หน้าเว็บ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Wake up Thailand 29 สิงหาคม 2555

Wake up Thailand  29 สิงหาคม 2555

 

 

'นายกฯ' ต้องเอาอย่าง 'สุกำพล' 

 
นำเสนอประเด็น
 
 
- สุกำพลเเจงโยกย้ายปลัดกลาโหม
- ป.ป.ช.ยกคำร้องทุจริตจัดซื้อซีทีเอ็กซ์9000 
- ดีเอสไอสอบ'สุเทพ'นานกว่า 9 ชั่วโมง                                      
- 'กิตติรัตน์'ยันเก้าอี้รัฐมนตรียังเหนียว                                   
- พลอยตอบกรณีใช้บัตรประชาชนคนอื่นรับเงินและไม่จ่ายภาษี
- กสทช.เอาจริงเตรียมลงดาบสัญญาณล่ม ปรับราว20-30ล้านบาท "ดีแทค"เผยสาเหตุจากตัวส่งสัญญาณเสีย
- กองทัพปลดแอกซีเรียรุกหนักรัฐบาล
 
(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/wakeup-thailand

The Daily Dose 29 สิงหาคม 2555

The Daily Dose  29 สิงหาคม 2555



  

งานใหญ่ของพรรค Republican วันสำคัญของ Mitt Romney


(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/the-daily-dose

ศึกแตงโมสะเทือนกองทัพ

ศึกแตงโมสะเทือนกองทัพ


ใบตองแห้ง Baitonghaeng
โดยใบตองแห้ง

 
“รัฐบาลล้วงลูกกองทัพ” “การเมืองลุแก่อำนาจ” วิพากษ์วิจารณ์กันเซ็งแซ่ แหม Drama Addictซะเหลือเกิน กับกรณีที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสั่ง “เด้ง” พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อม พล.อ.ชาตรี ทัตติ รองปลัดฯ และ พล.อ.พิณภาษณ์ สริวัฒน์ เจ้ากรมเสมียนตรา ไปช่วยราชการ
 
แม้กระทั่งสื่อ ซึ่งควรจะรู้เบื้องหน้าเบื้องหลัง ควรทำการบ้านก่อนวิเคราะห์ หลายรายก็ยังมั่ว หรือจงใจมั่ว ขยายความว่ารัฐบาลกำลังจะเข้าไปล้วงโผทหาร ตีปี๊บว่าจะเกิดการกระทบกระทั่งกับ ผบ.เหล่าทัพ ปั้นให้คนอ่านรู้สึกว่ารัฐบาลกำลังล้ำเส้น “อันตราย”
 
ขณะที่ฝ่ายมวลชนเสื้อแดง บางรายก็เชียร์ พล.อ.อ.สุกำพลทันที โดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ว่าต้องอย่างนี้สิ รัฐมนตรีจากการเลือกตั้งต้องกล้าใช้อำนาจโยกย้ายทหาร (เออ แน่จริงทำไมไม่ย้ายประยุทธ์ จันทร์โอชา) เช่นเดียวกับเสื้อเหลืองบางส่วนก็ยกให้ พล.อ.เสถียรเป็นฮีโร่ผู้ปกป้องสถาบันกองทัพไปโน่น
 
ทั้งที่เพียงพลิกปูมหลัง อ่านข่าวย้อนหลังกันซักหน่อย ก็จะอ่านสถานการณ์ได้ง่ายๆ ว่ากรณีนี้แม้เป็น “การเมืองเข้ามาแทรกแซงทหาร” แต่ก็ถือเป็นความขัดแย้งระหว่าง “ทหารสายการเมือง” กับ “ทหารสายการเมือง”
 
ถ้าความจำไม่สั้นคงจำกันได้ว่าปีที่แล้ว พล.อ.เสถียรก็เหาะข้ามมาจากประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย มาเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหมในตอนนั้นจะเอา พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ รองปลัดกลาโหมอาวุโสสูงสุด แต่สื่อก็ตีข่าวเซ็งแซ่ว่ามี “ใบสั่งจากดูไบ” เพราะภริยา พล.อ.เสถียรไม่ใช่ใครที่ไหน ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ นายกเทศมนตรีตำบลคำขวาง อ.วารินชำราบ อุบลราชธานี เป็น “แดงตัวแม่” มีบทบาทสูงในการจัดเวทีเสื้อแดง เวทีหาเสียงในภาคอีสาน ต่อสายตรงถึงทักษิณ เดินเข้าเดินออกอยู่ในทำเนียบ
 
