ทำไมเอ็นจีโอเข้าข้างอำมาตย์
ใจ อึ๊งภากรณ์
ท่าม
กลางวิกฤตการเมืองไทย สิ่งหนึ่งที่สลดใจ คือการที่เครือข่าย เอ็นจีโอ
ส่วนใหญ่
มีพฤติกรรมที่น่าอับอายขายหน้าในการเลือกที่จะเข้าข้างอำมาตย์เสื้อเหลือ
และมองว่าคนจนและประชาธิปไตยเป็นฝ่ายศัตรู หรืออย่างน้อยการที่
เอ็นจีโอส่วนอื่นๆ เงียบเฉยในขณะที่สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยถูกทำลาย[1]
ปัญหานี้สำคัญเพราะนักเคลื่อนไหว เอ็นจีโอ
เริ่มต้นในอดีตจากการต่อสู้กับเผด็จการ และการยืนอยู่เคียงข้างคนจน
และในการทำความเข้าใจกับประเด็นนี้เราต้องข้ามพ้นการมองว่าเป็นแค่ข้อเสีย
ส่วนตัวของบุคคล หรือการที่ เอ็นจีโอ
“มีเป้าหมายแอบแฝงเพื่อรับใช้จักรวรรดินิยมหรือเผด็จการ”
ในช่วงแรกของการประท้วงโดยพันธมิตรฯ ก่อนรัฐประหาร ๑๙ กันยา เราอาจพอเข้าใจว่าทำไม เอ็นจีโอ ร่วมกับพันธมิตรฯ ในประการแรกเขามีสายสัมพันธ์ส่วนตัวกับคนอย่าง พิภพ ธงไชย และการประท้วงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาล ไทยรักไทย มีความชอบธรรม อย่างไรก็ตาม พันธมิตรฯ ไม่
ได้สนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด
และเราสามารถตั้งคำถามได้อีกกับการตัดสินใจของ เอ็นจีโอ
ที่ไปทำแนวร่วมกับพวกเสื้อเหลืองขวาตกขอบอย่าง สนธิ ลิ้มทองกุล หรือ จำลอง
ศรีเมือง
ต่อ
จากนั้นในไม่ช้า เอ็นจีโอ
ส่วนใหญ่ได้ล้ำเส้นไปจับมือกับเผด็จการทหารและอำมาตย์เสื้อเหลืองอย่างตรงไป
ตรงมา จนเราสามารถพูดได้ว่าในทุกขั้นตอนของวิกฤตนี้ เอ็นจีโอ
ส่วนใหญ่เลือกข้างผิด ดังนั้นถ้าไม่มีการทบทวนตัวเองอย่างเร่งด่วน
ยอมรับความผิดพลาด
และยอมแตกหักกับองค์กรปฏิกิริยาที่เป็นศัตรูของประชาชนคนจน เอ็นจีโอ
ไทยจะไม่มีอนาคตในการเป็นพลังของประชาสังคมเพื่อประชาธิปไตยได้อีกเลย
ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของพันธมิตรฯ ผู้นำ เอ็นจีโอ อย่าง เรวดี ประเสริฐเจริญสุข (กปอพช.[2]) หรือ นิมิตร์ เทียนอุดม (เครือข่ายเอดส์) ได้ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ และนิมิตร์ ได้พูดจากเวทีนี้ในทำนองดูถูกคนจนว่า ผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลทักษิณ “ขาดข้อมูล”[3] ซึ่งเป็นทัศนะที่ให้ความชอบธรรมกับรัฐประหาร ต่อมาหลัง
จากที่รัฐประหาร ๑๙ กันยาเกิดขึ้น นิมิตร์ และผู้นำส่วนหนึ่งของ เอ็นจีโอ
ได้กีดกันไม่ให้สมาชิกเครือข่ายของตน
เดินขบวนรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในพิธีปิดงานสมัชชาสังคมไทย ทั้งๆ ที่ผู้นำ กปอพช. อย่าง เรวดี ประเสริฐเจริญสุข กับ จอน อึ๊งภากรณ์[4] และเครือข่ายคนพิการ ได้ร่วมนำขบวนการประท้วงในครั้งนั้น
ในตัวงานสมัชชาสังคมไทยที่
จัดที่ธรรมศาสตร์รังสิตในเดือนตุลาคม ปี ๒๕๔๙ องค์กร เอ็นจีโอ อย่าง
“รักษ์ไทย” ซึ่งได้รับเงินทุนจากฝ่ายรัฐจำนวนมาก
ได้พาชาวบ้านใส่เสื้อเหลืองมาร่วมงาน และนำเสนอแนวคิดชาตินิยม
ซึ่งทำให้เราต้องวิเคราะห์ปัญหาที่มาจากการรับเงินจากภาครัฐอีกด้วย
เนื่องจากเดิมที เอ็นจีโอ พยายามอิสระจากรัฐภายในประเทศของตนเอง
โดยการขอทุนจากมูลนิธิภายนอกประเทศ แต่ในปัจจุบัน เอ็นจีโอ
กลายเป็นองค์กรที่รับเหมาทำงานจากรัฐ หรือแทนองค์กรของรัฐ เช่น
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)[5] ที่ให้ทุน เอ็นจีโอ คำถามคือ เอ็นจีโอ หรือ Non- Government Organisations กลายเป็น “จีเอ็นจีโอ” Government Non-Government Organisations ที่ผูกพันกับรัฐหรือไม่
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-39-38/112-2011-02-28-16-44-45.html