หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทบาทของนักการเมืองเสื้อแดง
สมุดบันทึกสีแดง

สิ่งที่ขาดหายไปอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์การเมืองไทย คือ บทบาทของนักการเมืองที่เป็นที่พึ่งของประชาชน ที่ ผ่านมาภาพที่เราเห็นจนชินตาของนักการเมืองคือ บทบาทของการเป็นมาเฟียที่ไม่ให้ความสำคัญกับประชาชน แต่เน้นการสร้างสายสัมพันธ์กับกองกำลังในเครื่องแบบ เช่น ตำรวจ และ ทหาร แต่พอสังคมไทยมีประชาธิปไตย ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นผ่านการเลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายที่ตอบสนอง ความต้องการของประชาชน


พอ มีวิกฤติทางการเมืองเกิดขึ้นในประเทศไทย ภาพที่พวกเราเห็นมาหลายครั้งหลายครา คือ ไอ้คนข้างบน หรือ พวก “ไอ้ตาอยู่ ไอ้พวกฉวยโอกาส” เข้ามาปล้นเอาความดีความชอบที่ประชาชนต่อสู้มา ไปเป็นของตัวเองกลางวันแสกๆ อยู่เสมอๆ และเหล่าฆาตรกรมือเปื้อนเลือดทั้งหลายไม่เคยถูกลงโทษเลย หนำซ้ำยังเป็นใหญ่เป็นโตคับบ้านคับเมือง ในมุมกลับประชาชนผู้รักความเป็นธรรมกลับถูกคุมขัง อย่างไร้ความเป็นธรรม อย่างไรก็ตามภาพอุจาดตาเหล่านี้อาจจะไม่ผ่านตาไปอย่างสบายสบายเหมือนที่เคย เป็นมา ถ้าขบวนการ “เสื้อแดง” มีความเข้มแข็ง


โฉม หน้าของเหล่าคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ไม่เพียงแต่ขี้เหล่แต่ใบหน้าของแต่ละคน มันเป็นใบหน้าเดิมๆ ที่ต้องการเล่นการเมืองในกรอบอุบาทว์เดิมๆ แต่อย่างไรก็ตามการที่แกนนำของคนเสื้อแดงได้เข้าไปเป็น สส. มันมีกลิ่นอายของความหวังและการตั้งมาตรฐานของการเป็นนักการเมืองที่มี คุณภาพ เช่น การที่ สส.เสื้อแดง ได้รวมตัวกันเพื่อที่ประกันนักโทษการเมือง จตุพร พรหมพันธ์ ออกมาเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของคนเสื้อแดง และ พูดดักคอ นักการเมืองหน้าไหว้หลักหลอกของพรรคเพื่อไทยคนอื่นๆ ว่า อย่ามาดัดจริตกลับหัวกลับหางความจริงเกี่ยวกับบทบาทและการต่อสู้ของคนเสื้อ แดง ที่พยายามตีตัวออกห่างคนเสื้อแดงโดยอธิบายว่าคนทำให้ภาพ พจน์เพื่อไทยเสีย มันเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันทำให้เราเห็นภาพนักการเมืองสองชนิด ชนิดที่ไม่มีอุดมการณ์ และ มีอุดมการณ์ แน่นอนคนทั่วไปย่อมตั้งคำถามกับบทบาทนักการเมืองส่วนใหญ่ของพรรคเพื่อไทยที่ ให้ความสำคัญกับประชาชนในลำดับสุดท้ายของความสำคัญ ซึ่งหมายความว่าเราไว้ใจนักการเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้เลย พวกเราต้องมีการกดดันรัฐบาลให้ระลึกถึงบุญคุณของประชาชนอยู่เสมอๆ เพราะถ้าเราเผลอเมื่อไหร่นักการเมืองเหล่านี้จะวกเข้ามากัดพวกเราทันที เช่น
การที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ที่ ออกมาแถลงนโยบายที่เร่งด่วน โดยเน้นไปที่การเพิ่มความเข้มข้นในการกฎหมาย ม.112 และมีหลายคนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในทิศทางที่ว่า เราต่อสู้เสียชีวิตไปตั้งมากมายแต่ได้นักการเมืองน้ำเน่ากลับมา? ทำให้รัฐมนตรีเสียงอ่อนลงในลักษณะที่ยอมรับฟังว่ามันมีความไม่เป็นธรรมในการ ใช้กฎหมายนี้ แน่นอนพวกเราก็ต้องเคลื่อนไหวและวิพากษ์วิจารณ์ให้หนักมากยิ่งขึ้นรวมถึง เสนอให้เน้นไปที่การ “ยกเลิก ม.112”


