเอง การเอาอกเอาใจกันนะได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง"

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดจึงคิดว่า ยากที่จะได้คะแนนเสียงตามเงื่อนไขของกฎหมาย

ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า มันยาก เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็ฟันธงแล้วว่าไม่เอาด้วย

แด่ ว.วชิรเมธี ‘ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชนดีเด่น’

แด่ ว.วชิรเมธี ‘ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชนดีเด่น’ 




สองยุค สองสมัย แต่ใจตรงกัน

โดย อ.สุรพศ ทวีศักดิ์


ภาพข้างบน คืออีกหนึ่งในปฏิกิริยาต่อข่าวที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีมติมอบรางวัล ‘ผู้อุทิศตนด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น’ แก่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ภาพดังกล่าวสะท้อนความแจ่มชัดในการรับรู้ของสาธารณะว่า ผู้คนรับรู้กันอย่างกว้างขวางว่า ว.วชิรเมธี คือเจ้าของวาทกรรม ‘ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน’ แต่แทบจะไม่ได้รับรู้กันเลยว่า ว.วชิเรเมธีได้ทำอะไรบ้างที่เป็นการ ‘ปกป้องสิทธิมนุษยชน’

หรือหาก ว.วชิรเมธี เคยทำอะไรบ้างเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน แต่การที่ท่านทวิตเตอร์ข้อความ “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าฆ่าคน” ในคืนวันที่ 9 เมษายน 2553 ก่อนเหตุการณ์นองเลือดที่สี่แยกคอกวัวเพียง 1 วัน ข้อความนี้ที่ออกสู่สาธารณะในสถานการณ์เช่นนั้น ย่อมเป็น ‘ตราประทับ’ ว่า ว.วชิรเมธีไม่คู่ควรกับรางวัล ‘ผู้อุทิศตนด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น’ เพราะท่านไม่เคยออกมาขอโทษประชาชนในความผิดพลาดนี้เลยด้วยซ้ำ อีกทั้งในช่วงการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เพิ่งผ่านพ้น ท่านยังออกมาตอกย้ำว่า “กฎหมายบ้านเมืองต้องศักดิ์สิทธิ์” อันเป็นการสอดรับกับแนวทางของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ต้องสลายการชุมนุมด้วย ‘กระสุนจริง’ เพื่อรักษากฎหมาย

ที่สำคัญชื่อ ‘ว.วชิรเมธี’ ก็ได้ถูกจดจำในประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนไปแล้วว่า ท่านไม่ใช่ผู้ปกป้องสิทธิของประชาชนที่สละชีวิตเลือดเนื้อต่อสู้กับเผด็จการ อำมาตยาธิปไตย ท่านจึงไม่ได้ปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เช่นเดียวกับกิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 6 ตุลา 19

คำแก้ตัวของกิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ ที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป หมายถึงฆ่าลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ใช่ฆ่าคนที่เป็นคอมมิวนิสต์” นั้น ย่อมฟังไม่ขึ้น เพราะนี่เป็นคำแก้ตัวในภายหลังจากที่ก่อนหน้านั้นตนเคยพูดต่อสาธารณะไปแล้ว ว่า “ฆ่าคนที่ทำลายชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้บุญมากกว่าบาปเหมือนฆ่าปลาแกงใส่บาตรถวายพระ”

เช่นเดียวกันคำแก้ตัวของ ว.วชิรเมธี ทำนองว่าที่พูดประโยค “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าฆ่าคน ไม่ได้มีเจตนาสนับสนุนความรุนแรง แต่ต้องการกระตุกผู้คนให้รู้คุณค่าของเวลา” ก็ย่อมฟังไม่ขึ้น เพราะท่านพูดคำนี้ออกมาในสถานการณ์ความขัดแย้งที่สื่อเสื้อเหลืองและสื่อ หลักกำลังโหมประโคมภาพความรุนแรงของเสื้อแดง และรัฐบาลอภิสิทธิ์กำลังเตรียมสรรพกำลังเพื่อจัดการกับการชุมนุมใหญ่ของคน เสื้อแดง ปี 2553

แม้สมมติว่า ว.วชิเมธี ไม่ได้มีเจตนาสนับสนุนความรุนแรงดังที่กล่าวจริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโดยเจตนาเช่นนั้นจะทำให้การกระทำนั้นไม่ใช่เป็นความ ผิดพลาดและไม่ควรขอโทษประชาชน เพราะ ‘เจตนา’ ของท่านไม่สามารถควบคุม ‘ความหมาย’ ของวาทกรรทประดิษฐ์ที่ตนเองเสนอออกไปในท่ามกลางสถานการณ์ที่พระควรจะเตือน สติมากกว่าจะไปพูดอะไรที่หมิ่นเหม่ต่อการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงกว่า เดิม

ปัญหาของ ว.วชิรเมธี (หรือพระสงฆ์และชาวพุทธส่วนมาก) คือการคิดว่าที่ตนเองออกมาแสดงทัศนะทางการเมือง วิจารณ์การเมือง หรือกระทั่งออกมาชุมนุมทางการเมืองล้วนแต่เป็นการกระทำจาก ‘เจตนาดี’ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หรือเพื่อชาติบ้านเมืองทั้งสิ้น ทว่าเจตนาดีดังกล่าวย่อมไม่อาจถือเป็นข้ออ้างที่ชอบธรรมในการปฏิเสธความรับ ผิดชอบต่อความผิดพลาดที่ได้กระทำลงไปได้

ความผิดพลาดของ ว.วชิรเมธี ที่เห็นได้ชัดในช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา เช่น

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44278