วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555
"ราชาธิปไตย" ในยุคสมัยใหม่ โดย เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน
"ราชาธิปไตย" ในยุคสมัยใหม่ โดย เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน
เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน หรือ
รู้จักกันในแวดวงนักวิชาการเมืองไทยว่า “อาจารย์เบน” นักวิชาการชาวไอริชผู้โด่งดังจากการศึกษาลัทธิ
“ชาตินิยม” ในหลายชาติ และเป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทย กล่าวบรรยายในหัวข้อ “ราชาธิปไตย
โลกในยุคสมัยใหม่” เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเป็นส่วนหนึ่งของงานเสวนาเรื่อง
“วิกฤตประชาธิปไตยในประเทศไทย”
อาจารย์เบนเริ่มต้นด้วยการอธิบายว่า “ราชาธิปไตย” ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า
“monarchy”
ซึ่งในรากศัพท์แปลว่า การปกครองโดยคนๆ เดียว ต่างจาก “คณาธิปไตย” (oligarchy)
ที่แปลว่า การปกครองโดยคนกลุ่มน้อย หรือ “ประชาธิปไตย” (democracy) ที่แปลว่า
การปกครองโดยคนกลุ่มใหญ่
ในโลกปัจจุบัน ราชาธิปไตยมีไม่มากเหมือนเมื่อ 100 ปีที่แล้ว
ในสหประชาชาติทุกวันนี้ มีประเทศราชาธิปไตยเพียงร้อยละ 13
เท่านั้น
หากนับประเทศราชาธิปไตยทั้งหมดรวมกัน มีเนื้อที่เล็กกว่าประเทศบราซิลประเทศเดียว
ประชากรรวมกัน ก็น้อยกว่าอินเดียประเทศเดียว
จึงมีคำถามสำคัญว่า ราชาธิปไตยหายไป ไหนหมด
อาจารย์เบนชี้ว่า
ในประวัติศาสตร์นั้นมีสิ่งท้าทายราชาธิปไตยอยู่ 3 ประการใหญ่ๆ
ประการที่หนึ่งคือ สงคราม
สงครามครั้งใหญ่ๆ
มักจะเป็นจุดจบหรืออย่างน้อยก็จุดเปลี่ยนของระบอบราชาธิปไตย เช่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียถูกโค่นล้ม
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
จักรพรรดิญี่ปุ่นถูกฝ่ายสัมพันธมิตรลดอำนาจลงมาก
ทั้งนี้เนื่องมาจากสงครามเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม
ประการที่สองคือ ขบวนการอุดมการณ์ต่างๆ
เช่น ขบวนการอนาธิปไตยในศตวรรษที่ 19
ที่ลอบสังหารประมุขราชาธิปไตยยุโรปหลายแห่ง เช่น พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ของรัสเซีย
หรือจักรพรรดินีอลิซาเบธของออสเตรีย
ขบวนการชาตินิยมมักเป็นศัตรูกับระบอบราชาธิปไตยเช่นกัน เช่น
กรณีมกุฎราชกุมารฟรานซ์เฟอร์ดินานด์ที่ถูกขบวนการชาติ นิยมเซอร์เบียลอบยิงในปีค.ศ.1914
จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเหตุการณ์ปฏิวัติโค่นราชวงศ์ ชิงของจีน ที่นำโดยขบวนการชาตินิยมของ
“ซุนยัดเซ็น”
อ.เบนอธิบายว่า เป็นเพราะในอดีต
ประมุขราชาธิปไตยไม่ได้มองตัวเองว่าเป็นตัวแทนของชาติ” จึงยากที่จะหาความชอบธรรมได้เมื่อเกิดกระแส
“ชาตินิยม” (แนวคิดที่ว่า คนในดินแดนเดียวกัน
เชื่อมโยงเป็นชาติเดียวกัน)
ปัญหานี้ยิ่งใหญ่ในรัฐราชาธิปไตยที่มีเนื้อที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่หลายเชื้อชาติ
หลายวัฒนธรรม เมื่อชนเหล่านี้มีแนวคิดชาตินิยม
จึงมักเรียกร้องเอกราชออกจากรัฐราชาธิปไตยนั้นๆ
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331535169&grpid=&catid=03&subcatid=0305
GDP ต่อหัวของปักกิ่งใกล้ระดับร่ำรวย แต่ระดับความสุขประชาชนต่ำ