ช่วงอาทิตว์ที่ผ่านมามีข่าวหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่ามันเป็นข่าวใหญ่ในสื่อกระแสหลักแค่ไหน คือ “ศาลแพ่งตัดสินให้ 2 นปช.ชนะคดีจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเสื้อแดงที่ดินแดงเมื่อปี 52 โดย 2 เหยื่อ ปืนถูกยิงบาดเจ็บเป็นโจทก์ยื่นฟ้องรัฐบาล-กองทัพ เรียกค่าชดเชยที่ถูกยิงบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้เชื่อว่าโจทก์บาดเจ็บจากฝีมือเจ้าหน้าที่จริง ให้จ่ายเงินชดเชย 3 ล้าน” นี่ คือจุดเริ่มต้นที่พวกเรากดดันให้กองทัพรับผิดชอบกับอาชญากรรมที่ทหารไทยทำ กับประชาชนมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้ากรณีการปราปรามเสื้อแดงในปี 52 ชนะ เหตุการณ์ในปี 53 กองทัพก็ต้องชดใช้กับความการกระทำอันอำมหิตในเหตุการณ์ราชประสงค์เลือดเช่น เดียวกัน ซึ่งในกรณีล่าสุดนั้นหลักฐาน และ พยายามมีอยู่อย่างมากมาย การเอาผิดกับทหารและนักการเมืองต้องอาศัยสองพลังประสานกัน คือ พลังมวลชนเสื้อแดงกดดันและนักการเมืองเสื้อแดงในรัฐสภาที่จะต้องเร่งให้ รัฐบาลเอาผิดกับอาชญากรตัวจริงเหล่านั้นเสียที 

ถ้าเรามีนักการเมืองที่มีอุดมการณ์ที่กล้ายืนเคียงข้างกับคนเสื้อแดงมากพอโดยที่ไม่ยอมจำนนต่ออำนาจนอกระบบ อยู่ในรัฐสภาภายใต้ความเข้มแข็งของขบวนการเสื้อแดง พวกเราคงสามารถใช้การปฏิรูปการเมืองเปิดประตูไปสู่ศักราชใหม่ได้อย่างแน่นอน

แต่งงานใหม่ โดย กาหลิบ


คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?


เริ่ม มีคนถามว่า หากรัฐบาลของประชาชนหรือรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งมากับมือทำงานไม่สอดรับ กับผลประโยชน์ของประชาชน หรือหนักยิ่งกว่านั้นคือทำงานสอดรับกับผลประโยชน์กับฝ่ายตรงข้ามกับประชาชน เสียด้วยแล้ว ประชาชนควรทำอย่างไร
 

ปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดในประเทศประชาธิปไตย แต่สำหรับประเทศที่แสร้งว่าเป็นประชาธิปไตยหรือเป็นประชาธิปไตยน้ำใต้ศอกแล้วย่อมเกิดขึ้นได้ และอาจกำลังเกิดอยู่ด้วยซ้ำ
 

เจตนา ของคนส่วนใหญ่ที่มาจากการเลือกตั้งคงไม่น่าเป็นการมุ่งรับใช้เผด็จการ แต่ในจิตใจที่ขาดความมั่นคงทางอุดมการณ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความคิดรับใช้มวลชนคงจะแปรเปลี่ยนไปได้ในทันทีที่พบว่าอำนาจของประชาชนไม่ ใช่อำนาจสูงสุด สุดท้ายก็วิ่งไปรับใช้อำนาจที่เหนือกว่าประชาชน
 
ประเด็นสำคัญจึงมิใช่ว่ารัฐบาลจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือจะอยู่ได้นานแค่ไหน แต่อยู่ที่ระบอบซึ่งเป็นเสมือนฝาครอบรัฐบาลนั้นอยู่
 

การ ครอบงำเป็นการแผ่อิทธิพลอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ความคิดดีๆ ความตั้งใจดีๆ และความเป็นตัวแทนของปวงชนเลือนหายไปได้ ไม่ว่าปัญหาน้ำท่วม การจราจรในกรุงเทพฯ การเร่งเร้าให้สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ความรวนเรในหลักการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การประกาศสงครามกับสื่อไซเบอร์ ฯลฯ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างแรกๆ ของการปะทะในหลักการ
 

