นิธิ เอียวศรีวงศ์ : เสรีภาพในพื้นที่ไซเบอร์
|
ไม่นานมานี้
รัฐมนตรีกระทรวงไอซีที เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการลูกเสือไซเบอร์ รับสมัครนักเรียน
นักศึกษาที่สนใจจะเข้าไปในโลกไซเบอร์ เพื่อสอดส่องตรวจตราว่า ใครเขียน, ส่ง, หรือส่งต่อ
ข้อความอันอาจเป็นการละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ในรัฐบาลที่แล้ว
นายกรัฐมนตรีตั้งชมรมผู้ปกป้องสถาบันขึ้น ทำหน้าที่ทำนองเดียวกัน
โดยมีตัวนายกฯเองลงนามเป็นสมาชิกคนแรก
รัฐบาลที่แล้วตั้งลูกเสือชาวบ้านในพื้นที่ไซเบอร์ รัฐบาลนี้ใช้ลูกเสือจากโรงเรียน
ดูเผินๆ ก็เหมือนกับการตั้งชมรมพลเมืองดี คอยสอดส่องดูแลป้องกันมิให้เกิดโจรกรรม
หรือล่วงละเมิดทางเพศ อันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งคู่ แต่อาชญากรรมเช่นนั้น
ไม่เหมือนกับการกระทำที่ถูกถือว่าล่วงละเมิดสถาบัน เพราะการล่วงละเมิดสถาบัน
ต้องอาศัยการตีความมากกว่าโจรกรรม หรือล่วงละเมิดทางเพศอย่างมากทีเดียว
ทั้งต้องตีความโดยไม่ให้กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อันเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่สังคมประชาธิปไตยต้องมีด้วย
นอกจากอาสาสมัครที่รัฐบาลระดมมาแล้ว
รัฐบาลก็ยังมีตำรวจไซเบอร์อีกจำนวนมาก ในสังกัดหน่วยงานต่างๆ ดังนั้น พื้นที่ไซเบอร์ภายใต้รัฐบาลไทย
จึงเป็นพื้นที่ซึ่งถูกควบคุมอย่างถี่ยิบแทบจะทุกตารางนิ้ว
ยังไม่ถึงปี รัฐบาลนี้ปิดเว็บไซต์ไปมากกว่ารัฐบาลที่แล้วปิดทั้งปี
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333375911&grpid=&catid=02&subcatid=0207