หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ที่นี่ความจริง 1 10 2012

ที่นี่ความจริง 1 10 2012

 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=fQ44qbUKeZg&feature=youtu.be

เสวนานิติราษฎร์: การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ

เสวนานิติราษฎร์: การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ



"2 ปีนิติราษฎร์" ปิยบุตร แสงกนกกุล
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=4HPp0DPj_C0
 

ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยแทบไม่มีการกล่าวถึง 24 มิ.ย.2475... เมื่อนักกฎหมายตีความและใช้กฎหมายตามระบอบเก่า การใช้และตีความจึงบิดเบี้ยวอย่างทุกวันนี้ เมื่อเราประกาศตัวเป็นนิติรัฐ กฎหมายเป็นใหญ่ นักกฎหมายจึงเป็นใหญ่ตาม บรรดานักกฎหมายจึงพยายามช่วงชิงว่าตัวเองเป็นผู้ผูกขาดการใช้การตีความ กฎหมาย...ปิยบุตร แสงกนกกุล วิพากษ์บทบาทนักกฎหมายไว้ในตอนหนึ่ง

30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมเสวนาหัวข้อ “การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ” ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ธีระ สุธีวรางกูร กล่าวในช่วงเกริ่นนำว่า ประเทศไทยมีการรัฐประหารเฉลี่ย 3-4 ปีต่อครั้ง และการรัฐประหารทุกครั้งจะนำมาซึ่งเรื่องใหม่ๆ ทางกฎหมาย ทั้งการมีองค์กรและกฎเกณฑ์ใหม่ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐ

การรัฐประหาร 2549 เป็นสาเหตุของการกำเนิดขึ้นของนิติราษฎร์ซึ่งมีข้อเสนอออกมานับตั้งแต่มีการ รวมกลุ่ม และมีหลายข้อเสนอที่ก่อให้เกิดการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์ในทางสาธารณะค่อน ข้างมาก นั่นคือการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร

นอกจากนี้ คือเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยที่นำมา ซึ่งการจำกัดอำนาจของสถาบันกษัตริย์ แต่ระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมาความสัมพันธ์นี้แกว่งไกวมาตลอดแล้วแต่สถานการณ์ แต่ระหว่างการจัดความสัมพันธ์นี้ สิ่งที่เห็นคือ จะมีบรรดานักนิติศาสตร์ที่ทำหน้าที่อธิบายความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นการ เทิดพระเกียรติและอำนาจของสถาบันฯ แต่ข้อเท็จจริงนั้น ก่อนการรัฐประหาร 2549 ในช่วงที่ประเทศอยู่ในภาวะวุ่นวาย กลไกที่ทำหน้าที่หลักในบ้านเมืองตอนนั้นคือสถาบันตุลาการ ซึ่งมีบทบาทสำคัญค่อนข้างมากในช่วงที่กำลังจะมีการรัฐประหาร

บทบาทสำคัญอีกประการคือ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2549 เรื่องปัญหาการเลือกตั้ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้เลือกตั้งใหม่ และต้องเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่คณะที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติไม่เลือกโดยอ้างพระราชอำนาจ ตามหนังสือที่ประธานศาลฎีกาเวียนไประบุเหตุที่มีกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรง ใช้พระราชอำนาจโดยตรงทางตุลาการผ่านพระราชดำรัสวันที่ 25 เม.ย.2549 เมื่อมีพระราชดำรัสเช่นนั้นการที่ศาลฎีกาไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ก็เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

ธีระกล่าวต่อว่า ที่อ้างมานี้ เพื่อให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ถูกนำมาอ้างอิงเสมอไม่ว่าจากศาลหรือใครก็ตาม และ 30 ปีที่ผ่านมา ก็มีคำอธิบายทางนิติศาสตร์มากในเรื่องพระราชอำนาจและอำนาจอธิปไตย เป็นสิ่งที่ต้องตั้งคำถามและหาคำตอบ

สุดท้าย สิ่งที่ต้องรำลึกเสมอคือ แม้ว่าปัจจุบันมีการรัฐประหารค่อนข้างยาก แต่การรัฐประหารแบบคลาสสิกคือการใช้รถถังก็ยังมีอยู่ ก่อนหน้านั้นเราไม่มีองค์ความรู้ในการป้องกันหรือแก้ไขการรัฐประหารเลย

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/42914