ประมวลความเห็นนักนิติศาสตร์รุ่นใหม่ “พรสันต์-ปิยบุตร” กรณีคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ
หมายเหตุ มติ
ชนออนไลน์ขออนุญาตนำข้อความที่ตั้งค่าเข้าถึงเป็นสาธารณะจากเฟซบุ๊กส่วนตัว
ของนักวิชาการด้านนิติศาสตร์รุ่นใหม่2ท่านซึ่งแสดงความเห็นต่อกรณีที่ศาลรัฐ
ธรรมนูญมีมติว่าพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
ขัดรัฐธรรมนูญรวมทั้งมีมติรับคำร้องเพื่อพิจารณาว่าการเลือกตั้งวันที่ 2
ก.พ. เป็นโมฆะหรือไม่ เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา
มาเผยแพร่ต่อในเว็บไซต์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับผมในฐานะนักวิชาการที่ทำการศึกษา
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ผมรู้สึกได้ว่า "รัฐธรรมนูญ" มันมีชีวิต
มันมีความรู้สึกนึกคิดและมุมมองของมัน ดังนั้น หลายครั้งที่รัฐธรรมนูญฟ้องว่าผู้บังคับใช้นั้นพยายามบังคับใช้ หรือบังคับใช้ตัวมันอย่างผิดพลาด
กรณีคำวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำวินิจฉัยว่าให้ พ.ร.บ. เงินกู้ ๒ ล้านล้าน ขัด
หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญทั้งในเรื่องกระบวนการตราและเนื้อหานั้น
ผมยังอ่านไม่ครบถ้วนนะครับ
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ว่าเนื้อหาของร่างกฎหมายขัด
หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ) อย่างไรก็ดี ด้วยความเคารพต่อคำวินิจฉัยของศาล
ในเบื้องต้น ประเด็นว่าด้วย "กระบวนการตราร่างกฎหมายที่ขัด
หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ" ผมเห็นว่าเหตุผล
ที่ศาลรัฐธรรมนูญหยิบยกขึ้นมาโดยกล่าวถึงการเสียบบัตรแทนกันนั้นไม่อาจเป็น
"ปัจจัยที่มีนัยสำคัญตามรัฐธรรมนูญ"
ที่จะนำไปสู่ความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญในกระบวนการตรากฎหมายได้
ปล. การเสียบบัตรแทนกันมีความผิด แต่ความผิดดังกล่าวถูกจัดว่า "มีความรุนแแรงมากพอในสายตาของระบบรัฐธรรมนูญ" ที่จะกล่าวได้ว่ากระบวนการตรากฎหมายขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นเป็นคนละประเด็นครับ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักกฎหมายมหาชน
ปล. การเสียบบัตรแทนกันมีความผิด แต่ความผิดดังกล่าวถูกจัดว่า "มีความรุนแแรงมากพอในสายตาของระบบรัฐธรรมนูญ" ที่จะกล่าวได้ว่ากระบวนการตรากฎหมายขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นเป็นคนละประเด็นครับ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักกฎหมายมหาชน