หน้าเว็บ

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทันสถานการณ์

ทันสถานการณ์



 

ยิ่งลักษณ์ย้ำลาออกไม่ได้ หนุนเลือกตั้ง รอรัฐบาลใหม่ปฏิรูปประเทศ
  
สุเทพนัดชุมนุมใหญ่ 22 ธ.ค. - ไล่ยิ่งลักษณ์ออกจากรักษาการนายกฯ
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50495 

มาร์คบี้"ปู"ลาออกแก้วิกฤตประเทศ
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=705763 


ใบตองแห้ง ประชาไท
ใบตองแห้ง
 

ลายชั่วเริ่มออก

"...การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 ตามที่กำหนดไว้นั้น จะสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นหรือไม่ เพราะในวันนี้ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เชื่อถือกระบวนการเลือกตั้ง ซึ่งมีเหตุผลมาจากผู้ใช้อำนาจ ดังนั้นนายกรัฐมนตรี ควรจะสละอำนาจเพื่อคลายความคลางแคลงใจของประชาชน และต้องตัดสินใจโดยเร็ว ก่อนที่จะสายเกินไปเหมือนกับการตัดสินใจยุบสภาที่ต้องตัดสินใจเพราะยอมจำนน ซึ่งตนเห็นว่าไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ รัฐบาลจึงไม่ควรอ้างกฎหมายแล้วยืนกรานที่จะต้องเลือ กตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 เท่านั้น เพราะมีวิธีการที่จะใช้กฎหมายมาแก้ปัญหาได้ อย่าใช้กฎหมายมาปกป้องตัวเอง โดยพรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประเทศ แต่วันนี้ที่เป็นอุปสรรคอยู่คือผู้ที่มีอำนาจ ไม่ยอมแก้ปัญหา..."

พวกร้อยลิ้น ลิ้นละ 8 แฉก อ้างฝูงชนดันทุรังไม่ยอมให้เลือกตั้ง มาอยู่เหนือกฎหมาย

กฎหมายไม่ใช่ตัวบทลอยๆ รัฐบาลไม่ได้อ้างกฎหมายเพื่อปกป้องตัวเอง แต่กฎหมายในที่นี้คือ การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นอำนาจของประชาชนทั้งประเทศ รัฐบาลกำลังปกป้องอำนาจของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งรวมทั้งคนที่เลือกเพื่อไทย คนที่เลือก ปชป. คนที่เลือกทุกพรรค

แต่ ปชป.กำลังสมคบกับม็อบ สร้างฝูงชนที่บ้าคลั่งไม่ยอมรับการเลือกตั้ง หมายใช้กำลังขัดขวางการสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อสร้างวิกฤตด้วยพฤติกรรมอันธพาล อาศัยว่ามีกำลังนับหมื่นๆ คน อาละวาดได้ตามใจชอบ รัฐบาลไม่กล้าใช้อำนาจตามกฎหมายเข้าปราบปรามเพราะเกรงจะเกิดความรุนแรง (ทั้งที่กฎหมายในที่นี้คือการรักษาความสงบเพื่อคนส่วนใหญ่ของสังคม) แล้วอันธพาลหลายหมื่นคนก็จะทำลายอำนาจของคน 70 ล้าน ให้สังคมเข้าสู่อนาธิปไตย

พวกเขาทำได้เพราะเชื่อว่าท้ายที่สุด เมื่อสร้างสถานการณ์ให้เลวร้ายถึงที่สุด กองทัพจะเข้าข้างตัวเอง ทั้งที่เป็นเสียงข้างน้อยในสังคม แต่เชื่อว่าพวกตัวมีอิทธิพล มีกำลังเงิน มีอาวุธ มีอำนาจนอกระบบหนุน

ถ้าไปสู่จุดนั้นก็คือสงครามกลางเมือง ซึ่งสังเกตได้ว่า พวกเขาไม่แยแสเลย ต้องการให้เกิดสงครามกลางเมือง ไม่อย่างนั้นก็ไม่ออกมาแถ ตะแบง อ้างอะไรที่ไร้เหตุผลและฟังไม่ขึ้น แต่ดันทุรังกันได้ในพวกคัว

พวกนี้้ต้องการสงครามครับ
 

"ปฏิรูปการเมือง"

"ปฏิรูปการเมือง" 



โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
 


 
เราได้ยินคำว่า "ปฏิรูปการเมือง" อย่างติดหูหลังเหตุการณ์พฤษภา ๒๕๓๕ 

อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีที่ให้ความสำคัญกับนักวิชาการ การวิจัย เพิ่มงบประมาณให้กับนักวิชาการ ซึ่งออกดอกออกผลถึงปัจจุบัน บรรดานักวิชาการได้ลืมตาอ้าปาก ได้เชิดหน้าชูตา มีช่องทางทำมาหาได้จากงบประมาณแผ่นดิน ผ่านโครงการวิจัยศึกษา ผ่านโครงการปฏิรูปต่างๆ นักวิชาการจึงเป็นเครือข่ายผลประโยชน์กลุ่มหนึ่ง  

บรรหาร ศิลปอาชา เริ่มนโยบายปฏิรูปการเมือง จนนำมาสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญ ๔๐  

การปฏิรูปการเมืองแบบอมร จันทรสมบูรณ์และพวกกีดกันนักการเมืองออกไปจากการปฏิรูปการเมือง โดยอ้างว่านักการเมืองมีผลประโยชน์และส่วนได้เสีย ให้มาปฏิรูปการเมืองไม่ได้

นักปฏิรูปการเมือง กีดกันนักการเมืองออกไป โดยอ้างว่านักการเมืองมีส่วนได้เสีย แต่นักปฏิรูปการเมืองก็มีประโยชน์ มีส่วนได้เสีย มีวาระของตนเหมือนกัน 

การปฏิรูปการเมืองในประเทศไทย จึงเป็นเรื่องของนักวิชาการ เทคโนแครต นักร่างรัฐธรรมนูญ ที่อ้างความรู้ความเชี่ยวชาญ ความเป็นกลาง คนดี เพื่อผูกขาดการปฏิรูปการเมืองไว้กับตนเองแต่เพียงผู้เดียว

เมื่อออกแบบรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ นักการเมืองก็ต้องเล่นเกมในสนามนี้ ส่วนนักปฏิรูปบางส่วนก็ผันกายลงไปเป็นผู้คุมกติกา ไปสังกัดองค์กรอิสระต่างๆ ศาลที่เกิดขึ้นใหม่ 

การสร้างวาทกรรม "ปฏิรูปการเมือง" แบบนี้ คือ การชิงพื้นที่ทางการเมือง การเข้ามามีบทบาททางการเมืองของพวกเทคโนแครต โดยเปลี่ยนร่างจากเทคโนแครตที่มีบทบาทในสมัย "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" มาเป็นนักปฏิรูปในสมัยที่นายกฯมาจากการเลือกตั้ง 

การปฏิรูปการเมืองของไทยที่ผ่านมา คือ การสร้างวาทกรรมของเทคโนแครตเพื่อเข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง แต่เข้ามามีบทบาทใช้อำนาจริง ผ่านการเป็นกรรมการปฏิรูปต่างๆ ผ่านการเป็น สสร 

การเมืองไทย จึงช่วงชิงกันระหว่าง นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และ นักปฏิรูป-เทคโนแครต
 

รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายของพรรคการเมืองเอง ไม่พึ่งพาอาศัยเทคโนแครตและนักปฏิรูปมากเท่าไรนัก 

บทบาทของนักปฏิรูป เทคโนแครตก็ลดน้อยถอยไป

จนรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ นักปฏิรูป เทคโนแครต นักร่างรัฐธรรมนูญก็กลับขึ้นมาใหม่

แม้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งจะกลับมาคุมอำนาจได้ แต่ยังไม่เบ็ดเสร็จ การเมืองยังยื้อกันไปมาระหว่างสองขั้วอำนาจอยู่ นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้กับนักปฏิรูปและเทคโนแคร 

เราจึงพบเห็นการตั้งคณะกรรมการสารพัดโดยรัฐบาล 

เวลานี้ มีการจุดกระแสเรื่องปฏิรูปขึ้นมาอีก

บางฝ่าย ชูการปฏิรูปเพื่อมาขัดขวางการเลือกตั้ง  

บางฝ่าย ชูการปฏิรูปเพื่อให้ตนได้เข้าไปมีบทบาท เข้าไปแบ่งปันอำนาจ  

บางฝ่าย ชูการปฏิรูปเพื่อต้องการผลักดันวาระเฉพาะของตนเข้าไป

การปฏิรูปของบางฝ่าย คือ การปฏิรูปนักการเมืองเท่านั้น 

การปฏิรูปของบางฝ่าย คือ การแก้เรื่องทุจริต

การปฏิรูปของบางฝ่าย คือ การปฏิรูปกองทัพ องค์กรอิสระ ศาล ฯลฯ

เมื่อความต้องการการปฏิรูปแตกต่างหลากหลายเช่นนี้ จึงไม่อาจยกวาระการปฏิรูปให้แก่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงผู้เดียว 

การปฏิรูปการเมืองควรเริ่มต้นด้วยการเลือกตั้ง  

นักวิชาการ องค์กรเอกชน ภาคธุรกิจ และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเมืองได้ ด้วยการรณรงค์ผลักดันข้อเสนอของตนสู่สาธารณะ หรือกดดันพรรคการเมืองนำข้อเสนอของตนไปจัดทำเป็นนโยบายของพรรคการเมือง แล้วประชาชนเป็นผู้ตัดสินผ่านการเลือกตั้ง

สภาผู้แทนราษฎรและ คณะรัฐมนตรีที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งเริ่มต้นกระบวนการปฏิรูปการเมือง ผลักดันให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือการยกร่าง รัฐธรรมนูญใหม่ หรือการแก้ไขกฎหมายต่างๆ โดยสร้างกระบวนการให้ประชาชนทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม และกำหนดให้การตัดสินใจในขั้นสุดท้ายต้องผ่านการออกเสียงประชามติ

นี่คือ การปฏิรูปที่มีประชาชนเป็นตัวตั้ง

และการปฏิรูปการเมืองครั้งต่อไป ต้องจัดให้เครือข่ายนักปฏิรูป-เทคโนแครต เป็นกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่ผู้มีอำนาจในการกำหนดวาระการปฏิรูปแต่เพียงผู้เดียว

และเครือข่ายนักปฏิรูป-เทคโนแครต ก็อยู่ในข่ายที่ต้องถูกปฏิรูปด้วย