ก่อนหน้านี้ยังมีข่าวบางกระแสว่า หลังเกษียณ พล.อ.เสถียรจะได้คั่วเก้าอี้รัฐมนตรีด้วยซ้ำ
 
ส่วน พล.อ.ชาตรี ทัตติ ก็ไม่ใช่ “สายอำมาตย์” แต่ใดมา ข่าวเซ็งแซ่ว่าเป็น “สายบิ๊กจิ๋ว” ต่างหาก
 
ขณะที่ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วย ผบ.ทบ.เพื่อนร่วมรุ่น ตท.11 ของ พล.อ.เสถียรที่ พล.อ.อ.สุกำพลจะดันมาเป็นปลัดกลาโหม ก็มาจากแม่ทัพภาคที่ 3 ทั้งตอนนี้และตอนขึ้นผู้ช่วย ก็มีข่าวว่าได้แรงดันจากก๊วน ส.ส.ภาคเหนือ โดยเฉพาะ “เจ๊ ด.” กับสามี
 
พล.อ.ประยุทธ์ และ ผบ.เหล่าทัพคนอื่นๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนี้ เพราะถือว่าตำแหน่งปลัดกลาโหมเป็น “โควต้าการเมือง” ผบ.ทบ.โล่งอกด้วยซ้ำที่ พล.อ.ทนงศักดิ์ย้ายขึ้นมาเป็นปลัดกลาโหม ตัวเองจะได้ไม่ต้องเสียโควต้าให้ฝ่ายการเมืองเพิ่ม เพราะฝ่ายการเมืองก็เตรียมคนมาเสียบอยู่ยิกๆ ถ้า พล.อ.ทนงศักดิ์ขึ้นไม่ได้ โผทัพบกจะกระเพื่อมไปหมด
 
อ่านข่าวก็บอกอยู่ว่าถ้าลงมติในสภากลาโหม พล.อ.เสถียรมีแต่แพ้กับแพ้ แต่เจ้าตัวคงประเมินสถานการณ์ผิด คิดว่า “เข้าถึงดูไบ” ทั้งที่ “นายใหญ่” อาจคิดว่าก็ตอบแทนกันไปแล้ว ได้ตำแหน่งปลัดแล้ว จะเอาอะไรอีก พล.อ.ชาตรียังรอได้ กว่าจะเกษียณก็ปี 58
 
ผิดใดคงไม่เท่าการตัดสินใจเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ ส่งหนังสือถึง พล.อ.เปรม เล่นเกมแบบนี้เท่ากับฆ่าตัวตาย เสียความชอบธรรมในสายตามวลชนเสื้อแดง ทหารแตงโมด้วยกัน
 
ตำแหน่งรัฐมนตรีที่เคยเป็นข่าว คราวนี้หายต๋อม เก็บฉากเลย
 
ความเหมาะสมอยู่ที่ไหน

(อ่านต่อ)
http://www.voicetv.co.th/blog/1285.html

แดงวิพากษ์แดง 1 ปี พลาดโอกาสปฏิรูปปชต.

แดงวิพากษ์แดง 1 ปี พลาดโอกาสปฏิรูปปชต. 

 

  


ครบรอบ 1 ปี ที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ได้เข้าไปใช้อำนาจรัฐ และเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย หลังจากได้ ชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์จนเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง "พฤษภาเลือด" พร้อมคำประกาศ โจมตีต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งประเด็นสองมาตรฐาน และเมื่อแกนนำเสื้อแดงได้เป็นรัฐบาลในช่วงแรกได้พูดถึงจุดยืนหลายเรื่องที่ จะผลักดัน ไม่ว่า การปฏิรูปประชาธิปไตย การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเยียวยา ช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขังในคุกจากผลพวงการชุมนุม ฯลฯ