GDP ต่อหัวของปักกิ่งใกล้ระดับร่ำรวย แต่ระดับความสุขประชาชนต่ำ
เมื่อเร็วๆ นี้ กรมสถิติของกรุงปักกิ่งได้ประกาศตัวเลขสถิติของปี 2554 ว่า GDP ต่อหัวของปักกิ่งอยู่ที่ 80,394 หยวน (มีมูลค่าเท่ากับ 12,447 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งใกล้ระดับของประเทศที่ร่ำรวย และสูงกว่า GDP ต่อหัวโดยเฉลี่ยของจีนเป็นเท่าตัว ทำให้ช่องว่างความแตกต่างระหว่างมณฑลหลายมณฑลของจีนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างมากในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจจีนในอนาคต
ทั้งนี้ นางหยูซิ่วฉิน รองอธิบดีของกรมสถิติปักกิ่งให้คำแนะนำว่า ตามมาตรฐานของธนาคาร World Bank ว่า หากคิดตาม GNIต่อหัว (หรือเรียกว่า GNP: Gross National Product) ต่ำกว่า 1,005 ดอลลาร์สหรัฐถือเป็นระดับประเทศที่มีรายได้ต่ำ 1,006-3,975 ดอลลาร์สหรัฐเป็นระดับประเทศที่ปานกลางค่อนข้างต่ำ 3,976-12,275 ดอลลาร์สหรัฐเป็นระดับประเทศที่ปานกลางค่อนข้างสูง 12,276 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไปก็ถือเป็นระดับประเทศที่ร่ำรวย แม้ว่าในประเทศจีนส่วนใหญ่คิดตาม GDP แต่ก็สามารถเปรียบเทียบมาตรฐานดังกล่าวได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า GDP ต่อหัวของกรุงปักกิ่งได้เข้าสู่ระดับร่ำรวยแล้ว
ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจจีนจาก The Chinese Academy of Social Sciences กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ เศรษฐกิจทางด้านอุตสาหกรรมและมูลค่าเพิ่มของปักกิ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูง แล้ว โดยอุตสาหรรมบริการของปักกิ่งได้พุ่งสูงขึ้นถึง 1.2 ล้านล้านหยวน ครองสัดส่วน GDP ของปักกิ่งร้อยละ 75.7 สร้างรายได้ต่อการคลังท้องถิ่นถึงร้อยละ 85 แต่อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ปักกิ่งยังล้าหลังอย่างมาก โดย GDP ต่อหัวเป็น 1 ใน 17 ของโตเกียว 1 ใน 8 ของนิวยอร์ และ1 ใน 7 ของลอนดอน
ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สวัสดิการของประชาชนยังค่อนข้างน้อย
และรายได้โดยเฉลี่ยของปีที่แล้วอยู่เพียง 32,900 หยวนเท่นนั้น
ครองสัดส่วนร้อยละ 40 ของ GDP ต่อหัว
ทำให้ประชาชนไม่รู้สึกว่าอยู่ในระดับประเทศที่ร่ำรวยอย่างแท้จริง
ปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมบริการและอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้แสดงบทบาท
สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเติบโตทางเศรษฐกิจของปักกิ่ง และในอนาต
ยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไป
แต่หากปักกิ่งมีการลงทุนในด้านการเสริมสร้างสาธารณูปโภคและสวัสดิการของ
ประชาชนมากขึ้นพร้อมกัน
อาจจะสามารถทำให้ระดับความสุขของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นเท่าระดับประเทศที่ร่ำ
รวยอย่างแท้จริงที่มา:ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ กรุงปักกิ่ง
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331552168&grpid=&catid=06&subcatid=0600
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)