ลอง คิดดูให้ดีแล้วจะพบว่า เบื้องหลังทุกๆ นโยบายจะต้องมีหลักการที่อธิบายต่อประชาชนได้ ในกรณีที่มีลักษณะขัดผลประโยชน์ในหลายกลุ่มประชาชน กรณีนั้นก็ต้องอธิบายกันอย่างเต็มที่และอดทนจนกว่าจะพบทางออกที่สร้าง ฉันทามติหรือความขัดแย้งที่เบาบางที่สุด เพราะผู้กำหนดนโยบายจะต้องเลือกระหว่างทางเลือกต่างๆ ซึ่งจะมีผู้สมหวังและผิดหวังอยู่เสมอ
 

แต่ ถ้าเบื้องหลังนั้นไม่ได้มาจากผลประโยชน์ของมหาชน แต่เป็นความต้องการของชนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจเหนือประชาชน ก็จะไม่สามารถอธิบายให้ประชาชนพึงพอใจได้ สุดท้ายก็ต้องหาเรื่องเบี่ยงประเด็นกันไปจนไม่พูดถึง เหลือแต่เสียงกระซิบกระซาบและการนินทาว่าร้ายที่รัฐบาลนั้นเองต้องรับไป
 
คนที่คอยสั่งรัฐบาล (และรัฐบาลดันตอบรับ) ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรด้วยเลย รัฐบาลของประชาชนหลายคณะในอดีต จึงกลายเป็นหนังหน้าไฟ หรือนายหน้าของผู้มีอำนาจในเมืองไทยไปด้วยประการฉะนี้
 

บทบาทนี้จะดำเนินไปจนกว่ารัฐบาลนั้นจะเสื่อมความนิยม ขัดแย้งกันภายในจนเดินต่อไปไม่ได้ และก็จะพังไปเองในที่สุด
 

คนที่คอยสั่งรัฐบาลเขาก็จะยักไหล่ ตั้งรัฐบาลชุดต่อๆ ไปมาตายแทนเขาต่อไปโดยไม่รู้สึกรู้สมอะไรด้วย รูป แบบนี้เห็นกันแล้วเห็นกันอีก ก็ยังไม่ค่อยเรียนรู้กัน หรือจะคิดว่าตัวเองมีคุณวิเศษยิ่งไปกว่าคณะอื่นๆ และไม่ถูกดูดเข้าสู่วงจรอุบาทว์เหมือนคณะอื่นๆ หรืออย่างไรก็ไม่รู้
 

กลับมาที่คำถามข้างต้นว่า หากสถานการณ์เกิดผันแปรขึ้นจริงๆ เราจะทำอย่างไรกับ รัฐบาลของเรา”?
สิ่งแรกคือต้องใจเย็นๆ แยกคนที่เป็น ของเขาและ ของเราออกจากกัน บาง คนขณะนี้อยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออก จำต้องแสดงละครฉากสำคัญตรงหน้า แต่ขณะเดียวกันก็ไม่มีพฤติกรรมเบื้องหลังที่ส่อว่า แปรพักตร์ไปจากมวลชนประชาธิปไตย อย่างนี้ก็สงเคราะห์ในขั้นต้นไว้ก่อนว่าเป็น ของเรา” 


บาง คนมุ่งหน้าทำงานรับใช้ฝ่ายตรงข้ามกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมีอิทธิพลในรัฐบาลมากขึ้นก็ยิ่งรับใช้มากขึ้นและลึกซึ้งยิ่งขึ้น พยายามตลอดเวลาที่จะลดทอนอำนาจน้อยนิดที่ประชาชนมีอยู่เพื่อจะเอา การบ้านไปส่งครูว่าตัวเองเป็นนักเรียนในโอวาท อย่างนี้ก็นับว่าเป็น ของเขา คณะกรรมการมวลชนถูกตั้งขึ้นแล้วและจะทำงานแยกแยะ ของเขาและ ของเราเป็นหลัก
 
อีก อย่างหนึ่งคือเราควรมองรัฐบาลขณะนี้ว่า เสมือนกำลังทดลองประสานผลประโยชน์กันอยู่ ดูกันสักระยะหนึ่งว่าผลประโยชน์ของอำนาจเดิมกับผลประโยชน์ของอำนาจใหม่จะหา จุดร่วมที่ทำให้อยู่ร่วมกันได้บ้างหรือไม่
 