อีกด้านหนึ่ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งแกนนำนปช.จำนวนมาก เข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง ร่วม 40-50 คน ไล่จากระดับสูง ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ รองลงไปยังมีตำแหน่ง ผู้ช่วยรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี กระจายอยู่หลายกระทรวง รวมถึง ข้าราชการการเมืองประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระทั่ง ตั้งให้เป็นบอร์ดในบางหน่วยงาน ยังไม่นับแกนนำนปช.และเครือญาติที่ได้เป็น สส. สังกัดพรรคเพื่อไทย อีกนับสิบตำแหน่ง

ทีมข่าวนโยาบายสาธารณะ ถือโอกาสครบ1 ปีนี้ ตรวจสอบจุดยืนแกนนำนปช.ที่เข้าไปมีอำนาจรัฐผ่านความเห็นนักวิชาการฝ่ายเสื้อ แดงและมุมมองจาก "คนนอกสี"

อำมาตย์ได้ นปช.ทำงานแทน

"ยุกติ มุกดาวิจิตร" อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 (ครก.112) มองว่า นปช. พลาดโอกาสในสิ่งที่ควรทำไปหลายเรื่องในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จนทำให้ชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลย ฝ่ายอำมาตย์จึงได้พรรคเพื่อไทยมาทำงานแทน ไม่ต้องไปเดือดร้อนหาใครมาแทน เพราะพรรคเพื่อไทยก็ไม่ได้ทำในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากนัก

เขาขยายความว่า ที่บอกว่า พลาดโอกาสสำคัญ คือ ดิมคนที่เลือก พรรคเพื่อไทยไม่ได้เลือกมาให้ทำงานด้านนโยบายทางด้านเศรษฐกิจเพียงอย่าง เดียว แต่ประเด็นสำคัญ คือ เพราะเรื่องทางการเมือง พรรคเพื่อไทยแทนที่จะใช้โอกาสนี้เปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองให้ประชาธิปไตย ก้าวหน้าขึ้น แต่กลับไม่ได้ทำ หรือ ทำแล้วไม่สำเร็จ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ล่าสุดหลังจากถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอย่างที่เห็น พรรคเพื่อไทยก็ไม่มีท่าทีชัดเจนว่า จะเอาอย่างไร กลายเป็นว่า ช็อคไปเลย

ประเด็นอื่น ที่ยังมีความล่าช้า คือ การค้นหาความจริงโดยคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง แห่งชาติ (คอป.) ก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะนำไปสู่อะไร โดยเฉพาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 ก็ยังไม่คืบหน้า ทั้งที่ผ่านมา 1 ปีแล้ว

อีกเรื่อง พรรคเพื่อไทยก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการคำนึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ สำคัญ โดยเฉพาะการช่วยประกันตัวนักโทษการเมือง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนปช.หรือบางคนที่ไม่ได้เป็นเสื้อแดงและถูกเข้าคุก ดำเนินคดี ตั้งข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย เผาเมือง ตอนนี้ยังติดอยู่ 21 คน และติดคุกมาเกิน 2 ปี โดยที่รัฐบาลยังไม่ได้ให้ความช่วยเหลืออะไร ทั้งที่มีกลไกที่สามารถช่วยเหลือได้ อีกกลุ่ม นักโทษที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 มีอยู่ 4 คน แต่ยังมีการจับกุมและใช้กฎหมายนี้อยู่ ปัญหาสำคัญ คือ ไม่มีท่าทีจากพรรคเพื่อไทยว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาและคิดที่จะแก้ไขปรับปรุง ทั้งที่เป็นเรื่องใหญ่ 

(อ่านต่อ)
http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A3

"แม่น้องเกด" จี้ ปธ.กสม.ไขก๊อก ชี้รายงานคดี 98 ศพไม่เป็นกลาง มอบดอกไม้จันให้ "อมรา" รับทั้งน้ำตา

"แม่น้องเกด" จี้ ปธ.กสม.ไขก๊อก ชี้รายงานคดี 98 ศพไม่เป็นกลาง มอบดอกไม้จันให้ "อมรา" รับทั้งน้ำตา





เมื่อ เวลา 11.15 น. วันที่ 28 สิงหาคม ที่บริเวณหน้าศูนย์ราชการ อาคารรวมหน่วยราชการ บี (อาคารบี) ถนนแจ้งวัฒนะ กลุ่มคนเสื้อแดงและญาติผู้เสียชีวิตประมาณ 30 คน นำโดยนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือน้องเกด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม ระหว่างเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2553 เดินทางมาชุมนุมเพื่อขอพบนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ให้มาตอบคำถามเกี่ยวกับความไม่เป็นกลาง และเรื่องการยื่นหนังสือให้นางอมราลาออกไปก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยกป้ายที่แสดงรูปถ่ายของผู้เสียชีวิตระหว่างเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม 2553 พร้อมตะโกนด่าทอและเรียกร้องให้นางอมราลาออกจากประธาน กสม.

นางพะเยาว์กล่าวว่า เป็นตัวแทนของญาติผู้เสียชีวิตเพื่อต้องการถามว่า การเสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 53 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อดีตนายกรัฐมนตรีที่สั่งสลายการชุมนุมไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่ ระบุไว้ในร่างรายงานตรวจสอบเหตุกาณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายนถึง พฤษภาคม 2553 ของคณะกรรมการตรวจสอบของ กสม.และภาพที่ปรากฏนางอมรามอบดอกไม้ให้นายอภิสิทธิ์บ่งบอกให้เห็นว่า นางอมราคิดอย่างไร และยังมีความเป็นกลางอยู่หรือไม่



มองนิวเคลียร์ญี่ปุ่น: บทเรียน “การเชื่อฟังแบบอัตโนมัติ” ตัวการ “ฟุกุชิมะ”

มองนิวเคลียร์ญี่ปุ่น: บทเรียน “การเชื่อฟังแบบอัตโนมัติ” ตัวการ “ฟุกุชิมะ”


 
 

 
เปิดรายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อสืบสวนอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ดูบทเรียนที่นอกจากความน่ากลัวของกัมมันตรังสี และคำพูดที่ว่า “ขนาดญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าก็ยังเจอวิกฤติ” สังคมไทยได้เรียนรู้อะไร

จากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2554 แผ่นดินไหว 9.0 ริกเตอร์ได้เขย่าผืนแผ่นดินชายฝั่งภาคตะวันออกของเกาะญี่ปุ่น จนทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 11 เครื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 แห่งหยุดเดินเครื่องโดยอัตโนมัติ แต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมงต่อมา คลื่นยักษ์สึนามิสูง 14 เมตรก็โถมเข้าสู่ชายฝั่ง สร้างความเสียหายต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ จนระบบป้องกันภัยเกิดการขัดข้อง นำไปสู่การระเบิดของอาคารเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีสู่บรรยากาศจนสร้างความแตกตื่นไปทั่วโลก
 
ศุภกิจ นันทวรการ  นักวิจัยพลังงาน มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ได้หยิบยกเหตุการณ์เกี่ยวกับนิวเคลียร์ญี่ปุ่นดังกล่าว มานำเสนอถึงการผูกขาดความรู้ด้านพลังงาน กับ “กรณีความ (ไม่) ปลอดภัยของนิวเคลียร์ญี่ปุ่น” จากรายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อสืบสวนอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิ มะ ไดอิจิ ของรัฐสภาญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 3 ก.ค.55 ในเวทีสนทนาสาธารณะเพื่อร่วมสร้างความเป็นธรรม “แก๊สกับน้ำมัน: ทำไมถึงแพง” ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก จุฬา เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา
 
นักวิชาการจากมูลนิธินโยบายสุขภาวะ กล่าวว่า คณะกรรมการอิสระซึ่งจัดตั้งโดยรัฐสภา เป็นชุดแรกในประวัติศาสตร์รัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะ the Act Regarding the Fukushima Nuclear Accident Independent Investigation Commission มีองค์ประกอบของคณะกรรมการ ทั้งอดีตประธานสภาวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว รังสี นักกฎหมาย อัยการ หมอ การต่างประเทศ หอการค้าและอุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมทั้งสื่อมวลชนด้านวิทยาศาสตร์ 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42342

เครือข่ายนักศึกษาฯ ประมวลกิจกรรม ยื่นอธิการบดี มข. ยันค้าน ม.นอกระบบ

เครือข่ายนักศึกษาฯ ประมวลกิจกรรม ยื่นอธิการบดี มข. ยันค้าน ม.นอกระบบ





เครือข่ายนักศึกษาค้านนำ มข.ออกนอกระบบ ยื่นสำเนาชี้แจงกิจกรรมการเคลื่อนไหวคัดค้านที่ผ่านมา พร้อมรายชื่อนักศึกษา  ยันข้อมูลที่ผู้บริหารอ้างทำประชาพิจารณ์-ไม่มีกลุ่มบุคคลใดค้าน มข.ออกนอกระบบ