การทดลอง อยู่ร่วมกันนี้เคยทำมาแล้วเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ และประสบความล้มเหลว อยากลองดูอีกทีเมื่อเกือบ ๘๐ ปีให้หลัง ก็ถือเป็นการทดลองครั้งที่สองได้.
กัมพูชาออกแถลงการณ์ยินดีเจรจารบ.ยิ่งลักษณ์พร้อมแฉรบ.มาร์ค


:screaming: ใน วันนี้(30 ส.ค.) องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงถึงการดำเนินการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา ในอ่าวไทย ซึ่งในการเจรจาภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลสมเด็จฯฮุน ขอปฏิเสธข้อกล่าวหาใดๆ ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชา รวมถึงข้อกล่าวหาจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้ทำลายการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลลง โดยที่ผ่านมา รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีความพยายามติดต่อเจรจาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมายังรัฐบาลสมเด็จฯฮุน เซ็น ด้วย นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังได้แสดงความยินดีและพร้อมจะเปิดการเจรจากับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกี่ยวกับเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน ทั้ง 2 ประเทศ

ในแถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุ โดยอ้างบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชา อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิ.ย.2544 และการจัดตั้งเขตพัฒนาร่วม ซึ่งเอ็มโอยูปี 2544 ไม่ใช่เอกสารธรรมดา แต่เป็นเอกสารบันทึกความเข้าใจของ 2 ประเทศ ที่ได้จัดตั้งคณะทำงานทางเทคนิค ขึ้นมาเจรจาในเรื่องเขตแดน ในระหว่างปี 2544 - 2550 โดย 2 ประเทศประสบความสำเร็จอย่างมาก จนกระทั่งได้เกิดข้อเสนอในหลายประการ ทั้งในเรื่องการแบ่งโซนในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ในอ่าวไทย


แถลงการณ์ ระบุว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คณะทำงานไม่ได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการ แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้พยายามติดต่อเพื่อเปิดเจรจาในเรื่องนี้กับทางรัฐบาลสม เด็จฯฮุน เซ็น โดยมีการประชุมระหว่างสมเด็จฯฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในวันที่ 27 มิ.ย. 2551 ที่ จ.กันดาน ใกล้กับกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ ยังมีการประชุมระหว่างนายสุเทพ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กับนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ที่ฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2552 และที่คุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 16 ก.ค.2553 ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าว นายสุเทพ ได้แสดงความตั้งใจ และอ้างพันธะที่ได้รับมอบหมายจากนายอภิสิทธิ์ ในการดำเนินการเปิดเจรจาดังกล่าว ที่นำไปสู่คำถามจากรัฐบาลสมเด็จฯฮุน เซ็น ว่า ทำไมถึงต้องมีการประชุมลับ ทั้งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ สามารถเจรจากับกัมพูชาได้อย่างเปิดเผย

:lookhere: แถลงการณ์ ยังอ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้กล่าวหาการเจรจาครั้งก่อนๆ ว่า เต็มไปด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวมากมาย ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงขอถามว่า ทำไมภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ จะต้องมีการประชุมลับเช่นนี้ด้วย ซึ่งประชาชน ส.ส.ของไทย และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ทราบถึงการเจรจาทางลับนี้หรือไม่ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในขณะนี้ ได้ประกาศยืนยันความโปร่งใสครั้งแล้วครั้งเล่า และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ซึ่งทำงานกับกัมพูชาอย่างเปิดเผยว่า มีผลประโยชน์ส่วนตัวกับกัมพูชา นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังคงพยายามขัดขวางการเจรจาระหว่างรัฐบาลสมเด็จฯฮุน เซ็น กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดังนั้นกัมพูชาจึงมีความจำเป็นต้องเปิดเผยความลับนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์และชี้แจงว่า ข้อกล่าวหาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด

:goodjob: นอก จากนี้ ที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้ประชุมใดๆ กับกัมพูชา หรือมีข้อเสนอใดกับกัมพูชา เกี่ยวกับการเจรจาผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ตามที่นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวหาในการแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต่อรัฐสภา ในระหว่างวันที่ 23 - 25 ส.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กัมพูชา ยินดีจะเปิดการเจรจาอีกครั้งในเรื่องนี้ ในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติและเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน 2 ประเทศ โดยมีการลงนาม ในท้ายแถลงการณ์ระบุ กรุงพนมเปญ วันที่ 30 ส.ค.54