วันที่ 28 ส.ค.55 เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ เข้าพบอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อยื่นหนังสือสำเนาชี้แจงกิจกรรมการเคลื่อนไหวคัดค้านการนำมหาวิทยาลัย ขอนแก่น ออกนอกระบบ จากการที่ผู้บริหารอ้างเหตุผลในการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบว่า ได้มีการทำประชาพิจารณ์แล้วและไม่มีกลุ่มบุคคลใดคัดค้าน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนหนึ่งรวมตัวกันเป็นเครือข่าย เพื่อรณรงค์ค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ 
 
ทั้งนี้ สำเนาดังกล่าวได้แสดงจุดยืนกลุ่มนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยการนำมหาวิทยาลัยออก นอกระบบ  พร้อมทั้งลำดับเหตุการณ์การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นการนำมหาวิทยาลัยออก นอกระบบที่ทางเครือข่ายได้มีบทบาท ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงรายชื่อนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบซึ่ง ทางกลุ่มได้รณรงค์ล่ามาด้วย 
 
นายวสันต์ เสตสิทธิ์ ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายนักได้กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการยืนยันว่ายังมีกลุ่มนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยกับ การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ และมีการรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ของนักศึกษา
 
“ถ้าหากว่าการแปรสภาพนำมาซึ่งคุณภาพที่ดีการบริหารงานที่สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพขึ้น  เราเห็นด้วย  แต่เราไม่เห็นด้วยถ้าหากหากกระบวนการที่จะแปรสภาพมหาวิทยาลัยทั้งหมดนั้นไม่ ถูกต้อง  ไม่โปร่งใส  ไม่มีการเปิดให้มีส่วนร่วมจากประชาคมต่างๆ อย่างที่ควรจะเป็น  เราก็จะขอคัดค้านต่อไป” นายวสันต์กล่าว
 
ในวันเดียวกัน เครือข่ายนักศึกษาฯ ยังได้ส่งหนังสือเรียนถึง เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา หรือ สกอ.เพื่อชี้แจงในประเด็นดังกล่าว และให้ สกอ.ส่งสำเนาดังกล่าวไปยังนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น และอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รับทราบและชี้แจงในประเด็นที่ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอ้างว่าไม่มี กลุ่มบุคคลใดคัดค้าน และได้ให้ข้อมูลนักศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสียของการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว แต่จากการเคลื่อนไหวของเครือข่ายนักศึกษาฯ ที่ผ่านมายังคงมีนักศึกษาที่ไม่รู้เรื่องการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ
 
ทั้งนี้ เอกสารที่ยื่นต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42345

ไอ้ฆาตกร ใจสัตว์ยิงประชาชน

ไอ้ฆาตกร ใจสัตว์ยิงประชาชน


 


เจ้าหน้าที่ทหารใช้ปืนสไนเปอร์ยยิง นปช หน้าสนามมวยลุมพินี15 05 10

19 พค. 2553 ทหารยิงประชาชน ร่วงเห็นๆ
 


ส.อ.ศฤงคาร ทวีชีพ                ส.อ.คชารัตน์ เนียมรอด

สิบเอก ศฤงคาร ทวีชีพ ปัจจุบันปลดประจำการแล้ว และสิบเอก คชารัตน์ เนียมรอด นายทหารสังกัดกองพันทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ จังหวัดสระบุรี เจ้าหน้าที่ทหารที่ปรากฏบนภาพสื่อในการปฏิบัติการสลายการชุมนุมช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค. 53 เข้าให้ปากคำกับเจ้าพนักงานกรมสอบคดีพิเศษตามหมายเรียกครั้งที่ 2 ในฐานะพยาน

โดยครั้งแรกนายทหารทั้งสองได้ขอเลื่อนการเข้าปากคำ ซึ่ง ทางพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ทำหนังสือเรียกให้นายทหารทั้ง 2 เข้าให้ปากคำอีกครั้งในวันที่ 29 สิงหาคม 2555