:breakingnews.nationchannel.com

นปช. แถลงข่าว 31-08-54

"สื่อของ ทุนกลุ่มไหน ชนชั้นไหน ก็รับใช้ทุนกลุ่มนั้น ชนชั้นนั้น นั่นเอง ..ใกล้บ้าเสียแล้ว เพราะโกรธที่ฝ่ายประชาชนได้รับชัยชนะ ให้มันอาฆาตแค้นไปเถิด เพราะพ่ายแพ้ แบบที่ไม่มีหนทางชนะได้อีกแล้ว จุดยืนผิด เลือกข้างผิด ทั้งยังทะนงตนอวดเก่ง ก็ต้องอาละวาดเช่นนี้ แต่ถ้าเขาคิดได้ กลับตัวกลับใจ ก็ให้อภัย ขอให้มาร่วมกับประชาชนบนหนทางเดินที่ถูกต้อง ก่อนที่จะถูกดินกลบหน้า ภายใต้ฝ่าเท้าของมวลชน"

โดย ธิดา ถาวรเศรษฐ

 
ที่มา เฟซบุ๊คอ.ธิดา ถาวรเศรษฐ

บทความนี้เดิมชื่อ สื่อไทยกับการต่อสู้ของประชาชน


นับ จากคุณทักษิณ ชินวัตร ได้ก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนต้องถูกทำรัฐประหาร เกิดรัฐบาลต่อๆมา กระทั่งบัดนี้พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล บทบาทของสื่อกระแสหลักของประเทศไทย น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ตั้งแต่ปูกระแสให้เกิดการต่อต้าน และขับไล่ คุณทักษิณ ชินวัตร

จน กระทั่ง ทำตัวเป็นหัวหน้าขบวนการเคลื่อนไหว ต่อต้าน ด้วยตนเอง ในนาม “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ปลุกระดมคนเคลื่อนไหว เพื่อ ขับไล่รัฐบาลทักษิณ เรียกร้องให้มีการรัฐประหาร ควบคุม ทำตัวเป็นผู้จัดการประเทศไทย ผู้ชี้แนะทางการเมืองของประเทศไทย

นี่คือบทบาทของสื่อ ค่ายผู้จัดการ

ทั้ง ที่ก่อนหน้านี้ เคยเชียร์คุณทักษิณ ชินวัตรอย่างคลั่งไคล้ แต่เมื่อสูญเสียเวลารายการที่ช่อง 9 และไม่ได้เป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ช่องที่ขยายตัวจากช่อง 11 ในระบบดิจิตอล การณ์ก็เปลี่ยน

นี่อาจจะกล่าวได้ว่า ฐานะสื่อที่ผิดหวังการได้ผลประโยชน์จากการเป็นเจ้าของสื่อ ก็เลยเปลี่ยนบทบาทจากสื่อ มาเป็นกลุ่มกดดันทางการเมือง และเป็นผู้เปลี่ยนแปลง ผู้ควบคุมการเมืองในประเทศไทย

ยิ่งกว่านั้นในการเคลื่อนไหวก็ใช้บทบาทสื่อของตนเองในการนำคนต่อสู้กับอำนาจรัฐที่ได้มาจากการเลือกตั้ง

บทบาทของสื่อค่ายผู้จัดการ จึงใช้บทบาทสื่อเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองและผลประโยชน์ของตนชัดแจ้ง


ค่าย เนชั่นก็น่าสนใจ ที่เสียประโยชน์จากไม่ได้บริหารไอทีวี นำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านนายทุนที่ได้อำนาจรัฐจากการเลือกตั้ง ใช้บทบาทสื่อในการโจมตีทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง

ทั้งสองค่ายนี้ มีสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ ดาวเทียม สื่ออินเตอร์เนต ที่มีชื่อเสียง

ค่าย โพสต์ แม้ไม่แสดงบทบาทเป็นปฏิปักษ์อย่างชัดแจ้ง ด้วยปัญหารการเสียผลประโยชน์โดยตรงไม่หนักหน่วงดังเช่น สองค่ายแรก แต่นายทุนใหญ่ของโพสต์ก็เป็นเครือข่ายระบอบอำมาตย์ และผู้ทำงานสื่อหลายคนมาจากหน่วยงานความมั่นคงในเครือข่ายระบอบอำมาตย์เช่น กัน


ค่ายมติชน ก็มีส่วนผสมของบุคคลากร แนวคิดแตกต่างกัน บางเวลา บุคคลากรระบบคิดแบบอำมาตย์ก็มีบทบาทสูง ยามอยู่ในช่วงรัฐประหาร และรัฐบาลอำมาตยาธิปไตย บุคคลากรแนวเสรีนิยมและก้าวหน้าก็ต้องถอยไปอยู่หลังๆ เมื่อการต่อสู้ของประชาชนขึ้นสู่กระแสสูง และบทบาทของประชาชนแสดงอำนาจมากขึ้น ก็จะผลักดันให้บุคคลากรฝ่ายประชาชนได้แสดงบทบาทในพื่นที่ของสื่อค่ายนี้มาก ขึ้น

 
สื่อโทรทัศน์ วิทยุ ไทย เป็นกิจการผูกขาดที่น่าสนใจเช่นกัน

ผล พวงจากอำนาจเผด็จการทหารในอดีต ทำให้มีสถานีโทรทัศน์ของทหาร สถานีวิทยุทหาร เป็นช่องทางหาผลประโยชน์และครอบงำ ความคิดประชาชน ให้อยู่ภายใต้ระบอบอำมาตย์ และหน่วยงานความมั่นคงตามแนวคิดทหารไทยที่ เป็นอำนาจนิยมและอนุรักษ์นิยม

สำหรับสื่อโทรทัศน์ช่องอื่นๆ เช่น 3,7,9,11 ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องมือของกลไกอำมาตยาธิปไตยเพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่จะได้ รับจากการผูกขาดสัมปทาน

กล่าวได้ว่า สื่อต่างๆล้วนสังกัดค่ายผลประโยชน์ของทุนกลุ่มต่างๆ และล้วนเชื่อมโยงกับเครือข่ายระบอบอำมาตยาธิปไตย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกลไกรัฐตัวจริงมายาวนาน และยังครองอำนาจจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีกลุ่มทุนใหม่มาเป็นรัฐบาลก็ตาม

พูดง่ายๆก็คือ “สื่อของทุนกลุ่มไหน ชนชั้นไหน ก็รับใช้ทุนกลุ่มนั้น ชนชั้นนั้น นั่นเอง” นี่จึงไม่ใช่เรื่องที่อนุกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ จะมาประนาม ค่ายใดค่ายหนึ่ง โดยไม่สนใจว่า ค่ายอื่นๆเป็นอย่างไร และตนเองมีสัมพันธภาพกับเครือข่ายระบอบอำมาตย์อย่างไร

การกล่าวโจมตี ค่ายมติชน ข่าวสด ในฐานลำเอียง โดยการนับภาพ นับเรื่อง นับโฆษณาว่าไม่เท่ากัน โดยไม่ลืมหูลืมตา ดูความจริงว่า สื่อไทยนั้นไม่ใช่เอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น แต่ตัวสื่อเอง หลายค่าย แสดงตัวเป็นปฏิปักษ์เปิดเผยแม้แต่ต่อการเคลื่อนไหวมวลชนเอง

แน่ นอนว่า เราต้องพูดถึงบุคคลากรที่ทำหน้าที่สื่อด้วยเช่นกัน เอาเป็นว่า สื่อสังกัดค่ายไหน ก็เลือกบุคคลากรที่จงรักภักดีกับเจ้าของสื่อ และมีแนวคิดแบบเดียวกับเจ้าของสื่อนั้นๆ นี่เป็นการชี้นำความคิด การกระทำ คำพูด จะถูกครอบงำด้วยระบอบใหญ่แห่งผลประโยชน์ของกลุ่มของทุนของชนชั้นตน

จึง ไม่แปลกที่ ค่ายเครือข่ายผู้จัดการ เอเอสทีวี ก็จะมีบุคคลากรที่จงรักภักดีต่อ สนธิ ลิ้มทองกุล และแนวทางจารีตนิยมสุดโต่ง แบบเจ้าของสื่อ หาไม่ก็ต้องถูกอัปเปหิ

ค่ายเนชั่นก็ต้องเป็น ปฏิปักษ์กับคุณทักษิณ ที่เริ่มด้วยความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ แต่มีบุคคลากรบางคนที่ไม่จารีตนิยมสุดโต่ง เพราะค่ายนี้เดิมก็เป็นเสรีนิยม แต่ความขัดแย้งยังมีเรื่องผลประโยชน์เป็นหลัก แนวคิดยังไม่ใช่จารีตนิยมสุดโต่ง จึงมีบุคคลากรเสรีนิยมส่วนหนึ่งปะปนอยู่ได้

บุคคลากรภายในสถานีโทรทัศน์ต่างๆนั้น ถ้าไม่สนับสนุนระบอบอำมาตยาธิปไตย ก็อยู่ไม่ได้ยาวนาน และไม่ได้รับการสนับสนุนให้เติบโต

โดย เฉพาะอย่างยิ่งสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลทั้งช่อง 11 และช่อง9 รวมทั้งไทยพีบีเอส หรือทีวีไทย กลายเป็นว่า 3 ช่องเป็นของระบอบอำมาตย์ชัดๆ

ดู ได้จากบอร์ดและคณะผู้บริหาร มีที่มาจากผลพวงของการรัฐประหาร และรัฐบาลอำมาตย์ของคณะรัฐประหาร และพรรคประชาธิปัตย์ แต่สถานีเอกชนที่มุ่งผลประโยชน์เป็นสำคัญ ก็จะแสวงหาบุคคลากรเด่นๆมาร่วม

แต่ภาพรวม โฆษก พิธีกร ละคร สารคดี ก็ล้วนถูกครอบงำโดยความคิดอนุรักษ์นิยม จารีตนิยม ไม่ใช่เสรีนิยม


:lookhere:
ที่สำคัญยังมีบทบาท ยั่วยุ ปลุกระดม ใส่ร้ายป้ายสี เลือกข้าง ชัดเจนในการสัมภาษณ์นักการเมือง และรายการวิเคราะห์ต่างๆดังปรากฏข่าว

นักข่าวหญิงช่อง7สี ซึ่งแสดงออกมากเกินไป ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์กับสาวนักข่าวคนนี้ ที่สัมภาษณ์ ณ โรงแรมแห่งหนึ่งริมถนนวิภาวดี

นักข่าวถามว่า “นปช.จะลอกคราบใหม่ ใช่หรือไม่?” ผู้เขียนเลยตอบว่า “นปช.ไม่ใช่งูที่จะลอกคราบได้ คุณถามอย่างนี้หมายความอะไร?”

ที่ จริงนี่เป็นคำถามเพื่อโจมตีแบบดูถูกเหยียดหยาม ผู้เขียนตอบอะไรมากกว่านี้อีก จำไม่ได้แล้ว จำได้แต่ว่า “เราไม่ใช่งูที่จะลอกคราบได้” ผู้สื่อข่าวอื่นๆก็หันมาดูเป็นตาเดียวกัน แล้วเธอถามคนเดียวเป็นไฟแลบ ยาวเหยียดไม่เปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวคนอื่นถาม ผู้เขียนเลยบอกว่า “คุณน่าจะพอได้แล้ว ให้คนอื่นเขาถามบ้าง”


บุคคลากร บางท่าน ในค่าย T news ก็ชัดว่าเป็นการเมืองค่ายสีน้ำเงิน ปรักปรำ โกหกใส่ร้าย คนเสื้อแดงตลอด พิธีกรค่ายเนชั่นหลายคนก็เช่นกัน พูดจา โกรธแค้น ด่าว่า คนเสื้อแดงและแกนนำอย่างสาดเสียเทเสีย

:goodjob:
อย่า ไปโกรธเขาเลย เขาใกล้บ้าเสียแล้ว เพราะโกรธที่ฝ่ายประชาชนได้รับชัยชนะ ให้มันอาฆาตแค้นไปเถิด เขาโกรธจัด เพราะเขาพ่ายแพ้ แบบที่ไม่มีหนทางชนะได้อีกแล้ว

จุดยืนผิด เลือกข้างผิด ทั้งยังทะนงตนอวดเก่ง ก็ต้องอาละวาดเช่นนี้

แต่ถ้าเขาคิดได้ กลับตัวกลับใจ ก็ให้อภัย ขอให้มาร่วมกับประชาชนบนหนทางเดินที่ถูกต้อง ก่อนที่จะถูกดินกลบหน้า

ภายใต้ฝ่าเท้าของมวลชน



:nothingleft: http://thaienews.blogspot.com/2011/08/b ... _3653.html